ข้อใดกล่าวถึงไลเคนส์ได้ไม่ถูกต้อง

คำว่าจุลินทรีย์หรือจุลชีพ คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วที่หลายชนิดเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ตั้งแต่แบคทีเรียไปจนถึงเห็ดรา ซึ่งแม้จะมองไม่เห็น แต่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นล้วนมีบทบาทสำคัญต่อเราและโลก

ในกิจกรรม Earth Appreciation ลำดับที่ 9 นี้ เราจะพาไปสำรวจจักรวาลมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วเหล่านี้กัน ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมลำดับสุดท้ายของซีรีส์เรียนรู้ธรรมชาติผ่านสวนเบญจกิติที่ The Cloud ร่วมกับ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD ในการจัดกิจกรรมพิเศษ 5 ครั้ง เพื่อชวนคนเมืองละสายตาจากหน้าจอมือถือ มาสัมผัสและเรียนรู้ธรรมชาติในสวนแนวคิดใหม่กลางเมือง 

บุคคลสำคัญที่ช่วยออกแบบกิจกรรมทั้ง 5 ครั้ง และมาเป็นวิทยากรของเราวันนี้ ก็คือนักสื่อสารเรื่องราวธรรมชาติคนสำคัญของประเทศไทย นั่นคือ ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ ดร.อ้อย อดีตประธานมูลนิธิโลกสีเขียว เจ้าของพื้นที่ชุ่มน้ำนูนีนอย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่เธอได้ฟื้นฟูไว้เพื่อให้เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมธรรมชาติศึกษาสำหรับเด็ก ๆ ที่ยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักสืบสายลม นักสืบสายน้ำ นักสืบชายหาด

และวันนี้ เราจะมาเรียนรู้หนึ่งในกิจกรรมเหล่านั้น นั่นก็คือ นักสืบสายลม

ตรวจสุขภาพปอดของเมือง

หากเดินไปถามผู้คนตามท้องถนน คงมีคนไม่มากนักที่จะรู้จักคำว่า ‘ไลเคน’

“ไลเคนคือรากับสาหร่ายที่มาอาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นเหมือนหุ้นส่วนธุรกิจ สาหร่ายมีคลอโรฟิลล์สังเคราะห์แสงได้ ก็ทำหน้าที่เหมือนแม่ครัวสร้างอาหารและแบ่งให้รา ส่วนราคือเจ้าของบ้าน มีเส้นใยถักทอห่อหุ้มสาหร่าย ปกป้องสาหร่ายจากสารพัดอย่าง ทำให้ไลเคนขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่ป่าเขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตร เขตทุนดราใกล้ขั้วโลก ไปจนถึงทะเลทราย ไลเคนทนความแห้งแล้งได้ แต่อย่างเดียวที่มันไม่ทนก็คือมลภาวะ” ดร.อ้อย แนะนำให้ทุกคนรู้จักสิ่งมีชีวิตสุดพิเศษที่ชื่อไลเคน  

ไลเคนชื่อ ร้อยเหรียญ

ด้วยความที่ไลเคนไม่ทนมลภาวะนี้เอง ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือบ่งชี้คุณภาพอากาศ เพราะไลเคนแต่ละชนิดมีความทนทานต่อมลพิษในระดับต่างกัน บางชนิดมีความอ่อนไหวสูง เจอมลพิษแค่นิดเดียวก็อยู่ไม่ได้แล้ว ทำให้ถ้าเจอไลเคนกลุ่มนี้ที่ไหน ก็ดีใจได้ว่าที่นั่นมีอากาศที่บริสุทธิ์ บางชนิดค่อนข้างทนทาน ทนมลพิษได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าเจอไลเคนกลุ่มนี้เป็นหลักก็แปลว่าคุณภาพอากาศอยู่ในระดับพอใช้ แต่ถ้าที่ไหนเจอไลเคนกลุ่มที่ทนทานสูงเป็นหลัก ก็แปลได้ว่าคุณภาพอากาศเข้าขั้นน่าเป็นห่วง ยิ่งถ้าไม่เจอไลเคนสักชนิด ก็อาจแปลได้ว่าสุขภาพปอดของเมืองควรพบคุณหมอได้แล้ว  

ในคู่มือ ‘นักสืบสายลม’ ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิโลกสีเขียว ได้แบ่งไลเคนตามระดับความทนทานต่อมลพิษเป็น 4 ระดับ คือ กลุ่มทนทานสูง (อากาศแย่) กลุ่มทนทานปานกลาง (อากาศพอใช้) กลุ่มอ่อนไหว (อากาศดี) และกลุ่มอ่อนไหวมาก (อากาศบริสุทธิ์ดีมาก) ซึ่งกลุ่มหลังนี้พบเฉพาะในเขตป่าเขาเท่านั้น  

ความสนุกของการดูไลเคนก็คือ นอกจากเราจะได้เล่นบทนักสืบแล้ว ยังทำให้เราได้มองโลกในมุมที่ต่างออกไป เป็นการมองโลกในรายละเอียด มองให้เห็นความสวยงามของสิ่งเล็ก ๆ ที่ก่อนหน้านี้เราอาจเคยมองข้าม เพียงแค่ต้นไม้ต้นเดียวก็อาจมีอะไรให้ดูได้เป็นชั่วโมง ซึ่ง ดร.อ้อย เปรียบว่า เหมือนการดำน้ำดูปะการังบนผิวของต้นไม้

“หน้าตาของไลเคนมีหลากหลายมาก บางชนิดเหมือนคุกกี้ทาร์ตที่มีแยมตรงกลาง บางชนิดเหมือนลิปสติก บางชนิดก็เหมือนถ้วยแชมเปญ” ดร.อ้อย แสดงภาพไลเคนอันหลากหลายให้ดู ซึ่งทั่วโลกมีรวมแล้วหลายหมื่นชนิด มีทั้งขึ้นบนก้อนหิน กำแพง หลังคาบ้าน แม้แต่บนถนน แต่ที่เห็นได้ง่ายที่สุดและเป็นที่ที่เราจะตามหากันวันนี้ ก็คือไลเคนที่ขึ้นบนต้นไม้   

ความหลากหลายของไลเคนทั่วโลก

ทีมงานเริ่มแจกคู่มือนักสืบสายลม ที่เป็นคู่มือการจำแนกไลเคนในเมืองแบบง่าย ๆ เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพอากาศ พร้อมอุปกรณ์สำคัญของการสำรวจที่ ดร.อ้อย เรียกว่า ‘ตาวิเศษ’ นั่นก็คือแว่นขยาย

“การจำแนกไลเคน เราจะเริ่มจากดูลักษณะรวม ๆ ก่อนว่า รูปร่างของมันเป็นแบบไหน เป็นผืนเป็นดวง เป็นใบ หรือเป็นพุ่ม” ดร.อ้อย ชวนให้เราเปิดหน้าแรกของคู่มือ ซึ่งมีภาพของไลเคนกลุ่มต่าง ๆ อยู่ ซึ่งแต่ละภาพก็จะมีเลขหน้าเพื่อให้เราเข้าไปดูรายละเอียด โดยจะบอกจุดเด่นรวมถึงคู่แฝดที่หน้าตาคล้ายกันเอาไว้

แต่ก่อนที่เราจะจำแนกไลเคนได้ ต้องรู้ก่อนว่าอะไรที่ไม่ใช่ไลเคน อย่างแรกก็คือรา วิธีแยกความแตกต่างทำได้ง่าย ๆ โดยใช้เล็บขูดเบา ๆ เป็นบริเวณเล็ก ๆ ถ้าเห็นสีเขียวข้างใต้ แปลว่านั่นคือไลเคน เพราะมีสาหร่ายอยู่ร่วมด้วย ถ้าไม่มีก็แปลว่าเป็นแค่ราอย่างเดียว สิ่งมีชีวิตต่อมาที่อาจดูคล้ายไลเคนก็คือสาหร่ายหรือตะไคร่ ถ้าใช้แว่นขยายส่องดูใกล้ ๆ จะเห็นเป็นเส้นสายสีเขียว ส่วนพืชจิ๋วอย่างมอส เราจะเห็นเป็นใบเล็ก ๆ มีเส้นกลางใบ ส่วนลิเวอร์เวิร์ตจะเป็นแผ่นหยัก ถ้าใช้แว่นขยายส่องจะเห็นเป็นจุดพรุน

การสำรวจวันนี้เราแบ่งเป็น 10 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะสำรวจไลเคนบนต้นไม้ 1 ต้น พร้อมจดบันทึกชนิดไลเคนที่เจอบนต้นนั้น ซึ่งเราสำรวจในสวนเฟสเก่า เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่อยู่มานาน ทำให้เป็นไลเคนที่บ่งบอกคุณภาพอากาศของที่นี่ได้ ขณะที่ต้นไม้ที่เพิ่งปลูกในสวนเฟสใหม่ อาจเป็นไลเคนที่ติดมาตั้งแต่อยู่ที่โรงเพาะชำต่างจังหวัด

เมื่อปฏิบัติการนักสืบสายลมเริ่มขึ้น เด็ก ๆ ก็วิ่งนำไปส่องไลเคนก่อนใคร ความท้าทายของการจำแนกก็คือ การต้องสังเกตรายละเอียด เพราะหลายชนิดมีคู่แฝดที่หน้าตาคล้ายกัน เช่น ไลเคนกลุ่มที่เป็นผืนสีเขียวมีใบ ถ้าขอบใบเผยอขึ้น ก็คือ ‘สาวน้อยกระโปรงบานบางกอก’ แต่ถ้าขอบใบแนบชิดไปกับลำต้น ก็ต้องสังเกตต่อว่า แผ่นใบแผ่ออกแบน ๆ หรือเบียดชิดเป็นลอนนูน ถ้าเป็นแบบแรกก็คือ ‘หัตถ์ทศกัณฑ์กุมน้ำแข็ง’ แต่ถ้าเป็นแบบหลังก็คือ ‘ริ้วแพร’ ซึ่ง ดร.อ้อย บอกว่าให้นึกถึงผ้าแพรที่มีรอยจีบซ้อนกันเป็นริ้ว

ชื่อไลเคนจากซ้ายไปขวา : สาวน้อยกระโปรงบานบางกอก – หัตถ์ทศกัณฑ์กุมน้ำแข็ง – ริ้วแพร

ส่วนกลุ่มไลเคนที่เป็นก้อนนูนสีเหลือง เมื่อส่องดูจะเห็นว่ามีรูเล็ก ๆ มากมาย ดร.อ้อย ชวนให้สังเกตว่า ถ้าเป็น ‘หนึ่งผลหนึ่งรู’ ที่ดูเหมือนปากปล่องภูเขาไฟหรือไหกระเทียมดอง นั่นก็คือ ‘ไหทองโรยขมิ้น’ ส่วน ‘ผลรวม- 1 ก้อนหลายรู’ เป็นไลเคนที่ชื่อว่า ‘ร้อยรู’

“คำว่า ‘ผล’ ก็คืออับสปอร์ของมัน ไลเคนขยายพันธุ์ด้วยสปอร์และการแตกหน่อ ซึ่งลักษณะของหน่อก็จะใช้จำแนกได้ด้วย บางชนิดแตกหน่อเป็นแท่งยาว ๆ บางชนิดเป็นแท่งสั้น ๆ บางชนิดเป็นเหมือนผงแป้ง บางชนิดเป็นกิ่ง”

ส่วนลักษณะของผลหรืออับสปอร์ก็มีหลากหลาย บางชนิดเหมือนปากปล่องภูเขาไฟ เช่น พริกไทยร้อยเม็ด บางชนิดเหมือนจานขนม เช่น ร้อยเหรียญ บางชนิดเป็นลายเส้น เช่น หลังตุ๊กแก แม้แต่ระดับความจมความลอยของผลก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือจำแนกได้ เช่น ถ้าเป็นผลสีดำและกึ่ง ๆ จมอยู่ในผืนไลเคนสีเทาก็คือ ‘สิวหัวช้างจิ๋ว’ แต่ถ้าเป็นผลสีดำบนผืนไลเคนสีเขียว ลอยอยู่เหมือนมีใครเอาผลไปแปะไว้ ก็คือ ‘ไฝพระอินทร์’

แถวบนจากซ้ายไปขวา : ไหทองโรยขมิ้น – ร้อยรู แถวล่าง : พริกไทยร้อยเม็ด – สาคูถั่วดำ

 หลายคนประทับใจกับชื่อภาษาไทยของไลเคน ซึ่งในยุคแรกตั้งโดยภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ชอบตั้งชื่อตามตัวละครในวรรณคดี จากนั้นเมื่อทีมมูลนิธิโลกสีเขียวมาพัฒนาคู่มือนักสืบสายลมจึงมีการตั้งชื่อเพิ่มเติม ซึ่งทีมนี้เป็นสายขนม ชื่อไลเคนจึงมีทั้งสาคูถั่วดำ โดรายากิ ไปจนถึงซ่าหริ่มน้ำกะทิ (ที่ตั้งมาตั้งแต่ก่อนยุคการเมืองแบ่งขั้ว)

 “ชื่อโดรายากิเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรุ่น ตอนแรกก่อนจะเป็นชื่อนี้ เราเสนอชื่อขนมโบราณไป เด็ก ๆ รุ่นใหม่ก็ไม่รู้จัก พอน้อง ๆ เขาเสนอชื่อมาบ้าง ก็เป็นขนมที่เราไม่รู้จัก เลยได้มาเป็นโดรายากิของโดราเอมอนที่เป็นจุดเชื่อมต่อของคน 2 รุ่น” ดร.อ้อย เล่าเกร็ดสนุก ๆ ของการตั้งชื่อ  

 เมื่อทุกทีมสำรวจเสร็จสิ้น ทีมงานก็จดบันทึกข้อมูลชนิดไลเคนที่พบในตารางแบบฟอร์ม โดยไลเคน 1 ชนิดที่แต่ละกลุ่มพบจะนับเป็น 1 ครั้ง ซึ่งได้ผลสรุปว่า พบกลุ่มทนทานสูง 20 ครั้ง กลุ่มทนทานปานกลาง 31 ครั้ง จากไลเคนทั้งหมด 12 ชนิด ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ที่นี่มีอากาศพอใช้

 “เราไม่เคยสำรวจเจอไลเคนกลุ่มอากาศดีในกรุงเทพฯ เลย แต่เราก็ใส่ไว้ในคู่มือ เพราะหวังว่าสักวันเราจะไปถึงจุดที่มีไลเคนกลุ่มนี้ในเมืองได้” ดร.อ้อย เล่าจากประสบการณ์ที่ทีมมูลนิธิโลกสีเขียวสำรวจไลเคนในเมืองกรุงมานับสิบปี

บนแผนที่ที่ ดร.อ้อย แสดงให้ดู คือผลการสำรวจไลเคนที่สวนลุมพินีในปีต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นว่า สิ่งที่เหมือนกันของผลสำรวจในทุกปีก็คือ ตรงใจกลางของสวนมีคุณภาพอากาศดีกว่าริมขอบสวนที่ติดถนน และฝั่งที่ติดถนนวิทยุมีคุณภาพอากาศดีกว่าฝั่งที่ติดถนนพระราม 4 ซึ่งเป็นข้อยืนยันว่า ต้นไม้ริมถนนช่วยดูดซับมลพิษได้

“ที่น่าสนใจคือที่แคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีงานวิจัยหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก เขาสำรวจไลเคนคล้าย ๆ กับที่เราทำนี่แหละ และแสดงออกมาเป็นแผนที่ สีเขียวคือกลุ่มอากาศดี สีเหลืองคือพอใช้ สีแดงคืออากาศแย่ แล้วก็เอามาเปรียบเทียบกับแผนที่แสดงจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอด สีแดงคือจำนวนผู้ป่วยเยอะ สีเขียวคือผู้ป่วยน้อย ซึ่งถ้าดูเผิน ๆ มันเหมือนแผนที่เดียวกันเลย” ดร.อ้อย แสดงภาพแผนที่ 2 ภาพให้ดู ซึ่งทำให้เห็นชัดเจนว่า คุณภาพอากาศคือสิ่งที่สัมพันธ์โดยตรงกับสุขภาพของเรา และไลเคนก็คือเครื่องมือง่ายที่สุดที่จะตรวจวัดสิ่งนี้

 แม้ปัจจุบันเราจะมีเครื่องมือเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศมากมายที่วัดได้ทั้งค่า PM 2.5 หรือสารพิษอื่น ๆ แต่ ดร.อ้อย บอกว่าการใช้ไลเคนก็ยังมีความสำคัญและมีข้อดีที่แตกต่างออกไป

 “อย่างแรกคือเรื่องราคา ถ้าซื้อเครื่องตรวจเล็ก ๆ ราคา 6,000 กว่าบาทแล้ว แต่ถ้าใช้ไลเคน ก็แค่คู่มือนี้เล่มเดียว ซึ่งทุกคนเข้าถึงได้ ข้อดีของเครื่องวัดที่ใช้วิธีตรวจทางเคมีคือการวัดตัวเลขได้เป๊ะ ๆ บอกได้ว่ามีสารอะไรบ้าง แต่ข้อจำกัดคือวัดได้เฉพาะขณะนั้น แค่ลมพัดมาค่าก็เปลี่ยน แต่ขณะที่ไลเคนคือการวัดผลกระทบทางชีวภาพซึ่งจะอยู่ยาว บอกได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาคุณภาพอากาศของพื้นที่ตรงนั้นเป็นยังไง”

หลายคนคงจำได้ว่าในช่วง PM 2.5 สูง ๆ เราจะเห็นข่าวการฉีดน้ำไล่ฝุ่นแถว ๆ เครื่องตรวจวัด ซึ่งอาจหลอกเครื่องตรวจวัดได้ แต่หลอกไลเคนไม่ได้

“เราหวังว่าในอนาคตของกรุงเทพฯ จะไม่ได้มีไลเคนแค่กลางสวน แต่จะมีอยู่ริมถนนที่เราสัญจรด้วย ซึ่งที่สิงคโปร์มีนะคะ ขนาดต้นไม้ริมถนนก็มีไลเคนกลุ่มทนทานปานกลาง ส่วนในสวนพฤกศาสตร์ก็มีกลุ่มอากาศดีเลย”

ความสำคัญของไลเคนไม่ได้เป็นแค่ตัวชี้วัดคุณภาพอากาศเท่านั้น แต่ในธรรมชาติ ไลเคนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้โลก ดร.อ้อย เล่าว่า เวลาที่มีเกาะภูเขาไฟเกิดใหม่กลางมหาสมุทร ไลเคนคือสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรก ๆ ที่ขึ้นไปบุกเบิกพื้นที่ โดยราในไลเคนจะปล่อยสารเคมีออกมาเพื่อย่อยสลายหินและดูดซึมแร่ธาตุ ราแต่ละชนิดก็จะปล่อยสารเคมีที่ต่างกันไป ทำให้จากดินแดนอันแห้งแล้งที่มีแต่ก้อนหิน ก็เริ่มมีดินและความอุดมสมบูรณ์เกิดขึ้น ไลเคนจึงเป็นเหมือนผู้ปรับสภาพพื้นที่ที่ทำให้ดินแดนใหม่กลายเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตมากมาย

จักรวาลใหญ่ใต้ฝ่าเท้า

สิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วที่มีความสำคัญต่อชีวิตเราไม่ได้มีเพียงแค่ไลเคนเท่านั้น แต่ในผืนดินใต้ฝ่าเท้าของเราลงไป ยังมีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ล้วนทำหน้าที่สำคัญ ยิ่งถ้าเป็นในป่าที่สมบูรณ์ เพียงแค่หยิบดินมาหนึ่งกำมือ ก็อาจมีจำนวนชนิดของจุลินทรีย์มากกว่าชนิดของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั่วทวีปอเมริกาเหนือเสียอีก ซึ่งจักรวาลใต้ดินนี้เป็นเหมือนพรมแดนใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังสนใจศึกษา

“ในธรรมชาติ ต้นไม้ที่เราเห็นบนดินเป็นชีวิตแค่ครึ่งเดียว แต่อีกครึ่งหนึ่งอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นครึ่งที่สนับสนุนชีวิตข้างบน หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Wood Wide Web ที่ต้นไม้ทั้งป่ามีระบบรากเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายเส้นใยของรา เป็นเหมือนโครงข่ายอินเทอร์เน็ตของต้นไม้” ดร.อ้อย เล่าถึงอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของโลกธรรมชาติที่ตามองไม่เห็น

เส้นใยของราใต้ดินนี้ มีความสัมพันธ์กับรากต้นไม้อย่างแนบแน่น ไม่ต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างรากับสาหร่ายในไลเคน ซึ่งในระบบใต้ดินนี้ ราจะทำหน้าที่ดูดซึมธาตุอาหารในดินและส่งให้ต้นไม้ ในขณะที่ต้นไม้ก็จะส่งผลผลิตจากการสังเคราะห์แสง เช่น น้ำตาล ไปให้ราเป็นของตอบแทน

“เรารู้กันว่าต้นไม้สร้างอาหารเองได้จากการสังเคราะห์แสง แต่แค่นั้นยังไม่พอต่อการเติบโต ต้นไม้ยังต้องการแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แม้ว่าในอากาศจะเต็มไปด้วยก๊าซไนโตรเจนหรือ N2 แต่ไนโตรเจนในรูปนี้ พืชยังดึงมาใช้ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยราที่จะช่วยเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้อยู่ในรูปอื่น ๆ เช่น ไนเตรตที่ละลายน้ำและพืชดูดซึมไปใช้ได้ ทำให้รากับต้นไม้กลายเป็นหุ้นส่วนกัน เส้นใยราหลอมรวมกับรากไม้ ราช่วยต้นไม้ดูดซึมแร่ธาตุจากดิน ต้นไม้ก็แบ่งน้ำตาลให้รา จุลชีพอื่น ๆ ในดิน ก็มารวมกันอยู่ที่รากไม้ เป็นเหมือนโลกซาฟารีใต้ดิน”

บทบาทของเส้นใยราไม่ได้มีเพียงแค่การดูดซึมสารอาหารและส่งให้พืชเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ต้นไม้ใช้ส่งข้อมูลหากันด้วย เช่น เมื่อมีฝูงแมลงศัตรูพืชโจมตีที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง ต้นไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ ก็รับรู้ได้ ทำให้ปล่อยสารเคมีออกมาที่ใบเพื่อป้องกันตัว อีกทั้งเส้นใยโครงข่ายนี้ยังเป็นเหมือนทางด่วนเพื่อเดลิเวอรี่อาหารจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้น เช่น ต้นแม่ส่งอาหารให้ต้นลูกที่อยู่ภายใต้ร่มเงาและได้รับแสงแดดน้อย 

“แม้แต่หนอนที่จะมาไชรากต้นไม้ ก็เคยมีการค้นพบว่า เส้นใยราจะช่วยทำบ่วงเกี่ยวรัดหนอนไว้ไม่ให้เข้าถึงรากไม้ ซึ่งทุกวันนี้ นักวิจัยก็กำลังพยายามแกะรหัสภาษาที่ต้นไม้ส่งหากันผ่านโครงข่ายนี้ เป็นเหมือนพรมแดนใหม่ที่น่าตื่นเต้นมาก”

เมื่อ ดร.อ้อย เล่าจบ ผู้ร่วมงานคนหนึ่งก็บอกว่า ฟังแล้วนึกถึงหนังเรื่อง Avatar ที่ต้นไม้ในป่ามีเครือข่ายเส้นใยที่เชื่อมต่อถึงกัน

เช่นเดียวกับในหนัง ทุกวันนี้ความสัมพันธ์สุดมหัศจรรย์นี้กำลังถูกทำลายลงด้วยการกระทำของมนุษย์ ซึ่งหนึ่งในตัวการที่หลายคนอาจคิดไม่ถึงก็คือปุ๋ยเคมี

 “พอเราใส่ปุ๋ยเคมีให้พืช ต้นไม้ก็เลยเสียนิสัย กลายเป็นต้นไม้ติดยา กินแต่อาหารสำเร็จรูป จู่ ๆ ได้ของฟรี ก็หยุดแบ่งน้ำตาลให้รา พอไม่มีรา ดินก็เลยตาย กลายเป็นดินแข็ง ๆ ต้นไม้ตอนนี้ก็ไม่มีเพื่อนใต้ดินแล้ว เพราะต้นไม้ไม่แบ่งอะไรให้เลย แมลงมาก็ไม่มีใครเตือนหรือป้องกัน แล้วพอฝนตก ดินก็ถูกชะลงไป เพราะไม่มีใครช่วยดูดซับปุ๋ยที่มันมากเกิน ไนโตรเจนจากปุ๋ยก็ไหลลงไปในแม่น้ำลำคลอง ไปจนทะเล เกิดเป็นแดนมรณะหรือ Dead Zone ในทะเล เป็นบ่อเกิดของวิกฤตการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งถ้าเล่าแล้วจะยาวมาก”

ดร.อ้อย เล่าถึงการเชื่อมโยงของสรรพสิ่งในธรรมชาติ ตั้งแต่มนุษย์ ท้องไร่ท้องนา ผืนป่า ไปจนถึงมหาสมุทร ซึ่งทุกวันนี้ความไม่เข้าใจธรรมชาติของผู้คนกำลังทำลายสายใยอันซับซ้อนนี้ ซึ่งที่สุดแล้วก็จะเป็นการทำลายตัวเอง ดังนั้น ก่อนที่โลกจะเดินไปถึงจุดนั้น เราทุกคนจึงควรต้องมาฟื้นสัมพันธ์กับธรรมชาติอีกครั้ง เพื่อจะได้เข้าใจและรักษาระบบที่โอบอุ้มชีวิตของพวกเราไว้

Reconnect with Nature

ประโยคที่ว่า “เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” อาจมีความหมายลึกซึ้งกว่าที่เราเคยคิด

“ร่างกายของเรา เป็นเซลล์ของเราจริง ๆ แค่ส่วนเดียวเท่านั้น อีกส่วนหนึ่งคือจุลชีพมากมายที่อาศัยอยู่ร่วมกับเรา ทั้งในลำไส้ บนผิวหนัง และแทบทุกที่ บางชนิดช่วยเราย่อยอาหาร บางชนิดช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพเราขึ้นกับจุลชีพเหล่านี้ เพราะเราวิวัฒนาการมาด้วยกัน” ดร.อ้อย เล่าถึงอีกหนึ่งความสำคัญของเหล่าตัวจิ๋วที่มีนามว่าแบคทีเรีย

แต่ทุกวันนี้ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป หลายคนพึ่งพาอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋องที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ใช้ชีวิตอยู่ในตึกสูง ห้องแอร์ โดยที่วัน ๆ เท้าแทบไม่เปื้อนดิน ทำให้เราห่างเหินกับจุลินทรีย์ที่ดีมากมายที่มีอยู่ในธรรมชาติ

“มีงานวิจัยพบว่า คนที่สุขภาพดีมีจุลินทรีย์ในร่างกายที่หลากหลาย เปรียบได้กับระบบนิเวศป่าเขตร้อน ในขณะที่คนสุขภาพไม่ดี ความหลากหลายของจุลินทรีย์จะน้อยกว่า เหมือนอยู่ในระบบนิเวศทะเลทราย ทำให้การแพทย์ยุคนี้มีการสกัดจุลชีพจากอุจจาระคนที่สุขภาพดี มาเป็นยาให้คนสุขภาพไม่ดี”

แต่แทนที่เราจะต้องไปรับจุลินทรีย์ที่ดีด้วยวิธีนั้น ดร.อ้อย บอกว่ามีวิธีที่ง่ายกว่า นั่นก็คือการพาตัวเองไปอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ

“มีการพบว่าเวลาเราออกไปอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ เพียงแค่ 3 ชั่วโมง ระบบภูมิคุ้มกันก็ดีขึ้นแล้ว แล้วถ้าเราลองถอดรองเท้าและใช้เท้าเปล่าสัมผัสดิน ประจุไฟฟ้าที่เราสะสมมาทั้งวันจากการเผาผลาญที่เกิดเป็นอนุมูลอิสระ ก็จะถูกแลกเปลี่ยนกับพื้นดินที่เป็นประจุลบ”

ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นพูดถึงเรื่องประจุลบกับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจนในสมองหรือการช่วยให้ผ่อนคลาย ซึ่งแหล่งที่ดีมากของประจุลบนอกจากผืนดินแล้วก็คือแหล่งน้ำ เคยมีงานวิจัยว่า ในพื้นที่ธรรมชาติ เช่น ป่าเขาหรือทะเล มีประจุลบมากกว่าในเมืองคอนกรีตหลายเท่า

“นอกจากนั้น ในดินทั่วโลกจะมีแบคทีเรียตัวหนึ่งที่ชื่อ Mycobacterium vaccae ที่จะกระตุ้นให้สมองเราหลังสารเซโรโทนินหรือสารเคมีแฮปปี้ ทำให้กิจกรรมบำบัดจิตใจหลายแห่งใช้วิธีให้คนทำสวน แล้วอีกอย่างก็คือน้ำมันหอมระเหยจากพืชที่จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเรา ทำให้ที่ญี่ปุ่นมีกิจกรรมที่เรียกว่า การอาบป่า คือพาตัวเองเข้าไปอยู่ในธรรมชาติ เพื่อรับจุลชีพ รับประจุลบ รับน้ำมันหอมระเหยจากพืช”

และนั่นเป็นเหตุผลของการที่เรามักจะรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย สบายใจ เมื่อได้เข้าไปสู่พื้นที่ธรรมชาติ ได้เห็นต้นไม้ เห็นทะเล เห็นน้ำตก เห็นดอกไม้ ไม่ต่างจากท่อนหนึ่งในบทเพลงที่ว่า “ถ้าเราเหนื่อยล้า จงเดินเข้าป่า”

แม้กรุงเทพฯ จะไม่เหลือป่าแล้ว แต่อย่างน้อยการมีพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำกลางเมืองแบบนี้ ก็คือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คนเมืองได้สัมผัสธรรมชาติ ซึ่งมีความสำคัญต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ

และวันนี้ หลังจากที่เราได้สำรวจไลเคนกันเสร็จแล้ว ก็ได้เวลาที่ ดร.อ้อย จะพาเราไปอาบป่ากลางเมืองกัน

ระหว่างทาง เราได้หยุดดูนกเค้าจุดที่ตำแหน่งประจำ ซึ่งวันนี้อยู่กันถึง 4 ตัว จากนั้นทีมงานของสวนเบญจกิติก็เปิดเส้นทางพิเศษให้ได้เดินเยี่ยมชมสวนในโซนที่ยังไม่เปิดให้คนทั่วไป ได้เดินผ่านบ่อน้ำบ่อที่ 1 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการบำบัดน้ำจากคลองไผ่สิงโตด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด ซึ่งระหว่างทาง ดร.อ้อย ชวนดูพืชพรรณท้องถิ่นหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือต้นแขมที่ขึ้นอยู่ข้าง ๆ ดงธูปฤาษี ซึ่งเธอบอกว่าอยากให้มีต้นแขมมากกว่านี้ เพราะเป็นพืชท้องถิ่นและนกมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าธูปฤาษีที่เป็นพืชต่างถิ่น ส่วนตรงพืชบกที่ขึ้นเองอยู่ตามสองข้างทาง เธอก็ชี้ชวนให้ดูพืชหลายชนิดที่กินได้ ไม่ว่าจะเป็น กะทกรก โทงเทง ผักโขม ที่หากคนไม่รู้จักก็จะนึกว่าเป็นวัชพืช

“พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศที่มีฟังก์ชันเยอะมาก เป็นถิ่นอาศัยให้สัตว์หลายชนิด กักเก็บคาร์บอนได้มหาศาล แล้วอาหารก็เยอะมาก เป็นเหมือนซูเปอร์มาร์เก็ต ของกินเต็มไปหมด และสำคัญที่สุดคือเป็นฟองน้ำรองรับน้ำเวลาฝนตกหนัก ๆ ถ้าเรารักษาพื้นที่ชุ่มน้ำในกรุงเทพฯ ไว้ได้ เราก็จะมีฟองน้ำที่ช่วยป้องกันน้ำท่วมเมือง แล้วพืชน้ำก็ยังช่วยบำบัดสารพิษ คือมีบริการทางนิเวศเยอะมาก”

ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำแบบนี้ ก็คือหน้าตาของกรุงเทพฯ ในอดีต ก่อนที่เราจะถมคูคลอง สร้างถนน สร้างตึกสูง จนทำให้น้ำไม่มีที่ไปและท่วมเมืองอยู่บ่อยครั้ง

“ถ้าเราจะทำกรุงเทพฯ ให้ยั่งยืน เราต้องออกแบบให้อยู่ร่วมกับระบบนิเวศดั้งเดิมคือพื้นที่ชุ่มน้ำ เราจะได้ไม่ต้องไปต้านกับแรงธรรมชาติ กรุงเทพฯ สมัยก่อน เรามีหนองสลับกับโคก อย่างแถวสุวรรณภูมิ แต่ก่อนเรียกหนองงูเห่า ส่วนดอนเมืองเป็นที่ดอน เขาเรียกทุ่งเหยี่ยว เพราะมีเหยี่ยวและแร้งเยอะ” ดร.อ้อย เล่าถึงภาพในอดีตของบางกอก ซึ่งเคยเต็มไปด้วยสัตว์มากมาย รวมถึงแรดและสมัน ซึ่งเป็นกวางที่มีเขาอลังการและพบที่เดียวในโลกคือลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่พวกเราก็ทำให้มันสูญพันธุ์

“การได้เห็นพื้นที่แบบนี้เกิดขึ้นในเมืองเป็นเรื่องที่น่าดีใจมาก เพราะในยุคหนึ่ง พื้นที่บึงหรือหนองแบบนี้จะถูกมองว่าเป็นบึงเน่า ๆ ถ้าจะพัฒนาต้องถมเรียบ เป็นสนามกอล์ฟ เป็นสิ่งปลูกสร้าง แต่น่าดีใจที่วันนี้เราพัฒนากลับมาในรูปแบบนี้”

ทีมงานของสวนเบญจกิติบอกว่า วันที่กรุงเทพฯ ฝนตกหนักและน้ำท่วมเมืองเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่นี่น้ำไม่ท่วม เพราะมีบ่อมากมายไว้รองรับน้ำ ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ น้ำก็ซึมลงใต้ดินได้ ซึ่งก็ทำให้เราจินตนาการว่า หากกรุงเทพฯ มีพื้นที่แบบนี้มากขึ้น ฝนตกมา น้ำก็จะมีที่ไป ไม่ต้องไหลมาท่วมบ้านอย่างทุกวันนี้

“สิ่งที่อยากเห็นก็คือ อยากให้ที่นี่พัฒนาไปในทิศทางที่มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น มีพืชพื้นถิ่นที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งก็น่ารอดูว่าจะมีสัตว์อะไรกลับมาบ้าง”

หนึ่งในสัตว์ที่หลายคนอยากให้กลับมาก็คือหิ่งห้อย ซึ่ง ดร.อ้อย ได้บอกในสิ่งเดียวกับที่ ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ พูดไว้ในกิจกรรมครั้งแรกว่า ข้อจำกัดสำคัญของหิ่งห้อยคือมลภาวะทางแสง เพราะหิ่งห้อยสื่อสารกันด้วยการกะพริบแสง หากแสงไฟยามค่ำคืนยังเจิดจ้า หิ่งห้อยก็จะอยู่ไม่ได้ แต่สิ่งที่เราพอช่วยได้คือการปรับรูปแบบโคมไฟ โดยอาจหาที่ครอบหลอดไฟไม่ให้แสงฟุ้งกระจายขึ้นฟ้า ซึ่งประหยัดพลังงานได้ด้วย โดยอาจใช้หลอดไฟที่วัตต์ต่ำกว่า แต่ยังได้ความสว่างที่ทางเดินเท่าเดิม

“มลภาวะแสงส่งผลกระทบต่อคนและสัตว์พอ ๆ กับมลพิษแบบอื่นเลย ที่อเมริกามีนกเป็นล้าน ๆ ตัวตายเพราะชนกระจกเพราะโดนแสงล่อ ส่วนค้างคาวหรือผีเสื้อกลางคืนก็ได้ผลกระทบ แม้แต่คนเราก็เช่นกัน มีการพบว่าแสงที่ฟุ้งกระจายมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม แต่ไม่ได้แปลว่าเราต้องอยู่กับความมืด เราแค่ควบคุมทิศทางแสงให้ส่องเฉพาะในที่ที่เราต้องการ การปล่อยแสงฟุ้งกระจายขึ้นฟ้าก็เหมือนปล่อยให้ท่อน้ำรั่ว”

เธอบอกว่าถ้าจัดการให้ดีก็ยังมีความหวัง โดยยกตัวอย่างบ้านของเธอที่เชียงดาวว่า ในค่ำคืนที่ฟ้าเปิด จะได้เห็นทั้งดาวบนฟ้าและดาวบนดิน (หรือหิ่งห้อย) ซึ่งไม่มีอะไรที่จะวิเศษไปกว่านั้นอีกแล้ว

เราก็หวังว่าสักวันกรุงเทพฯ จะเดินไปถึงจุดนั้น วันที่ริมถนนใหญ่มีไลเคนบ่งบอกว่าคุณภาพอากาศดี มีพื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งไว้รองรับน้ำยามฝนตกหนักและเป็นบ้านให้สรรพสัตว์ได้มาพักอาศัย มีการควบคุมมลภาวะทางแสงที่ดีจนหิ่งห้อยกลับมา มีพื้นที่สีเขียวที่เดินถึงได้ภายใน 15 นาที

และเมื่อวันนั้นมาถึง กรุงเทพฯ ก็อาจใช้คำว่า ‘ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว’ ได้อย่างเต็มปาก

Earth Appreciation OKMD urban ธรรมชาติ สวนสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ไลเคน

Home /Social/Earth Appreciation

22 กรกฎาคม 2565

Share on

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

3 K

ในโลกแฟนตาซี เรามีซูเปอร์ฮีโร่มากมาย ทั้งสไปเดอร์แมน แบทแมน ทำหน้าที่ปราบเหล่าร้ายยามค่ำคืน

แต่ในโลกความเป็นจริง เราก็มีเหล่าอเวนเจอร์สที่แอบช่วยเราอยู่โดยไม่รู้ตัวเช่นกัน พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ใส่เครื่องแบบ ไม่ต้องแปลงร่าง แต่พวกเขาคือสัตว์ธรรมดาที่มีความสามารถไม่ธรรมดา

กิจกรรม Earth Appreciation 08 : Night Lives จะพาไปรู้จักกับเหล่าฮีโร่แห่งรัตติกาลกัน ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ที่ The Cloud ร่วมกับสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD จัดกิจกรรมพิเศษชวนคนเมืองมาเรียนรู้ธรรมชาติในสวนเบญจกิติ ครั้งนี้ต่างจากครั้งอื่นตรงที่เราจะมาเดินสวนในเวลากลางคืน เพื่อทำความรู้จักกับสัตว์หลายชนิดที่ดูเผิน ๆ อาจไม่น่ารัก แต่สำคัญยิ่งต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ในเมือง

ไม่แน่ว่า เมื่อเราได้รู้จักพวกเขามากขึ้น เราอาจมองเห็นความน่ารักที่ซ่อนอยู่ในตัวพวกเขาก็ได้ หรือต่อให้ยังทำใจมองว่าน่ารักไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็น่าจะได้เห็นความสำคัญและยินดีให้พวกเขาอยู่ร่วมเมืองกับเรา

วันนี้ เรามีวิทยากรมากันเป็นทีมใหญ่ เริ่มจากทีม Nature Play and Learn Club ที่นำโดย ทอม-อุเทน ภุมรินทร์, เอ้-ชุตินธร วิริยะปานนท์ และ บิ๊ก-ปกรณ์ คมขำ ตามมาด้วยผู้เชี่ยวชาญแมลงและแมงมุมจากมูลนิธิโลกสีเขียว นั่นคือ เจท-อธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ ทีมแอดมินเพจ ‘นก หนู งูเห่า’ นำโดย อาร์ม-อัครชัย อักษรเนียม, อู๊ด-ปริญญา ภวังค์คะนันทน์ และ แบงค์-ธนาวุธ วรนุช รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศในเมืองอย่าง เต่า–ดร.ภควัต ทวีปวรเดช

ถ้าพร้อมแล้ว ไปเดินกันเลย

ทีมวิทยากร (จากซ้ายไปขวา) เจท-อธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ, อาร์ม-อัครชัย อักษรเนียม, แบงค์-ธนาวุธ วรนุช, อู๊ด-ปริญญา ภวังค์คะนันทน์, บิ๊ก – ปกรณ์ คมขำ, ทอม-อุเทน ภุมรินทร์, เต่า-ดร.ภควัต ทวีปวรเดช และ เอ้-ชุตินธร วิริยะปานนท์

นักล่าน่ารัก

ก่อนจะไปเจอสัตว์ที่ดูน่ากลัว เรามาเริ่มจากสัตว์ที่ดูน่ารักกันก่อน นั่นจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก ‘นกเค้าจุด’ ผู้โด่งดัง วันนี้น้องทั้งสองตัวยังเกาะอยู่ที่ต้นไทรต้นเดิมที่เราเห็นคราวที่แล้ว

“ไม่ใช่นกเค้าทุกชนิดที่หากินกลางคืน บางชนิดหากินกลางวันก็มี เช่น นกเค้าแคระ ซึ่งอยู่ในป่า เป็นนกเค้าตัวเล็ก มีตาหลอกอยู่ด้านหลัง คือสีขนดูเหมือนลูกตา ส่วนเค้าจุดที่เราเจอนี้ เวลาหากินค่อนข้างยืดหยุ่น ส่วนใหญ่เป็นช่วงโพล้เพล้กับใกล้รุ่งสาง เขาจะกินพวกแมลงปีกแข็งหรือหนูตัวเล็ก ๆ เป็นผู้ช่วยเกษตรกรที่ดีมาก บริการกำจัดศัตรูพืช เช่น ด้วงมะพร้าว แบบไม่คิดค่าบริการเลย” ทอมเล่า

“พอถึงช่วงฤดูจับคู่ผสมพันธุ์ นกเค้าจุดตัวผู้จะหาของขวัญพวกหนอน แมลง มาให้ตัวเมีย เหมือนคนมอบแหวนให้กัน เพื่อแสดงว่าฉันดูแลเธอได้นะ แล้วถ้าตัวเมียยอมรับก็จะไปเลือกโพรงกัน”

นั่นคือความสำคัญของการมีต้นไม้ใหญ่ในเมือง เพราะนกกลุ่มนี้จะทำรังในโพรงไม้ ด้วยความที่มันเจาะโพรงเองไม่ได้ ก็เลยต้องหาต้นไม้ที่มีโพรงตามธรรมชาติ เช่น เกิดจากกิ่งไม้หักและมีเชื้อราเข้าไป ในพื้นที่ที่โพรงธรรมชาติมีน้อย เราอาจช่วยพวกเขาได้โดยการติดตั้งโพรงรังเทียม ซึ่งนกเค้าจุดต้องการขนาดอย่างน้อย 30 เซนติเมตร

“แต่ถ้าเป็นในป่า นอกจากโพรงธรรมชาติแล้ว มีสัตว์กลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าเป็นวิศวกรของผืนป่า เช่น กลุ่มนกหัวขวาน พวกนี้เจาะโพรงได้ และโพรงที่มันไม่ใช้แล้วจะกลายเป็นบ้านมือสองให้สัตว์อื่น ๆ เช่น นกเค้า นกเงือก นกแก้ว ที่เจาะโพรงเองไม่ได้ แล้วก็มีพวกหมี เช่น หมีควาย หมีคน ช่วยทำหน้าที่เป็นวิศวกรเหมือนกัน เขาจะปีนต้นไม้ไปกินน้ำผึ้ง ตะกุยเปลือกไม้ แล้วพอเชื้อราเข้าไปจะเกิดโพรง กลายเป็นบ้านให้สัตว์อื่น ๆ” ทอมเล่าถึงการพึ่งพากันของสัตว์ต่าง ๆ ที่ทำให้เรารู้ว่า การมีสัตว์หลากหลายชนิดช่วยส่งเสริมให้ระบบนิเวศแข็งแรงขึ้นได้อย่างไร

นกเค้าจุด

ในขณะที่เรากำลังชื่นชมความน่ารักของนกเค้ากันอยู่นั้น ทอมก็เล่าว่า ความน่ารักของนกเค้านี้เองที่นำภัยมาสู่ตัวมัน โดยเฉพาะหลังจากภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ออกฉาย มีความต้องการนกเค้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก จนประชากรนกเค้าตามธรรมชาติลดลง ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนที่ซื้อนกเค้ามาเลี้ยงมักไม่มีความรู้ในการเลี้ยงที่ดีพอ ให้อาหารไม่ถูกต้อง จนนกเค้าหลายตัวมีภาวะขาดแคลเซียม กระดูกพิการถาวร และกลับสู่ธรรมชาติไม่ได้ตลอดชีวิต หรือบางตัวก็บินชนพัดลมเพดานจนปีกขาดก็มีไม่น้อย

ผลที่ตามมาจากการที่นกเค้าลดลงก็คือ ธรรมชาติขาดผู้ควบคุมประชากรแมลง ดังนั้น เราจึงไม่ควรซื้อสัตว์ป่ามาเลี้ยง โดยวิธีที่ดีกว่าถ้าเราอยากชื่นชมความน่ารักของนกเค้า ก็คือการเก็บรักษาพื้นที่ธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวในเมือง เก็บรักษาต้นไม้ใหญ่เพื่อให้พวกเขามีที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิต เป็นความรักที่ไม่ต้องกักขัง พวกเขาก็จะช่วยเรากลับด้วยการกินแมลงศัตรูต้นไม้ของเราแบบฟรี ๆ

What the Frog!

ขณะที่ความมืดเข้าปกคลุมพื้นที่ สายฝนก็ยังโปรยปรายไม่หยุด ทำให้แผนเดิมที่กลุ่มวิทยากรตั้งใจจะวางกับดักแสงเพื่อดูผีเสื้อกลางคืนเป็นอันต้องล้มพับไป แต่ในอีกมุมหนึ่ง ช่วงเวลาฝนพรำเช่นนี้ก็ถือเป็นเวลาทองที่เหล่ากบเขียดกำลังเริงร่า ทำให้เรามีโอกาสเจอตัวพวกเขาง่ายขึ้น

เมื่อเราเดินเข้าสู่โซนพื้นที่ชุ่มน้ำ ก็ได้ยินเสียงสัตว์กลุ่มหนึ่งดังมาจากบึง เจทเล่าว่าการที่พวกเขาร้องก็เพื่อหาคู่ผสมพันธุ์ ไม่นานเราก็ได้สบตาหนึ่งในเจ้าของเสียง ซึ่งอาร์มจับมาให้พวกเราดู – น้องตัวนี้มีชื่อว่า ‘อึ่งอ่างบ้าน’

อึ่งอ่างบ้าน

“ชนิดนี้พบตามบ้านได้บ่อย เพราะปีนต้นไม้ ปีนผนังเก่ง ที่ผิวหนังของเขามีเมือกที่ลื่นมาก ถ้าสัมผัสจะเริ่มเหนียว เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ล่ากินมันได้ง่าย ๆ” อาร์มอธิบาย

เขาเล่าต่อว่า จุดเด่นของอึ่งอ่างคือพองตัวได้เมื่อรู้สึกถูกคุกคาม วันนี้เขาจับน้องขึ้นมาเพื่อการศึกษา เมื่อทุกคนได้เห็นแล้วก็ปล่อยน้องไป พอปล่อยตัวน้องก็แฟบลงอย่างชัดเจน

“สัตว์กลุ่มนี้ ผิวหนังจำเป็นต้องชื้นตลอดเวลาเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซ ถ้าผิวแห้งจะหายใจไม่ออก แม้ว่ามันจะหายใจด้วยปอดได้ แต่จะแบ่งสัดส่วนระหว่างปอดกับผิวหนัง ทางผิวหนังมีสัดส่วนค่อนข้างเยอะ” อาร์มอธิบายเหตุผลที่ทำให้สัตว์กลุ่มนี้ต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำแม้ว่าจะโตเต็มวัยแล้ว สำหรับอึ่งอ่างบ้าน ในช่วงฤดูแล้งมันจะขุดดินไปหลบเพื่อจำศีล ทำให้เราไม่ค่อยได้เห็น

ถัดจากอึ่งอ่าง ไม่นานเราก็ได้เจอเพื่อนของมันอีกชนิด ตัวนี้ตัวเล็กกว่า เขาคือ ‘ปาดบ้าน’ จุดเด่นของปาดคือ ปลายนิ้วมีตุ่มใหญ่ ๆ ที่มีความเหนียวเพื่อช่วยยึดเกาะกับผนังเวลาปีนป่าย ภาษาอังกฤษของปาดคือ Tree Frog

ปาดบ้าน

“ถ้าบ้านใครมีบ่อปลา อาจเคยเห็นโฟมสีเหลือง ๆ อยู่ข้างบ่อ นั่นคือโฟมของปาดบ้าน ช่วงมีฝน มันจะออกมาจับคู่ผสมพันธุ์ริมน้ำ บางทีก็เกาะตามใบไม้เหนือน้ำ ขี่หลังกัน สร้างโฟมออกมาแล้วก็วางไข่ ลูกปาดที่ออกจากไข่ก็จะหล่นลงไปในน้ำ กลายเป็นลูกอ๊อด ก่อนจะกลายมาเป็นปาดตัวจิ๋ว” อาร์มอธิบายวงจรชีวิตของปาด

นอกจากสองชนิดนี้แล้ว สวนแห่งนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นคางคกบ้าน ที่มีจุดเด่นคือผิวหนังขรุขระและมีต่อมพิษที่ผิวหนัง เขียดน้ำนองหรือเขียดทราย ที่พบได้บ่อยในกรุงเทพฯ ตามแหล่งน้ำนิ่ง ลอยตัวในน้ำได้ แล้วก็ยังมีอึ่งน้ำเต้า อึ่งหลังจุด กบนา กบหนอง เขียดบัว และอื่น ๆ

หากถามว่าการที่เมืองมีเหล่ากบ เขียด ปาด อึ่งอ่าง คางคก สำคัญยังไง คำตอบก็คือสัตว์กลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมประชากรแมลง เช่น แมลงเม่า ไปจนถึงแมลงศัตรูพืชอีกหลายชนิด พวกเขาจึงเป็นเหมือนเจ้าหน้าที่ของสวนที่ช่วยดูแลต้นไม้ให้เราอีกทางด้วย แม้แต่ลูกอ๊อดของพวกมันก็ช่วยกินลูกน้ำยุงลายได้ ทำให้ท่ามกลางความมืดตอนนี้ เราไม่ถูกยุงหาม

แต่ข่าวร้ายก็คือ ทุกวันนี้ประชากรกบทั่วโลกลดลงอย่างมาก ทั้งจากการสูญเสียที่อยู่อาศัย ไวรัส โรคและสารเคมีต่าง ๆ ทำให้กบหลายชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ดังนั้น การที่เราได้เห็นสัตว์กลุ่มนี้หลายชนิดยังเริงร่าอยู่ในสวนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าดีใจ

Spider & Man

จากพื้นที่ชุ่มน้ำสู่ถนนสายหลักกลางสวน เจทชวนให้เราส่องไฟดูตามลำต้นของต้นไม้ใหญ่สองข้างทางพร้อมบอกว่า มีแมงมุมชนิดหนึ่งที่อยากให้ทุกคนได้เจอมาก นั่นคือ ‘แมงมุมเปลือกไม้ลายประดับ’ มันพรางตัวกับเปลือกไม้อย่างแนบเนียน วิธีการหาคือใช้ไฟฉายส่อง ถ้าเจอตัว จะเห็นตาของเขาสะท้อนแสงวาว ๆ เหมือนลูกแก้วเล็ก ๆ

“แมงมุมกลุ่มนี้พอแม่วางไข่ตรงไหน ลูกที่เกิดมาจะมีสีสันและลวดลายคล้ายกับสิ่งแวดล้อมตรงนั้น เช่น ถ้าไปเกิดใกล้ ๆ ไลเคน ลายจะเหมือนไลเคนตรงนั้น และพอโตสีก็จะไม่เปลี่ยนแล้ว” เจทเล่าถึงความมหัศจรรย์ของแมงมุมชนิดนี้

“โลกของแมงมุมมีหลากหลายมาก นอกจากจะมีแมงมุมเปลือกไม้ลายประดับที่พรางตัวกับต้นไม้แล้ว ก็มีแมงมุมบางชนิดที่พรางตัวเนียนเหมือนดอกไม้ หรือบางชนิดปลอมตัวเลียนแบบแมลง เช่น มด ผึ้ง แตน เพื่อจับกิน บางชนิดเดินบนน้ำได้ก็มี เช่น แมงมุมหมาป่า หรือถ้าเป็นในป่าก็มีแมงมุมกินปลาที่ดำน้ำได้ โดยจะมีแผ่นปิดก้น เหมือนมีระฆังครอบไว้ มันจะเป่าลมเข้าข้างในก่อนดำน้ำลงไป”

เหล่าแมงมุมที่เจทพูดถึงนี้ เป็นแมงมุมกลุ่มที่ไม่สร้างใย แต่จะใช้วิธีวิ่งไล่ตะครุบเหยื่อ พวกนี้เกิดมาบนโลกก่อนกลุ่มแมงมุมที่สร้างใย ซึ่งวิวัฒนาการขึ้นมาในภายหลัง

ด้วยความที่สายฝนยังโปรยลงมาไม่หยุด ทำให้เหล่าแมลงและแมงมุมไปหลบซ่อนตัวกัน เราเลยอดเจอแมงมุมเปลือกไม้ลายประดับในตำนาน แม้ว่าจะไม่เจอแมงมุม เราก็ได้เจอจิ้งจกชนิดหนึ่งที่มีสีสันพรางตัวเนียนกับเปลือกไม้แทน อาร์มบอกว่านี่คือ ‘จิ้งจกหางแบน’ จุดเด่นคือหางเป็นแผ่นลากไปกับเปลือกไม้ พบได้บ่อยตามต้นไม้ ถ้าเราหาเจอ

จิ้งจกหางแบน

“ในกรุงเทพฯ มีจิ้งจกประมาณ 5 ชนิด นอกจากจิ้งจกหางแบนแล้ว ก็มีจิ้งจกหางหนาม ที่หางเป็นทรงกระบอกและมีหนามเล็ก ๆ อีกชนิดคือจิ้งจกหางหนามหลังปุ่ม แล้วก็มีจิ้งจกดินสยามที่จะอยู่ตามพื้นดิน แล้วก็จิ้งจกหินสีจางที่เป็นสีครีม ๆ พบได้ตามบ้านทั่วไป” ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานบอกจุดสังเกตที่อาจทำให้เราสนุกกับการมองจิ้งจกมากขึ้น

จากทางเดินริมถนน เราเข้าสู่พื้นที่ชุ่มน้ำอีกครั้ง เมื่อส่องไฟดูใต้ใบไม้ตามกอพืชน้ำ เราจะเห็นในสิ่งที่กลางวันไม่ค่อยเจอ นั่นคือใยแมงมุมมากมาย เพราะแมงมุมกลุ่มชักใยนี้ มักสร้างใยช่วงหัวค่ำเพื่อดักแมลงยามค่ำคืน

แมงมุมตาหกเหลี่ยม

จากก่อนหน้านี้เมื่อเราเห็นใยแมงมุม เราก็จะรู้แค่ว่านี่คือแมงมุม ตัวไหน ๆ ก็เหมือนกันหมด แต่คราวนี้เมื่อได้ลองสังเกตมากขึ้น การดูแมงมุมก็สนุกขึ้น เริ่มตั้งแต่การสังเกตรูปแบบของใย เจทเล่าว่ามีหลายแบบ เริ่มจากกลุ่มที่ชักใยเป็นวงกลมสวยงามแบบที่เราคุ้นเคย นั่นคือกลุ่ม ‘แมงมุมใยกลม’ ต่อด้วยกลุ่มที่สร้างใยยุ่งเหยิงที่เรียกว่ากลุ่ม ‘แมงมุมใยยุ่ง’ เจ้าของหยากไย่ตามมุมบ้าน ไปจนถึงกลุ่มที่ยิงใยเป็นเส้นยาว ๆ เดี่ยว ๆ เหมือนสไปเดอร์แมน ซึ่งมีฉายาว่า ‘นักล่าใยเดี่ยว’

หนึ่งในนักล่าใยเดี่ยวที่เราได้เจอหลายตัวในวันนี้ ก็คือ ‘แมงมุมเขี้ยวยาว’ ที่มีจุดเด่นคือปลายปากมีเขี้ยวคู่หนึ่งยาวเด่นชัด พวกนี้มักสร้างใยเหนือผิวน้ำเป็นเส้นยาว ๆ

“ในน้ำจะมีพวกริ้นหรือลูกน้ำยุง ซึ่งพวกนี้พอขึ้นจากน้ำ มันต้องใช้ระบบปั๊มเพื่อดันปีกออกมา ทำให้ต้องหาที่เกาะริมน้ำ แมงมุมชนิดนี้ก็จะสร้างใยเป็นเส้นไว้รอ พอพวกนี้มาเกาะ แมงมุมก็จับกิน” เจทเล่าถึงกลยุทธ์สุดล้ำของนักล่าใยเดี่ยว อีกหนึ่งผู้ควบคุมยุงในเมือง

เขาลองจับแมงมุมเขี้ยวยาวตัวหนึ่งมาใส่กล่องให้ทุกคนได้เห็นชัด ๆ และบอกว่า ตัวนี้เป็นตัวผู้ สังเกตได้จากปลายหนวดที่มีลูกตุ้มเหมือนนวม ข้างในบรรจุสเปิร์มไว้ เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์ มันจะใส่นวมนี้เข้าไปที่รูเปิดข้างลำตัวของตัวเมียและหักหนวดนี้คาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวผู้ตัวอื่นมาผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวนี้

แมงมุมเขี้ยวยาว

แต่ข่าวร้ายของพ่อบ้านใจกล้าก็คือ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จ ตัวเมียมักจับตัวผู้กินเพื่อนำโปรตีนไปใช้สร้างไข่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเดียวกับกลุ่มตั๊กแตนตำข้าว แต่ถ้าตัวผู้ตัวไหนหนีทันก็โชคดีไป

นอกจากกลุ่มแมงมุมใยเดี่ยวแล้ว เราได้ทำความรู้จักกับแมงมุมใยกลมอีกหลายชนิด ชนิดที่เจอง่ายก็เช่น แมงมุมใยกลมหลังรักบี้ ที่ส่วนหลังเหมือนแบกลูกรักบี้ มักอยู่ตามยอดหญ้า เริ่มออกหากินช่วงน้ำค้างหยดแรกของค่ำคืน แต่ที่พิเศษของคืนนี้ก็คือ เราได้เจอแมงมุมเขี้ยวยาวตัวหนึ่งซึ่งปกติเป็นนักล่าใยเดี่ยว แต่ตอนนี้มันกำลังไต่อยู่บนใยกลม ๆ ของแมงมุมชนิดอื่น

“เวลาแมงมุมเดินบนใย มันจะเดินด้วยเล็บ ใช้เล็บเกี่ยวใย นี่คือเหตุผลที่ทำให้มันไม่ติดใยตัวเอง และเดินบนใยของแมงมุมตัวอื่นได้”

แมงมุมเขี้ยวยาวที่เดินบนใยของแมงมุมใยกลม

มาถึงคำถามสุดฮิตที่ต้องมีคนสงสัย นั่นก็คือแมงมุมมีพิษไหม เจทไขข้อข้องใจว่า แมงมุมทุกชนิดมีพิษ แต่ส่วนใหญ่พิษอ่อนและไม่เป็นอันตรายต่อคน ที่พิษร้ายจริง ๆ มีแค่ไม่กี่ชนิดเท่านั้น และส่วนใหญ่ถ้ามันไม่รู้สึกว่าถูกคุกคามแบบจวนตัว ก็มักหนีมากกว่าจะเข้ามาทำร้ายเรา

นอกจากแมงมุมแล้ว สัตว์อีกชนิดที่เหล่าวิทยากรพยายามมองหาในบึงนี้ก็คือเต่าบัว ซึ่งเคยมีคนเจอที่นี่ แต่น่าเสียดายที่วันนี้น้องไม่มาโชว์ตัว

แม้เต่าบัวจะเป็นเต่าที่หน้าตาดูธรรมดา เหมือนเต่าที่เจอตามวัด แต่ทอมเล่าว่ามันเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เพราะถูกคนจับไปทำยาเยอะ อีกทั้งปัญหาการสูญเสียที่อยู่อาศัย พื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติหายไป บ่อน้ำใหญ่ในเมืองหลายแห่งก็ถูกทำเป็นขอบปูน ทำให้เต่าขึ้นมาเกาะพักไม่ได้ เพราะเต่าเหล่านี้หายใจด้วยปอด อยู่ในน้ำตลอดเวลาไม่ได้

แม้วันนี้เราจะไม่ได้เห็นเต่าบัว แต่แค่ได้รู้ว่าที่นี่เป็นสถานที่เหมาะสมที่น้องจะมีชีวิตอยู่แบบปลอดภัยได้ เราก็ดีใจแล้ว

มนุษย์ & ค้างคาว

ระหว่างเรากำลังส่องหาแมงมุม ดร.เต่า ก็ส่องไฟฉายกะพริบเรียกให้เราไปดูค้างคาวแม่ไก่ที่กำลังเกาะกินผลบนต้นโพธิ์ แต่เสียดายที่พอเดินไปถึง น้องก็บินผ่านหัวพวกเราไป

“ค้างคาวแม่ไก่เป็นค้างคาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไทย เป็นค้างคาวกินผลไม้ เวลาหากินจะห้อยหัวไต่ไปตามกิ่งไม้” ดร.เต่า เล่าให้ฟัง

ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง
ภาพ : ทรงพล สังข์งาม

ส่วนทางกลุ่มของทอมที่แยกไปอีกทาง ได้เจอกับฝูงค้างคาวขอบหูขาวกลางที่กำลังปาร์ตี้ผลสุกบนต้นตะขบ ซึ่งเขาเล่าว่า ค้างคาวกลุ่มนี้มีหน้าที่สำคัญในการช่วยต้นไม้กระจายเมล็ด และพวกเขาก็ไม่ได้กินแค่ผลไม้เท่านั้น แต่ยังกินน้ำหวานจากดอกไม้ด้วย ทำให้พวกเขาคือผู้ทำหน้าที่ผสมเกสรที่เข้าเวรกะกลางคืน ช่วยผสมเกสรดอกไม้ที่บานยามค่ำคืน เช่น ดอกทุเรียน ดอกสะตอ นั่นแปลว่าถ้าเราไม่มีค้างคาวกินผลไม้ เราก็อาจไม่มีทุเรียนกิน

ค้างคาวขอบหูขาวกลาง
ภาพ : อุเทน ภุมรินทร์

ค้างคาวในไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือค้างคาวกินผลไม้และค้างคาวกินแมลง ค้างคาวกินผลไม้ตาโต เพราะใช้ตามอง หน้าตาน่ารักเหมือนลูกหมาห้อยหัว แต่ถ้าเป็นค้างคาวกินแมลง ตาจะเล็กมาก เพราะใช้ระบบเสียงนำทางเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า Echolocation ซึ่งมันจะรู้ตำแหน่งแมลงที่แม่นยำมาก ใบหน้าของมันแบน ๆ และยับยู่ยี่ หูกางใหญ่ ทำหน้าที่เหมือนจานดาวเทียมสะท้อนคลื่นเสียง

ส่วนเจทก็ชวนดูความแตกต่างที่เห็นได้ระหว่างบิน คือค้างคาวกินผลไม้จะไม่มีแผ่นปิดหาง ทำให้เวลาบินจะเห็นเหมือนมันใส่กางเกงขาก๊วย แต่ถ้าเป็นค้างคาวกินแมลง จะมีแผ่นปิดที่หาง เพราะมันใช้แผ่นนี้ตวัดแมลงเข้าปาก

บางคนถามถึงเรื่องเชื้อโรคในค้างคาว วิทยากรจากเพจ ‘นก หนู งูเห่า’ อธิบายว่า แม้ในร่างกายค้างคาวจะมีเชื้อโรค แต่ถ้าเราไม่ได้ไปสัมผัสมัน โอกาสติดเชื้อโรคก็น้อย เพราะค้างคาวพวกนี้ไม่ค่อยมายุ่งกับคน และเราอยู่ร่วมเมืองกับมันได้

จากนั้น เราเดินมาจบที่บ่อวงกลมริมอัฒจันทร์ หรือที่ทีมวิทยากรตั้งชื่อให้ว่า ‘บ่อค้างคาว’ เพราะช่วงหัวค่ำมักมีค้างคาวกินแมลงบินฉวัดเฉวียนเพื่อโฉบกินแมลงที่ผิวน้ำ แต่ด้วยความที่ฝนตก แมลงไม่ออกมา โชว์นี้จึงเลื่อนเวลาออกไป จนกระทั่งก่อนที่เราจะแยกย้าย ฝนเริ่มซาพอดี ทำให้โชว์บินผาดโผนได้เริ่มขึ้น

“ค้างคาวกินแมลงช่วยเรากินยุงได้เยอะมาก ค้างคาวกินแมลง 1 ตัวอาจกินยุงได้มากถึง 1,300 ตัวใน 1 คืน” ทอมสรุปถึงความสำคัญของสัตว์ชนิดนี้

“สิ่งมีชีวิตในเมืองทุกชนิดล้วนช่วยพยุงระบบนิเวศในเมือง อย่างต้นไม้ต่าง ๆ ในสวน เราไม่ต้องทำอะไร ก็จะมีสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ช่วยดูแลสวนให้เราฟรี ๆ 24 ชั่วโมง บางชนิดช่วยปลูกต้นไม้ บางชนิดช่วยผสมเกสร บางชนิดช่วยควบคุมศัตรูพืช ถ้าเราไม่ออกมาเรียนรู้ ไม่ทำความรู้จัก เราจะไม่มีทางเข้าใจว่าจะมีสัตว์เหล่านี้ไปทำไม เราจะมีงูเขียวพระอินทร์ มีตัวอ่อนแมลงปอ มีค้างคาวไปทำไม”

ส่วนเจทก็เสริมถึงประเด็นที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับสัตว์กลางคืนในทุกวันนี้ นั่นคือมลภาวะทางแสง ที่เมื่อความมืดยามค่ำคืนหายไป สัตว์หลายชนิดก็ใช้ชีวิตลำบากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เช่น หิ่งห้อย ที่ใช้แสงเพื่อสื่อสารและหาคู่ แต่เมื่อกรุงเทพฯ เต็มไปด้วยแสงไฟ แสงเล็ก ๆ อย่างหิ่งห้อยจึงไม่อาจสู้ได้และหายไปจากเมืองกรุง ส่วนสัตว์ที่ต้องอพยพหลายชนิด เช่น นก แมลง ก็อาจบินหลงทิศเพราะแสงไฟในเมือง จนบินไม่ถึงจุดหมายและตายระหว่างทางจำนวนมาก แม้แต่ลูกเต่าทะเลที่เพิ่งฟักออกจากไข่ บางตัวก็ถูกดึงดูดด้วยแสงไฟในเมือง ทำให้มุ่งหน้าเข้าเมืองแทนที่จะลงทะเล

“วิธีแก้ง่าย ๆ อย่างหนึ่งก็คือการปรับรูปโคมไฟตามถนน จากที่เคยส่องกระจายทุกทิศ ก็ปรับโคมให้ส่องเฉพาะลงดิน หรือแสงไฟตามทางเดินก็อาจออกแบบให้ส่องเฉพาะพื้น ก็จะช่วยลดแสงฟุ้งกระจายขึ้นฟ้าได้”

เจองูกับเจอแขก ไม่ต้องตีทั้งแขก ไม่ต้องตีทั้งงู

ขณะที่เรากำลังเดินกลับไปที่ทางออกของสวน กลุ่มวิทยากรด้านสัตว์เลื้อยคลานก็พาเราไปพบกับงู 2 ตัว ซึ่งเขาบอกว่า น้องคืองูเขียวหางไหม้ตาโต ตัวหนึ่งตาขวาบอด สังเกตจากที่ไม่มีลูกตาขวา

“ในกรุงเทพฯ มีงูเขียวหางไหม้ 2 ชนิด คือหางไหม้ตาโตกับหางไหม้ท้องเหลือง แต่ไม่ใช่งูเขียวทุกชนิดที่มีพิษ บางชนิดพิษอ่อนมากและไม่เป็นอันตราย เช่น งูเขียวพระอินทร์ งูเขียวปากจิ้งจก งูเขียวปากแหนบ ส่วนบางชนิดไม่มีพิษ เช่น งูเขียวกาบหมาก ซึ่งตัวค่อนข้างใหญ่” แบงค์อธิบาย

งูเขียวหางไหม้ตาโตที่ตาขวาบอด

ในขณะที่ทุกคนกำลังตื่นเต้นกับงูตรงหน้า ทอมก็บอกว่า หากเราเจองูเข้าบ้านและไม่แน่ใจว่าเป็นชนิดไหน ก็ถ่ายภาพและส่งไปถามในไลน์ ‘งูเข้าบ้าน’ (Line ID : @sde5284v) ได้ จะมีทีมผู้เชี่ยวชาญจากเพจ ‘นก หนู งูเห่า’ และกลุ่ม ‘siamensis’ คอยตอบให้ และถ้าเป็นงูพิษก็เรียกกู้ภัยให้มาช่วยจับได้

ขณะที่คนมากมายกำลังมุงล้อมงู 2 ตัวที่อยู่ตรงกลางวง แบงค์วิทยากรของเราใช้ไม้รูปตัวยูเกี่ยวไว้ไม่ให้น้องเลื้อยไปใกล้คนเกินไป เอ้ก็บอกเพื่อให้ทุกคนลดความกลัวงูลงว่า ถ้าเราไม่ทำอะไรให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัย เขาก็ไม่ทำอะไรเรา

งูเขียวหางไหม้ตาโต

“ลองดูก็ได้ค่ะ ถ้าเราลองยืนนิ่ง ๆ ไม่ไปทำอะไรเขา เขาจะแค่เลื้อยผ่านเราและหาทางออก” เอ้ชวนให้ทุกคนทำการทดลองเล็ก ๆ

จากนั้นวิทยากรก็เริ่มปล่อยงูให้เป็นอิสระ เจ้างูเลื้อยไปทางผู้เข้าร่วมทริปคนหนึ่ง ซึ่งยืนนิ่งไม่ขยับ ท่ามกลางความลุ้นของทุกคน…

และก็เป็นจริงอย่างที่เอ้พูด แม้งูจะเลื้อยผ่านเท้าของผู้ร่วมทริปคนนั้น มันก็ไม่ได้มีท่าทีที่จะฉกใด ๆ และเลื้อยผ่านไปอย่างชิลล์ ๆ

“งูรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ ปกติถ้าได้ยินเสียงเราเข้าใกล้ เขาก็มักจะเลื้อยหนีไปก่อน แต่ถ้าประจันหน้ากันแบบกะทันหัน เราก็แค่นิ่ง แล้วเขาก็จะเลื้อยหนีไป” เอ้สรุป ซึ่งเป็นบทสรุปเดียวกับที่ ทรงกลด บางยี่ขัน แห่ง The Cloud กล่าวไว้ตอนท้ายของกิจกรรมว่า หากเราทำความเข้าใจ เราและสัตว์เหล่านี้ก็อยู่ร่วมเมืองกันได้

“หลายครั้งเรามีอคติกับความไม่คุ้นเคย มีอคติกับสัตว์บางประเภทที่รู้สึกว่าน่ากลัว น่าเกลียด แล้วก็แก้ปัญหาด้วยความคิดที่ว่า อย่าอยู่ร่วมกันเลย ฆ่าบ้าง ตีบ้าง วันนี้ที่วิทยากรชวนให้เราลองจับสัตว์หลายชนิด ก็เพื่ออยากให้เรารู้สึกว่า มันก็ไม่ได้น่าเกลียดน่ากลัวหรือน่าขยะแขยงนี่นา เขาก็เป็นเพื่อนร่วมโลกกับเราได้

“เมืองนี้ โลกใบนี้ เป็นของสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง เราควรจะอยู่ร่วมกันได้ แต่ก่อนที่จะอยู่ร่วมกันได้ เราก็ต้องรู้จักและเข้าใจกันก่อน หลังจากนั้นเราก็จะอยู่ร่วมกันแบบมีบทบาทหน้าที่ของตนเองและเกื้อกูลกัน”

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita