ตัวอย่างหนังสือตักเตือนพนักงาน

˹���á ��ԡ�âͧ��� �������Ӥѭ ������� �ա��ç�ҹ �Ӷ����辺���� �ʴ�������� �Դ������ ��Ѥ���Ҫԡ �Ѻ��Ѥçҹ


��ҡó��ҡ���ѹ���
..................................


�Ҥҹ���ѹ�ѹ���
..................................





Ẻ�����/������ҧ





Copyright © 2010 All Rights Reserved.

����ѷ �����»����� �ӡѴ

�Ţ��� 511/4 �����Ъ��ط�� 117/1 �ǧ��觤�� ࢵ��觤�� ��ا෾��ҹ�� (10140)

��/Tel : 02 - 8159522, ῡ��/Fax : 02 - 8159523, ��Ͷ��/Mobile : 081 - 7936156

�����/E-mail : , ���䫵�/Web : www.parameelaw.com

Visitors : 336601

Highlight

  • ใบเตือนพนักงานเป็นเอกสารที่ออกโดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างที่มีอำนาจจ้างเท่านั้น เช่น ผู้จัดการหรือผู้บังคับบัญชา หัวหน้างานไม่มีอำนาจเลิกจ้าง โดยเป็นการแจ้งตักเตือนอย่างเป็นทางการผ่านลายลักษณ์อักษร โดยจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิดครั้งแรก
  • เป้าหมายของใบเตือนพนักงานคือเพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้นรับทราบข้อผิดพลาดทางวินัยของตัวเอง นำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข หรือปฏิบัติตามคำสั่ง
  • เราอาจเคยได้ยินมาว่า การออกใบเตือนครบ 3 ครั้งสามารถเลิกจ้างได้ ทว่าจริง ๆ แล้ว ตามกฎหมายแรงงาน ไม่จำเป็นต้องออกครบ 3 ครั้งก็เลิกจ้างได้
  • ฝ่าย HR ผู้มีหน้าที่ดูแลงานในส่วนนี้โดยตรง ควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม ไร้อคติและอารมณ์ ก็จะทำให้ใบเตือนพนักงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

เพราะในโลกการทำงานเราจะเจอทั้งพนักงานที่ดีขยันขันแข็ง และพนักงานที่อาจไม่มีระเบียบวินัยมากนัก ระบบการตักเตือนจึงเครื่องมือหนึ่งที่กระตุ้นให้พนักงานตระหนักถึงความผิดของตัวเอง อย่างไรก็ตาม บางครั้งการตักเตือนด้วยวาจาอย่างเดียวก็คงไม่พอ หากความผิดนั้นร้ายแรงจนส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงาน หนึ่งในเครื่องมือง่าย ๆ แต่ทรงพลังที่หลายองค์กรเลือกใช้ก็คือ บเตือนพนักงาน หรือ หนังสือตักเตือนพนักงาน นั่นเอง

ถึงแม้ใบเตือนพนักงาน หรือ หนังสือตักเตือนพนักงาน จะมีประโยชน์ในการลงโทษทางวินัย หากแต่บางองค์กรกลับใช้ในทางที่ผิด เช่น เพื่อกดดัน กลั่นแกล้ง หรือบีบบังคับพนักงานให้ลาออก กระทั่งเกิดความไม่เห็นด้วยที่นำไปสู่การฟ้องร้องทางคดีความได้

เพื่อให้องค์กร ผู้จัดการ หรือ HR สามารถใช้งานใบเตือนพนักงาน หรือ หนังสือตักเตือนพนักงาน ได้อย่างประสิทธิภาพ วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก ข้อควรระวัง วิธีการใช้ และตัวอย่างใบเตือนพนักงานที่ควรจะเป็นกัน

Contents

  • ใบเตือนพนักงานคืออะไร ใครเป็นออกได้บ้าง
  • กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับใบเตือนพนักงานและการเลิกจ้าง
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • วิธีการเขียนและข้อควรระวังของใบเตือนพนักงาน
  • 7 สิ่งที่ HR ควรกระทำเมื่อต้องส่งใบเตือนพนักงาน
    • 1. พูดคุยกับพนักงานเป็นการส่วนตัว
    • 2. มอบใบตักเตือนเร็วที่สุดหลังเกิดเหตุ
    • 3. เน้นย้ำผลลัพธ์หากพนักงานไม่ปรับปรุงตัว
    • 4. ขอลายเซ็นพนักงาน
    • 5. ใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเสมอ
    • 6. พิสูจน์อักษรให้ถูกต้อง
    • 7. ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย
  • ตัวอย่างใบเตือนพนักงาน ที่แต่ละองค์กรใช้งานจริง
    • ตัวอย่างใบเตือนพนักงาน โรงพยาบาลรามาธิบดี (ราชการ) doc
    • ตัวอย่างใบเตือนพนักงาน keikokusyo pdf
    • ตัวอย่างใบเตือนพนักงาน better-account pdf
    • ตัวอย่างใบเตือนพนักงาน ภาษาอังกฤษ templatelab doc
  • บทสรุป

ใบเตือนพนักงานคืออะไร ใครเป็นออกได้บ้าง

ใบเตือนพนักงาน หรือ หนังสือตักเตือนพนักงาน เป็นเอกสารที่ออกโดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างที่มีอำนาจจ้างเท่านั้น เช่น ผู้จัดการหรือผู้บังคับบัญชา หัวหน้างานไม่มีอำนาจเลิกจ้าง โดยจะออกให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างที่ต้องการจะแจ้งตักเตือนอย่างเป็นทางการ ผ่านลายลักษณ์อักษร

เป้าหมายของใบเตือนพนักงานคือเพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้นรับทราบข้อผิดพลาดทางวินัยของตัวเอง นำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข หรือปฏิบัติตามคำสั่ง โดยมีสาเหตุได้หลากหลาย เช่น ใบเตือนพนักงานมาสาย ใบเตือนพนักงานขาดงาน ใบเตือนพนักงานที่ปฏิบัติงานผิดพลาด ใบเตือนพนักงานทำผิดระเบียบวินัย หรือแม้กระทั่งใบเตือนพนักงานทำผิดทางกฎหมายอย่างการล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น

โดยปกติแล้ว ระบบการตักเตือนจะดำเนินการเป็นขั้นตอน หากเป็นความผิดไม่ร้ายแรงมักจะเรียกพบตักเตือนด้วยวาจาเท่านั้น เพื่อไม่ให้พนักงานเสียความรู้สึก เว้นแค่แต่เป็นความผิดร้ายแรงที่นายจ้างเห็นว่าควรมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นหลักฐานประกอบการตัดสินใจเลิกจ้างได้ นั่นทำให้ใบเตือนพนักงานมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานด้วยเช่นกัน

กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับใบเตือนพนักงานและการเลิกจ้าง

เราอาจเคยได้ยินมาว่า การออกใบเตือนครบ 3 ครั้งสามารถเลิกจ้างได้ ทว่าจริง ๆ แล้ว ตามกฎหมายแรงงาน ไม่จำเป็นต้องออกครบ 3 ครั้งก็เลิกจ้างได้

โดยอ้างอิงจาก ม.119 (4) แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ว่า “”ถ้าลูกจ้างทำผิดระเบียบข้อบังคับฯ ในเรื่องไม่ร้ายแรง เมื่อนายจ้างได้เตือนเป็นหนังสือหรือใบเตือนไปแล้ว แล้วภายใน 1 ปี ลูกจ้างก็ยังทำผิดซ้ำในเรื่องเดียวกันกับที่ได้เตือนมาแล้ว นายจ้างก็มีสิทธิเลิกจ้างได้เลย เพราะลูกจ้างทำผิดซ้ำ”” โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ถ้าเป็นความผิดร้ายแรง สามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

กล่าวคือหากพนักงานหรือลูกจ้างยังทำซ้ำในพฤติกรรมเดิมที่เคยได้เตือนภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่กระทำผิดครั้งแรก นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้ทันทีเว้นแต่บริษัทมีข้อบังคับหรือระเบียบภายในองค์กรที่ระบุไว้ว่า จะตักเตือนกี่ครั้งถึงจะเลิกจ้าง เช่น จะเตือน 3 ครั้ง 4 ครั้ง หรือ 5 ครั้ง

ทั้งนี้ หากตักเตือนยังไม่ครบตามระบุแล้วบริษัทเลิกจ้างเสียก่อน เช่น บริษัทระบุว่าจะตักเตือน 3 ครั้ง แต่เลิกจ้างตั้งแต่การเตือนครั้งที่ 2 นายจ้างอาจต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม ม.118 เช่นกัน

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องควรระวังก็คือ ใบตักเตือนพนักงานต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนด้วย เนื่องจากการเตือนด้วยวาจาไม่ถือเป็นการเตือน โดยเว็บไซต์ businessplus ได้ระบุองค์ประกอบที่สำคัญไว้ว่า

  1. ต้องทำเป็นหนังสือทางการ หากพนักงานไม่ยอมลงลายมือชื่อ นายจ้างไม่สามารถบังคับให้พนักงานลงลายมือชื่อในหนังสือเตือนได้ แต่สามารถอ่านให้พนักงานและพยานฟัง และให้พยานลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานแทน
  2. ระบุให้ชัดเจนถึงผู้กระทำความผิดชัดเจน ทั้งลักษณะของความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำความผิด
  3. ต้องมีข้อความระบุห้ามไม่ให้พนักงานทำความผิดเดียวกันอีก หากยังกระทำซ้ำจะต้องถูกลงโทษ

ดังนั้น การจะออกใบตักเตือนพนักงานจะต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน และสอดคล้องไปกับข้อบังคับบริษัท เพื่อไม่ให้เกิดกรณีพิพาทตามมาภายหลังนั่นเอง

องค์ประกอบอื่น ๆ ที่ควรมีในใบตักเตือนพนักงาน

  • ชื่อองค์กร
  • จำนวนครั้งที่เตือน
  • ชื่อพนักงานและตำแหน่ง
  • ชื่อผู้บังคับบัญชา
  • ชื่อตัวแทนฝ่ายบุคคล
  • วันที่ออกหนังสือตักเตือน
  • ความผิดที่พนักงานกระทำ
  • ผลลัพธ์จากความผิดที่พนักงานกระทำ
  • ลายเซ็นผู้บังคับบัญชา
  • คำชี้แจงการรับทราบของพนักงาน
  • ลายเซ็นพนักงานหรือพยาน

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

Q: องค์กรสามารถออกใบเตือนพนักงานที่ติดโควิดได้ไหม (จะเป็นการซ้ำเติมจิตใจพนักงานหรือเปล่า)

จากกระแสที่ CEO บริษัทหนึ่งประกาศสั่ง HR ให้ออกใบเตือนพนักงานที่ติดโควิด อยากทราบว่ากรณีแบบนี้ จริงๆ แล้วออกใบเตือนได้ไหม? เข้าใจว่าในบริษัทมีทั้งพนักงานที่ติดโดยไม่รู้ตัว ทำตามมาตรการ social distancing ทุกอย่าง กับ พนักงานที่ทำผิดมาตรการ social distancing แบบนี้จะเป็นการซ้ำเติมจิตใจพนักงานหรือไม่ HR ควรทำอย่างไรกับสถานการณ์แบบนี้ดีครั

A: การออกใบเตือนพนักงานที่ติดโควิด ขอให้แยกเป็น 2 กรณี

กรณีที่ 1 พนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและ/หรือประกาศ คำสั่ง จำเป็นต้องออกใบเตือน ซึ่งอาจจะลงโทษขั้นเบาคือตักเตือนด้วยวาจา
(โดยต้องทำเป็นเอกสารไว้ด้วย)
กรณีที่ 2 หากพิสูจน์ได้ว่า พนักงานไม่มีเจตนาและไม่ทราบว่าตนเองติดโควิด แล้วมาทำงาน กรณีนี้ไม่แนะนำให้ออกใบเตือน เข้าหลักเกณฑ์ ไม่ทราบ ไม่มีเจตนา ถือว่าไม่มีความผิด

วิธีการเขียนและข้อควรระวังของใบเตือนพนักงาน

เมื่อทราบองค์ประกอบและโครงสร้างของใบเตือนพนักงานกันมาบ้างแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะพูดถึงวิธีการเขียนและข้อควรระวังของที่ HR ต้องเข้าใจ ดังนี้

  • หัวเรื่องควรมีความชัดเจนว่าเป็นหนังสือตักเตือน เขียนด้วยภาษาทางการ ไม่มีคำสะกดผิด
  • ย่อหน้าเปิดระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุ หรือเหตุการณ์ที่เป็นที่มาของการออกหนังสือเตือนพนักงานหรือลูกจ้างฉบับนี้ เช่น การเข้างานสาย การลาบ่อย หรือขาดงานบ่อย พร้อมแนบหลักฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่ตักเตือนนั้นด้วย เช่น บันทึกวันและเวลาเข้า-ออกงานของพนักงาน
  • เนื้อหาระบุมาตรการแก้ไขหรือการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น รวมไปถึงกรอบระยะเวลาการติดตามผลการปรับปรุงแก้ไข
  • ช่วงสุดท้ายระบุมาตรการลงโทษทางวินัย เช่น การพักงาน การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ (โบนัส) อย่างไรก็ตาม การลงโทษจะต้องเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือข้อบังคับตามสัญญา
  • สรุปปิดท้ายในแง่บวกและสร้างสรรค์ ที่สร้างความมั่นใจว่ากระบวนการตักเตือนเป็นเพียงการปรับปรุงแก้ไขการทำงานเพื่อรักษาความปลอดภัย พร้อมทั้งย้ำกว่าพนักงานคือทรัพย์สินอันมีค่าขององค์กร
  • ควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 2 ฉบับ ลงนามโดยนายจ้าง และส่งแบบปิดผนึกให้แก่พนักงานที่ต้องการจะตักเตือน
  • ควรเปิดโอกาสให้พนักงานในการชี้แจงหรืออธิบายข้อเท็จจริง และตรวจสอบข้อความในหนังสือเตือนฉบับนั้นว่าถูกต้องหรือไม่ก่อนลงนามรับทราบ
  • นายจ้างและลูกจ้างต้องเก็บหนังสือเตือนฉบับดังกล่าวไว้กับตน เพื่อใช้อ้างอิงและใช้เป็นหลักฐาน หากมีข้อพิพาทกันในอนาคต

7 สิ่งที่ HR ควรกระทำเมื่อต้องส่งใบเตือนพนักงาน

1. พูดคุยกับพนักงานเป็นการส่วนตัว

โปรดจำไว้ว่าการตักเตือนเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างองค์กรกับพนักงาน การดำเนินการเรื่องนี้ควรสนทนาในพื้นที่ส่วนตัวที่พนักงานรู้สึกปลอดภัย ไม่ใช่เป็นการตักเตือนต่อหน้าสาธารณะ ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดความอับอายหรือความไม่พึงพอใจได้ แนะนำว่าควรมีการพูดคุยกับพนักงานล่วงหน้าก่อนที่จะส่งใบตักเตือนอย่างเป็นทางการ เพื่อป้องกันการผิดใจหรือตกใจที่อาจจะเกิดขึ้น

2. มอบใบตักเตือนเร็วที่สุดหลังเกิดเหตุ

ช่วงเวลาในการออกใบเตือนพนักงานที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือการออกเร็วที่สุดหลังเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ขึ้นมา เพื่อที่ว่าพนักงานจะยังตระหนักถึงความผิดของตัวเอง และอาจลดการปะทะทางอารมณ์ระหว่างการตักเตือนในทางอ้อมด้วย พนักงานก็จะปรับปรุงตัวทันที

3. เน้นย้ำผลลัพธ์หากพนักงานไม่ปรับปรุงตัว

เป็นเรื่องที่ดี ถ้า HR แจ้งพนักงานอย่างตรงไปตรงมาถึงบทลงโทษที่อาจจะเกิดขึ้น หากพนักงานที่ได้รับการตักเตือนยังกระทำผิดเหมือนเดิม ซึ่งอาจเป็นการบอกด้วยวาจา รวมถึงการอ้างอิงข้อบังคับของบริษัทว่าพนักงานจะได้รับใบเตือนกี่ครั้งนั่นเอง

4. ขอลายเซ็นพนักงาน

การขอลายเซ็นกำกับไม่ใช่การบังคับ หากพนักงานไม่ยินยอมก็ไม่มีปัญหา แต่จะดีกว่าถ้าพนักงานยินยอมเซ็นกำกับว่ารับทราบการตักเตือน และเข้าใจผลกระทบตามมาหากยังกระทำผิดซ้ำเดิม หากพนักงานไม่เซ็นยินยอม อาจทำการอ่านแจ้งต่อหน้าพยาน เช่น หัวหน้างาน แล้วขอลายเซ็นพยานแทน พร้อมทั้งส่งเอกสารการตักเตือนแนบไปทางอีเมล จดหมาย หรือช่องทางที่พนักงานจะได้รับหนังสืออย่างแน่นอน

5. ใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเสมอ

กระบวนการตักเตือนควรดำเนินการโดยปราศจากอารมณ์และอคติส่วนตัวอย่างสิ้นเชิง สิ่งสำคัญคือการเตรียมข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือหลักฐานที่แสดงออกถึงการกระทำผิดของพนักงาน เช่น ตัวเลข KPIs เวลาเข้า-ออกงาน ฯลฯ จะมีประโยชน์ในการเจรจามากกว่า หากพนักงานเองมีอารมณ์ แต่ HR เองก็ควรสงบสติอารมณ์

6. พิสูจน์อักษรให้ถูกต้อง

เนื่องจากใบเตือนพนักงาน หรือ หนังสือตักเตือนพนักงาน สามารถเป็นหลักฐานสำคัญหากเกิดกรณีฟ้องร้อง HR เองควรตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องที่สุด ตั้งแต่วันที่ ชื่อ เหตุผล บทลงโทษ ฯลฯ และไม่มีควรมีการสะกดผิดใด ๆ โดยเฉพาะเอกสารดังกล่าวจะต้องมีลายเซ็นของผู้บังคับบัญชาด้วย ตรวจสอบให้รอบคอบก่อนส่งเสมอ

7. ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย

หากไม่แน่ใจเกี่ยวกับความถูกต้องทางกฎหมาย HR ควรปรึกษาฝ่ายกฎหมาย ทนายความ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อป้องกันความผิดพลาดทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง

ตัวอย่างใบเตือนพนักงาน ที่แต่ละองค์กรใช้งานจริง

มีหลายสำนักและองค์กรที่แจกเทมเพลตตัวอย่างใบเตือนพนักงานให้ดาวน์โหลดฟรี ๆ ในที่นี้เราได้รวบรวมบางส่วนมาให้ผู้อ่านได้กดโหลดภายในคลิกเดียว

ตัวอย่างใบเตือนพนักงาน โรงพยาบาลรามาธิบดี (ราชการ) doc

ตัวอย่างใบเตือนพนักงาน keikokusyo pdf

ตัวอย่างใบเตือนพนักงาน better-account pdf

ตัวอย่างใบเตือนพนักงาน ภาษาอังกฤษ templatelab doc

บทสรุป

แม้ว่ากระบวนการตักเตือนจะสร้างสภาพแวดล้อมที่อึดอัดใจ แต่นั่นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรควรกระทำหากพนักงานในสังกัดกระทำความผิดหรือปฏิบัติงานไม่เหมาะสม และหากการตักเตือนด้วยวาจาไม่เป็นผล ใบเตือนพนักงาน หรือ หนังสือตักเตือนพนักงาน จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทรัพยากรบุคคลสามารถใช้งานได้

หาก HR สามารถประยุกต์ใช้งานใบเตือนได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม มิใช่การกลั่นแกล้งหรือบีบบังคับให้ลาออก พนักงานก็มีโอกาสปรับปรุงตัวมากกว่าต่อต้าน ซึ่งนั่นก็จะส่งผลดีตัวพนักงาน และประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรต่อไป

ฉะนั้นแล้ว ฝ่ายทรัพยากรบุคคลผู้มีหน้าที่ดูแลงานในส่วนนี้โดยตรง ควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม ไร้อคติและอารมณ์ ก็จะทำให้ใบเตือนพนักงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

คุณมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการคำตอบใช่หรือเปล่า?

หากคุณรู้สึกว่าได้รับเทคนิคดี ๆ จากบทความนี้และอยากได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก

สามารถตั้งคำถามได้ในชุมชนของเรา ! แล้วคุณจะได้รับคำตอบมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita