ข้อใดเป็นสื่อกลาง(Media)ขององค์ประกอบพื้นฐานระบบการสื่อสาร

  • คุณอยู่ที่:  
  • บทความ
  • Network - เครือข่ายและการเชื่อมต่อ
  • องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล

หมวดหลัก: บทความ หมวด: Network - เครือข่ายและการเชื่อมต่อ Network - เครือข่ายและการเชื่อมต่อ อัปเดตล่าสุด: 05 เมษายน 2561 05 เมษายน 2561

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

          การสื่อสารข้อมูล คือ การถ่ายโอนหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระว่างต้นทางและปลายทางผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกหรือคอมพิวเตอร์ โดยระบบการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยอุปกรณ์หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการถ่ายโอนหรือเคลื่อนย้ายข้อมูล โดยในการในการถ่ายโอนหรือการเคลื่อนย้ายข้อมูลจะต้องอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล มีด้วยกัน 4 องค์ประกอบ ดังนี้

  1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล Sender (เซนเดอร์) และผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล Receiver (รีซีเวอะ) โดยตัวอุปกรณ์รับและส่งข้อมูลนั้นสามารถใช้ชนิดเดียวกันได้โดยอุปกรณ์รับหรือส่งข้อมูลแบ่งได้ 2 ชนิด คือ 1.DTE Data Terminal Equipment (ดีทีอี ดาต้า เทอมินอลอิควีพเม็นท) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ เมนเฟรม เป็นต้น 2.DCE Data Communication Equipment (ดีซีอี ดาต้าคอมมูนิเคชันอิควีพเม็นท) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับหรือส่งข้อมูล เช่น โมเด็ม เป็นต้น
  2. Protocol (โปรโตคอล) เป็นกฏระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งข้อมูลเข้าใจกันสามารถติดต่อกันได้ หรือ Software (ซอฟต์แวร์) มีหน้าที่ในการดำเนินงานในการสื่อสารตามที่ตัวโปรแกรมจะกำหนด
  3. Message (เมซซิจ) ก็คือข่าวสาร หรือที่เรียกกันว่า Information (อินฟอเมชัน) สารสนเทศ โดยจะมีรูปแบบข่าวสาร 4 แบบด้วยกัน คือ เสียง ข้อความ ข้อมูล ภาพ 
  4. Medium (มีเดียม) สื่อกลาง เป็นตัวกลางในการสื่อสารของข้อมูลจากต้นทางไปหาปลายทางโดยสื่อกลางอาจจะเป็นตัวสายเคเบิล สายไฟหรือสายไฟเบอร์ออปติก เป็นต้น หรือสื่อกลางนี้อาจจะเป็นคลื่นต่างๆเช่นคลื่อนวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น

          ในการที่จะส่งข้อมูลไปหาเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องปลายทางนั้นก็มีองค์ประกอบในการที่จะจัดส่งข้อมูลโดยจะประกอบไปด้วยผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล ตัวโปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง ตัวข่าวสารที่ต้องการจะส่งเช่น รูปภาพ วีดีโอ เป็นต้น และมีตัวสื่อกลางในการจัดส่งตัวข้อมูลข่าวสารเช่น พวกสายเคเบิลต่างๆ 

ภาพประกอบ : comedu.nstru.ac.th

ช่องทางการศึกษาเพิ่มเติมข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ : Network

  • หมวดหมู่ Network (120)
  • ข่าวสาร Network (41)
  • สอบถามเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (537)
  • คู่มือสอนการสร้างเครือข่ายแลน (6)

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความสำคัญของสื่อกลางในการส่งข้อมูล
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถระบุประเภทของสื่อกลางในการส่งข้อมูลได้

ตัวกลางการสื่อสารข้อมูล (Transmission Media)

ตัวกลางการสื่อสารข้อมูล คือ เส้นทางทางกายภาพในการนำข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารข้อมูล เพราะการเลือกใช้สื่อที่เหมะสมทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลและประหยัดต้นทุน

สื่อที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  1. สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ หรือสื่อกลางที่ใช้สาย (Guided/ Wired Transmission media) ตัวกลางเป็นสิ่งสำคัญ
  2. สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ หรือสื่อกลางไร้สาย (Unguided/ Wireless Transmission Media) ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) เป็นสิ่งสำคัญ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเร็วในการส่งข้อมูล

  1. จำนวนโหนดหรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ (Number of Receivers)
  2. ความสูญเสียต่อการส่งผ่าน (Transmission Impairments) คือการอ่อนกำลังของสัญญาณ
  3. การรบกวนของสัญญาณ (Interference) คือ การรบกวนของสัญญาณภายนอก
  4. แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) คือ ความกว้างของช่องสัญญาณ บอกถึงความสามารถของการส่งข้อมูล ยิ่งกว้างยิ่งส่งข้อมูลได้เร็ว

สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ หรือ สื่อกลางที่ใช้สาย (Guided/ Wired Transmission Media)

  1. สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cable)
  2. สายโคแอคเชียล (Coaxial Cable)
  3. สายเคเบิลใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ออปติกส์ (Fiber Optical Cable)

1. สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cable)

  1. นำสาย 2 เส้นมาถักเป็นเกลียว เพื่อลดสัญญาณรบกวน
  2. สายคู่บิดเกลียวเป็นสายสัญญาณที่มีราคาถูกที่สุดและนิยมใช้มากที่สุด
  3. ประกอบด้วยสายทองแดง (Copper) หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก (Outer Insulator)
  4. สายคู่บิดเกลียวเป็นสายสัญญาณไฟฟ้านำข้อมูลได้ทั้งแอนะล็อกและดิจิตอล ลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป
  5. โดยส่วนมากจะใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์และการติดต่อสื่อสารในอาคารเดียวกัน

ประเภทของสายคู่บิดเกลียว

  1. แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair Cable – UTP)
  2. แบบมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair Cable – STP)

สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair Cable – UTP)

Unshielded Twisted Pair Cable – UTP
  • ถูกรบกวนจากสัญญาณรบกวนได้ง่าย
  • ใช้ในสายโทรศัพท์
  • ราคาถูกที่สุด
  • ง่ายต่อการติดตั้ง

สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair Cable – STP)

Shielded Twisted Pair Cable – STP
  • ช่วยลดสัญญาณรบกวน
  • อัตราการส่งข้อมูลสูงกว่า
  • ราคาสูงกว่า
  • หนาและหนักกว่า

โดยสายทั้งสองประเภทต้องต่อเข้ากับหัว RJ45 เพื่อนำไปใช้งาน โดยปกติเราจะเรียกสายแบบนี้ว่า สาย LAN

สายคู่บิดเกลียว ต่อเข้ากับหัว RJ45

2. สายเคเบิลแกนร่วม หรือ โคแอกเซียล (Coaxial Cable)

มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง  ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบโทรทัศน์บ้านและเคเบิลทีวี ส่งข้อมูลในระบบโทรศัพท์ไกลๆ และระบบ LAN

  • สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณไฟฟ้านำข้อมูลได้ทั้ง Analog และ Digital
  • ช่วงความถี่ (Frequency) และแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) สูงกว่าสายคู่บิดเกลียว
  • รองรับความถี่และอัตราการส่งข้อมูลสูง
  • ป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี
  • Coaxial Cable
  • Coaxial Cable

3. เคเบิลใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ออปติกส์ (Fiber Optic Cable)

หลักการทั่วไปของการสื่อสารในสายใยแก้วนำแสง คือการเปลี่ยนสัญญาณข้อมูลหรือสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน แล้วส่งผ่านสายใยแก้วนำแสงไปยังปลายทาง ซึ่งเคเบิลใยแก้วนำแสงเป็นตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปของแสง

  • ทำมาจากพลาสติก และ/หรือ แก้ว
  • ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบโทรคมนาคม
  • แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) กว้างจึงมีอัตราการส่งข้อมูลสูงและเร็ว
  • ไม่มีสัญญาณรบกวน
  • ประสิทธิภาพการทำงานสูง
  • ราคาแพง
  • Fiber Optic Cable
  • Fiber Optic Cable

คุณสมบัติและการนำไปใช้งานของสื่อกลางแบบใช้สายชนิดต่างๆ

ชนิดของสื่อกลางความเร็วสูงสุดระยะทางที่ใช้งานได้การนำไปใช้งาน
STP 155 Mbps ไม่เกิน 100 เมตร ปัจจุบันไม่นิยมใช้ เนื่องจากราคาสูง
UTP 1 Gbps ไม่เกิน 100 เมตร เชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ากับระบบ LAN
Coaxial 10 Mbps ไม่เกิน 500 เมตร ใช้เชื่อมต่อสายสัญญาณภาพโทรทัศน์
Fiber Optic 100 Gbps มากกว่า 2 กิโลเมตร ระบบเครือข่ายหลักในปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita