ใครมีอาชีพทางด้านดนตรี ต่างจาก ข้ออื่น

จัดอันดับ 10 อาชีพในสายธุรกิจดนตรี | เมื่อนึกถึงอาชีพในสาขาดนตรี คุณอาจจะเริ่มนึกถึงจากอาชีพศิลปิน หรือนักดนตรีที่ทำการแสดงอยู่บนเวที แต่เมื่อคุณดึงฉากหลังขึ้นไป คุณจะได้พบกับเหล่าบุคคลต่าง ๆ ในสายงานธุรกิจดนตรี ที่มีส่วนช่วยให้การแสดงหน้าเวทีเกิดขึ้น และเป็นไปได้อย่างราบรื่น บุคคลที่คอยประสานงาน และทำการตลาดให้กับเพลงของศิลปิน คนในสตูดิโอที่ทำหน้าที่บันทึกเสียง และช่วยวางแผนให้การแสดงดนตรีมีความโดดเด่น หรือแม้แต่ผู้เขียนเพลง ผู้เรียบเรียง และอีกมากมาย

อาชีพทางดนตรีมีอะไรที่มากกว่าแค่การเป็นนักดนตรี มันสามารถแตกแขนงออกไปได้หลายสาขาอาชีพ ยิ่งคุณมีคุณสมบัติที่หลากหลายมากเท่าไหร่ โอกาสที่คุณจะได้ทำงานในสายธุรกิจดนตรีก็จะยิ่งมากขึ้นไปด้วย

การเจาะเข้าสู่ตลาดธุรกิจดนตรีนั้น ค่อนข้างมีความแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ และมีการแข่งขันสูง แต่ถ้าคุณฝึกฝนพัฒนาฝีมือของคุณมาเป็นอย่างดี อยู่ให้ถูกที่ถูกทาง ทำความรู้จักกับคนในวงการ และหมั่นเพียรสร้างผลงานเพื่อรับรองเครดิตของคุณ ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะทำให้คุณได้มีจุดยืนในสาขาอาชีพธุรกิจดนตรี บทความนี้จะเป็นการรวบรวม จัดอันดับ 10 อาชีพในสายธุรกิจดนตรี โดย Berklee Online จะมีอาชีพอะไรกันบ้างนั้น เรามาเริ่มกันเลยครับ

  • อาชีพที่ 1 : Music Producer

จัดอันดับ 10 อาชีพในสายธุรกิจดนตรี
ขอบคุณรูปภาพจาก Berklee Online

 

โปรดิวเซอร์เพลงต้องเป็นคนที่รู้ และเข้าใจการผสมผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์ และความรู้เชิงพาณิชย์ทางธุรกิจ อีกทั้งยังต้องเป็นคนที่คอยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างศิลปิน และค่ายเพลงอีกด้วย โปรดิวเซอร์เพลงต้องสร้างสภาพแวดล้อม ที่ช่วยให้ศิลปินสามารถสร้างสรรค์ผลงาน และแสดงออกได้ ต้องคอยจัดการกับรายละเอียดต่าง ๆ มากมายในการบันทึกเสียงของศิลปิน รวมถึงการเลือกวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ในการบันทึกเสียง , ติดต่อประสานงานกับ Recording Engineer , ปรับเปลี่ยน พลิกแพลง และจัดสรรงบประมาณต่าง ๆ อีกด้วย

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ : หากคุณต้องการที่จะเป็นโปรดิวเซอร์เพลง ให้ลองเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีดนตรี และหลักการความรู้เรื่องเสียง เริ่มจากเรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ต่าง ๆ และต้องแยกให้ออกว่าคุณภาพเสียงแบบไหนคือเสียงที่ดี ในการเป็นโปรดิวเซอร์เพลงที่ยอดเยี่ยม คุณต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Sound Engineer และเทคนิคการมิกซ์เพลง หรือจะลองเริ่มจากการวิเคราะห์เพลงอัลบั้มโปรดของคุณ ดูว่าใครเป็นคนโปรดิวซ์ ใครคือ Sound Engineer ใครมีส่วนร่วมในอัลบั้มนั้น ตำแหน่งหน้าที่อะไรบ้าง และจากนั้นก็ศึกษาจากผลงานของพวกเขาเหล่านี้ หาบทสัมภาษณ์ เรียนรู้เทคนิค และมุมมองทัศนคติของพวกเขา อย่างไรก็ตามที่กล่าวมานี้ไม่ใช่หนทางเดียว ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในการเป็นโปรดิวเซอร์เพลง เพียงแต่เป็นแนวทางเท่านั้น คุณสามารถสร้างเส้นทาง และพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับคุณได้เอง 

 

  • อาชีพที่ 2 : Recording Engineer

จัดอันดับ 10 อาชีพในสายธุรกิจดนตรี
ขอบคุณรูปภาพจาก Berklee Online

 

Recording Engineer มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการบันทึกเสียง ปรับจูนเสียงในสตูดิโอ ใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการควบคุมดูแล และทำงานบนอุปกรณ์ระบบบันทึกเสียง ที่เป็นทั้งระบบอนาล็อก และระบบดิจิตอล นอกจากนี้คุณยังต้องรับผิดชอบรู้จักเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการอีกด้วย 

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ : มีความรอบรู้ด้านเทคโนโลยีการบันทึกเสียงที่หลากหลาย และบ่อยครั้งต้องใช้ทักษะการมิกซ์ และตัดต่อเสียง คุณจะต้องรู้วิธีรับมือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการของการบันทึกเสียง

 

  • อาชีพที่ 3 : Session Musician

จัดอันดับ 10 อาชีพในสายธุรกิจดนตรี
ขอบคุณรูปภาพจาก Berklee Online

 

Session Musician หรือ “นักดนตรีห้องอัด” เป็นนักดนตรีที่ทำหน้าที่ในการบันทึกเสียงให้กับศิลปิน และบางครั้งคุณอาจจะมีส่วนร่วมกับศิลปินในการแสดงสดอีกด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่า นักดนตรีห้องอัดค่อนข้างที่จะมีอิสระ และความยืดหยุ่นในการที่จะเล่นกับสไตล์เพลงที่หลากหลายนั่นเอง คุณจะได้มีโอกาสได้พบปะ และสร้างความสัมพันธ์กับนักดนตรีคนอื่น ๆ อีกมากมาย ยิ่งถ้าคุณมีทักษะความเชี่ยวชาญทางด้านดนตรี โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จในการเป็นนักดนตรีห้องอัดก็เป็นไปได้ไม่ยากเลย

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ : นักดนตรีห้องอัดต้องขึ้นชื่อในเรื่องของฝีมือ ทั้งด้านการเล่น การเรียบเรียงดนตรี ทักษะการนำเสนอตัวเองให้น่าสนใจ ประสบการณ์บนเวที และที่สำคัญก็คือการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั่นเอง

 

  • อาชีพที่ 4 : Artist Manager

จัดอันดับ 10 อาชีพในสายธุรกิจดนตรี
ขอบคุณรูปภาพจาก Berklee Online

 

ผู้จัดการศิลปินคือผู้ที่คอยสร้างโอกาส ขับเคลื่อน และติดต่อประสานงานให้กับศิลปินในเชิงธุรกิจ ต้องเชื่อมั่นในศิลปิน และช่วยให้พวกเขามีความมั่นคงทางอาชีพ ด้วยการวางแผน การจัดการ การกำกับดูแล และการเจรจา การเป็นผู้จัดการศิลปินคุณอาจจะไม่ได้รับเครดิต ไม่ได้เป็นที่สนใจจากแฟนเพลงแบบที่ศิลปินได้รับ แต่อย่างไรก็ตามคุณก็ต้องทำหน้าที่ผู้จัดการศิลปินให้ดีเยี่ยมที่สุด เพราะเชื่อเถอะว่า ความสำเร็จของศิลปินก็เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของคุณในฐานะ “ผู้จัดการศิลปิน” เช่นกัน

สื่งที่ต้องเรียนรู้ : ในการเป็นผู้จัดการศิลปินนั้น ทักษะในด้านการจัดการ และทักษะความเป็นผู้นำถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแค่นั้น คุณจะต้องมีทักษะในการเป็นตัวแทนเจรจา เพื่อรับงานให้กับศิลปินอีกด้วย

 

  • อาชีพที่ 5 : Tour Manager

การเป็นผู้จัดการทัวร์ คุณจะเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับศิลปินในการเดินสายทัวร์งานต่าง ๆ ผู้จัดการทัวร์จะคอยอยู่เบื้องหลัง และมีหน้าที่คอยกำกับควบคุมดูแลทั้งเรื่องการเดินทาง ที่พัก กำหนดการ และการเงินงบประมาณต่าง ๆ เพื่อให้งานทัวร์ดำเนินไปตามแผนอย่างราบรื่น ดังนั้นผู้จัดการทัวร์ต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง โดยเฉพาะด้านการเงิน ทั้งต่อตัวเอง และต่อศิลปินอีกด้วย

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ : คุณจะต้องรู้จัก และเข้าใจทักษะการจัดการในด้านธุรกิจดนตรีในระดับหนึ่ง ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โลจิสติกส์การท่องเที่ยว หลักการบัญชี และการจัดการกับเวลา พร้อมรับประสบการณ์ใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมดนตรี เรียนรู้ที่จะคาดการณ์ และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดคิด ที่อาจจะส่งผลต่อแผนกำหนดการทัวร์ 

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

  • 6 หัวข้อ เรียนรู้การเป็นโปรดิวเซอร์ (Producer)
  • 10 หนังดนตรี สำหรับสร้างแรงบันดาลใจ

 

  • อาชีพที่ 6 : Music Teacher

จริง ๆ แล้วครูสอนดนตรีสามารถสอนได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะสอนที่โรงเรียน สอนที่ร้านเครื่องดนตรี หรือรับสอนอิสระแบบตัวต่อตัว ไม่ว่าจะเป็นการสอนทฤษฎีดนตรี หรือสอนเป็นเครื่องดนตรีเฉพาะ ครูสอนดนตรีค่อนข้างที่จะมีอิสระในการสอน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีข้อดีและอุปสรรค ที่ต้องเผชิญในการเป็นครูสอนดนตรีที่แตกต่างกันออกไป หากคุณเป็นผู้ที่ชอบแชร์ความรู้ และผ่านการฝึกฝนตนเองมาอย่างดี อาชีพครูสอนดนตรีก็อาจจะเหมาะกับคุณก็ได้

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ : สิ่งที่ต้องเรียนรู้ และสิ่งที่ต้องมีในการเป็นครูสอนดนตรี ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณชอบสอนแบบไหนมากกว่ากัน ยกตัวอย่างเช่น การเป็นครูสอนประจำในโรงเรียน สิ่งที่คุณต้องมีนั่นก็คือ “ใบรับรอง” แต่หากคุณต้องการสอนอิสระ คุณจะต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีความมั่นใจในสิ่งที่คุณจะสอน

 

  • อาชีพที่ 7 : Booking Agent

จัดอันดับ 10 อาชีพในสายธุรกิจดนตรี
ขอบคุณรูปภาพจาก Berklee Online

 

Booking Agent หรือ “ตัวแทนจอง” มีหน้าที่คือพาศิลปินขึ้นเวที คอยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงสด รวมถึงการรักษาความปลอดภัยของสถานที่จัดคอนเสิร์ต การเจรจาข้อตกลง การจัดหาอุปกรณ์ทางเทคนิค และการต้อนรับ ตัวแทนจองจะทำงานกับ “ผู้จัดการศิลปิน” อย่างใกล้ชิด คอยสนับสนุนงานให้ลุล่วงตามกำหนดตารางงานทัวร์ของศิลปิน

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ : สิ่งที่จำเป็นสำหรับ Booking Agent คือ ใบรับรองปริญญาด้านการจัดการ การตลาด หรือบัญชี และที่สำคัญก็คือทักษะความรู้เกี่ยวกับการเจรจาสัญญา กฎหมายลิขสิทธิ์ การขาย การตลาด และทักษะการวางแผนงานนั่นเอง

 

  • อาชีพที่ 8 : Music Publicist

จัดอันดับ 10 อาชีพในสายธุรกิจดนตรี
ขอบคุณรูปภาพจาก Berklee Online

 

นักประชาสัมพันธ์เพลง เป็นคนที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับนักการตลาด รวมถึงสื่อมิเดียต่าง ๆ ซึ่งหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์เพลง ก็คือ การเพิ่มความนิยมเชิงบวกให้กับศิลปิน ทั้งด้วยการทำยอดขายบัตรคอนเสิร์ต การเผยแพร่เพลงของศิลปินลงสื่อมีเดีย หรือการโปรโมทในรายการวิทยุ เป็นต้น นักประชาสัมธ์เพลงค่อนข้างมีบทบาทที่มากกว่าการทำพีอาร์ แต่มันคือการขายเรื่องราว การสร้างเครือข่าย การจัดการค่าความนิยม และการรักษามาตรฐานในทุกด้านให้ดียิ่งขึ้นไป

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ : พื้นฐานของบทบาทนักประชาสัมพันธ์เพลง จะมีความเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร และการตลาด ดังนั้นให้เริ่มที่การศึกษาเรียนรู้กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ พัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความนิยมให้กับศิลปิน นักประชาสัมพันธ์เพลงจึงต้องสร้างเครือข่ายให้กว้าง เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ

 

  • อาชีพที่ 9 : Composer

จัดอันดับ 10 อาชีพในสายธุรกิจดนตรี
ขอบคุณรูปภาพจาก Berklee Online

 

นักแต่งเพลงไม่ได้ยึดติดว่าต้องเป็นแนวเพลงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องสามารถแต่งได้ทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิดีโอเกม นอกจากนี้ยังต้องสามารถแต่ง หรือเรียบเรียงเพลงเพื่อการบันทึกเสียง และการแสดงสดในแนวเพลงต่าง ๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าคุณจะชอบแนวดนตรีแบบไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องมีความเข้าใจในทฤษฎีดนตรีอย่างเชี่ยวชาญ ต้องสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้อย่างน้อยหนึ่งชิ้น หรือมากกว่า และมีความสามารถทางเทคนิค ในการบันทึกเสียงสิ่งที่คุณเรียบเรียงได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ : สิ่งสำคัญในการเป็นนักแต่งเพลง นั่นคือการเรียนรู้และประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในเครื่องดนตรีหนึ่งหรือหลายเครื่อง และมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับทฤษฎี และการเรียบเรียงดนตรี การเป็นนักแต่งเพลงที่ยอดเยี่ยม หมายถึง การเข้าใจเทคนิค และกลไกของดนตรีในหลายระดับ โดยอาจจะลองเริ่มด้วยการศึกษาเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ต่าง ๆ เช่น โปรแกรมบันทึกโน๊ต และโปรแกรมบันทึกเสียง เป็นต้น

 

  • อาชีพที่ 10 : Music Arranger

ผู้เรียบเรียงดนตรีมีหน้าที่นำเพลงที่เขียนขึ้น มาทำให้เป็นรูปเป็นร่างโดยการเรียบเรียง เพื่อให้เพลงนั้นมีความสมบูรณ์เป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะมีลูกค้าขอให้คุณหยิบเพลงป๊อปมาสักเพลง และเปลี่ยนจังหวะให้เป็นละติน ทำให้เพลงสั้นลง หรือทำให้ยาวขึ้น หรืออาจจะขอให้เปลี่ยนคีย์ไปเลย และนี่คือหน้าที่ของคุณที่จะทำให้มันเป็นไปตามนั้น การเรียบเรียงดนตรีเป็นทักษะเฉพาะทาง และสามารถทำงานได้ทั้งแบบ Freelance หรือทำงานร่วมกันกับวงดนตรี หรือแม้กระทั่งเซ็นสัญญาเป็นนักเรียบเรียงดนตรีให้กับค่ายเพลงก็เป็นได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita