เรื่องอิเหนามีที่มาจากเรื่องอะไร

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ

ความเป็นมา

อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ พระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ ได้ฟังเรื่องราวจากข้าหลวงชาวชวา เมื่อเห็นว่าเนื้อเรื่องสนุกจึงนำมาแต่งเป็นบทละคร โดยเจ้าหญิงกุณฑลทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) ส่วนเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนาเล็ก (อิเหนา)

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์อิเหนาขึ้นมาใหม่เป็นบทละคร เรียกว่า ละครใน

อิเหนา

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

ในดินแดนชวาโบราณ มีกษัตริย์ราชวงศ์หนึ่งชื่อ วงศ์อสัญแดหวา หรือ วงศ์เทวา คือ ท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ปกครองเมืองกันคนละเมืองตามชื่อของตัวเอง ท้าวกุเรปันมีโอรสที่เก่งกล้าสามารถ ชื่อ อิเหนา ท้าวดาหามีธิดาที่มีรูปโฉมงดงามชื่อ บุษบา กษัตริย์ทั้งสองเมืองจึงให้โอรสและธิดาหมั้นกันไว้ตั้งแต่ยังเด็ก แต่เมื่อโตขึ้น อิเหนาต้องเดินทางไปช่วยปลงพระศพพระอัยกีที่เมืองหมันยา จึงได้พบกับจินตะหรา ธิดาท้าวมันหยา อิเหนาตกหลุมรักทำให้ไม่อยากกลับไปแต่งงานกับบุษบา

เมื่อท้าวดาหาทราบเรื่องก็ทรงเคืองจึงประกาศว่าถ้าใครมาขอบุษบาก็จะยกให้ทันที จรกาที่เห็นรูปบุษบาก็ตกหลุมรักจึงมาสู่ขอ เช่นเดียวกับวิหยาสะกำ แต่เมื่อพระบิดาอย่างท้าวกะหมังกุหนิงส่งราชทูตมาสู่ขอ ก็พบว่าท้าวดาหาได้ยกบุษบาให้จรกาไปแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิงจึงยกทัพไปหมายจะตีเมืองดาหา ทำให้ท้าวดาหาต้องไปขอความช่วยเหลือจากพี่น้องในวงศ์เทวาทั้งสี่เมืองมาช่วยกันรบ อิเหนาถูกตามตัวกลับอีกครั้ง และครั้งนี้ท้าวกุเรปันก็ยื่นคำขาดว่าถ้าหากไม่กลับมาช่วยรบจะตัดพ่อตัดลูก อิเหนาจึงต้องจำใจจากนางจินตะหรามารบกับท้าวกะหมังกุหนิง จนในที่สุดก็ได้รับชัยชนะ

สรุปเนื้อเรื่อง

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ ก็คงจะเข้าใจแล้วใช่ไหมคะว่าทำไมวรรณคดีของชาวชวาเรื่องนี้ถึงได้ถูกนำมาแต่งขึ้นใหม่ในภาษาไทยและโด่งดังเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเนื้อเรื่องที่สนุกและน่าติดตามนี้เองค่ะที่ทำใครไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ยินต่างก็ต้องอยากจะอ่านต่อ รวมถึงยังได้ศึกษาเรื่องวัฒนธรรมและการใช้ภาษาที่แสนจะงดงามในเรื่องได้อีกด้วย สำหรับตัวบทและคุณค่าของวรรณคดี น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในบทถัดไปนะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อไม่สับสนเกี่ยวกับตัวละครและเมืองต่าง ๆ ที่ปรากฏในเรื่องนะคะ ไปดูกันเลยค่ะ

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita