หนังสือรับรองการเสียชีวิต ขอที่ไหน

แจ้งการเสียชีวิต

แจ้งการเสียชีวิตเพื่อขอมรณบัตรไทย

คำร้องนิติกรณ์แจ้งการเสียชีวิต (แบบ PDF)

ก. บุคคลสัญชาติไทย

หากบุคคลสัญชาติไทยเสียชีวิตในประเทศเยอรมนี ญาติพี่น้องหรือเพื่อนควรมาแจ้งการเสียชีวิตของบุคคลนั้น ๆ ที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ โดยสถานกงสุลใหญ่ ฯ จะออกมรณบัตรไทยให้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด และนำแจ้งการเสียชีวิตต่อหน่วยงานราชการไทยที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป

สามารถมายื่นคำร้องแจ้งการเสียชีวิตด้วยตัวเองหรือทางไปรษณีย์ได้ โดยยื่นคำร้องพร้อมเอกสารและข้อมูลต่อไปนี้

  • คำร้อง ขอจดทะเบียนคนตาย (ขอมรณบัตรไทย) ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน และลงนาม (เซ็นต์ชื่อ) โดยผู้ยื่นคำร้อง
  • สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี ของผู้ยื่นคำร้องอย่างละ 1 ฉบับ
  • หนังสือรับรองการตายที่บ่งสาเหตุการตายอย่างชัดเจน
  • มรณบัตรเยอรมันตัวจริง 1 ฉบับ
  • หนังสือเดินทางตัวจริงของผู้ตาย
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย 1 ชุด
  • อาชีพของผู้ตาย
  • สำเนาสถานที่อยู่ก่อนตาย (เช่น หนังสือรับรองที่อยู่ในเยอรมนี)
  • สำเนาสถานที่ตาย และระยะเวลาที่อยู่ในสถานที่ตาย (เช่น หนังสือรับรองจากโรงพยาบาลที่ระบุวันที่เข้ารักษาตัว จนถึงวันเสืยชีวิต)
  • สำเนาวิธีจัดการศพ (เก็บ เผา ฝัง หรือ อื่น ๆ) และสถานที่ฌาปณกิจศพ (เช่น หนังสือรับรองการเผาจากฌาปนสถาน)
  • ซองเปล่าขนาด A4 ติดแสตมป์ 4.25 ยูโร (ลงทะเบียน) จ่าหน้าซองถึงตัวเอง
  • ค่าธรรมเนียมการรับรองสำเนาถูกต้องมรณบัตรไทย ฉบับละ 15 ยูโร (เป็นเงินสดเท่านั้น)

หากท่านต้องการนำอัฐิหรือศพของผู้ตายไปประกอบพิธีทางศาสนาที่ประเทศไทย ท่านต้องยื่นขอหนังสือรับรองนำอัฐิหรือศพกลับประเทศไทยที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ด้วย โดยต้องมีหนังสือรับทราบจากทางวัดที่จะนำอัฐิหรือศพไปไว้ที่ประเทศไทย ประกอบการยื่นขอ ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองนำอัฐิหรือศพกลับประเทศไทย 15 ยูโร (ส่งเป็นเงินสดเท่านั้น)

อนึ่ง หนังสือรับรองนำอัฐิหรือศพกลับประเทศไทยนี้ โดยปกติแล้วจะออกพร้อมกับมรณบัตรไทย ยกเว้นกรณีผู้ตายเป็นชาวต่างชาติ

ข. บุคคลสัญชาติเยอรมันที่สมรสกับบุคคลสัญชาติไทย

บุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นชาวเยอรมันและได้เสียชีวิตลง ต้องการนำอัฐิของคู่สมรสชาวเยอรมันกลับประเทศไทย สามารถยื่นขอหนังสือรับรองนำอัฐิกลับประเทศไทยที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ ได้ โดยเสียค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

เอกสารประกอบที่ต้องยื่นมีดังนี้

  • สำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง อย่างละ 1 ฉบับ
  • มรณบัตรเยอรมันตัวจริง 1 ฉบับ และสำเนา 1 ฉบับ
  • สำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาบัตรประชาชนของผู้ตาย 1 ฉบับ
  • สำเนาหนังสือเดินทาง และ สำนาทะเบียนบ้านไทยหรือบัตรประชาชนของคู่สมรสชาวไทย 1 ฉบับ
  • สำเนาทะเบียนสมรส
  • สำเนาหนังสือรับรองการเผาจากฌาปนสถาน
  • หนังสือรับรองจากวัดที่ประเทศไทยที่จะนำอัฐิไปบรรจุไว้
  • ซองเปล่าติดแสตมป์ 4.25 ยูโร (ลงทะเบียน)
  • ค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองนำอัฐิกลับประเทศไทย 15 ยูโร (ส่งเป็นเงินสดเท่านั้น)

การตาย

Details

Details Parent Category: คู่มือการบริการ Category: ทะเบียนราษฎร

การแจ้งตาย

หลักเกณฑ์
เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตาย

    * (1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ
    * (2) คนตายนอกบ้าน ให้คนที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ กรณีเช่นนี้ จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจก็ได้ กำหนดเวลาให้แจ้งตาม (1) และ (2) ถ้าท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียน กลางอาจขยาย เวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพหากไม่ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

      1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)
      2. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
      3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง

ขั้นตอนการติดต่อ

      1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน เพื่อตรวจสอบและลงรายการในมรณบัตร
      2. จำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า "ตาย" สีแดง ไว้หน้ารายการคนตาย
      3. มอบมรณบัตร ตอนที่ 1 สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนคืนผู้แจ้ง
       - การแจ้งการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่อื่นหากยังมิได้แจ้งการตาย แต่มีการย้ายศพ ไปอยู่ต่างท้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีการตายหรือพบศพ เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย ผู้พบศพหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวแล้วแต่กรณีจะแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ศพอยู่ หรือท้องที่ที่มีการจัดการศพโดยการเผา ฝัง หรือทำลายก็ได้ โดยผู้แจ้งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการตายของผู้ตายซึ่งออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่บุคคลนั้นตาย และพยายบุคคลไม่น้อยกว่าสองคน ซึ่งสามารถยืนยันตัวบุคคลของผู้ตายได้
       - ในกรณีไม่หนังสือรับรองการตาย ผู้แจ้งการตายอาจใช้ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจสายพันธุกรรม มีตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ ใช้เป็นหลักฐานประกอบการการแจ้งแทนได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita