ประวัติ พระเจ้าตากสิน ที่แท้จริง

สุเจน กรรพฤทธิ์ : เรื่อง
สกล เกษมพันธุ์ : ภาพ

วันพระราชสมภพของพระเจ้าตากสิน ที่เรารับรู้กันแพร่หลายว่าคือ 17 เมษายน 2277 ซึ่งถ้าเทียบเวลาจะตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยานั้น

มีที่มาจากหลักฐานที่คลุมเครือและปัจจุบันยังไม่ถือเป็นข้อยุติ

ด้วยมีปรากฎว่า จดหมายเหตุโหร บันทึกว่าวัน “สวรรคต” ตรงกับ “วันพุธแรม 13 ค่ำเดือน 5 ปีขาล” พระชนมายุ 48 ปีกับ 15 วัน

ดังนั้นถ้านับย้อนกลับไปตามปฏิทินจันทรคติจะพระราชสมภพในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ ปีเถาะ จุลศักราช 1096

ตรงกับวันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2277 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

อาจารยนิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้เสนอการคำนวณที่ต่างออกไปอีกใน “การเมืองไทยสมัยกรุงธนบุรี”ว่า หลักฐานฝรั่งเศสบันทึกวันสวรรคตไว้ที่ 7 เมษายน 2325 ดังนั้นนับย้อนไปจะตรงกับ 23 มีนาคม 2277

แต่ถ้าถือตามหลักฐานไทยส่วนมากที่บอกว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ในวันที่ 6 เมษายน 2325 นับย้อนกลับไปจะตรงกับ 22 มีนาคม 2277

เรื่องนี้จึงยังต้องรอให้นักประวัติศาสตร์หาข้อยุติกันต่อไป

  • อ่านบทความด้านประวัติศาสตร์
  • ติดตามเพจ Sarakadee Magazine

เรียนจบด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา 14 ปีที่ผ่านมา งานหลักคือสืบค้นประวัติศาสตร์นอกกระแส อะไรก็ตามที่รัฐชอบปกปิด เชื่อว่า “เสรีภาพ” คือลมหายใจของอาชีพ Journalist

เรื่อง

  • 27 ธ.ค. 2562
  • 0

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระบรมราชานุสาวรีย์เยอะที่สุด และยังมีเรื่องเล่าตำนานของปาฏิหาริย์บารมีมากมาย แม้กระทั่ง พระพักตร์ของพระองค์ก็ยังเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระบรมราชานุสาวรีย์เยอะที่สุด และยังมีเรื่องเล่าตำนานของปาฏิหาริย์บารมีมากมาย แม้กระทั่ง พระพักตร์ของพระองค์ก็ยังเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้

โดยเรื่องราวปริศนาของ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"นั้น ยังคงเป็นปมปริศนาที่รอการพิสูจน์อยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อสาย และรวมไปถึงพระพักตร์ของพระองค์ว่าแท้จริงแล้วนั้น เป็นแบบไหนกันแน่ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี" หรือ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" มีพระนามเดิมว่า "สิน" เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนั้น สำหรับพระราชประวัติของพระองค์นั้นเต็มไปด้วยเงื่อนงำและปริศนามากมาย แม้กระทั่งพระพักตร์ของพระองค์ ที่มีการถ่ายทอดออกมาอย่างมากมาย โดยแท้จริงแล้วเป็นแบบไหน ก็ยังคงเป็นปริศนามาถึงทุกวันนี้

โดยทางเพจ "กลุ่มผู้สะสมบูชาเหรียญพระเจ้าตากสิน" ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีพระพักตร์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยระบุข้อความว่า

"พระพักตร์ที่แท้จริงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระองค์ทรงมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อปวงชนชาวไทยโดยเฉพาะบทบาทในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย การชำระพระราชพงศาวดารตามเหตุผลทางการเมืองในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเหตุให้พระราชประวัติของพระองค์เต็มไปด้วยเงื่อนงำและปมปริศนา เริ่มตั้งแต่ชาติกำเนิดที่ยังสรุปไม่ได้ว่าพระองค์ท่านเป็นลูกใคร ตามด้วยชีวิตในวัยเด็กว่าสมัยเมื่อเป็นมหาดเล็กนั้นท่านไว้ผมเปียจริงหรือ และสุดท้ายคือกรณีสวรรคตที่ทุกๆคนค้นหาคำตอบ และที่คนไทยทุกคนอยากรู้เป็นอันดับต้นๆนั้นคือ "พระพักตร์" ที่แท้จริงของพระองค์ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ ด้วยออกมาให้เห็นในปัจจุบันนั้นมีไม่น้อยกว่า ๕ แบบจนหาข้อยุติไม่ได้ ด้วยต่างฝ่ายต่างหาเหตุผลมาสนับสนุนให้ฝ่ายตน"

๑.ภาพจากวัดลุ่ม 

๒.ภาพจากอิตาลี 

๓.ภาพจากวัดเชิงท่า 

๔.ภาพจากบางแก้ว 

๕.ภาพจากวงเวียนใหญ่

ภาพจากวัดลุ่มมหาชัยชุมพล

           จากการค้นคว้าโดยละเอียดถี่ถ้วนและยาวนานทำให้ผู้เขียนได้ข้อสรุปโดยไม่ต้องสงสัยเลยว่า “พระพักตร์” ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น แตกต่างจากนี้ไปไม่ได้อีกแล้ว โดยเริ่มในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ผู้เขียนได้บวชเรียนที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพลจังหวัดระยองที่มีศาลสักการะพระองค์ตั้งอยู่ โดยนับเป็นศาลสักการะแห่งแรกในประเทศไทยและมีพระบรมสาทิสลักษณ์ ที่วาดไว้เป็นต้นแบบเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ ประดิษฐานไว้ให้ผู้คนเคารพบูชาผู้เขียนพินิจพิจารณาพระบรมสาทิสลักษณ์นี้อย่างละเอียดถี่ถ้วนอยู่หลายวัน กลับไม่เกิดศรัทธาสูงสุดเมื่ออยู่กับพระบรมสาทิศลักษณ์หรือภาพนั้น ด้วยเป็นภาพที่ไม่น่าเกรงขามและขาดซึ่งความสง่างามตามที่ "นักรบผู้ยิ่งใหญ่" จำเป็นต้องมี ผิดกันไกลในความรู้สึกเมื่อขณะพูดถึงพระมหาวีรกรรม โดยไม่จำเป็นต้องมีภาพนั้นเป็นองค์ประกอบ พวกเราที่ได้ยินได้ฟังจะขนแขนลุกตั้งตลอดเวลา ผู้เขียนได้เก็บความรู้สึกนี้ไว้ในใจจนได้โอกาสจึงสอบถามเอาจากเจ้าคุณพระวินัยการกวีพระอุปัชฌาย์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ได้ความจริงว่าเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ คุณยายทองปาน ภู่สุวรรณ เจ็บป่วยกระเสาะกระแสะอยู่ตลอดเวลา

ต่อมาวันหนึ่งได้ฝันไปว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาบอกว่าพระองค์ไม่มีที่ประทับให้คุณยายเป็นธุระให้ด้วย คุณยายทองปานฯจึงได้มาปรึกษาพระอธิการผลิท่านเจ้าอาวาสในขณะนั้นซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านเจ้าคุณพระวินัยการกวีอาจารย์ของผู้เขียนอีกต่อหนึ่ง ท่านอธิการผลิเจ้าอาวาสจึงแนะนำให้คุณยายทองปานฯสร้างศาลาที่ประทับถวายแด่พระองค์เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาและเป็นการสเดาะเคราะห์ให้คุณยายทองปานอีกทางหนึ่งด้วย คุณยายฯ จึงร่วมกับชาวระยองสร้างศาลเป็นไม้ถวายแด่พระองค์ข้างต้นสะดือที่พระองค์ทรงผูกช้างและชอบเสด็จมาประทับในอดีต เมื่อครั้งอยู่ที่เมืองระยองพร้อมทั้งหล่อพระบรมรูปทองเหลืองประทับยืนสูง ๗๐ซม. ไว้เป็นเครื่องสักการะ โดยก่อนทำการหล่อพระบรมรูปนั้นได้ให้จิตกรวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ต้นแบบขึ้นมาก่อนโดยจิตกรจินตนาการตามความฝันของคุณยายทองปานฯมิได้อ้างอิงข้อมูลใดๆ ฉะนั้นพระบรมสาทิสลักษณ์ที่วัดลุ่มนี้จึงมิใช่พระบรมสาทิสลักษณ์ที่แท้จริงของพระองค์(ศาลนี้ต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๕๐๓ได้มีการปรับปรุงจากไม้เป็นก่ออิฐฉาบปูนและหล่อพระบรมรูปยืนเท่าคนจริงไว้สักการะส่วนพระบรมรูปเดิมเก็บรักษาไว้ในโบถส์ ศาลปัจจุบันนี้นับเป็นศาลที่๓) ถึงตรงนี้ก็คงไม่สามารถสรุปได้ว่า'พระพักตร์'ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นอย่างใดกันแน่

ภาพจากอิตาลี

เป็นสานุศิษย์ของหลวงปู่โง่นเป็นผู้นำมาเผยแพร่โดยอ้างว่า ศิลปินชาวอิตาลีมาวาดไว้ในรัชสมัยของพระองค์ และมีผู้ไปถ่ายได้มาจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอิตาลี (ปัจจุบันไม่พบแล้ว-ผู้เขียน)

ภาพจากวัดเชิงท่า

ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์บวชในสมัยอยุธยาข้อมูลอ้างว่ามี "ศิลปิน" มาวาดไว้เมื่อครั้งถวายพระบรมศพ "พระเจ้าเอกทัศน์" เป็นรูปที่ปรากฎได้ไม่นานมานี้เพราะผู้เขียนได้เคยไปถวายโคมที่พระกุฎิของพระองค์ที่วัดแห่งนี้ก่อนปีพ.ศ.๒๕๕๐เล็กน้อย ขณะนั้นพระสงฆ์ที่เฝ้ากุฎิเป็นพระสงฆ์ที่มีพรรษาไม่สูงนักแต่ก็ค้นคว้าเรื่อง'พระพักตร์'ของพระองค์ท่านอยู่เช่นกัน

สำหรับงานวาดรูปบนผืนผ้าใบในเมืองไทยนั้นผู้เขียนได้ พยายามสืบค้นภาพวาดบนผืนผ้าใบของพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์จักรีตั้งแต่สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ สืบย้อนขึ้นไปจนถึงสมัยธนบุรีก็ไม่เคยปรากฏว่ามีศิลปินต่างชาติเข้ามารับจ้างวาดรูปหรือวาดรูปขายในเมืองไทยแต่อย่างใดทั้งสื้น จะมีก็แต่รูปวาดของประธานาธิบดียอร์ดวอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา ที่ราชทูตสหรัฐนำมาถวายให้พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ละ๑ภาพซึ่งยังพบในส่วนของพระปิ่นเกล้าประดับอยู่ที่พิพิธพันสถานแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน

ภาพจากบางแก้ว

 ซึ่งน่าจะเก่าแก่ที่สุดผู้เขียนเคยได้เห็นรูปนี้มาก่อนตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๕๓๐ ตอนนั้นทรงเครื่องทรงฮ่องเต้ ต่อมาศิลปินได้ดัดแปลงให้ทรงเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ตามที่เห็นในปัจจุบัน โดยคง "พระพักตร์" ไว้แบบเดิม

ซึ่งจะคล้ายกับภาพที่ ๕ คือ ภาพที่๕ ภาพจากพระพักตร์ต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์วงเวียนใหญ่ เป็นผลงานของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ได้ค้นคว้าและปั้นเป็นต้นแบบไว้เพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์วงเวียนใหญ่ มีศิลปินไทยได้วาดไว้และนสพ.เดลินิวส์นำมาลงเต็มหน้าเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งเมื่อพิจารณาภาพทั้งหมดแล้วหากตัดภาพจากวัดลุ่มฯ ออกไปจะมีแต่ภาพจากอิตาลีเท่านั้นที่มีพระพักตร์แตกต่างออกไปที่เหลืออีก ๓ ภาพนั้นใกล้เคียงกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ กลุ่มผู้สะสมบูชาเหรียญพระเจ้าตากสิน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita