ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตคู่ใดที่มีความสัมพันธ์แบบเดียวกับปลาฉลาม-ปลาเหาฉลาม

การอาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศต่างมีรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งช่วยให้เกิด ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต และเกิดการปรับตัวร่วมกัน

นอกเหนือไปจากความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ทั้งที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงและดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพัง ในระบบนิเวศยังมีการปฏิสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องอีกหลากหลายรูปแบบเกิดขึ้น เมื่อมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ซึ่งมีอาณาบริเวณอันจำกัด มีปริมาณอาหาร น้ำดื่มและปัจจัยที่จำเป็นอีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถรองรับและตอบสนองต่อความต้องการของทุกชีวิต 

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิด (Interspecific interactions) หมายถึง ความเกี่ยวข้องหรือสายสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการอาศัยอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดในระบบนิเวศ โดยก่อให้เกิดทั้งภาวะของการพึ่งพาอาศัยกันและกัน การแก่งแย่งแข่งขัน หรือแม้แต่การเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเพื่อความอยู่รอด

ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ สามารถจำแนกออกเป็น 6 ประเภท โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น เป็นประโยชน์ต่อกัน (+) เป็นโทษหรือภัยคุกคาม (-) และการไม่ได้รับผลกระทบและผลประโยชน์ใด ๆ (0) ดังนี้

ภาวะพึ่งพาอาศัยกัน (Mutualism : +/+) หมายถึง ความสัมพันธ์ระยะยาวของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถแยกตัวออกจากกันได้อีกเลยตลอดช่วงชีวิต เช่น 

  • ไลเคน (Lichens) : สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการพึ่งพาอาศัยกันของราและสาหร่าย โดยที่ราทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นและแร่ธาตุแก่สาหร่าย ขณะที่สาหร่ายทำหน้าที่สร้างอาหารให้ราผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

  • ไรโซเบียม (Rhizobium) แบคทีเรียในรากพืชตระกูล หรือ ราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Fungi) ที่อาศัยอยู่ตามรากพืชชั้นสูง : จุลินทรีย์เหล่านี้ ทำหน้าที่ตรึงแร่ธาตุและตระเตรียมธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ขณะที่พืชเป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารที่สร้างสารอาหารให้จุลินทรีย์เหล่านี้

ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation : +/+) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันและได้รับผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังได้ หากเกิดการแยกตัวออกจากกัน เช่น

  • ผึ้งและดอกไม้ : ผึ้งกินน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหาร ขณะที่ดอกไม้ได้ผึ้งเหล่านี้ ช่วยผสมเกสรและแพร่ขยายพันธุ์

  • ปูเสฉวนและดอกไม้ทะเล : ดอกไม้ทะเลเกาะอยู่บนเปลือกปูเสฉวน เพื่อช่วยพรางตัวและป้องกันภัยอันตราย ขณะที่ปูเสฉวนช่วยนำพาดอกไม้ทะเลเคลื่อนที่ไปด้วย หาแหล่งอาหารใหม่ๆ

ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูลกัน (Commensalism : +/0) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับผลประโยชน์ ขณะที่อีกฝ่ายไม่ได้รับหรือเสียผลประโยชน์ใด  ๆ เช่น

  • ฉลามและเหาฉลาม (Remora) : เหาฉลามเกาะติดกับฉลาม เพื่อกินเศษอาหารพร้อมกับการได้รับการปกป้องคุ้มครองจากฉลาม โดยฉลามไม่ได้รับและไม่เสียประโยชน์ใด ๆ จากการอยู่ร่วมกัน

  • พืชอิงอาศัย (Epiphyte) : กระเช้าสีดา หรือ เฟิร์น เป็นพืชที่มักเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ เพื่อใช้เป็นแหล่งพักพิงอาศัย ขอแบ่งปันร่มเงาและความชื้น โดยที่ต้นไม้ใหญ่ไม่ได้ประโยชน์หรือสูญเสียประโยชน์ใด ๆ จากการอยู่ร่วมกัน 

ภาวะปรสิต (Parasitism : +/-) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสูญเสียผลประโยชน์หรือถูกเบียดเบียนจากการเป็นผู้ถูกอาศัยที่เรียกว่า “โฮสต์” (Host) ขณะที่ฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ลักษณะนี้ หรือ “ปรสิต” (Parasite) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่

  • ปรสิตภายใน (Endoparasite) เช่น แบคทีเรีย และพยาธิชนิดต่าง ๆ 
  • ปรสิตภายนอก (Ectoparasite) เช่น ปลิง เห็บ หมัด และยุง 
  • ปรสิตในเซลล์ (Intracellular Parasite) เช่น ไวรัส

ภาวะการล่าเหยื่อ (Predation : +/-) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้รับผลประโยชน์โดยตรงหรือที่เรียกกันว่า “ผู้ล่า” (Predator) ขณะที่ฝ่ายซึ่งสูญเสียประโยชน์หรือสูญเสียชีวิต คือ “ผู้ถูกล่า” หรือ “เหยื่อ” (Prey) นั่นเอง เช่น สิ่งมีชีวิตในกลุ่มผู้บริโภคพืช (Herbivore) ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) และผู้บริโภคทั้งพืชทั้งสัตว์ (Omnivore) ซึ่งความสัมพันธ์ในภาวะการล่าเหยื่อนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกในธรรมชาติที่มีส่วนช่วยในการสร้างสมดุลให้แก่ระบบนิเวศ โดยการควบคุมจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งที่ดำรงเป็นผู้ล่าและผู้ถูกล่า 

หากระบบนิเวศมีจำนวนผู้ล่ามากเกินไป เมื่อออกล่าจนประชากรของเหยื่อไม่เพียงพอต่อความต้องการของตน ประชากรผู้ล่าจะมีจำนวนลดลงเองตามธรรมชาติ เนื่องจากภาวะการขาดแคลนอาหาร ส่งผลให้ประชากรของเหยื่อที่หลงเหลืออยู่สามารถฟื้นฟูกลับมาและเพิ่มจำนวนประชากรขึ้น ภาวะการล่าเหยื่อนี้ จะเกิดขึ้นเป็นวงจรหรือวัฏจักรตามธรรมชาติ หากไม่เกิดการล่าที่รุนแรงจนส่งผลให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปจากระบบนิเวศ

ภาวะการแข่งขัน (Competition : -/-) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ซึ่งดำรงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน และทั้งสองฝ่ายต่างจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรประเภทเดียวกันในการดำรงชีวิต จนก่อให้เกิดภาวะแก่งแย่งแข่งขันที่ส่งผลเสียแก่ทั้งสองฝ่าย โดยความสัมพันธ์ลักษณะนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (Intraspecies Competition) เช่น การแย่งอาหารภายในฝูงหมาป่าหรือการแย่งดินแดนและอาณาเขตของสิงโต
  • การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิด (Interspecific Competition) เช่น การแย่งอาหารของเสือและสิงโต ซึ่งมีแหล่งอาหารประเภทเดียวกัน หรือการแก่งแย่งแสงแดดของต้นไม้ เป็นต้น

สืบค้นและเรียบเรียง
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ

ข้อมูลอ้างอิง

ทรูปลูกปัญญา – //www.trueplookpanya.com/knowledge/content/69653/-blo-scibio-sci-

Khan Academy – //www.khanacademy.org/science/ap-biology/ecology-ap/community-ecology/a/interactions-in-communities

โรงเรียนกุฉินารายณ์ – //www.kuchinarai.ac.th/document/wanthanee/two.pdf

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว – //saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=contactus/contactus.html

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : หน้าที่ของระบบนิเวศ (Ecosystem Functions)

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตคู่ใดที่มีความสัมพันธ์แบบเดียวกับปลาฉลามกับปลาเหาฉลาม

2. ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (Commensalisms) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ประโยชน์แต่ก็ไม่เสียประโยชน์ (+,0) เช่น ปลาฉลามกับเหาฉลาม เหาฉลามอาศัยอยู่ใกล้ตัวปลาฉลาม และกินเศษอาหารจากปลาฉลาม ซึ่งปลาฉลามจะไม่ได้ประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เสียประโยชน์อะไร

เหาฉลามกับปลาฉลามกล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่มีความสัมพันธ์กันแบบใดและมีลักษณะแบบใด

3. ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (Commensalism +,0) - ปลาฉลามกับเหาฉลาม เหาฉลามจะคอยยึดเกาะกับปลาฉลามเพื่อจะได้รับเศษอาหารที่ปลาฉลามกินไม่หมด แต่ก็ไม่ได้ส่งผลเสียตัวปลาฉลาม - นกกับต้นไม้ใหญ่ นกจะฃทำรังบนต้นไม้ใหญ่ ทำให้ได้ที่อยู่อาศัย ส่วนต้นไม้นั้นไม่เสียประโยชน์

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตคู่ใดเหมือนความสัมพันธ์ของแบคทีเรียในปมรากถั่ว

- แบคทีเรียในปมรากพืชตระกูลถั่ว - ราในรากพืชตระกูลสน ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation : + ,+ ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน แม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เช่น

สิ่งมีชีวิตคู่ใดมีความสัมพันธ์เช่นเดียวกับรากับสาหร่าย

ไลเคน (Lichens) : สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการพึ่งพาอาศัยกันของราและสาหร่าย โดยที่ราทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นและแร่ธาตุแก่สาหร่าย ขณะที่สาหร่ายทำหน้าที่สร้างอาหารให้ราผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita