อิเหนาได้รับอิทธิพลมาจากประเทศใด

รหัสโครงการ : R000000140
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วรรณคดีโบราณด้วยการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ : กรณีศึกษา อิเหนา
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : Increasing Value of Traditional Thai Literature by Adaptation to TV Drama : a case study of Inoa
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : อิเหนา การสืบทอดวรรณคดีโบราณ ละครโทรทัศน์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาภาษาไทย
ลักษณะโครงการวิจัย : โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ : โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ : propersal
งบประมาณที่เสนอขอ : 40000
งบประมาณทั้งโครงการ : 40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ : 12 กุมภาพันธ์ 2558
วันสิ้นสุดโครงการ : 11 กุมภาพันธ์ 2559
ประเภทของโครงการ : การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ : สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ : สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ : อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย : ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : อิเหนาเป็นวรรณคดีไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากนิทานปันหยี ซึ่งเป็นนิทานอิงพงศาวดารของชวา ปรากฏหลักฐานขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301) ดังปรากฏเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระธิดาสองพระองค์ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ทรงนิพนธ์บทละครเรื่องดาหลังหรืออิเหนาใหญ่ และ อิเหนา หรืออิเหนาเล็กขึ้น ตามเรื่องเล่าของนางกำนัลชาวปัตตานี เชื้อสายมลายู ชื่อยะโว แต่บทละครทั้งสองเรื่องก็ได้ชำรุดสูญหายไป เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ต่อมาเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูพระนครให้เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ๆ เหมือน “ครั้งบ้านเมืองดี” รวมทั้งด้านวรรณกรรมด้วย จึงทรงโปรดให้มีการประชุมกวีเพื่อแต่งวรรณคดีเรื่องสำคัญขึ้นใหม่หรือแต่งซ่อมส่วนที่ขาดหายให้มีความสมบูรณ์ เพื่อเป็น “ฉบับสำหรับพระนคร” ซึ่งอิเหนาก็เป็นหนึ่งในวรรณคดีเหล่านั้นด้วย โดยบทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาฉบับนี้ มีลักษณะคำประพันธ์เป็นกลอนบทละคร แต่เนื้อความยังขาดตอนเป็นระยะ ๆ ไม่ต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่อง อิเหนา ขึ้นเพื่อใช้สำหรับเล่นละครใน ดังปรารภในเพลงยาวท้ายพระราชนิพนธ์ว่า “...ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่...” ซึ่งนอกจากจะพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาฉบับนี้ จะเป็นฉบับที่มีความสมบูรณ์ทางด้านเนื้อหามากที่สุดแล้ว ในสมัยต่อมายังได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดกลอนบทละครใน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ชื่นชมบทละครเรื่องนี้ว่า “... อิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 ซึ่งมีเนื้อเรื่องแปลกออกไปอีก ทรงดัดแปลงร้อยกรองโดยเฉพาะให้เป็นท่วงทีงดงามดี เหมาะแก่การเล่นละคร ในเชิงรำก็ให้ท่าที่จะรำได้แปลก ๆ งาม ๆ ในเชิงจัดหมู่ละครก็ให้ท่าที่จะจัดได้เป็นภาพงามโรง ในเชิงร้องก็ให้ทีที่จะจัดลู่ทางทำนองไพเราะเสนาะโสต ในเชิงกลอนก็สละสลวยเพราะพริ้งไม่มีที่เปรียบ อาจจะเล่นละครให้สมบูรณ์ครบองค์ห้าของละครได้ คือ 1. ตัวละครงาม 2. รำงาม 3. ร้องเพราะ 4. พิณพาทย์เพราะ 5. กลอนเพราะ ซึ่งสำเร็จเป็นทั้งทัศนานุตตริยะ และ สวนานุตตริยะ อย่างไพบูลย์” ความแพร่หลายของวรรณคดีเรื่องอิเหนามีปรากฏอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ ทั้งนี้จะพบว่ามีการนำ เนื้อเรื่องบางตอนของอิเหนามาแต่งเป็นวรรณคดีขนาดสั้น เช่น อิเหนาคำฉันท์ ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และ คำฉันท์เรื่องนางจินตะหรา ของ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ หรือนำมาตัดตอนมาแต่งเป็นวรรณคดีการแสดงลักษณะอื่น ได้แก่ บทละครพูดเรื่องอิเหนา พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร บทเจรจาลครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง อิเหนา พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นอกจากนั้นยังมีความพยายามแปลวรรณคดีอันเป็นต้นเรื่องของอิเหนา ได้แก่ หิกะยัต ปันหยี สมิรัง. พระนิพนธ์แปล ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามลายู อิเหนาฉบับอารีนครา. แปลจากอิเหนาชวา ผู้แต่งชื่ออารีนครา ขุนนิกรการประกิจ เป็นผู้แปล เป็นต้น แม้ในปัจจุบัน วรรณคดีเรื่องอิเหนาก็ยังได้รับการนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ละครรำของกรมศิลปากร หรือ การตัดตอนมาบรรจุไว้ในแบบเรียนภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษา หรือมีนำมาถอดความเป็นสำนวนร้อยแก้ว ซึ่งการผลิตซ้ำดังกล่าวอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการผลิตซ้ำตัวบทเดิม นำเสนอในรูปแบบลักษณะเดิม และจำกัดวงความสนใจเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม จากการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตซ้ำวรรณคดีเรื่องอิเหนา พบว่ามีวรรณกรรมอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการนำวรรณคดีเรื่องอิเหนา มาสร้างสรรค์ใหม่และนำเสนอให้เหมาะสมกับรูปแบบของสื่อและบริบทสังคมร่วมสมัย และเป็นที่สนใจของคนในวงกว้าง ซึ่งนอกจากจะมีลักษณะของการพยายาม “ต่อยอด” “ทำให้ฟื้นคืนชีพ” หรือ “สร้างมูลค่าเพิ่ม” ให้แก่วรรณคดีโบราณแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนฐานคิดที่ว่า “วรรณกรรมจึงมักมีทวิวิจน์ (dialogue) กับวรรณกรรมด้วยกัน ทั้งคิดตามและคิดแย้ง” ได้อย่างชัดเจน ซึ่งก็คือ รูปแบบละครโทรทัศน์ ดังต่อไปนี้ ในปีพุทธศักราช 2546 ได้มีการนำวรรณคดีเรื่องอิเหนา มานำเสนอในรูปแบบละครโทรทัศน์ โดยบริษัท ทีวีสแควร์ จำกัด แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 17.00-18.00 น. นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำวรรณคดีเรื่องนี้มานำเสนอในรูปแบบละครโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อมหาชนที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยเนื้อเรื่องที่นำเสนอนั้นดำเนินตามโครงเรื่องของบทละครพระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่มีการดัดแปลง ตัดทอน และเพิ่มเติมเหตุการณ์และตัวละครต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบและธรรมชาติของสื่อโทรทัศน์ ขณะเดียวกับก็พยายามรักษาหัวใจและบรรยากาศของเรื่องให้ตรงตามวรรณคดีต้นเรื่อง ละครโทรทัศน์อีกเรื่องซึ่งดัดแปลงมาจากบทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เช่นกัน ก็คือ ละครโทรทัศน์เรื่อง สุดหัวใจเจ้าชายเทวดา ของ บริษัท กันตนา จำกัด ซึ่งแพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์น ไนท์ ทีวี ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์เวลา 19.00-19.30 น. ซึ่งละครโทรทัศน์เรื่องนี้มีความน่าสนใจในการดัดแปลงองค์ประกอบศิลป์ต่าง ๆ ของเรื่องให้ร่วมสมัยใกล้เคียงกับปัจจุบัน เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมให้กับผู้ชมละครได้ง่าย ดังที่ รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (2554 : 3) ได้กล่าวถึงละครโทรทัศน์เรื่องนี้ว่า ละครโทรทัศน์เรื่อง สุดหัวใจเจ้าชายเทวดา ดัดแปลงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ให้เป็นละครวัยรุ่นสมัยใหม่ ที่ใช้สเปคเชียลเอฟเฟคในฉากแฟนตาซีต่าง ๆ ท้องพระโรงจึงเป็นห้องรับแขกในบ้านสมัยใหม่ ตัวละครแต่งตัวตามสมัยปัจจุบันที่ผสมผสานกันแบบหัวมังกุท้ายมังกร เช่น อิเหนาใส่เสื้อกั๊กทับเสื้อเชิ้ต สวมหมวกปีกแคบ ประสันตาและ สังคามาระตาสวมสูทดำผูกหูกระต่าย วิหยาสะกำสวมกางเกงสีขาว ใส่เสื้อกล้ามขาว ทับด้วยเสื้อเชิ้ตลายดอกที่พับแขนสูงแบบจิ๊กโก๋หลังวัง และสวมหมวกปีกแคบ จรกาแต่งตัวแนวเร้กเก้ใส่เสื้อผ้าที่สดแสบ ไว้ผมทรงเดรดล็อก ส่วนบุษบาสวมชุดขี่ม้าแบบฝรั่ง ใช้ธนูแบบที่แข่งในสนามยิงธนู ตัวละครอื่น ๆ ก็แต่งตัวกันแบบล้ำจินตนาการ จนคาดเดาไม่ได้ว่าเหตุเกิดที่ไหน ในช่วงเวลาอะไรบนโลกนี้ เพราะในขณะที่แต่งตัวกันแบบ คนสมัยใหม่ ใช้ไอพอด มือถือ สู้กันด้วยปีน ธนู และกริช แต่ตัวละครก็เป็นเจ้าหญิงเจ้าชายเสนาอำมาตย์ ใช้ราชาศัพท์กันให้วุ่นวายไปหมด พูดให้เก๋ ก็อาจจะโมเมว่าเป็นละครแนว fusion คือ ผสมปนเปแบบยำใหญ่ นอกจากการดัดแปลงสิ่งที่เป็นฉากท้องเรื่องตลอดจนการแต่งกายให้เป็นยุคสมัยปัจจุบันแล้ว ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์เรื่องสุดหัวใจเจ้าชายเทวดายังได้ปรับเปลี่ยนลักษณะตัวละครสำคัญอีกหลายตัว เช่น วิหยาสะกำเป็นพวกนับถือซาตาน เมื่อหลงรักบุษบาก็ไปบูชาซาตานขอให้ช่วย ซึ่งซาตานก็คือแม่มดหมอผีที่สามารถแปลงร่างเป็นค้างคาวได้ หรือ จรกาเป็นคนปัญญาอ่อน (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ 2554 : 4) ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าผู้สร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์นั้นมีกระบวนการคิดอย่างไรในการดัดแปลงดังกล่าว ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดที่จะศึกษาเปรียบเทียบบทละครพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับ ละครโทรทัศน์เรื่องอิเหนา และ ละครโทรทัศน์เรื่องสุดหัวใจเจ้าชายเทวดา ซึ่งผลการวิจัยจะทำให้ได้แนวทางในการดัดแปลงวรรณคดีโบราณเป็นวรรณกรรมร่วมสมัย อันจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวรรณคดีโบราณ และทำให้วรรณคดีโบราณสามารถดำรงคุณค่าอยู่ในสังคมปัจจุบันได้
จุดเด่นของโครงการ : -
วัตถุประสงค์ของโครงการ : 5.1 เพื่อเปรียบเทียบบทละครพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับ ละครโทรทัศน์เรื่องอิเหนา และ ละครโทรทัศน์เรื่องสุดหัวใจเจ้าชายเทวดา 5.2 เพื่อวิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการนำวรรณคดีโบราณมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์
ขอบเขตของโครงการ : ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะได้กำหนดขอบเขตในการศึกษาไว้ ๒ ประเด็น ได้แก่ 6.1 ขอบเขตด้านข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ละครโทรทัศน์ จำนวน 2 เรื่อง ที่ดัดแปลงมาจากบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ ละครโทรทัศน์เรื่องอิเหนา ของ บริษัท ทีวีสแควร์ จำกัด และ ละครโทรทัศน์เรื่องสุดหัวใจเจ้าชายเทวดา ของ บริษัท กันตนา จำกัด 6.2 ขอบเขตด้านวัตถุประสงค์ในการศึกษา 6.2.1 เพื่อเปรียบเทียบบทละครพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย กับ ละครโทรทัศน์เรื่องอิเหนา และ ละครโทรทัศน์เรื่องสุดหัวใจเจ้าชายเทวดา . 6.2.2 เพื่อวิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการนำวรรณคดีโบราณมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : 10.1.1 ได้ทราบความเหมือนและความแตกต่างบทละครพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับ ละครโทรทัศน์เรื่องอิเหนา และ ละครโทรทัศน์เรื่องสุดหัวใจเจ้าชายเทวดา 10.1.2 ได้แนวทางในการดัดแปลงวรรณคดีโบราณเป็นวรรณกรรมร่วมสมัย เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวรรณคดีโบราณ และทำให้วรรณคดีโบราณสามารถดำรงคุณค่าอยู่ในสังคมปัจจุบัน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : จากการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องอิเหนา พบว่ามีนักวิชาการศึกษาวรรณคดีเรื่องนี้ในแง่มุมต่าง ๆ ตามความถนัดและสนใจเป็นจำนวนมาก อาทิ ด้านประวัติความเป็นมา เช่น วิทยานิพนธ์เรื่อง A Study of the Dramatic Poems of the Panji Cycle in Thailand ของ คมคาย นิลประภัสสร (1966) วิทยานิพนธ์เรื่อง Panji Thai dalam Perbandingan dengen Cerita-cerita Panji Melayu ของ รัตติยา สาและ (1988) และ วิทยานิพนธ์เรื่อง การเปรียบเทียบเรื่องดาหลังและอิเหนากับเรื่องปันหยีมลายู ของ โสมรัศมี สินธุวณิก (2547) ด้านนาฏยศิลป์และการแสดง ได้แก่ วิทยานิพนธ์เรื่อง ละครในของหลวงในสมัยรัชกาลที่ 2 ของ อารดา สุมิตร (2516) วิทยานิพนธ์เรื่อง จารีตการใช้อุปกรณ์การแสดงละครเรื่องอิเหนา ของ สุภาวดี โพธิเวชกุล (2540) วิทยานิพนธ์เรื่อง รำอาวุธของตัวพระในละครในเรื่องอิเหนา ของ รุ่งนภา ฉิมพุฒ (2541) วิทยานิพนธ์เรื่อง ลงสรงโทน : กระบวนท่ารำในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา ของ วรรณสินี สุขสม (2545) วิทยานิพนธ์เรื่อง การรำตรวจพลของตัวพระในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา ของ ขวัญใจ คงถาวร (2548) วิทยานิพนธ์เรื่อง ลีลาท่ารำและบทบาทการแสดงตัวนางจินตะหราจากละครในเรื่องอิเหนา ของ รติยา สุทธิธรรม (2552) ด้านสังคมวิทยาและการสะท้อนภาพสังคม ได้แก่ วิทยานิพนธ์เรื่อง วิเคราะห์บทละครรำเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิสหล้านภาลัย โดยเฉพาะสภาพชีวิตความเป็นไปที่ปรากฏในเรื่อง ของ บัวงาม อรรถพันธุ์ (2517) และ วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์สังคมและวัฒนธรรม ในละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ของ วรรษชล ฤกษ์วันดี (2548) ด้านภาษาและวรรณศิลป์ ได้แก่ วิทยานิพนธ์เรื่อง ความเปรียบในบทละครในพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ของ ญาดา อรุณเวช (2526) วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างอารมณ์สะเทือนใจในบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ 2 ของ สุภัค มหาวรากร (2540) วิทยานิพนธ์เรื่อง ลักษณะคำยืมภาษาชวามลายูในบทละครเรื่องดาหลังและอิเหนา ของ สุพัชรินทร์ วัฒนพันธุ์ (2537) และ วิทยานิพนธ์เรื่อง พระราชนิพนธ์อิเหนาในรัชกาลที่ 2 : การสร้างนิทานปันหยีให้เป็นยอดแห่งวรรณคดีบทละครใน ของ ธานีรัตน์ จัตุทะศรี (2552) และ ด้านตัวละคร ได้แก่ วิทยานิพนธ์เรื่อง กษัตริย์ในวรรณคดีไทย ของ สุวคนธ์ จงตระกูล (2513) วิทยานิพนธ์เรื่อง วิเคราะห์พฤติกรรมของพระเวสสันดร พระลอ ขุนแผน และอิเหนา ตามแนว จริยศาสตร์ ของ พีระพันธุ์ บุญโพธิ์แก้ว (2532) อย่างไรก็ตาม การศึกษาต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น มักจะเป็นการศึกษาบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นสำคัญ และปรากฏว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมร่วมสมัยที่ดัดแปลงมาจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาเพียงเรื่องเดียว คือ วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาการดัดแปลงเรื่องอิเหนาเป็นบทละครโทรทัศน์ ของ จักรสุรักษ์ จันทรวงศ์ (2549) ซึ่งเน้นการเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างบทละครพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับ บทละครโทรทัศน์เรื่องอิเหนา ของ บริษัท ทีวีสแควร์ จำกัด เป็นหลัก
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : 7.1 ทฤษฎีการวิเคราะห์เชิงสหบท (Intertextuality) ทฤษฎีการวิเคราะห์เชิงสหบท เป็น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทหนึ่งกับตัวบทที่มีมาก่อนว่ามีการตอบโต้เชื่อมโยงกันอย่างไร โดยจูเลีย คริสติวา ได้พัฒนาขึ้นจาก ทฤษฎี Translinguistic Approach ของ บาคคติน (Bakhtin, 2000) ที่วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของลักษณะภาษาในตัวบทหนึ่งกับตัวบทอื่น ๆ โดยแนวคิดเรื่องทฤษฎีสหบทนี้ ตั้งอยู่บนความเชื่อว่า ตัวบททุกตัวบทที่เกิดขึ้นล้วนถูกประกอบสร้างขึ้นจากตัวบทหลาย ๆ ตัวบทที่มาก่อนหน้า ตัวบทหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นเครือข่ายโยงใยไปสู่ตัวบทอื่น ๆ ในลักษณะของการสนทนาสื่อสัมพันธ์ (dialogic relationship) นักภาษาศาสตร์หลายคนได้นำแนวคิดเรื่องทฤษฎีสหบทนี้มาศึกษาภาษาและวรรณกรรม อาทิ แฟร์เคลาฟ์ (Fairclough, 1995, 1997) ได้ใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์เชิงสหบทมา วิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่อยู่ในตัวบท เช่น การสื่อแทนทางวาทกรรม (discourse representation) ข้อสมมติเบื้องต้น (presupposition) การปฏิเสธ (negation) การประชดประชัน (irony) เป็นต้น แนวคิดเรื่อง “สัมพันธบท” ซึ่งเชื่อว่าตัวบททุกบทจะดูดกลืนและแปรรูปตัวบทอื่น ๆ ที่มีมาก่อนหน้านั้น อาจจะเป็นการอ้างถึงตรง ๆ หรือการนำข้อความเดิมมาบิดผันให้เกิดความหมายใหม่ หรือการยั่วล้อขนบนิยมหรืออนุภาคในงานเรื่องเดิม... การศึกษาแนวสัมพันธบทอาจจะล้มล้างความเชื่อในเรื่องความคิดริเริ่มของผู้แต่งและความมีเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคล แต่การศึกษาเช่นนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าไม่มีตัวบทวรรณกรรมใดเกิดจากความว่างเปล่า สิ่งที่กล่าวถึงในวรรณกรรมแต่ละชิ้นเคยถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมชิ้นอื่น ๆ มาก่อน วรรณกรรมจึงมักมีทวิวิจน์ (dialogue) กับวรรณกรรมด้วยกัน ทั้งคิดตามและคิดแย้ง 7.2 ทฤษฎีเรื่องเล่า การเล่าเรื่อง และศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง (Narrative, Narration, Narratology) เรื่องเล่า การเล่าเรื่อง และศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง เป็นศัพท์ที่ Tzvetan Todorov นักวรรณกรรมศึกษาชาวรัสเซียเป็นผู้กำหนดขึ้นมา และเป็นสาขาวิชาที่เพิ่งสถาปนาตัวเองขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 อันที่จริงการศึกษาการเล่าเรื่องนั้นมีมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในสายมนุษยศาสตร์ เช่น วรรณคดี คติชนวิทยา ภาษาศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งอาจจะเรียกการศึกษาการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนทศวรรษ 1970 ว่า กระบวนทัศน์เดิม ซึ่งความแตกต่างระหว่างศาสตร์แห่งการเล่าเรื่องที่เป็นกระบวนทัศน์เดิมและกระบวนใหม่
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : 12.1 สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องอิเหนา 12.2 สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสืบทอดวรรณคดีโบราณสู่วรรณกรรมร่วมสมัย 12.3 เรียบเรียงเอกสารข้อมูล/หนังสือ/งานวิจัย/บทความ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เขียน บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดกลุ่มของข้อมูลเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 12.3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับอิเหนา 12.3.2 ข้อมูลเกี่ยวกับอิเหนาในบริบทสังคมร่วมสมัย 12.3.3 แนวคิดในการดัดแปลงวรรณกรรมให้เข้ากับบริบทสังคมร่วมสมัย 12.3.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอิเหนา 12.4 เปรียบเทียบบทละครพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับ ละครโทรทัศน์เรื่องอิเหนา และ ละครโทรทัศน์เรื่องสุดหัวใจเจ้าชายเทวดา 12.5 วิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการนำวรรณคดีโบราณมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ 12.6 เรียบเรียงผลการวิเคราะห์เป็นบทที่ 4 12.7 สรุปผลการวิจัยและจัดทำเป็นรูปเล่ม
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : -
จำนวนเข้าชมโครงการ : 4103 ครั้ง

อิเหนา รับอิทธิพลจากที่ใด

วรรณคดีเรื่องอิเหนาของไทยได้รับอิทธิพลจากนิทานเรื่องปันหยีของชวา โดยผ่านทางมลายู อีกทอดหนึ่ง ทั้งนี้เมื่อเมืองไทยรับเข้ามาแล้วก็ได้รับการปรับเปลี่ยนชื่อเรื่องจาก “ปันหยี” เป็น “อิเหนา” ตามชื่อตัวละครเอกที่คุ้นหูคนไทยมากกว่า (โสมรัศมี สินธุวณิก, 2547, น.1) การเข้ามาของเรื่องปันหยี ในประเทศไทยนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ...

เรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศในรัชกาลใด

เรื่องอิเหนาเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ มีคากล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล คือ เจ้าฟ้า กุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนา จากนางกานัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี พระราชธิดาทั้ง สองพระองค์ทรงโปรดเรื่องนี้มากจึงมี ...

เรื่องอิเหนาได้เค้าโครงเรื่องมาจากชาติใดในปัจจุบัน *

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือ ...

อิเหนาเป็นผลงานของใคร

"อิเหนา" พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นบทละครรำที่ได้รับยกย่องอย่างสูงว่ามีความสมบูรณ์ดีเลิศ ทั้งในด้านวรรณศิลป์และนาฏศิลป์ ผู้เขียน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita