ความหมายสถิติศาสตร์และข้อมูล

STATISTICS
AND DATA
M.6

ความหมายของ
สถิติศาสตร์และข้อมูล

ม.6

นางสา6ว3น0ล4ิน01นิ4ภ0า132คำโยค

STATISTICS
AND DATA
M.6

คำนำ ก

หนังสืออิเล็คทรอนิกส์ (E-Book) เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อ
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ED13201 นวัตกรรมและเทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ผู้จัดทำจัดทำ
เนื้อหาเกี่ยวกับรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความหมายของ
สถิติศาสตร์และข้อมูล ม.6 โดยมีเนื้อหาย่อยดังนี้ สถิติศาสตร์
(STATISTICS) หมายถึง ตัวอย่างประโยชน์ของสถิติศาสตร์ใน
ด้านต่างๆ คำสำคัญในสถิติศาสตร์ ประเภทของข้อมูล การแบ่ง
ประเภทของข้อมูลตามแหล่งที่มาของข้อมูล การแบ่งประเภท
ของข้อมูลตามระยะเวลาที่จัดเก็บ การแบ่งประเภทของข้อมูล
ตามลักษณะของข้อมูล และสถิติศาสตร์เชิงพรรณนาและ
สถิติศาสตร์เชิงอนุมาน

หนังสือเล่มนี้จัดเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)
ซึ่งช่วยลดการใช้กระดาษและประหยัดต้นทุนในการพิมพ์
ทางผู้จัดทำจึงหวังเป็ นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้
จะเป็ นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับ
ความหมายของสถิติศาสตร์และข้อมูล ม.6 ได้เป็นอย่างดี

ผู้จัดทำ
นลินนิภา คำโยค

MATHEMATICS

สารบัญ ข

เรื่ อง หน้ า
คำนำ ก
สารบัญ ข
1.1 สถิติศาสตร์ (STATISTICS) หมายถึง 1
1
- ตัวอย่างประโยชน์ของสถิติศาสตร์ในด้านต่างๆ 2
1.2 คำสำคัญในสถิติศาสตร์ 5
1.3 ประเภทของข้อมูล 5
7
- การแบ่งประเภทของข้อมูลตามแหล่งที่มาของข้อมูล 9
- การแบ่งประเภทของข้อมูลตามระยะเวลาที่จัดเก็บ 11
- การแบ่งประเภทของข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล
1.4 สถิติศาสตร์เชิงพรรณนาและสถิติศาสตร์เชิงอนุมาน
อ้างอิง
ประวัติผู้จัดทำ

1.1 สถิติศาสตร์ 1
(STATISTICS)

หมายถึง

วิชาที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
และสรุปผลจากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาตอบคำถาม
อธิบายปรากฏการณ์หรือประเด็นที่สนใจ

ตัวอย่างประโยชน์ของสถิติศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น

ด้านการศึกษา นำข้อมูลเกี่ยวกับด้านการศึกษา มาวิเคราะห์เพื่อ
กำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาการศึกษาและการกระจายโอกาส
ทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้านการเกษตร นำข้อมูลเกี่ยวกับครัวเรือนที่ทำการเกษตร มา
วิเคราะห์เพื่อให้คำแนะนำในการวางแผนการเพาะปลูกกับเกษตรกรใน
ฤดูกาลถัดไปได้
ด้านการผลิต การวางแผนการผลิตสินค้าออกมาจำหน่าย เก็บข้อมูล
มาวิเคราะห์ว่าสินค้านั้นเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ ผลิตเท่าใด
จำหน่ายที่ใด และทำอย่างไรผลผลิตจะมีอย่างต่อเนื่องและได้สินค้าที่มี
คุณภาพ
ด้านผู้บริโภค การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า
ที่ต้องการ นำข้อมูลมาวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบข้อมูลจากร้านค้าต่างๆ
ที่สำรวจเพื่อนำมาตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้านั้นหรือไม่
ด้านการพยากรณ์ การพยากรณ์เกี่ยวกับฝนโดยอาศัยข้อมูลจากกรม
อุตุนิยมวิทยา ทำให้สามารถคาดเดาสถานการณ์ล่วงหน้ าได้ว่าฝนจะ
ตกหนักหรือไม่
ด้านชีวิตประจำวัน จดบันทึกรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือนเพื่อใช้ใน
การวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับวิธีการใช้
จ่ายเงินและควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2

1.2 คำสำคัญใน
สถิติศาสตร์

ประชากร (population) หมายถึง กลุ่มของ
หน่วยทั้งหมดในเรื่องที่สนใจศึกษา หน่วยในที่
นี้อาจเป็น คน สัตว์ หรือสิ่งของ
ตัวอย่าง (sample) หมายถึง กลุ่มย่อยของ
ประชากรที่ถูกเลือกมาเป็ นตัวแทนของ
ประชาชน โดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้
ตัวอย่างในการสรุปผลเกี่ยวกับลักษณะของ
ประชากรที่สนใจ

ตัวอย่าง

ถ้ากำหนดให้ประชาชนคือผู้ป่ วยโรคเบาหวานในประเทศไทยใน
พ.ศ. 2562 อาจกำหนดตัวอย่างได้ดังนี้

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยใน พ.ศ.2562 ที่สุ่มตัวอย่าง
มาจำนวน10,000 คน

2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานในภาคกลางของประเทศไทยใน พ.ศ.2562

จากความหมายของประชากรและตัวอย่าง สามารถเขียนแสดงความ
สัมพันธ์ระหว่างประชากรและตัวอย่างได้ดังรูป

1.2 คำสำคัญใน 3
สถิติศาสตร์

ตัวแปร (varible) หมายถึง ลักษณะบางประการของประชากร
หรือตัวอย่างที่สนใจศึกษา
ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อความจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ที่สามารถใช้ในการสรุปผลในเรื่องที่สนใจศึกษา อาจเป็นได้ทั้ง
ตัวเลขหรือไม่ใช่ตัวเลข หรืออาจหมายถึงค่าของตัวแปรที่
สนใจศึกษา

ตัวอย่าง

จากการเลือกตัวอย่างนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียน
แห่งหนึ่งจำนวน 50 คน เพื่อพิจารณาดัชนีมวลกาย (body mass index: BMI)
ซึ่งใช้เป็ นมาตรฐานในการประเมินสภาวะของร่างกายว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
หรือไม่โดยได้สำรวจข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องปรากฎผลดังตาราง

จงระบุว่าประชากร ตัวอย่าง ตัวแปร และข้อมูลของการสำรวจนี้คืออะไร
วิธีทำ ประชากร คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมดของ

โรงเรียนแห่งนี้
ตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนแห่งนี้

จำนวน 50 คน ที่เลือกมาเก็บข้อมูล
ตัวแปร คือ รหัสนักศึกษา เพศ อายุ น้ำหนัก และส่วนสูง
ข้อมูล คือ ค่าของตัวแปรแต่ละตัวที่เก็บรวบรวมได้ ดังที่ปรากฏ

ในบริเวณที่แรงเงาในตาราง

1.2 คำสำคัญใน 4
สถิติศาสตร์

พารามิเตอร์ (parameter) หมายถึง ค่าวัดที่แสดงลักษณะ
ของประชากรซึ่งเป็ นค่าคงตัวที่คำนวณหรือประมวลจากข้อมูล
ทั้งหมดของประชากร

ตัวอย่าง

ถ้ากำหนดให้ประชากรคือผู้ป่ วยโรคเบาหวานในประเทศไทยใน
พ.ศ. 2562 พารามิเตอร์อาจเป็นได้ดังนี้

1.อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยใน พ.ศ. 2562
2.ฐานนิยมของอาชีพของผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยใน พ.ศ. 2562

ค่าสถิติ (statistic) เป็นค่าคงตัวที่พิจารณาจากข้อมูลของ
ตัวอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะของตัวอย่างนั้น
หรือเพื่อประมาณค่าของพารามิเตอร์กแล้วนำไปใช้ในการ
อธิบายลักษณะของประชากร

ตัวอย่าง

ถ้ากำหนดให้ประชากรคือผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยใน พ.ศ.
2562 และเลือกตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยใน พ.ศ. 2562
ที่สุ่มตัวอย่างมาจำนวน 10,000 คน ค่าสถิติอาจเป็นได้ดังนี้

1.อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยใน พ.ศ. 2562 ที่สุ่ม
ตัวอย่างมาจำนวน 10,000 คน

2.ฐานนิยมของอาชีพของผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยใน พ.ศ. 2562
ที่สุ่มตัวอย่างมาจำนวน 10,000 คน

1.3 ประเภท 5
ของข้อมูล

ข้อมูลที่จะนำมาใช้ศึกษาสามารถแบ่งได้หลายประเภท
ที่สำคัญมีดังนี้

1. การแบ่งประเภทของข้อมูลตามแหล่งที่มาของข้อมูล
2. การแบ่งประเภทของข้อมูลตามระยะเวลาที่จัดเก็บ
3. การแบ่งประเภทของข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล

1.3.1

การแบ่งประเภทของข้อมูลตามแหล่งที่มาของข้อมูล
เป็นการแบ่งประเภทของข้อมูลโดยคำนึงว่า ผู้ใช้ข้อมูลเป็นผู้จัดเก็บ
ข้อมูลเอง หรือเป็นข้อมูลที่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นเป็นผู้จัดเก็บแล้ว
ผู้ใช้เพียงแค่นำมาใช้ จึงแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือข้อมูลที่ผู้ใช้ดำเนิน
การเก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลหรือต้นกำเนิดของข้อมูลโดยตรง

ตัวอย่างของข้อมูลปฐมภูมิ

ข้อมูลความพึงพอใจในสินค้าที่เจ้าของสินค้าเก็บรวบรวมจากผู้ใช้
สินค้าหรือผู้บริโภคเป็ นข้อมูลปฐมภูมิของเจ้าของสินค้า

ข้อมูลการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลบันทึกไว้ในประวัติผู้ป่ วย
เป็ นข้อมูลปฐมภูมิของโรงพยาบาล

ข้อมูลที่นักเรียนบันทึกจากการทดลองฟิ สิกส์ในห้องปฏิบัติการ
ของโรงเรียนเป็ นข้อมูลปฐมภูมิของนักเรียนที่ทำการทดลอง

1.3 ประเภท 6
ของข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบปฐมภูมิ สามารถทำได้ 2 วิธี
ได้แก่ การสำมะโน (census) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกๆ
หน่วยของประชากร เหมาะสำหรับข้อมูลขนาดเล็ก อีกวิธีที่นิยมใช้
สำหรับการเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิที่มีประชากรขนาดใหญ่
คือ การสำรวจตัวอย่าง (sample survey) เป็นวิธีการคัดเลือกตัวอย่าง
มาใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ
ตัวอย่างจะเป็นค่าประมาณ ทำให้มีความแม่นยำน้ อยกว่าข้อมูลที่ได้
จากการสำมะโน ข้อดีของการสำรวจตัวอย่างคือ ผู้เก็บข้อมูลจากใช้งบ
ประมาณและเวลาค่อนข้างน้ อยในการเก็บข้อมูล

2. ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่
ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลอื่นต้นกำเนิดของข้อมูล
โดยตรง แต่ใช้ข้อมูลที่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นเก็บรวบรวมมา
ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ใช้มักจะใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยภาครัฐซึ่งเป็ นการ
เก็บรวบรวมข้อมูลตามภารกิจของหน่วยงาน

ตัวอย่างของข้อมูลทุติยภูมิ

ข้อมูลประชากรในกรุงเทพมหานคร ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ. 2564
จัดเป็ นข้อมูลปฐมภูมิของสำนักงานเขตแต่ละเขตในกรุงเทพมหานคร

แต่จะเป็นข้อมูลทุติยภูมิของบุคคล หรือ หน่วยงาน
ที่ต้องการอ้างถึงจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานคร

ข้อมูลการใช้บริการแผนก OPD ของโรงพยาบาล ประจำปี
พ.ศ.2564 จัดเป็นข้อมูลปฐมภูมิของโรงพยาบาล แต่เมื่อโรงพยาบาล
ส่งรายงานให้กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลทุติยภูมิ

ของกรวงสาธารณาสุข

1.3 ประเภท 7
ของข้อมูล

ข้อดีของข้อมูลทุติยภูมิ คือ ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาและ
ค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอง สามารถนำข้อมูลที่มีผู้อื่น
เก็บรวบรวมไว้แล้วมาใช้ได้เลย แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้ไม่จะต้อง
ระมัดระวังในการนำข้อมูลประเภทนี้มาใช้ เนื่องจากมีโอกาสผิด
พลาดได้ง่าย

1.3.2

การแบ่งประเภทของข้อมูลตามระยะเวลาที่จัดเก็บเป็ นการ
แบ่งประเภทของข้อมูลโดยพิจารณาจากช่วงเวลาที่มีข้อมูลเกิดขึ้น
และมีการจัดเก็บโดยแบ่งประเภทของข้อมูลออกเป็ นข้อมูลอนุกรม
และข้อมูลตัดขวาง

ข้อมูลอนุกรมเวลา (time series data) คือชุดข้อมูล
ที่เกิดขึ้นและจัดเก็บตามลำดับเวลาต่อเนื่องกันไปตลอดช่วงๆ หนึ่ง

ตัวอย่างของข้อมูลอนุกรมเวลา

จำนวนนักเรียนที่ใช้บริการห้องสมุดของโรงเรียนแห่งหนึ่ ง
ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2563 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2564

ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ในช่วงเดือน เมษายน พ.ศ.2562

ถึงเดือน เมษายน พ.ศ.2564

1.3 ประเภท 8
ของข้อมูล

ข้อมูลตัดขวาง (cross-sectional data) คือข้อมูลที่บอก
สถานะหรือสภาพของสิ่งที่สนใจ ณ จุดหนึ่งของเวลา

ตัวอย่างของข้อมูลตัดขวาง

จำนวนนักเรียนชายและนักเรียนหญิงของโรงเรียนแห่งหนึ่ ง
ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2563

จำนวนเด็กแรกเกิดของประเทศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2564

ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564

รายงานผลการศึกษาวิชา คณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2563

1.3 ประเภท 9
ของข้อมูล

1.3.3

การแบ่งประเภทของข้อมูลตามลักษณะของข้อมูลเป็ นการแบ่ง
ประเภทของข้อมูลโดยพิจารณาว่าข้อมูลนั้นแสดงถึงปริมาณของสิ่งๆ
หนึ่งหรือไม่ โดยแบ่งออกได้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ

ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) คือข้อมูลที่ได้
จากการนับหรือการวัด สามารถระบุออกเป็นตัวเลขแสดงปริมาณ
ของสิ่งที่นับหรือสิ่งที่วัดได้ โดยที่ข้อมูลประเภทนี้สามารถนำไป
เปรียบเทียบได้ รวมถึงสามารถนำไป บวก ลบ คูณ หรือ หารกันได้

ตัวอย่างของข้อมูลเชิงปริมาณ

อุณหภูมิของห้องเรียน ม.6/1

อายุการใช้งานหลอดไฟตะเกียบ

คะแนนสอบ O-NET นักเรียน ม.6

น้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียน ม.6/2

ยอดขายชานมไข่มุกรายเดือนของร้านแห่งหนึ่ ง

จำนวนนักเรียนที่เข้าใช้บริการห้องสมุดในเดือน มกราคม พ.ศ.2564

1.3 ประเภท 10
ของข้อมูล

นอกจากนี้ ข้อมูลเชิงปริมาณ ยังสามารถแบ่งตาม
ลักษณะของปริมาณได้อีก 2 ประเภท คือ

ข้อมูลชนิดไม่ต่อเนื่อง (discrete data) เป็นข้อมูลที่
จากการนับ เช่น จำนวนนักเรียน (1, 2, 3, … คน) จำนวนหนังสือ
(1, 2, 3, … เล่ม) จากตัวอย่างดังกล่าวนักเรียนจะเห็นว่า
ไม่สามารถนับจำนวนนักเรียนเป็น 1.5 คน หรือ 3 คนได้

2
กล่าวคือ จำนวนที่เกิดขึ้นจากการนับนั้นต้องมีลักษณะเป็นจำนวนเต็ม

ข้อมูลชนิดต่อเนื่อง (continuous data) จะมีลักษณะ
เป็นได้ทั้งจำนวนเต็ม เศษส่วน และทศนิยม เนื่องจากข้อมูล
ประเภทนี้เกิดจากการวัด ตัวอย่างเช่น ความสูงของนักเรียน
(อาจเป็น 173, 174.5, 177.8 เซนติเมตร) น้ำหนักของนักเรียน
(อาจเป็น 48, 50.6, 67.9 กิโลกรัม) คะแนนสอบปลายภาค
(อาจเป็น 20, 20.5, 32.1 คะแนน)

ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) คือข้อมูลที่แสดง
ลักษณะ ประเภท สมบัติในเชิงคุณภาพ และอื่นๆ ที่ไม่สามารถวัด
ค่าเป็นตัวเลขที่นำมาบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้

ตัวอย่างของข้อมูลเชิงคุณภาพ

สถานะภาพสมรส (เช่นโสด สมรส หย่าร้าง)

อาชีพ (เช่น ครู ข้าราชการ พนักงานบริษัท)

ระดับชั้น (เช่น ม.6/1 ม.6/2)

หมายเลขโทรศัพท์,รหัสไปรษณีย์

ระดับความพึ่งพอใจในการเข้าใช้บริการ

11

1.4 สถิติศาสตร์เชิงพรรณนา
และสถิติศาสตร์เชิงอนุมาน

การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งได้เป็ นสถิติศาสตร์เชิงพรรณนา
และสถิติศาสตร์เชิงอนุมาน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. สถิติศาสตร์เชิงพรรณนา (primary data) เป็นการ
วิเคราะห์ข้อมูลที่สรุปสาระสำคัญของข้อมูลชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อมูล
เชิงคุณภาพหรือข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่ออธิบายลักษณะหรือสภาพ
ของข้อมูลชุดนั้นว่าเป็นอย่างไร โดยทั่วไปข้อมูลเชิงคุณภาพจะใช้
การนำเสนอด้วยตารางความถี่ แผนภูมิแท่ง ฐานนิยม และอื่นๆ
ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณจะใช้ในการนำเสนอด้วยฮิสโทแกรม
แผนภาพกล่อง ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และอื่นๆ

2. สถิติศาสตร์เชิงอนุมาน (inferential data) เป็นการ
วิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับความน่าจะเป็ นในการหาข้อ
สรุปเกี่ยวกับลักษณะของประชากรโดยใช้ข้อมูลจากตัวอย่างที่ได้มา
จากประชากรนั้น

อ้างอิง

ครูเอก kanit.me. (2563). การแบ่งประเภทของข้อมูลโดยอาศัยระยะ
เวลาที่จัดเก็บ. สืบค้น 7 ตุลาคม 2564, จาก //kanit.me/
time-series-data-and-cross-sectional-data/

ครูเอก kanit.me. (2563). การแบ่งประเภทของข้อมูลโดยอาศัยแหล่ง
ที่มาของข้อมูล. สืบค้น 7 ตุลาคม 2564, จาก //kanit.me/
primary-data-and-secondary-data/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
(2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์
พาณิชย์.

อ้างอิงรูปภาพ

//pwsscience.word //www.kaohoon.com/
press.com/2013/06/10/ breakingnews/424469
แบบฝึ กหัดหลังการทดลอง

//www.kruchiangrai. //www.berded.in.th/
net/2014/01/19/วิธีการดูผล article-460.php

คะแนนสอบ-o-net-โอ/

//promotions.co.th/
สำรวจตลาด/ไปรษณีย์ไทย

เปิ ดตัวเว็บ.html

ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อจริง นางสาวนลินนิภา คำโยค
ชื่อเล่น มิ้น
วันเกิด 15 ตุลาคม 2544
สัญชาติ ไทย
เชื้อชาติ ไทย
ศาสนา พุทธ
ที่อยู่ 189 ม.2 บ้านห้วยผึ้ง
ตำบลบ้านโปร่ง อำเภอศรีธาตุ
จังหวัดอุดรธานี 41230

กำลังศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์

ช่องทางติดต่อ
Facebook : นลิน นิภา
Line : mymint_2345

THANK
YOU


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita