ตัวอย่าง การเขียน proposal ภาษาอังกฤษ

นนร. หลายนายคงรู้จัก proposal กันบ้างแล้ว โดยเฉพาะ นนร. ที่เริ่มทำโครงงาน เพราะหลังจากที่ความคิดตกผลึก ได้ข้อตกลงใจกันในกลุ่มแล้วว่าจะทำอะไร ก็ต้องหาข้อมูล ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ตนสนใจ นำมาเขียน proposal เพื่อขออนุมัติการทำโครงงานนั้น มาถึงตรงนี้ นนร. ที่ยังไม่รู้จัก proposal ก็พอจะเห็นภาพลาง ๆ แล้วนะครับว่าคืออะไร

การเขียน proposal ก็คือการเขียนโครงการวิจัยนั่นเองครับ การที่โครงงานของ นนร. จะได้รับการอนุมัติได้นั้น นนร. จะต้องสื่อสารกับคณะกรรมการผ่าน proposal ให้ชัดเจน กระชับ

ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นหลักการเขียน proposal อย่างง่าย

ส่วนที่ 1 วางแผนการเขียน proposal

1. ระบุตัวผู้อ่าน: จะต้องรู้ว่าผู้ที่อ่าน proposal นั้นมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะนำเสนอมากน้อยเพียงไร

2. ระบุหัวข้อ: หัวข้อต้องชัดเจน ไม่เฉพาะผู้เขียนเท่านั้นที่อ่านหัวข้อแล้วเข้าใจ ต้องให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจด้วย

3. ระบุวิธีแก้ปัญหา: วิธีแก้ปัญหา ต้องตรงจุด และเข้าใจง่าย

4. ระบุรูปแบบ: ต้องตรวจสอบว่า proposal ที่จะต้องเขียนส่ง มีรูปแบบ หรือแบบฟอร์มหรือไม่

5. เขียน outline: เพื่อช่วยให้เราสามารถเรียนเรียงความคิดของเราได้

ส่วนที่ 2 เริ่มเขียน proposal

1. เริ่มต้นด้วยบทนำที่หนักแน่น: เพื่อให้ผู้อ่านสนใจ มั่นใจว่าโครงงานของเรามีประโยชน์และสามารถทำได้สำเร็จ

2. ระบุปัญหา: ทำให้ผู้อ่านเห็นถึงปัญหา

3. เสนอวิธีแก้ปัญหา: ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ proposal

4. เสนอตารางการทำโครงงานและงบประมาณที่ใช้

5. สรุป: ให้เหมือนกับบทนำ (แต่ไม่ใช่นำบทนำมาเขียน)

6. ทบทวน แก้ไข proposal ที่เขียน

7. ตรวจสอบ proposal อีกครั้ง

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ //www.wikihow.com/Write-a-Proposal

เอกสารอ้างอิง

//www.wikihow.com/Write-a-Proposal

หากพูดถึงการทำวิจัย โครงร่างวิจัย หรืออะไรก็ตาม พอได้ยินคำว่า วิจัยขึ้นมาหลายคนคงถึงกับปาดเหงื่อกันไปเลยทีเดียว

ซึ่งในหลายๆเหตุการณ์ของชีวิต ของเพื่อนๆบางคนอาจจะต้องตกอยู่ในสถานการณ์
ที่หนีไม่พ้นไอคำว่าวิจัยนี่แหละ ไม่ว่าจะเป็น ฉันอยากจะ……

ขอทุนเรียนต่อต่างประเทศ
เรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษาในไทย
ขอทุนไปทำวิจัยต่างประเทศ
หรือแม้แต่การเข้าร่วมทุนโครงการบางอย่าง

วันนี้เปิ้ลมีวิธีที่จะทำให้เรื่องน่าปวดหัวเหล่านี้กลายเป็นของที่ง่ายขึ้น

คำเตือน !!
1 เอาจริงๆต้องขอออกตัวก่อนว่าไม่ใช่คนเก่งอะไร อ่านแบบใช้วิจารณญาณ
เป็นมุมมองแนวทางนะคะ เพราะสุดท้ายแล้วแต่ละคนมีสไตล์ รูปแบบที่ต่างกัน
2 ขอใช้คำพูดที่ไม่เป็นทางการ แบบบทความเราก็อยากให้อ่านกันแบบสบายๆอะเนอะ
3 จริงๆ บางส่วนมันก็ทริคที่ออกอากาศไม่ได้ หากสนใจเพิ่มเติมหลังไมค์ได้เน้อ

ก่อนเข้าเนื้อหา อยากจะบอกว่า การเขียนโครงร่างงานวิจัย, วิจัยหน้าเดียว
หรืออะไรพวกนี้เปิ้ลเองก็พอมีประสบการณ์มาบ้าง จากที่แต่ก่อนเกลียดมากอ่ะ วิชานี้5555 แต่ด้วยความพยายาม ก็เลยทำให้ใช้หลักการของตัวเองนี่แหละเขียนจนได้ทุนเรียนโทที่ไต้หวัน ส่งวิจัยประกวดได้รางวัลที่2ระดับภาค และชมเชยระดับประเทศในการแข่งงานทักษะงานวิชาการ ของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่นๆอีกมากมายยยย เลยคิดว่าถ้าเราเอามาแชร์คงมีประโยชน์กว่าเก็บไว้ในสมองตัวเองแน่ๆ

แล้วองค์ประกอบ หรือเนื้อหาหัวข้อในโครงร่างงานวิจัยเรามีอะไรบ้าง
อันนี้ก็ขึ้นอยู่ว่า มหาลัยเหล่านั้นเขามีฟอร์มให้หรือไม่ค่ะ ซึ่งเปิ้ลได้แปะตัวอย่างแบบฟอร์มไว้ให้เผื่อคนที่สนใจนะคะ ต้องขอขอบคุณ www.cumedicine.org ด้วยนะคะ

การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research Proposal)

1. ชื่อโครงการ (Proposal Title): ต้องชัดเจน กระชับ น่าสนใจ และสามารถดำเนินการวิจัยได้จริง

(ภาษาไทย) ……………………………

(ภาษาอังกฤษ) ………………………….

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหา (Rationale): เป็นการบรรยายถึงปัญหาของเรื่องที่ทำวิจัย มีความเป็นมาและมีความสำคัญอย่างไร มักเริ่มเขียนจากสภาพปัญหาอย่างกว้างๆ เข้าสู่ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา

3. ทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review Literature):เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ได้จากการค้นคว้าเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเราทั้งด้านปัญหาการวิจัยหรือวิธีการวิจัย

4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives): ระบุประเด็นหรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการศึกษา ซึ่งต้องสอดคล้องกับคำถามการวิจัย และสมมติฐาน

ตัวอย่างที่ 1 วัตถุประสงค์ (หลัก) เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะพิษต่อตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับยาต้านวัณโรค

วัตถุประสงค์ (รอง) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการฟื้นตัวรวมทั้งผลลัพธ์ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะพิษต่อตับจากยาต้านวัณโรคในผู้ป่วยตับแข็ง

ตัวอย่างที่ 2 วัตถุประสงค์ (หลัก) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของแพทย์ผู้รักษาในการส่งตรวจคัดกรองมะเร็งตับ ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในประเทศไทย

วัตถุประสงค์ (รอง) เพื่อศึกษาวิธีการที่จะช่วยเพิ่มอัตราการส่งตรวจคัดกรองกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในประเทศไทยอย่างถูกต้องตาม Guidelines

5. คำถามของการวิจัย: ควรเป็นคำถามที่ผู้วิจัยต้องการคำตอบมากที่สุดจากการวิจัยนี้ และสอดคล้องกับชื่อเรื่องที่จะวิจัยและวัตถุประสงค์ของการ

ตัวอย่างที่ 1 คำถาม (หลัก) ปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะพิษต่อตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับยาต้านวัณโรคเป็นอย่างไร

คำถาม (รอง) ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวรวมทั้งผลลัพธ์ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะพิษต่อตับจากยาต้านวัณโรคในผู้ป่วยตับแข็งเป็นอย่างไร

ตัวอย่างที่ 2 คำถาม (หลัก) ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการตัดสินใจของแพทย์ผู้รักษาในการส่งตรวจคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในประเทศไทย

คำถาม (รอง) วิธีการใดบ้างที่จะช่วยเพิ่มอัตราการการส่งตรวจคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในประเทศไทยอย่างถูกต้องตาม Guidelines

6. สมมติฐาน (Hypothesis): เป็นกำหนดทิศทางหรือแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามในการวิจัย เพื่อคาดคะเนผลที่จะได้จากการวิจัย

ตัวอย่างที่ 1 โรคประจำตัว ความรุนแรงของภาวะตับแข็ง สูตรยาต้านวัณโรคเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิษต่อตับและผลลัพธ์การฟื้นตัวในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับยาต้านวัณโรค

ตัวอย่างที่ 2 ความรู้ ทัศนคติของแพทย์เกี่ยวกับการส่งตรวจคัดกรองมะเร็งตับ (HCC) ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงส่งผลต่ออัตราการส่งตรวจอย่างเหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญ

7. ระเบียบวิธีการวิจัย (Research Methodology): ระบุถึงประชากร/ประชากรตัวอย่าง และจำนวนประชากรที่จะใช้ในการวิจัย รวมถึงกำหนดลักษณะ Inclusion criteria และ Exclusion criteria ของประชากรที่ต้องการจะศึกษาให้ชัดเจน และกำหนดสูตรในการคำนวณ จำนวนขนาดตัวอย่างที่ต้องศึกษา

8. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection):ระบุถึงข้อมูลที่ต้องการ และขั้นตอนหรือวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ หรือจะใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน เป็นต้น

9. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ (Data Analysis and Statistics) :ระบุถึงวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล และจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอะไร เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามการวิจัยทั้งหมดที่ต้องการได้

มาเริ่มกันเลย
Part นี้ขอพูดถึงเรื่องของการเขียนบทนำ หรือที่มาความสำคัญ, การคิดหัวข้อเรื่อง
และการวางแผนในการเริ่มต้นทำงานเราให้เสร็จตามเวลาและถูกใจกรรมการ

1 ไอเดีย
หลายคนคง งง ว่าอ้าว ทำไมถึงไม่พูดเรื่องของชื่อเรื่องก่อน เหตุผลก็คือ บางคนอยากเรียนต่อด้าน abcdอะไรก็ว่าไป แต่พอบอกให้ทำวิจัยกับBlank ไม่รู้ว่าตัวเองจะทำอะไรดี เราเคยทำ ทั้งป ตรี และโท ไม่รวมอย่างอื่นอีกร้อยแปดพันเก้านะ มันมีอยู่2ประเด็นหลักๆเลย

1.1 ทำเรื่องที่ชอบ ถนัด อยากรู้
1.2 ทำเรื่องที่ทำแล้วจบง่าย

เพราะบางครั้งบางเหตุการณ์ เราไม่สามารถ เอา1.1 มารวมกับ1.2 ได้เว้ยหากต้องเลือก สำหรับเราๆเลือก1.2 555555 แต่อย่าลืมว่า การทำงานวิจัย ตลอดจนตีพิมพ์ในวารสาร ชื่อของเราก็จะติดอยู่ในนั้นอีกนานแสนนานเลยนะฮาฟฟฟฟ

แต่จริงๆแล้วเราควรทำเรื่องที่เราอยากรู้หรือสนใจ แต่อย่างที่บอก ถ้ามันทำให้เราจบยากก็ควรเลี่ยง เปลี่ยนเรื่องดีกว่า อ่ะมาต่อกัน

Step 1 เขียนประเด็นย่อๆเป็น Keyword เรื่องที่อยากทำ และดูความเป็นไปได้ว่ามันยากไปไหม ใช้เวลา ทุนทรัพย์ ขนาดไหน กรณีเป็นdissertationก็เขียนไปเยอะๆแล้วปรึกษาอาจารย์เลยค่ะ แต่บทความนี้ขอเน้นไปที่การที่เราต้องทำคนเดียวไม่มีadvisor ไม่มีโค้ชคอยกำกับ

เมื่อได้ประเด็นแล้วเข้าสู่
Step 2 เขียนความเป็นได้ อันนี้จะคล้ายๆหัวข้อบนแต่แตกรากลงมา เช่น รูปแบบงานวิจัย เชิงปริมาณ คุณภาพ จำนวนประชากร รูปแบบการเก็บข้อมูล ระยะเวลาในการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ ทฤษฏีต่างๆที่จะมารองรับหรือใช้ในงานวิจัย

ทริค พยายามเลือกหัวข้อที่สอดคล้องกับวิชาที่เรียน หรือสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ มีความโดดเด่น ความกว้างใหญ่ ขอบเขตของงานวิจัย มีความสอดคล้องกับทุนหรือระดับที่เรียนประเด็นปัญหาที่ทันยุคสมัย (อ่านเยอะๆ อัพเดตตัวเองบ่อยๆ)

ตอนนี้เพื่อนๆก็จะได้ภาพกว้างๆของงานวิจัยแล้วว่าเราต้องการทำอะไร

ต่อมา
2 วัตถุประสงค์
อ้าววววว ทำไมยังไม่ถึงชื่อเรื่องสักทีละ เหตุผลก็เพราะว่า เราควรเขียนความต้องการที่จะศึกษา วัตถุประสงค์ในการศึกษาให้ชัดเจนเรียบร้อย
เพื่อที่เวลาเขียนชื่อเรื่องจะได้ตรวจสอบว่ามันสอดคล้องกัน เอาง่ายๆคือช่วยให้เห็นภาพชัดเจน ว่าเราต้องการทำอะไร เพื่ออะไร เอาจริงๆ ทุกคนก็มีชื่อเรื่องคร่าวๆอยู่ในใจอยู่แล้วแหละ เหลือแต่ต้องปรับให้เหมาะสม

ทริค อย่าเขียนเยอะข้อมากนักเพราะเวลาทำงานจริงจนถึงสรุป เราต้องเอาผลทุกอย่างมาบรรยายให้ได้ว่า เราได้ดำเนินงานจนบรรลุตามวัตถุประสงค์ แบบสามารถตอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดมาได้ เขียนเยอะบางทีจะกลายเป็นบ่วงรัดคอเราเองเน้อ ไม่ใช้รัดตัวด้วยนะ ย้ำมารัดคอ5555

เมื่อได้วัตถุประสงค์แล้วต่อมาก็คือออออ
3 ชื่อเรื่อง

ชื่อเรื่องนี้ดูเหมือนง่ายนะ แต่ยากจริงๆสำหรับเราเปลี่ยนประมาณ3ล้าน8แสนรอบได้
แต่เอาจริงๆ ตั้งคร่าวๆไปก่อน พอทำงานหรือดำเนินงานไปเรื่อยๆ ภาพจะชัดเจนขึ้นเราสามารถมาปรับชื่อเรื่องได้เรื่อยๆ จนถึง deadline เลยแก
ชื่อเรื่องที่ดี
3.1 ไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป
3.2 อ่านแล้วเข้าใจได้ว่า ต้องการศึกษาอะไร กลุ่มตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาคือใคร
ที่ไหน แบบไหน และก็อ่านแล้วสามารถเดาทางได้ว่าวัตถุประสงค์คืออะไร

ขอไม่ยกตัวอย่างนะคะ เพราะคำว่า เขียนแบบไหนคือดีไม่ดี บางทีมันไม่ตายตัว
แล้วแต่คนมอง ที่เปิ้ลเขียนไว้ให้นี่คือ พูดคร่าวๆให้เห็นภาพ

4 บทนำ /ที่มาและความสำคัญของปัญหา
อันนี้ควรเขียนมากกว่า1หน้านะเราว่า แค่หน้าเดียวมันดูน้อยไป สัก2–3หน้าสำหรับ research proposal นี่กำลังดีเลย อันนี้ ความเห็นส่วนตัวนะคะ

ทริค เขียนแบบสามเหลี่ยมคว่ำ คือจากกว้างไปแคบ เช่น
ประเทศ- ภาค- กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
จริงๆมันก็เขียนได้หลายแบบอยู่ที่ว่าเราจะยกประเด็นไหนมาเขียนดักคอไว้ก่อนเดี่ยวมีดราม่า อิอิ

เราว่าหัวใจมันคือ เขียนไงให้ผู้อ่านรู้สึกสนใจเหมือนเวลาฟังเพลงแค่อินโทร แล้วรู้สึกอยากติดตาม อยากฟังจนจบเพลง บทนำก็เหมือนกัน อย่าลืมว่าคุณมีโอกาสแค่กระดาษไม่กี่แผ่นที่เย็บส่งกรรมการแค่นั้น ฉะนั้นอะไรที่โชว์สกิล ความรู้ความสามารถ ทั้งในศาสตร์ที่คุณจะทำและทักษะการทำวิจัย จำเป็นที่จะต้องงัดออกมาให้หมด อิอิ

เขียนให้กรรมการหรือคนอ่านรู้สึกว่า เรื่องที่เราจะทำนั้นสำคัญยังไง ให้รู้สึกตรระหนัก สนใจ เป็นประโยชน์หรือ เรามีอีกวิธีที่ง่ายกว่านี้หากยังคิดอะไรไม่ออกลองเขียนkeyword หรือคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะทำวิจัย อาจจะดูจากชื่อเรื่องแล้วมาแตกประเด็นก็ได้

จากนั้นเอาหน่วยความคิดย่อยๆนั้นมาขยายออก โดยที่เราคิดอะไรได้ก็เขียนๆ ทิ้งไว้ก่อนเขียนเยอะๆเลยนะคะ ต่อไปคือการเล่นเกมจิ๊กซอล และ ลองจัดเรียงประเด็นต่างๆ จากกว้างไปแคบ เข้าสู่ประเด็นปัญหา อันไหนที่ดูแล้วหาที่แทรกไม่ได้ก็ทิ้งไปความคิดไหนที่ดูแล้วอาจจะรวมกับอีกย่อหน้าได้ก็อาจจะเอามารวมกัน

เท่านั้นยังไม่พอ อย่าลืมที่จะใช้คำเชื่อม หรือวลีเชื่อมจากเรื่องนึงไปสู่อีกเรื่องนึงเพื่อความไหลลื่น อ่านแล้วไม่สะดุด

ต่อมาการทำวิจัยไม่ใช่การยกเมฆ หรือคิดทึกทักไปเอง จำเป็นต้องมีการอ้างอิง
แทรกในเนื้อหาด้วย ว่าแนวความคิดนี้มีอยู่จริง ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่รู้ๆกันอยู่แล้ว
เช่น มลพิษในอากาสสูง เศรษฐกิจไม่ดี เป็นต้นและควรเป็นหนังสือ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่ใช่ออนไลน์ ก็จะยิ่งดูน่าเชื่อถือค่ะ

เมื่อเอาหน่วยย่อยๆของเรามาปะติดปะต่อ ใส่คำเชื่อมสละสลวยลงไปแล้ว อย่าลืมหลักการที่เราเรียนมาตั้งแต่ ป 6 นั้นก็คือ ส่วนนำ เนื้อเรื่อง สรุป จริงๆสรุปนี่หมายถึง รวบไอเดียทั้งหมด ให้คนอ่านเข้าใจโดยไม่ต้องลงดีเทลมากแล้วอาจจะรวมไปถึงว่าได้ประโยชน์อะไรจากการทำวิจัยเรื่องนี้

ข้อต่อมาที่สำคัญ คือ 3 อย่า
1 อย่าลืมตรวจคำผิด
2 อย่าลืมเว้นวรรค
3 อย่าลืมจัดหน้ากระดาษ หัวท้ายกระดาษให้เท่ากัน

3 ข้อนี้ทำให้กรรมการเห็นถึงความใส่ใจและความเป็นมืออาชีพ เราไม่ใช่เด็กน้อยแล้วนร้าาาาา

หลังจากได้บทนำเรียบร้อย ทิ้งระยะสัก 2–3วัน แล้วลองกลับมาอ่านหรือให้คนอื่นช่วยอ่านนะคะ ว่าตรงไหนไม่ไหลลื่น ใช้คำฟุ่มเฟือย เขียนวกไปวนมาไหม อ่านแล้วรู้สึกอยากติดตามและน่าสนใจไหมค่ะ

เคล็บลับสุดท้าย อย่าลืมวางแผน timelineกันให้ดีๆนะคะ เพราะเอกสารบางที่อาจจะต้องใช้หลายอย่างเช่น recommend letter study plan เป็นต้น โดยส่วนตัวถ้ามีเวลาไม่มากจะใช้วิธีนี้ค่ะ
3–7 วันแรก ทำการหาๆๆๆๆๆ ข้อมูล เรื่องที่จะทำโดยดูแนวทางจาก วิทยานิพนธ์ หรือวิจัยที่มีอยู่แล้ว เมื่อคิดเรื่องที่อยากทำได้ก็เริ่มหาทฤษฏีมารองรับ

1–3 วันกับการเขียนที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์กรอบต่างๆ
1 วันกับระเบียบวิธีการวิจัย
1 วันกับการตรวจสอบทุกอย่าง ความถูกต้องเนื้อหาอ้างอิง

แต่เอาจริงๆ ถ้างานไฟไหม้ อารมณ์แบบพึ่งเห็นประกาศรับสมัคร พรุ่งนี้วันสุดท้าย
1–2 วันก็เสร็จได้ค่ะ5555 แต่งานจะออกมาดีไหมก็อีกเรื่องค่ะ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์
และความรู้ของผู้ทำวิจัยด้วย

อีกทั้งบางครั้งอาจจะมีการสอบปากเปล่าสัมภาษณ์จากงานโครงร่างวิจัยที่เราทำด้วยเตรียมตัวกันดีๆนะคะ

พอจะเห็นเป็นรูปร่างขึ้นบ้างไหมคะ ว่าการทำ research proposal นี่ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะเป็นการแค่เสนอโครงร่าง ไอลงมือทำนี่สิ ถึงจะเหนื่อยจริง หากใครมีข้อสงสัย หรืออยากให้ช่วยแนะนำอะไร(ที่เราพอมีปัญญานะ) เมล์มาได้เลยบางทีเม้นในนี้แล้วอาจจะตกหล่นค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาติดตาม ทุกcomment ทุกการไลค์การกดติดตามคือ หนึ่งในกำลังใจให้ผู้เขียนพยายามหาเวลามาแบ่งปันมุมมอง ขอบคุณจากใจค่ะ
ณัฐชยา นรารัตน์
2 มิถุนายน 2562

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita