Lumbar spondylosis กายภาพบําบัด

   การนั่งขับรถ ควรขยับเบาะที่นั่งให้เอนไปข้างหลังเล็กน้อย ประมาณ 10 - 15 องศา และขยับเบาะให้ใกล้พอดี ซึ่งเมื่อเหยียบคันเร่งหรือเบรกเต็มที่แล้ว เข่าจะงอเล็กน้อยประมาณ 20 - 30 องศาและนั่งให้แผ่นหลังและสะโพกแนบกับเบาะ อาจจะใช้หมอนเล็กๆ หนาประมาณ 3 - 5 นิ้ว รองที่หลังบริเวณเอวด้วยก็ได้

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนหมายถึงภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้ามากกว่าปกติ (หรืออาจเคลื่อนมาทางด้านหลัง แต่พบได้น้อยมาก) โดยมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากเพศหญิงมีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเส้นเอ็นมากกว่าเพศชาย ความมั่งคงจึงน้อยกว่าจนทำให้เกิดกระดูกสันหลังเคลื่อนได้ง่าย ลักษณะการเคลื่อนสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 : เคลื่อน 25%

ระดับที่ 2 : เคลื่อน 50%

ระดับที่ 3 : เคลื่อน 75%

ระดับที่ 4 : เคลื่อน 100%

ซึ่งระดับที่ 1-2 นั้นสามารถรับการรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้ารุนแรงถึงระดับ 3-4 โอกาสที่จะหายได้โดยการรักษาทั่วไปมักไม่ได้ผล การรักษาโดยการผ่าตัดจึงมักทำในระยะนี้

สาเหตุ

มักเกิดจากกระดูกสันหลังเสื่อมจนเกิดการทรุดตัวของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังเกิดการอักเสบเส้นเอ็นรอบข้อหย่อน และต่อมาจึงทำให้ข้อต่อไม่มีความมั่นคง จนเกิดการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังในที่สุด ในอีกกรณีที่พบได้เช่นกันคือ อุบัติเหตุที่มีการกระแทกต่อกระดูกสันหลัง หรือในเพศหญิงที่เคยผ่านการตั้งครรภ์ เป็นต้น

อาการ

โดยส่วนมากในระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการที่เด่นชัดมากนัก แต่เมื่อเป็นมากขึ้นจะเริ่มมีอาการปวดหลัง โดยปวดร้าวลงสะโพกและขาข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ถ้ากระดูกสันหลังเคลื่อนมากขึ้นจนไปกดทับเส้นประสาทจะทำให้มีอาการชา ร้าวลงขา ขาอ่อนแรง รู้สึกขาหนักๆ เดินลำบาก เป็นต้น

การรักษาทางกายภาพบำบัด

การรักษาจะใช้การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดปวด ลดอาการชา การขยับข้อต่อ (mobilization), lumbar traction และที่ขาดไม่ได้ คือ การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลัง เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงที่จะพยุงข้อต่อไม่ให้เคลื่อนมากขึ้น ถ้าระดับความรุนแรงถึงระดับ 3-4 โอกาสการรักษาให้หายขาดนั้นค่อนข้างน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เรนโบว์ อโรคายา (Rainbow Arokaya)

กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)2018-08-062019-12-03//www.rainbowarokaya.com/wp-content/uploads/2019/06/logo-full-600-1.pngRainbow Arokaya : Holistic Longevity Center เรนโบว์อโรคายาล บำบัดสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย และจิตใจ

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งในวัยรุ่นและวัยผู้สูงอายุ โดยมีสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ

  • ในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย มักมีสาเหตุมาจากการแตกหักของชิ้นส่วนกระดูกสันหลัง (Spondylolysis) ซึ่งอาจเกิดจากการเจริญที่ไม่สมบูรณ์ของชิ้นกระดูกสันหลังตั้งแต่ในวัยเด็ก หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุและการกระแทกในการเล่นกีฬาเช่น ยิมนาสติกหรือยกน้ำหนัก
  • ในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนมักเกิดจากความเสื่อมของแนวกระดูกสันหลัง ทั้งในบริเวณหมอนรองกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้กระดูกสันหลังเกิดความไม่มั่นคงและส่งผลทำให้มีการเลื่อนของชิ้นกระดูกสันหลังตามมาในที่สุด

สาเหตุของโรค

สาเหตุของอาการปวดหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนมักเกิดจากความไม่มั่นคง (Instability) ของแนวกระดูกสันหลัง ซึ่งมักเริ่มจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ตามด้วยข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม และส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการ “เลื่อน” ซึ่งเมื่อกระดูกสันหลังเกิดการเลื่อนตัวออกจากกันจะทำให้เกิดการตีบแคบของโพรงเส้นประสาท และเมื่อมีการตีบแคบลงจนกระทั่งเกิดการกดทับเส้นประสาทก็จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขา ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีปัญหาการควบคุมระบบขับถ่ายตามมาในที่สุด

อาการโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน

โดยทั่วไปอาการของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมักประกอบไปด้วย 2 อาการหลัก ได้แก่ อาการปวดหลังและอาการปวดร้าวลงขา ซึ่งทั้งสองอาการไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นด้วยกันก็ได้ แม้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการทั้งสองอย่างร่วมกัน แต่อาจแตกต่างกันตรงที่บางคนมีอาการหลักเป็นอาการปวดหลัง บางคนอาจมีอาการหลักเป็นการปวดร้าวลงขา

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนส่วนหนึ่งอาจไม่มีอาการใด ๆ และอาจตรวจพบโดยบังเอิญจากภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนเมื่อเป็นมากขึ้นมักทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง สะโพก และต้นขาด้านหลัง
  • ปวดหลังบริเวณบั้นเอวส่วนล่างเวลาก้มหรือแอ่นหลัง และอาการปวดดีขึ้นเมื่อได้นอนหรือนั่งพัก
  • ถ้าอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนเป็นมากขึ้นจนกดทับเส้นประสาท อาจทำให้มีอาการปวดร้าวลงขา ชาขาหรือชาเท้า กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง รวมถึงมีปัญหาในการขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ

การตรวจวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทประกอบด้วยการตรวจร่างกาย การถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ CT Scan และการทำ MRI ในกรณีที่สงสัยภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนจนกดทับเส้นประสาท

ภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

  • อาจเห็นรอยหักของกระดูกสันหลังในชิ้นส่วนกระดูกที่เรียกว่า Pars Interarticularis
  • มีการเคลื่อนตัวออกจากกันของแนวกระดูกสันหลัง
  • พบความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังในภาพถ่ายท่าก้มและแอ่นหลัง (Flexion – Extension Lateral View)

CT Scan ในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

  • สามารถตรวจพบความผิดปกติของชิ้นส่วนกระดูกสันหลังได้ละเอียดกว่าการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ทั่วไป
  • ช่วยวางแผนการผ่าตัดโดยละเอียด

MRI ในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

  • การถ่ายภาพ MRI สามารถมองเห็นส่วนประกอบที่เป็นเนื้อเยื่อบริเวณรอบกระดูกสันหลังได้ เช่น หมอนรองกระดูก เส้นประสาท กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น
  • สามารถมองเห็นหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้ เพื่อนำไปช่วยตัดสินใจวางแผนการผ่าตัด

เป้าหมายการรักษา

เป้าหมายการรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน ได้แก่

  • ลดอาการปวด
  • ซ่อมแซมกระดูกส่วนที่หักบริเวณ Pars Interarticularis (ไม่สามารถทำได้ในทุกเคส)
  • แก้ไขอาการเส้นประสาทไขสันหลังโดนกดทับ
  • จัดเรียงแนวกระดูกที่เคลื่อนให้กลับมาเรียงตัวตามปกติ

วิธีรักษากระดูกสันหลังเคลื่อน

วิธีการรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนแบ่งออกเป็น

1) การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด

การรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนโดยส่วนใหญ่มักเริ่มจากการรักษาโดยการไม่ผ่าตัดก่อนเสมอ ซึ่งผู้ป่วยโดยส่วนมากมักจะมีอาการดีขึ้นได้ด้วยวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

  • พักกิจกรรมหรือกีฬาที่จำเป็นต้องใช้หลังอย่างหนักหรือใช้เป็นเวลานาน
  • ใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs (Nonsteroidal Anti – Inflammatory Drugs) ได้แก่ ยา Paracetamol, Ibuprofen, Diclofenac, Arcoxia และ Celebrex
  • การทำกายภาพบำบัดเพื่อเน้นการเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง หน้าท้อง สะโพก และต้นขาด้านหลัง
  • ใส่อุปกรณ์พยุงหลัง (Lumbar Support) เพื่อลดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนเอว

2) การรักษาโดยวิธีอินเตอร์เวนชัน (Spinal Intervention Pain Management)

วิธีการรักษาที่เน้นบรรเทาอาการปวดที่เป็นอาการหลักของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน โดยเป็นการรักษาที่ใช้ “เข็ม” ในการรักษา โดยอาจเป็นการใช้เข็มเข้าไปฉีดยาหรือจี้ไฟฟ้าในบริเวณโดยรอบกระดูกสันหลังเพื่อยับยั้งอาการปวดซึ่งเกิดจากการกดทับเส้นประสาทหรือการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลัง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีอินเตอร์เวนชันนี้เป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ จนกลายมาเป็นหนึ่งในมาตรฐานการรักษาโรคทางกระดูกสันหลังในปัจจุบัน

3) การรักษาโดยการผ่าตัด

หากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวด การทำกายภาพบำบัด และการรักษาโดยวิธีอินเตอร์เวนชัน (Intervention) แล้วร่างกายยังไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดให้กับผู้ป่วย โดยการรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยการผ่าตัด มีข้อบ่งชี้ดังนี้

  • ผู้ป่วยมีกระดูกสันหลังเคลื่อนมากหรือมีแนวโน้มจะเคลื่อนมากขึ้นในอนาคต
  • มีอาการปวดหลังมาก โดยไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยวิธีอื่น
  • มีอาการเส้นประสาทโดนกดทับอย่างรุนแรง

เป้าหมายการผ่าตัด

เป้าหมายการผ่าตัดผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ได้แก่

  • ขยายโพรงเส้นประสาทที่ตีบแคบ (Decompression) เพื่อลดอาการปวดร้าวลงขา ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง และปัญหาการควบคุมระบบขับถ่าย
  • แก้ไขภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง (Restabilization) เพื่อลดอาการปวดหลังอันเกิดจากการเคลื่อนของแนวกระดูกสันหลัง
  • ปรับสมดุลของแนวกระดูกสันหลัง (Realignment) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการเสียสมดุลของแนวกระดูกสันหลังโดยรวม เช่น มีกระดูกสันหลังคด และ/หรือกระดูกสันหลังโก่ง

ทางเลือกการผ่าตัด

ทางเลือกในการผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ได้แก่

  • การผ่าตัดเพื่อขยายโพรงเส้นประสาทอย่างเดียว (Decompression Alone) เป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไขอาการปวดร้าวลงขา ชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยการผ่าตัดส่องกล้องขยายโพรงเส้นประสาท (Microscopic Decompression) เป็นการผ่าตัดที่บาดเจ็บน้อย คนไข้ฟื้นตัวเร็ว มีข้อแทรกซ้อนในการผ่าตัดน้อย และการผ่าตัดทำโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เหมาะกับผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทที่ปวดหลังน้อยและกระดูกสันหลังเคลื่อนไม่มาก เพราะการผ่าตัดชนิดนี้ไม่สามารถแก้ไขความไม่มั่นคงของแนวกระดูกสันหลังได้
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Fusion Surgery) เป็นการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังที่เกิดการเลื่อนให้ยึดติดเป็นชิ้นเดียวกันเพื่อลดอาการปวดหลังที่เกิดจากความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง โดยแพทย์จะพิจารณาแนะนำการผ่าตัดเชื่อมข้อในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนที่มีอาการปวดหลังมาก

เทคนิคการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง

ปัจจุบันเทคนิคการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังจำแนกเป็น 2 วิธีหลัก ได้แก่

  1. การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังวิธี Posterolateral Fusion เป็นวิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิมโดยเปิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่เพื่อใส่อุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกสันหลัง (Pedicle Screw) และใส่ชิ้นกระดูกเพื่อกระตุ้นการเชื่อมข้อในบริเวณกระดูกสันหลังด้านข้าง (Transverse Process) การผ่าตัดชนิดนี้มีข้อเสียคือต้องเปิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ เสียเลือดมาก การฟื้นตัวหลังผ่าตัดช้า และอัตราความสำเร็จในการเชื่อมข้อกระดูกไม่สูงมากนัก
  2. การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังวิธี Interbody Fusion เทคนิคการผ่าตัดรูปแบบใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำหมอนรองกระดูกสันหลังเดิมของผู้ป่วยออกเพื่อแทนที่ด้วยหมอนรองกระดูกเทียมและวัสดุกระตุ้นการเชื่อมกระดูก การผ่าตัดวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลใหญ่จึงมีอัตราการเสียเลือดน้อยกว่า ฟื้นตัวเร็วกว่า และมีอัตราความสำเร็จในการเชื่อมข้อกระดูกสูงกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม เทคนิคการผ่าตัดวิธีนี้แพร่หลายและได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังในต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป ซึ่งเทคนิคการผ่าตัด Interbody Fusion ยังแบ่งออกเป็นอีกหลายเทคนิค ตามลักษณะการผ่าตัด ได้แก่ PLIF TLIF DLIF ALIF และ OLIF การผ่าตัดเทคนิคนี้ต้องใช้บุคลากรที่มีความชำนาญและฝึกฝนมาโดยตรงและต้องใช้อุปกรณ์ในการผ่าตัดที่พิเศษกว่าการผ่าตัดแบบปกติ

ERAS PROTOCOLS ฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว

ปัจจุบันองค์ความรู้และวิวัฒนาการด้านการแพทย์พัฒนาขึ้นมาก ทำให้การผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทมีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีกว่าในสมัยก่อน โดยเฉพาะการผ่าตัดที่ศูนย์กระดูกสันหลังโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลเป็นการผ่าตัดรักษาที่ได้มาตรฐานระดับสากล แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว กลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็ว ซึ่งมาตรฐานนี้เรียกว่า ERAS หรือ Enhanced Recovery After Surgery Protocols

ERAS หรือ Enhanced Recovery After Surgery คือ การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว โดยต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของบุคลากรทางการแพทย์จากหลากหลายแผนก (Multidisciplinary Approach) ดังนี้

  1. ทีมแพทย์ผ่าตัด ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วที่สุด แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดแบบ “MISS หรือ Minimally Invasive Spine surgery” การผ่าตัดแผลเล็กที่ทำการผ่าตัดด้วยเทคนิคและอุปกรณ์เสริมพิเศษที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อที่แผ่นหลังน้อยที่สุด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วกว่าวิธีการผ่าตัดแบบเดิมและกลับบ้านได้เร็วขึ้น
  2.  ทีมวิสัญญีแพทย์ ด้วยเทคนิคการดมยาสลบและการให้ยาแก้ปวดแบบพิเศษตาม ERAS Protocols ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากยาสลบและยาแก้ปวดในกลุ่มมอร์ฟีนน้อยลง ผู้ป่วยสามารถลุกเดินออกจากเตียงและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
  3. ทีมแพทย์กายภาพบำบัด อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญและมีผลต่อผลลัพธ์ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยวิธี ERAS ทีมแพทย์กายภาพบำบัดจะเข้าร่วมประเมินและพูดคุยกับผู้ป่วยตั้งแต่ช่วงก่อนผ่าตัดเพื่อแนะนำและสอนวิธีการเตรียมร่างกายก่อนผ่าตัด และช่วยทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในระยะหลังผ่าตัด
  4. ทีมอายุรแพทย์ มีบทบาทสำคัญทั้งในช่วงการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด โดยการตรวจวินิจฉัยและให้ยาควบคุมในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคลิ่มเลือดอุดตัน เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปด้วยความราบรื่น
  5. ทีมพยาบาล เภสัชกร และนักโภชนาการ เป็นกลุ่มที่สำคัญและใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด เพราะการผ่าตัดตามมาตรฐาน ERAS ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษมากกว่ามาตรฐานการผ่าตัดแบบปกติ รวมไปถึงต้องมีความเคร่งครัดในเรื่องการเลือกใช้ยาและการควบคุมโภชนาการของผู้ป่วยทั้งในช่วงก่อนและหลังการผ่าตัดอีกด้วย

ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากทีมแพทย์และพยาบาลจากหลากหลายสาขาที่มีความชำนาญ และด้วยมาตรฐาน ERAS Protocols จะช่วยให้การผ่าตัดรักษาสมบูรณ์และผลลัพธ์หลังการผ่าตัดออกมาดีที่สุด กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

ข้อมูล : นพ.ชัยเดช สระสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita