สารที่ใช้ในการทดสอบโปรตีนคือสารใดและให้ผลการทดสอบอย่างไร

        อาหารในชีวิตประจำวันมีสารอาหารหลากหลายชนิด วิธีการทดสอบอาหารเพื่อระบุสารอาหารที่ได้   รับจากการรับประทาน มีวิธีการทดสอบดังนี้ 


    วิธีทดสอบคาร์โบไฮเดรต 

        1

. คาร์โบไฮเดรตพวกที่มีรสหวาน ทดสอบโดยใช้สารละลายเบเนดิกส์ ซึ่งมีสีฟ้า ผลการทดสอบ   เป็นดังนี้ เมื่อนำน้ำตาลกลูโคส + สารละลายเบเนดิกส์ แล้วนำไปต้ม จะเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกส์จากสีฟ้าเป็นตะกอนสีส้มแดง 

ที่มารูป: //goo.gl/wF3DaV


        2. คาร์โบไฮเดรตพวกที่มีรสไม่หวาน หรือ แป้ง ทดสอบโดยใช้สารละลายไอโอดีน ซึ่งมีสีน้ำตาลเหลือง ผลการทดสอบเป็นดังนี้  แป้ง + สารละลายไอโอดีน จะเปลี่ยนสีสารละลายไอโอดีนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงิน หรือ ม่วงดำ 

ที่มารูป: //goo.gl/wF3DaV


    วิธีทดสอบโปรตีน

ที่มารูป: //goo.gl/tmujy9


        ทดสอบด้วยการ
นำอาหารมาทดสอบกับสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตซึ่งมีสีฟ้า และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 
หรือเรียกว่า การทดสอบไบยูเร็ต

 ผลการทดสอบเป็นดังนี้ 

    โปรตีน + (สารละลายคอปเปอร์(II) ซัลเฟต + สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จะเปลี่ยนสีสารละลายดังกล่าวจากสีฟ้าเป็นสีม่วงแกมแดง

    วิธีทดสอบไขมัน
        ทดสอบด้วยการนำน้ำมันพืชหรืออาหารไปถูกับกระดาษประมาณ 3-4 ครั้ง ถ้ามีลักษณะ โปร่งแสง แสดงว่า เป็นไขมัน

ที่มารูป: //goo.gl/wF3DaV

 บรรณานุกรม

        มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา(สอวน.). (2556). ชีววิทยา1(มัธยมศึกษาตอนต้น). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

         ณัฐพงศ์ ก้องคุณวัฒน์. (2559). สรุปวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สำหรับเตรียมสอบเข้า. กรุงเทพฯ: กรีนไลฟ์ พริ้นติ้งเฮาส์.

         สำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. 

                                                                    ตอนที่  1  เรื่อง   การทดสอบอาหาร

  อาหาร    คือ สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้ว  ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย  ดังนี้

                     1.  ทำให้เกิดพลังงาน

                     2.  ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

                     3.  ทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้ตามปกติ

  สารอาหาร  หมายถึง  สารเคมี ที่ประกอบอยู่ในอาหาร    

 การทดสอบสารอาหาร      ทดสอบ  1. แป้ง    2.น้ำตาลกลูโคส   3. โปรตีน (ไข่ขาว,  น้ำนม)  4.ไขมัน

            การทดสอบคาร์โบไฮเดรต  แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ     1. ทดสอบแป้ง     2. ทดสอบน้ำตาล

                1. การทดสอบแป้ง  ใช้ สารละลายไอโอดีน (สีน้ำตาล เหลือง)   หยดลงไปในหลอดทดลองที่มีน้ำแป้ง  ผสมอยู่ 2 - 3 หยด     
ถ้าเกิด สีน้ำเงิน   หรือน้ำเงินปนม่วง  แสดงว่า  อาหารนั้นเป็น แป้ง

                2. การทดสอบน้ำตาล  (เฉพาะน้ำตาล โมเลกุลเดี่ยว) เช่น  น้ำตาล  กลูโคส, ฟรักโทส, กาแลกโทส    
                  
- ใช้ สารละลาย เบเนดิกต์ (สีฟ้า) (หยดลงไป 5 หยด แล้วนำไป  ต้มในน้ำเดือด 

                   -  ถ้ามีน้ำตาลกลูโคส   จะเปลี่ยนเป็น    ตะกอนสีแดงอิฐ  (หรือ สีส้มแดง)  ของธาตุทองแดง Cu2O
(คิวปรัส ออกไซด์ – Cuprous  oxide)
                   -  สีของตะกอน  จะบอกถึงระดับน้ำตาล   เรียงจากน้อยที่สุด ไปมากที่สุด ดังนี้

                      (น้อย) .... สีฟ้าอมเขียว  < สีเหลือง  สีส้ม  สีแดง  <   สีแดงอิฐ .... (มาก)

             ถ้านำ น้ำตาลทราย (ซูโครส) (โมเลกุลคู่)  มาทดสอบ  จะไม่เปลี่ยนแปลง  เว้นแต่มีการต้มนานเกินไป 

                      หรือต้มกับ  กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือเจือจาง) ก่อน  น้ำตาลทรายบางส่วน อาจเปลี่ยนเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 
เกิดปฏิกิริยา เปลี่ยนสีเป็น ส้มแดง ได้เล็กน้อย
  หรือเป็น สีเขียวอมเหลือง ก็ได้   (สาร ม.4-6  วพ. น.138)

            การทดสอบโปรตีน  มี 2  วิธี  สารที่ใช้ทดสอบ   ได้แก่  1.ไบยูเร็ต     2. กรดไนตริกเข้มข้น (HNO3)

               ไบยูเร็ต  เป็นสารผสมกัน 2 อย่าง คือ 1. สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต(จุนสี)    2. สารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาแผดเผา - NaOH)   เรียกการทดสอบ เช่นนี้ว่า   การทดสอบไบยูเร็ต

              - เมื่อหยดสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต 5 หยด แล้วค่อยๆ  หยดสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์    ประมาณ 10 หยด  ลงไปในอาหาร  (น้ำนม หรือ ไข่ขาว)   
             
  ถ้ามีโปรตีน   จะเปลี่ยนจาก  สารสีฟ้า    เป็น   สี ม่วง  

                ถ้าใช้ กรดไนตริกเข้มข้น (กรดดินประสิว) ทดสอบ   จะเปลี่ยนเป็น   สีเหลือง

             การทดสอบไขมัน  ทำได้โดย 

                1.  นำไขมัน มาถูกับกระดาษ  ปล่อยให้แห้งแล้วนำไปส่องกับแสงแดด

                   -  ถ้ามีไขมัน  กระดาษ จะเปลี่ยนจาก ทึบแสง     เป็น โปร่งแสง

              2.  ทดสอบโดย  นำไขมัน  ไป ต้มกับเบส  โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)  จะได้   สบู่                         

พลังงานที่ได้จากอาหาร

หน่วยวัดพลังงานที่ได้จากอาหาร คือ แคลอรี   ( 1  แคลอรี่  เท่า 4.2 จูล)  

พลังงาน 1  แคลอรี  หมายถึง  ปริมาณความร้อน ที่ทำให้น้ำ 1  กรัม  มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1  องศาเซลเซียส  หรือประมาณ  4.2  จูล

         สูตร  คำนวณ หาค่าพลังงานความร้อน     =   มวลของน้ำ  อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป

         เมื่อเราหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป   จะทำปฏิกิริยาเผาผลาญอาหาร(สันดาป)   ทำให้ได้พลังงานออกมา  ดังสมการ

สารอาหาร  +  ออกซิเจน   …จะได้……….  พลังงาน  +  น้ำ  + คาร์บอนไดออกไซด์

พลังงานที่ร่างกายต้องการ

คนเราต้องการพลังงานไม่เท่ากัน  ขึ้นอยู่กับ  เพศ   วัย  สภาพร่างกาย  และกิจกรรมที่ทำ 
               -  เด็กชายอายุ
  16 –19 ปี ต้องการพลังงานจากอาหารมากที่สุด ประมาณ 3,300 กิโลแคลอรีต่อวัน
              - ผู้ชายอายุ 60-69 ปี ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี่ 
              -  เราต้องกินอาหารให้ครบหมู่  และได้ปริมาณที่พอเพียง   แต่ถ้ากินอาหารมากเกินไป  อาจทำให้เกิดโรคอ้วน  ความดันสูง  
โรคหัวใจ   เบาหวาน  ไขมันอุดตันในเส้นเลือด  เป็นต้น

ในการทดสอบโปรตีนมีชื่อเรียกว่าอะไรใช้สารใดในการทดสอบและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

การทดสอบโปรตีนสามารถทดสอบไดดวยปฏิกิริยาไบยูเรต (Biuret reaction) โดยใหโปรตีนทําปฏิกิริยากับ สารละลาย CuSO4 ในสารละลายเบส NaOH หรือ KOH จะไดสารสีน้ําเงินมวง โดยปฏิกิริยา CuSO4 ในสารละลายเบส จะทําปฏิกิริยากับองคประกอบยอยของโปรตีนคือ กรดอะมิโน ไดสารสีน้ําเงินมวง ซึ่งเปนสารประกอบเชิงซอน ระหวาง Cu2+ กับไนโตรเจน ...

ทดสอบน้ําตาล ใช้สารอะไร

sugar เช่น กลูโคส ฟรักโทส) โดยใช้สารละลายเบเนดิกต์ จะสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของ สารละลาย ดังนี้ เมื่อต้มให้ความร้อน สารละลายจะเปลี่ยนจากสีฟ้าเกิดเป็นตะกอนสีส้ม หรือสีแดงอิฐ โดยสีของสารละลายอาจเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง หรือสีเหลืองได้หาก

การทดสอบอาหารประเภทไขมันจะใช้สารใด

กระดาษขาว ใช้ทดสอบ : ไขมัน วิธีการทดสอบ : หยดน้ำมันพืชลงบนกระดาษขาว ขนาด 2 ตารางเซนติเมตร แล้วใช้มือถูไปมา จากนั้นยกกระดาษขึ้นให้แสงผ่าน สังเกตว่าโปร่งแสงหรือไม่ ผลการทดสอบ : หากนำไปทดสอบสารใด ๆ แล้วกระดาษขาวโปร่งแสง แสดงว่าสารนั้นมีไขมัน

การทดสอบน้ำตาลในพืชทดสอบด้วยสารชนิดใด และผลลัพธ์เป็นอย่างไร

2. การทดสอบน้ำตาล (เฉพาะน้ำตาล โมเลกุลเดี่ยว) เช่น น้ำตาล กลูโคส, ฟรักโทส, กาแลกโทส - ใช้ สารละลาย เบเนดิกต์ (สีฟ้า) (หยดลงไป 5 หยด แล้วนำไป ต้มในน้ำเดือด - ถ้ามีน้ำตาลกลูโคส จะเปลี่ยนเป็น ตะกอนสีแดงอิฐ (หรือ สีส้มแดง) ของธาตุทองแดง Cu2O.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita