พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรด้วยโรคใด

ในเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่ปวงชนชาวไทยได้สูญเสียดวงใจผู้เป็นที่รักยิ่งเหนือสิ่งใด จากเหตุการณ์ที่ต้องสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน คือ

- 1 ตุลาคม 2411 : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคต ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จฯ ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้อย่างแม่นยำ และเสด็จกลับพระนครได้เพียงไม่นาน พระองค์เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้และทรงทราบว่าพระอาการจะไม่หาย จึงได้มีพระบรมราชโองการให้พระราชวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 3 คน เข้าเฝ้าฯ พร้อมกันที่พระแท่นบรรทม เพื่อมอบพระราชกิจในการดูแลพระนคร ก่อนจะเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งภานุมาศจำรูญ ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม
          พ.ศ. 2411 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน ในกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 สืบต่อไป

- 23 ตุลาคม 2453 : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระประชวรด้วยโรคพระวักกะ (ไต) เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต รวมพระชนมพรรษาได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัตินานถึง 42 ปี
          เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้ ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระราชสมัญญานามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันปิยมหาราช เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน

- 24 ตุลาคม 2556 : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 24 ตุลาคม 2556 ชาวพุทธได้รับทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมพระชันษา 100 ปี นับเป็นพระสังฆราชที่ทรงดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 23 ปี และทรงมีพระชันษายืนยาวที่สุดในประวัติคณะสงฆ์ไทย
          เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความโศกเศร้าอาดูรให้แก่ชาวพุทธทั่วโลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา สมเด็จพระสังฆราช ทรงประกอบพระกรณียกิจเพื่อพุทธศาสนาอย่างมากมาย ทั้งในประเทศไทย และประเทศอื่นทั่วโลก จนได้รับทูลถวายตำแหน่งผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา เมื่อปี พ.ศ. 2555 ซึ่งในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2558 ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศต่างร่วมกันแต่งกายด้วยชุดดำ เพื่อร่วมถวายอาลัยแด่สมเด็จพระสังฆราช

-13 ตุลาคม 2559 : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2557 ประชาชนชาวไทยจากทั่วทุกสารทิศต่างเดินทางมาลงนามถวายพระพร ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ มีพระพลานามัยแข็งแรง อยู่เป็นมิ่งขวัญแก่ปวงชนชาวไทย พร้อมติดตามแถลงการณ์สำนักพระราชวังเพื่อรับทราบพระอาการของพระองค์อย่างใกล้ชิด
          ถึงแม้ว่าคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างสุดความสามารถตลอด 2 ปี แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ในที่สุดแล้ว น้ำตาไทยต้องไหลรินเมื่อได้รับทราบข่าวพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตเมื่อเวลา 15.52 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชสมบัติ 70 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ครองราชย์นานที่สุดในโลก พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเหน็ดเหนื่อยตรากตรำเพื่อประชาชนทั่วทุกหนทุกแห่งของพระองค์มาตลอด 70 ปี จะสถิตอยู่ในใจของปวงชนชาวไทยตลอดไป...

------------------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง : นางสาวเมษา ครุปิติ บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
------------------------------------------------------

อ้างอิง :
จดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ฉบับสื่อมวลชน (สื่อมวลชนไทย). กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2561.
เว็บไซต์ : //hilight.kapook.com/view/143443

ภาพประกอบข่าววันสวรรคตรัชกาลที่ 5 จากหนังสือพิมพ์ L'ILLUSTRATION วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ.1910 ซึ่งเป็นภาพพระราชกรณียกิจระหว่างการเสด็จประพาสยุโรปครั้งหลัง ใน ค.ศ.1907

ที่มา
ภาพและข้อมูลจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 31 ฉบับที่ 12 ตุลาคม 2553

23 ตุลาคม พุทธศักราช 2453 เป็นวันแห่งความวิปโยคของชาวสยามทั้งแผ่นดิน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต โดยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 42 ปี

ไกรฤกษ์ นานา นักวิชาการอิสระ และนักเขียนชื่อดังได้เรียบเรียงลำดับพระอาการ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันแรกที่ทรงมีพระอาการประชวรว่า ภายหลังทรงขับรถไฟฟ้าออกไปประพาสฟาร์มเลี้ยงไก่ที่ทุ่งพญาไท แต่มิได้เสด็จลงจากรถพระที่นั่ง รับสั่งว่า “ท้องไม่ค่อยสบายจะรีบกลับ”

ต่อมา ระหว่าง 17-19 ตุลาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลประจำปีถวายรัชกาลที่ 4 ในพระบรมมหาราชวัง แต่เนื่องจากพระนาภี (ท้อง) ยังไม่ปกติ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมฯ เสด็จแทน

วันที่ 20 ตุลาคม พระอาการกำเริบหนักขึ้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถมีรับสั่งให้ตามหมอฝรั่ง มีนายแพทย์เบอร์เมอร์ นายแพทย์ไรเตอร์ และนายแพทย์ปัวซ์ เข้ามารักษา และอยู่เฝ้าอาการประจำ

วันที่ 21 ตุลาคม เวลาย่ำรุ่งบรรทมตื่น ตรัสว่าพระศอแห้ง แล้วเสวยพระสาธุรสเย็น รับสั่งว่าอยากจะเสวยอะไรให้ชุ่มพระศอ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ถวายน้ำเงาะคั้น 1 ลูก พอเสวยได้ครู่เดียวก็ทรงพระอาเจียนออกมาหมด ในวันนี้ทรงพระราชดำรัสเพียง 2 ประโยคว่า

“การเจ็บครั้งนี้จะรักษากันอย่างไร ก็ให้รักษาเถิด” และ “การรักษาเดี๋ยวนี้เป็นอย่างใหม่เสียแล้ว”

ตอนค่ำวันนี้มีพระบังคนเบา (ปัสสาวะ) ประมาณ 1 ช้อนชา และเป็น “ครั้งสุดท้าย”

วันที่ 22 ตุลาคม พิษของพระบังคนเบาซึมไปตามเส้นพระโลหิตทั่วพระองค์ ทำให้มีพระอาการเซื่องซึมบรรทมหลับอยู่เสมอ

วันนี้พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ แพทย์แผนไทย มาเข้าเฝ้าเพื่อตรวจพระอาการ ทรงพระราชดำรัสเป็น “ครั้งสุดท้าย” ว่า “หมอมาหรือ” แล้วก็มิได้รับสั่งอะไรอีกต่อไป

เย็นวันนี้พระหทัยเต้นอ่อนลง ลืมพระเนตรได้ แต่หายพระทัยทางพระโอษฐ์ พ่นแรงๆ จนเห็นพระมัสสุไหวได้แต่ไกล

สมเด็จพระบรมราชินีนาถกราบทูลว่า เสวยน้ำ ยังทรงพยักพระพักตร์ได้ แล้วยกพระหัตถ์ขวาและซ้ายที่สั่นขึ้นเช็ดน้ำพระเนตรคล้ายทรงพระกันแสง แบบน้อยพระทัยพระองค์เองว่าทำไมหมดเรี่ยวแรง

หลัง 2 ยามเพียง 45  นาทีก็เสด็จสวรรคตในลักษณะที่ยังบรรทมหลับอยู่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคพระวักกะ (ไต) พิการ บนชั้นที่ 3 พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สิริรวมพระชนมพรรษา 57 พรรษา

พระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งทรงฉายเป็นครั้งสุดท้ายก่อนสวรรคตไม่ถึงสัปดาห์ หลังประชวรด้วยโรคพระวักกะ (ไต) พิการมา 5 ปี (ภาพและคำอธิบายจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 2550

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita