องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลมีกี่องค์ประกอบ อะไรบ้าง

        การสื่อสารข้อมูล หมายถึง  การแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร โดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้ องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วย

1.ข้อมูล/ข่าวสาร (data/message) คือ ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ที่ต้องการส่งไปยังผู้รับโดยข้อมูลข่าวสาร อาจประกอบด้วย
ข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ หรือสื่อประสม

2.ผู้ส่ง (sender) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวีดิทัศน์ เป็นต้น

3.ผู้รับ
 (receiver) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสาร ที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น

4.สื่อกลางในการส่งข้อมูล
 (transmission media) คือ ส่งที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสื่อกลางในการส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสาย เช่น สายเคเบิล สายยูทีพี สายไฟเบอร์ออพติก และสื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟและดาวเทียม

5.โพรโทคอล
 (protocol) คือ กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่างๆที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง

1. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล   1. ตัวส่ง 2.  ช่องทางการรับ   3.  ตัวรับ 4.  ช่องทางการส่ง   2. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์   1. เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน 2.  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน   3.  เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน 4.  เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน   3. โปรโตคอล (Protocal) เปรียบเสมือนกับข้อใดต่อไปนี้   1.  กระดาษ 2.  ภาษา   3.  รถยนต์ 4.  รถจักรยาน   4. สายคู่พันเกลียวมีกี่ประเภท   1. 2 ประเภท 2.  3 ประเภท   3.  4 ประเภท 4.  5 ประเภท   5. การสื่อสารข้อมูลหมายถึงอะไร   1.  การติดต่อกันระหว่างผู้รับและผู้ส่ง 2.  การแลกเปลี่ยนโอนย้านข้อมูลระหว่างสถานที่ 2 แห่ง   3.  การถ่ายโอนข้อมูลโดยใช้สื่อระหว่างผู้รับและผู้ส่ง 4.  การถ่ายทอดข้อมูลจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง   6. ข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มของสื่อ แบบระบบไร้สายที่ไม่ใช้สายสัญญาณเป็นตัวนำข้อมูล   1. ระบบไมโครเวฟ 2.  ระบบดาวเทียม   3.  ระบบอินฟาเรด 4.  ระบบโทรศัพท์  

7. ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีการติดตั้งเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์เรียกว่าอะไร

  1. LAN 2.  MAN   3.  WAN 4.  VAN   8. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารข้อมูล   1. โปรโตคอล 2.  เครื่องพิมพ์   3.  ผู้รับ 4.  ข้อมูลข่าวสาร   9. ข้อใดเป็นข้อแตกต่างของการสื่อสารข้อมูลในสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบัน   1. การพิมพ์ข้อมูลออกเป็นเอกสาร 2.  การจัดเก็บข้อมูล   3.  การส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย 4.  การจัดส่งเอกสาร   10. รูปแบบการติดต่อข้อมูลแบบผลัดกันรับ-ส่งข้อมูลคือ   1. Simplex 2.  Duplex   3.  Half Duplex 4.  Full Duplex  


2.1 ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูล/ข่าวสารโดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสารซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้

2.2 องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วย

1.ข้อมูล/ข่าวสาร(data/message) คือข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่ต้องการส่งไปยังผู้รับโดยข้อมูลข่าวสารอาจประกอบด้วยข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ หรือสื่อประสม

2.ผู้ส่ง(sender) คือคนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวีดิทัศน์ เป็นต้น

3.ผู้รับ (reciever) คือคนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสาร ที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น

4.สื่อกลางในการส่งข้อมูล (transmission media)คือ ส่งที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสื่อกลางในการส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสาย เช่น สายเคเบิล สายยูทีพี สายไฟเบอร์ออพติก และสื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟและดาวเทียม

5.โพรโทคอล (protocol)คือ กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่างๆที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง

รูปที่ 1.4 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
ที่มา : //comedu.nstru.ac.th/5581135030/images/q.png


2.3 สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสาร

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สัญญาณแอนะล็อก(analog signal) และสัญญาณดิจิตอล(digital signal)  

สัญญาณแอนะล็อกเป็นสัญญาณที่มีขนาดแอมพลิจูด (amplitude) ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาและเป็นค่าต่อเนื่อง เช่น เสียงพูด และเสียงดนตรี  ส่วนสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่มีค่าความต่อเนื่องที่เรียกว่า ดิสครีต (discrete)สัญญาณดิจิทัลถูกแทนด้วยระดับแรงดันไฟฟ้าสองระดับเท่านั้น โดยแสดงสถานะเป็น “0”และ”1” ซึ่งตรงกับตัวเลขฐานสอง

รูปที่ 1.5 สัญญาณแอนะล็อกและสัญญาณดิจิทัล
ที่มา : //i1.wp.com/krukrit.kkw2.ac.th/images/lesson4/lesson4-2_clip_image002.jpg
         

ในบางครั้งการสื่อสารข้อมูลต้องมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณสัญญาณแอนะล็อกและสัญญาณดิจิตอลกลับไปมาเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม และนำไปใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องเจข้าด้วยกันผ่านระบบโทรศัพท์ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรองรับเสียงพูด ที่มีลักษณะของสัญญาณเป็นแบบแอนะล็อก ไม่เหมาะสมกับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัลระหว่างคอมพิวเตอร์ จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการแลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งออกไปเป็นสัญญาณแอนะล็อก จากนั้นแปลงกลับมาเป็นสัญญาณดิจิทัลเมื่อสัญญาณถูกส่งถึงผู้รับ โดยผ่านอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม(modem)ซึ่งใช้เทคนิคการบีบอัดข้อมูลร่วมกับการแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งสัญญาณด้วย ดังรูปที่ 1.6

รูปที่ 1.6 การแปลงสัญญาณระหว่างสัญญาณดิจิทัลและแอนะล็อก
ที่มา : //networkingbasics.weebly.com/uploads/1/0/9/9/10991116/4592248_orig.jpg


2.4 การถ่ายโอนข้อมูล

 

เป็นการส่งสัญญาณออกจากอุปกรณ์ส่ง ไปยังอุปกรณ์รับโดยจำแนกได้ 2 แบบ คือ

1) การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน 

ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละหลายบิตพร้อมกันจากอุปกรณ์ไปยังอุปกรณ์รับ ผ่านสื่อกลาง

ตัวนำสัญญาณที่มีช่องทางส่งข้อมูลหลายช่องทาง โดยทั่วไปจะเป็นการนำสายสัญญาณหลาย ๆ เส้น
ที่มีจำนวนสายส่งสัญญาณเท่ากับจำนวนบิตที่ต้องการส่งในแต่ละครั้ง เช่น ส่งข้อมูล 11110001
ออกไปพร้อมกัน  สายส่งก็ต้องมี 8 เส้น นอกจากการส่งข้อมูลหลักที่ต้องการแล้ว อาจมีการส่ง
ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมไปด้วย  เช่น  บิตพาริตี (parity bit)  ใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของการ
รับสัญญาณที่ปลายทาง  หรือสายที่ควบคุมการโต้ตอบ  เพื่อควบคุมจังหวะการ รับ-ส่งข้อมูล
ในแต่ละรอบสายส่งข้อมูลแบบขนานนี้มีความยาวไม่มาก เนื่องจากถ้าสายยาวมากเกินไป
จะก่อให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสาย และเกิดการรบกวนกันของ
สัญญาณ การส่งโดยวิธีนี้นิยมใช้้กับการรับส่งข้อมูลในระยะใกล้ ๆ

          ข้อดี ของการรับส่งข้อมูล คือ การ รับส่งข้อมูลทำได้รวดเร็ว
          ข้อเสีย ที่ต้องใช้สายส่งหลายเส้นทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ที่พบเห็นได้บ่่อย คือ การเชื่อมต่อระหว่าง
เมนบอร์ดกับฮาร์ดดิสก์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ EIDE และการเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง
คอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์ ด้วยพอร์ตแบบขนาน

รูปที่ 1.7 การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
//greentae.files.wordpress.com/2013/01/4image7.jpeg


2) การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม

ในการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมข้อมูลที่ส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การถ่ายโอน
ข้อมูลแบบอนุกรม ต้องการสื่อกลางสำหรับ การสื่อสารเพียงช่องเดียว หรือเพียงคู่สายเดียว
ค่าใช้จ่ายในด้านของสายสัญญาณจะถูกกว่าแบบขนานสำหรับการส่งระยะไกล ๆ การถ่ายโอนข้อมูล
แบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลแต่ละชุดจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอนุกรมแล้วทยอยส่งออกไปทีละบิตยังจุดรับ
          แต่เนื่องจากการทำงาน  และการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
จะใช้ช่องทางการสื่อสารแบบขนาน ที่ประกอบด้วย ชุดของข้อมูลหลายบิต
          ดังนั้นที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนแปลงข้อมูล  ที่รับมาทีละบิต ให้เป็นชุดของข้อมูลที่
ลงตัวพอดีกับขนาดของช่องทางการสื่อสารที่ใช้ในคอมพิวเตอร์  เช่น  บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1
เป็นต้น การเชื่อมต่อสามารถทำได้  โดยใช้สายถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมหรือที่เรียกว่า สายซีเรียล
(serial cable)
          ในปัจจุบันมีการพัฒนาการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมความเร็วสูงโดยการใช้การเชื่อมต่อ
แบบยูเอสบี

รูปที่ 1.8 การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
ที่มา : //greentae.files.wordpress.com/2013/01/4image9.jpeg


2.5 รูปแบบการรับ-ส่งข้อมูล

รูปแบบการรับ-ส่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลขนานหรือแบบอนุกรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้

1. การสื่อสารข้อมูลทางเดียว(simplex transmission) ข้อมูลสามารถส่งได้ทางเดียว โดยแต่
ละฝ่ายจะทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น เป็นผู้รับหรือผู้ส่งบางครั้งเรียกการสื่อสารแบบนี้ี้ว่า การส่ง
ทิศทางเดียว (unidirectional transmission)  เช่น การกระจายเสียงของสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุ

 2. การสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex transmission)  สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งสองฝ่าย
แต่ต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับจะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสาร (walkie-talkie radio)

3. การสื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex transmission) สามารถส่งข้อมูลได้สองทางโดย
ที่ผู้รับและผู้ส่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์คู่สนทนาคุยโต้
ตอบได้ในเวลาเดียวกัน

รูปที่ 1.9 รูปแบบทิศทางการส่งข้อมูล
ที่มา : //na5241.blogspot.com/2017/08/blog-post_25.html

>> คลิกทำแบบฝึกหัด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita