สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเกี่ยวข้องกับกรุงธนบุรีอย่างไร

     เดิมชื่อสิน เป็นบุตรขุนพัฒน์ นายอากรบ่อนเบี้ย (นายไหฮอง แซ่แต้) และนางนกเอี้ยง เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๖๙ ปีขาล ฉอศก ตรงกับวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. ณ กรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระยาจักรีตำแหน่งสมุหนายกในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ให้ชื่อว่า “สิน”
      อายุ ๒๑ ปี รับราชการเป็นมหาดเล็ก ตำแหน่งหลวงนายศักดิ์ ได้รับความชอบเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก แล้วเป็นเจ้าเมืองตาก ต่อมาได้ชื่อว่า พระยาตากสิน ได้รับตำแหน่งเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพ็ชร และดำรงตำแหน่งเป็น พระยาวชิรปราการ ในรัชการสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ยังไม่ทันได้ดูแลเมืองกำแพงเพ็ชรต่างพระเนตรพระกรรณ พม่าก็ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา จึงจำเป็นต้องช่วยป้องกัน
    
พระยาวชิรปราการ (พระยาตากสิน) ช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องจากความอ่อนแอในการปกครองภายในกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นเหตุให้พระยาวชิรปราการหนีออกจากกรุงศรี ฯ เพื่อหาโอกาสกลับไปต่อสู้กู้ชาติคืนมาอีกครั้ง ดีกว่าจะอยู่และตายอย่างอดสู ครั้นถึงวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ ครั้นได้เวลาค่ำมืด พระยาวชิรปราการรวบรวมไพร่พลประมาณ ๕๐๐ คน พร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสา (พระยาพิชัยดาบหัก) เป็นทหารกล้าตายตีฝ่าวงล้อมพม่ามุ่งทิศตะวันออก ฆ่าพม่าที่ติดตามตายเป็นจำนวนมาก นำไพร่พลต่อสู้พม่าระหว่างทาง เคลื่อนทัพผ่านเมืองต่าง ๆ ได้เกลี้ยกล่อมหัวหน้านายกอง บางพวกยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี เพราะกิตติศัพท์เลื่องลือจากการสู้รบกับพม่า มุ่งตรงปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, บางละมุง, ระยอง, แกลง, จันทบุรี และ_____แล้วมาตั้งชุมพลรวบรวมไพร่พล ศาสตราวุธ เสบียงอาหาร และเรือรบอยู่ที่จันทบุรี พระยาตากสินได้สถาปนาตนเองโดยพระประศาสน์ ไม่ใช่พระบรมราชโองการเมื่อตีเมืองระยองได้จึงจำเป็นต้องตั้งตัวเป็นใหญ่ตามเลยแห่งเหตุการณ์ พวกบริวารจึงเรียกว่า “พระเจ้าตาก” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำทัพผ่านเมืองแกลง ขุนรามหมื่นซ่องก็นำพรรคพวกปล้น แย่งช้าง ม้า ของพระองค์ พระองค์จึงทรงพิจารณาว่าไม่มีทางอื่นเสียแล้ว มีแต่จะต้องใช้กำลังปราบปรามพวกที่เป็นศัตรูจึงจะตั้งตัวอยู่ได้ จึงยกทัพไปรบกับพวกขุนรามหมื่นซ่อง ที่เมืองแกลงก่อน ขุนรามหมื่นซ่องสู้ไม่ได้ก็พาสมัครพรรคพวกไปอยู่กับพระยาจันทบุรี พระองค์ทรงพิจารณาว่า ไม่มีจังหวัดใดที่เหมาะสำหรับรวบรวมไพร่พลกลับไปกู้ชาติที่กรุงศรีอยุธยาคืนมาได้ เท่ากับจังหวัดจันทบุรี เพราะมีพลเมืองมาก เป็นทำเลที่จะสะสมเสบียงอาหาร ศาสตราวุธ จึงทรงสั่งเคลื่อนทัพเข้าสู่จันทบุรีครั้งแรกได้มีการใช้ฑูตติดต่อกับเจ้าเมืองจันทบุรี คาดว่าจะตกลงกันได้โดยไม่ต้องใช้กำลัง แต่ภายหลังเจ้าเมืองจันทบุรีเปลี่ยนใจไม่ตกลงด้วย อันเป็นเวลาเดียวกับ เนเมียวสีหบดี ที่ค่ายโพธิ์สามต้นส่งนายบุญเรือง มหาดเล็กผู้รั้งเมืองบางละมุง ถือหนังสือมาให้เจ้าเมืองจันทบุรี เข้าไปอ่อนน้อมแก่พม่าเสียโดยดี พอดีได้ข่าวว่า นายทองอยู่ นกเล็ก ตั้งแข็งเมืองขึ้นที่ชลบุรีอีก พระองค์จึงทรงนำทัพกลับไปที่ชลบุรี ปราบปรามจนชลบุรีสงบแล้วตั้งนายทองอยู่ นกเล็ก เป็นพระยาอนุราฐบุรีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี แล้วทรงนำทัพมุ่งตรงไปจันทบุรีต่อไป พระองค์ทรงนำทัพถึงบางกะจะหัวแหวนห่างจากเมืองจันทบุรี ประมาณ ๒๐๐ เส้น (๘ กิโลเมตร) พระยาจันทบุรีให้หลวงปลัดออกไปรับ และบอกว่าได้จัดที่พักไว้ให้แล้วที่ทำเนียบ ที่พักริมน้ำข้างฟากทิศใต้ตรงข้ามเมืองจันทบุรี พระองค์ทรงสั่งให้นายทัพตามหลวงปลัดไปมีผู้บอกว่า พระองค์กำลังถูกกลลวงที่กำลังจะตามหลวงปลัดข้ามฟากไป ทันที่พระองค์จึงทรงสั่งให้เลี้ยวขบวนทัพไปทางเหนือไม่ข้ามปากน้ำ ผ่านบ้านชะมูลตรงไปประตูท่าช้าง ห่างจากประตูท่าช้าง ๕ เส้น (๒๐๐ เมตร) พระยาจันทบุรี เห็นพระองค์ไม่ข้ามฟากตามประสงค์ที่ลวงไว้ กลับมาตั้งชุมพลที่ริมเมือง ก็ตกใจ รีบให้ไพร่พลขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทิน พระองค์ได้ทรงต่อว่าพระยาจันทบุรีว่าไม่บริสุทธิ์ใจที่จะช่วยกันคิดอ่านกู้กรุงศรีอยุธยาและยังไม่ออกไปต้อนรับ ทั้งที่ขณะนั้นก็มีศักดินาน้อยกว่า (เมื่อเทียบกับพระองค์ซึ่งเป็นพระยากำแพงเพ็ชร) และไม่ซื่อคบกับขุนรามหมื่นซ่องทำร้ายพระองค์ถึง ๒ ครั้งกับเรียกระดมคนเข้าประจำรักษาหน้าที่เชิงเทิน แสดงถึงไม่เป็นมิตร ไม่เป็นพี่น้อง จึงทรงรับสั่งคนให้ไปบอกพระยาจันทบุรี เมื่อไม่เห็นแก่ไมตรีแล้วจงรักษาเมืองไว้ให้ดีเถิด เราจะเข้าตีให้จงได้ ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสิน ตกอยู่ในที่คับขันเพราะเข้ามาตั้งอยู่ในชานเมือง ข้าศึกอยู่ในเมืองมีกำลังมาก เป็นแต่ข้าศึกครั่นคร้ามเกรงฝีมือ ไม่กล้าออกมาโจมตีซึ่งหน้า แต่หากพระองค์ทรงล่าถอยทัพเมื่อใด ก็อาจจะออกล้อมตีตัดได้หลายทาง เพราะข้าศึกชำนาญภูมิประเทศกว่า จะตั้งชุมพลทัพอย่างนั้นก็ไม่มีเสบียงอาหารเหมือนหนึ่งคอยให้ข้าศึกเลือกเวลาทำเอาตามใจชอบ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเป็นนักรบมาแต่เยาว์วัยทรงรู้เชิงข้าศึกดีจึงต้องชิงทำข้าศึกก่อนจึงจะไม่เสียที จึงเรียกแม่ทัพนายกอง มาสั่งว่า เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้เมื่อหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้ว ทั้งนายและไพร่ให้เทอาหารที่เหลือทิ้งและต่อยหม้อข้าวเสียให้หมดหมายไปกินข้าวเข้าด้วยกันในเมืองพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองจันท์ไม่ได้ ในค่ำวันนี้ก็จะได้ตายเสียด้วยกันทั้งหมด นายทัพนายกองเคยเห็นอาญาสิทธิ์มาก่อน ไม่มีใครกล้าขัดขืน ครั้นเพลาค่ำพระองค์ทรงให้ทหารลอบไปซุ่มมิให้ชาวเมืองรู้ตัว ทรงสั่งให้คอยฟังสัญญาณเสียงปืนให้เข้าตีพร้อมกัน อย่างให้ส่งเสียงอื้ออึงครั้นเตรียมพร้อมเสร็จได้ฤกษ์เวลาตี ๓ นาฬิกา สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงช้างพังคีรีบัญชรทรงสั่งให้ยิงปืนเป็นสัญญาณบอกพวกทหารเข้าตีพร้อมกัน ทรงช้างเข้าพังประตูเมือง แม้ว่าพระยาจันทบุรีจะยิงปืนใหญ่และปืนเล้กต่อสู้อย่างเต็มกำลังก็ตาม พวกทหารของสมเด็จพระเจ้าตากสินก็กรูกันเข้าเมือง ชาวเมืองจันทบุรีรู้ข่าวว่าข้าศึกเข้าเมืองได้แล้วต่างก็ละหน้าที่พากันแตกหนีสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำทัพตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว ทรงเมตตาอารีมิได้ถือโทษผู้ที่เป็นศัตรูมาก่อน ทรงตีเมืองจันทบุรีได้เมื่อวันอาทิตย์เดือน ๗ แรม ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุลนพศก ตรงกับวันที่ ๑๔ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ๒ เดือน ครั้นเมืองจันทบุรีเรียบร้อยอย่างเดิมแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงนำทัพไปยังเมืองตราด กรมการเมืองและราษฎรพากันเกรงกลัว อ่อนน้อมโดยดีทั่วเมือง พวกนายเรือและลูกเรือสำเภาจีนที่เมืองตราดไม่ยอมอ่อนน้อมด้วยกลับเอาปืนใหญ่น้อยระดมยิงเรือพระที่นั่ง สมเด็จพระเจ้าตากสิน รบกันครึ่งวันก็ตีเรือสำเภาจีนได้ ได้ทรัพย์สินเป็นกำลังต่อการทัพเป็นจำนวนมาก พระองค์ทรงจัดการเมืองตราดเรียบร้อยแล้ว ทรงนำทัพกลับเมืองจันทบุรี พระองค์ทรงรวบรวมไพร่พลได้ประมาณ ๕,๐๐๐ คน ต่อเรือรบได้ประมาณ ๑๐๐ ลำ รวบรวมศาสตราวุธได้จำนวนมาก ทรงวางแผนกลยุทธที่จันทบุรี เพื่อที่กอบกู้เอกราชของชาติไทยกลับคืนมา นับว่าเมืองจันทบุรี และชาวเมืองจันทบุรีเกื้อกูลต่อพระองค์เป็นอย่างมาก ในการที่กู้ชาติไทยครั้งนี้กลับคือมาได้ ครั้นเดือน ๑๑ ปีกุน พุทธศักราช ๒๓๑๐ พระองค์ทรงนำทัพเรือ ออกจากจันทบุรี มุ่งหน้าสู่อ่าวไทยเพื่อกอบกู้เอกราชของชาติไทยทรงนำทัพเรือผ่านชลบุรีพักที่ชลบุรี และรวบรวมไพร่พลเป็นการเพิ่มเติมกำลังแล้วทรงนำทัพเข้าปากน้ำสมุทรปราการเข้าถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าตีค่ายโพธิ์สามต้น อันมีนายสุกื้ (ชาวมอญ) อาสาพม่า ต่อสู้จนนายสุกี้ตายในที่รบ ทหารพม่าล้มตายในที่รบเป็นจำนวนมาก
    
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำทัพตีพม่า นำชัยชนะกลับคืนมาได้ กู้กรุงศรีอยุธยาเป็นเอกราชได้เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก ตรงกับวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐
   ครั้นทรงกู้กรุงศรีอยุธยาเป็นเอกราชได้แล้วก็ทรงเสวยราชย์ปราบดาภิเศก ตรงกับวันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ สัมฤทธิ์ศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๑ เป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    
พระองค์ทรงมีทะแกล้วทหารหาญคู่พระทัยหลายคน เช่น พระยาพิชัยราชา (พระยาพิชัยดาบหัก) พระยาสุรสีห์ หรือนายสุดจินดา หรือพระยามหาสุรสิงหนาท พระอนุชาพระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และบรรพบุรุษต้นตระกูลชาวไทยและต้นตระกูลชาวจันทบุรีมิใช่น้อยได้ร่วมชีวิตสนองพระเดชพระคุณ สมเด็จพระเจ้าตากสิน กู้ชาติ ศาสนาที่ล่มจมเป็นวิบัติครั้งนี้กลับคืนมาจากพม่าได้ด้วยการสู้รบกับพม่าอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ด้วยการเสียสละอดทนเอาเลือดเนื้อและความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้ ตลอดรัชกาลของ พระเจ้ากรุงธนบุรี ต้องทำศึกสงครามอีกหลายครั้ง จนปราบปรามชุมนุมที่ตั้งตนเป็นใหญ่ทั่วไปที่เหลืออีก ๕ ชุมนุม คือ
๑. ชุมนุมสุกี้ พระนายกอง เป็นชาวมอญอาสาสมัครพม่าคอยสอดส่องควบคุมและริบทรัพย์สินคนไทยที่แพ้พม่า และคนไทยที่จะกระด้างกระเดื่องแข็งข้อ ตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น กรุงศรีอยุธยา
๒. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) มีอาณาเขตตั้งแต่พิษณุโลกจรดนครสวรรค์ ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองพิษณุโลก
๓. ชุมนุมพระเจ้าพระฝาง ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองอุตรดิตถ์ มีอาณาเขตติดต่อไปจนถึงเมืองแพร่ และหลวงพระบาง
๔. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองชุมพรถึงมลายู
๕. ชุมนุมกรมหมื่นเทพพิพิธ ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองพิมายนครราชสีมา พระองค์ทรงปราบปรามจนราบคาบ ต้องปราบปรามอริราชศัตรู และเสี้ยนหนามชาติไทย ทรงบากบั่นอุตสาหะมิได้เป็นแก่ความเหนื่อยยากแต่ประการใดทรงต่อสู้ความยากแค้นซึ่งคุกคามประชาราษฎร์ ต้องปราบปรามผู้ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่ไม่คิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ต้องปราบปรามอริราชศัตรูอยู่เนือง ๆ พระชีวิตของพระองค์ เพื่อชาติและประเทศไทยโดยแท้จริง
    
พระองค์ทรงปกครองไพร่ฟ้า ไพร่บ่าว พลเรือนและทหารด้วยทศพิธราชธรรมดียิ่ง สนิทชิดเชื้อเหมือนกับ “พ่อ” มากกว่าทรงเป็นเจ้านาย ดังข้อความพระราชวิจารณ์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ว่าเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงรับสั่งเมื่อประทับอยู่ที่ค่ายเขาพระ ขณะนั้นกำลังล้อมพม่า บ้านบางนางแก้วทรงกำหนดพระราชอาญาไว้ว่า ผู้ยิงปืน___________ไม่พร้อมกันให้ยิงพร้อมกันทีละสามสิบ สี่สิบนัดตามรับสั่งทรงตรัสแก่ข้าราชการนายทัพนายกองว่า ข้าราชการทั้งปวงพ่อใช้ไห้ไปทำศึกบ้านเมืองใดพ่อมิได้สกดหลังไปด้วย ก็มิสำเร็จราชการ ครั้นพ่อไปราชการสงครามเชียงใหม่ ให้ลูกทำราชการข้างหลังและพ่ายแพ้แก่พม่าให้ขายพระบาทพ่อ อันทำศึกครั้งนี้พ่อจะชิงชัยแก่ลูกผู้ใดหามิได้ รักใคร่เสมอกัน เป็นกษัตราธิราชเจ้าแผ่นดิน ถ้าผู้ใดมีความชอบมิได้ปูนบำเหน็จ ผู้ใดกระทำผิดมิได้เอาโทษ ทำเช่นนี้ก็ไม่ควรแก่ราชการแผ่นดินหามิได้ ประเวณีกษัตราธิราช ผู้มีความชอบปูนบำเหน็จรางวัล ให้รั้งเมืองครองเมือง ตามฐานานุกรมลำดับ โทษผิดควรจะตีก็ตี ควรฆ่าก็ฆ่าเสีย จึงชอบด้วยราชาแผ่นดิน จึงจะทำสงครามกับพม่าได้ พ่ออุตส่าห์ทรมานเที่ยวทำสงครามมา นี้ ใช่จะจงพระทัยปรารถนาหาความสุขแต่พระองค์ เดียวก็หามิได้ อุตส่าห์สู้ลำบากการครั้งนี้ เพื่อทำนุบำรุงศาสนาสมณะชีพราหมณ์ประชาราษฎร ให้เป็นสุขทั่ว ขอบขัณฑ์เสมอ เพื่อมิให้คนอาสัตย์อาธรรม์และครั้งนี้ลูกทั้งหลายทำการแพ้แก่พม่า ครั้นจะเอาโทษก็เสียดายนักด้วยได้เลี้ยงดูมาเป็นใหญ่โตแล้วผิดครั้งนี้จะยกไว้ให้ทำราชการแก้ตัวครั้งหนึ่งก่อน ครั้งต่อไปถ้ารบพม่าแล้วชนะจึงจะพ้นโทษทั้งนายและไพร่เร่งคิดจงตีเถิด อันพ่อจะละกำหนดบทอัยการศึกเสียมิได้ ก็ให้เร่งคิดอ่านทำการแก้ตัวไปให้รอดชีวิตเถิด อีกครั้งเมื่อพระยาตากสินนำไพร่พลตีเมืองชลบุรี ผ่านบางละมุงขณะนั้นนายบุญเรืองมหาดเล็กเป็นผู้รั้งเมืองบางละมุง คุมไพร่ ๒๐ คน ถือหนังสือมาจะเอาลงไปให้พระยาจันทบุรี เดินผ่านมาในแขวงเมืองระยองพวกทหารพระยาตากสินจับได้ซักได้ความว่า เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น มีหนังสือมาบอกให้ พระยาจันทบุรีเข้าไปอ่อนน้อมเสียโดยดี นายทัพนายกองทูลพระยาตากสิน ว่าผู้รั้งเมืองบางละมุงเป็นพวกพม่า ขอให้ประหารชีวิตเสีย พระยาตากสินไม่เห็นชอบด้วยว่าผู้รั้งเมืองบางละมุงตกอยู่ในอำนาจพม่า ก็ต้องยอมให้ใช้มาโดยจำเป็น จะว่าเอาใจไปเผื่อแผ่ข้าศึกหาควรไม่ อีกประการหนึ่ง ผู้รั้งเมืองบางละมุงก็ยังมิได้เป็นข้าของเราจะว่าทำความผิดต่อเราก็ยังไม่ได้ ที่พม่ามีหนังสือมาบังคับพระยาจันทบุรีอย่างนี้ก็ดีแล้ว พระยาจันทบุรีจะได้เลือกเอาอย่างหนึ่งว่า จะไปเข้ากับพม่าหรือเข้ากับไทย พระองค์ทรงปกครองไพร่ราษฎร ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงพระราชดำริพิจารณาถึงเหตุถึงผลด้วยความเป็นธรรมเสมอเป็นพ่อปกครองลูก หาพระทัยลำเอียงมิได้
    
สมเด็จพระเจ้าธนบุรี ทรงครองราชย์ตั้งแต่ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ประชาราษฎร์มีความสุขโดยถ้วนทั่ว พ้นจากภัยรุกรานพม่ามาจนตราบเท่าทุกวันนี้
     เสด็จสวรรคต
วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๔ จัตวาศก ตรงกับ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระองค์ทรงได้รับพระเกียรติเป็น “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ต่อมาด้วยพระบารมีอันมากล้นสุดที่ทวยราษฎร์ไทยจะกล่าวพรรณนาได้ ชาวไทยได้ดำรงความเป็นไทอิสระเสรี เป็นชาติไทยอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็ด้วยพระบารมีของพระองค

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita