โสฬสไตรยางค์มีความหมายตรงตามข้อใด

โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

ผู้แต่ง    

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (พระปิยมหาราช) 

ลักษณะคำประพันธ์   

☺ โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสี่สุภาพ ๑๘ บท

แผนผัง โคลงสี่สุภาพ

ที่มาของเรื่อง 

โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เดิมเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์เป็นโคลงภาษาไทย พระองค์ท่านได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย)

จุดประสงค์ในการแต่ง

โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์  มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อต้องการจะอธิบายสุภาษิตที่เกี่ยวกับนามธรรมซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน ทุกฐานะ ทุกอาชีพ ได้นำไปเป็นเครื่องโน้มนำให้ประพฤติชอบอย่างผู้มีสติและมีความปลอดโปร่งในชีวิต    

       โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ หมายถึง สุภาษิตที่จำแนกเนื้อความเป็น ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ รวมเป็น ๔๘ ข้อ เดิมนั้นเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร กวีในราชสำนักแปลและประพันธ์เป็นภาษาไทย

            โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสี่สุภาพ ๑๘ บท ซึ่งมีบทนำ ๑ บท  เนื้อเรื่อง ๑๖ บท และบทสรุป ๑ บท

            โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำ และโปรดให้ คุณหญิง เปลี่ยน ภาสกรวงศ์ นำโคลงไปปักเป็นตัวอักษรใส่กรอบกระจก ประดับบนพระที่นั่งทรงธรรมในงานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ จุลศักราช ๑๒๔๖

            ภายหลังได้รวบรวมพิมพ์ไว้ ในหนังสือประชุมโคลงสุภาษิต ในรัชกาล ที่ ๕ ในงาน  ศตมวารพระศพสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๖

            โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อ ต้องการจะอธิบายสุภาษิตที่เกี่ยวกับนามธรรม ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน    ทุกฐานะ ทุกอาชีพ ได้นำไปเป็นเครื่องโน้มนำให้ประพฤติชอบอย่างผู้มีสติ และมีความปลอดโปร่งในชีวิต

สาระสำคัญของโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

 ๑.สามสิ่งควรรัก ได้แก่ ความกล้า ความสุภาพ และความรักใคร่

 ๒. สามสิ่งควรชม ได้แก่ อำนาจปัญญา เกียรติยศ และมีมารยาทดี

 ๓. สามสิ่งควรเกลียด ได้แก่ ความดุร้าย ความหยิ่งกำเริบ และอกตัญญู

 ๔. สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน ได้แก่ ชั่วเลวทราม มารยา และฤษยา

๕. สามสิ่งควรเคารพ ได้แก่ ศาสนา ยุติธรรม และสละประโยชน์ตนเอง

๖. สามสิ่งควรยินดี ได้แก่ การเป็นผู้มีความงาม มีความสัตย์ซื่อ และความอิสระเสรี

๗. สามสิ่งควรปรารถนา ได้แก่ ความสุขสบาย การมีมิตรสหายที่ดี และมีความสบายใจ

๘. สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ ได้แก่ ความเชื่อถือ ความสงบ และจิตใจที่ไม่ขุ่นหมอง

๙. สามสิ่งควรนับถือ ได้แก่ การเป็นผู้มีปัญญา มีความฉลาด และมีความมั่นคงไม่โลเล

๑๐. สามสิ่งควรจะชอบ ได้แก่ ความมีใจอารีสุจริต ใจดีไม่เคืองขุ่น และ มีความสนุกเบิกบาน

๑๑. สามสิ่งควรสงสัย ได้แก่ คำยกยอ พวกปากไม่ตรงกับใจ และ พวกใจโลเลพูดกลับคำไปมา 

๑๒. สามสิ่งควรละ ได้แก่ ความเกียจคร้าน การพูดจาไม่น่าเชื่อถือ และการใช้คำเสียดสีผู้อื่น

๑๓. สามสิ่งควรจะกระทำให้มี ได้แก่ หนังสือดีเพื่อนที่ดี และ ความเป็นคนใจเย็น

๑๔. สามสิ่งควรจะหวงแหนฤๅต่อสู้เพื่อรักษา ได้แก่ ชื่อเสียงเกียรติยศประเทศชาติบ้านเมือง และเพื่อนที่ดี

๑๕. สามสิ่งควรครองไว้ ได้แก่ กิริยาอาการ ความมักง่าย และคำพูด

๑๖. สามสิ่งควรจะเตรียมเผื่อ ได้แก่ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ความแก่ชรา และความตาย

ที่มา 1

//sites.google.com/site/thaigood2/6

ที่มา 2

//jatp2m4.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%AC%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84-2/

โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ

ที่มาและความสำคัญ

            บทประพันธ์นี้เป็นพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)   ซึ่งทรงได้พระราชนิพนธ์แปลมาจากสุภาษิตภาษาอังกฤษ มาเป็นโคลงสี่สุภาพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ    เป็นคำประพันธ์ที่มีความสำคัญและคุณค่ายิ่ง   เนื้อความ สั่งสอนและเตือนใจคน โดยสอนให้ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนจะพูดหรือทำสิ่งใด เพราะ เมื่อตัดสินใจพูดหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปแล้วเกิดผลเสีย     ทำให้อยากจะเรียกคำพูดหรือเก็บเอาการกระทำนั้นคืนมา แต่ก็สายไปเสียแล้ว ไม่อาจแก้ไขอะไรได้แล้ว     

 วัตถุประสงค์ในการประพันธ์

     โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ   มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อต้องการจะอธิบายสุภาษิตที่เกี่ยวกับนามธรรมซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน ทุกฐานะ ทุกอาชีพได้นำไปเป็นเครื่องโน้มนำให้ประพฤติชอบอย่างผู้มีสติและมีความปลอดโปร่งในชีวิต โดยแนะนำ ทั้งทางด้านมโนกรรม (การคิด) วจีกรรม (การพูด) และกายกรรม (การกระทำ) ซึ่งครอบคลุม และเหมาะสมที่จะเป็นเกราะป้องกันผู้ประพฤติมิให้ต้องเสียใจ     เพราะสิ่งที่ตนคิด พูด และ กระทำ                                   

ฉันทลักษณ์และกวีโวหารบทประพันธ์นี้มีลักษณะเป็นโคลงสี่สุภาพ  

๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด

๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์ 

บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้

ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )

ห้า- สอง

ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำวเชื่อมคำ )

ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)

๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง

๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง

๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้คำเอกโทษคำโทโทษ

      คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุกต์โท กำกับ 

อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้

คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ 

และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด 

(ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)

(ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)

คำตาย คือ

๑. คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่น กะทิ สินะ ขรุขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โป๊ะ ฯลฯ

๒. คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ

คำโท

ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม 

เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน

คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท "โคลง" และ "ร่าย"และถือว่าเป็นข้อ 

บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้ เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า "โทโทษ" 

ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า "เอกโทษ"

กวีโวหารที่ใช้ในโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ คือ เทศนาโวหาร เป็นคำสอน ซึ่งมีอยู่ ๒ แนวทางคือ

๑ . สอนให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดี

๒ . สอนให้ละเว้นสิ่งที่ไม่ดี

ผู้แต่ง    

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (พระปิยมหาราช)  

ลักษณะคำประพันธ์ 

          โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เป็นโคลงสี่สุภาพ ๑๒ บท

แผนผัง โคลงสี่สุภาพ

ที่มา 

//sites.google.com/site/thaigood2/6

คำว่า "โสฬสไตรยางค์" มีความหมายว่าอย่างไร

โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์เป็นโคลงสี่สุภาพซึ่งมีบทนำ ๑ บท เนื้อเรื่อง ๑๖ บท และบทสรุป ๑ บท ซึ่งบอกจำนวนสุภาษิตว่ามี ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ รวมเป็น ๔๘ ข้อ ในพระราชนิพนธ์นี้ “ไตรยางค์” หมายถึง จำนวนสิ่งที่ควรแสวงหาหรือควรละเว้น ซึ่งในโคลงแต่ละบทจะมีอยู่๓ สิ่ง ส่วนคำ ว่า “โสฬส” หมายถึง ๑๖ ดังนั้น “โสฬสไตรยางค์” จึงหมายถึง ข้อ ...

ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อ ต้องการจะอธิบายสุภาษิตที่เกี่ยวกับนามธรรม ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน ทุกฐานะ ทุกอาชีพ ได้นำไปเป็นเครื่องโน้มนำให้ประพฤติชอบอย่างผู้มีสติ และมีความปลอดโปร่งในชีวิต

ใครคือผู้พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นบทพระราช นิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เดิมเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษจึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชส านักแปล และประพันธ์เป็นโคลงภาษาไทย พระองค์ท่านได้ทรง ตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนาด้วย) โคลงสุภาษิต รวม ๑๑ เรื่อง คือ เรื่องที่๑ สุภาษิตบางปะอิน (พ.ศ. ...

ข้อใดคือคำสอนจากโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

ข้อคิดจากโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ 1. การใช้คำพูดที่สุภาพ จริงใจ มีมารยาทจะทำให้ได้รับความรัก และชื่นชมจากผู้อื่น 2. การประพฤติปฏิบัติในสิ่งดี และละเว้นสิ่งที่ควรเกลียด จะนำไปสู่ความสุข ความเจริญในชีวิต 3. บุคคลใดชื่อว่าบัณฑิตควรชอบและชื่นชมความกล้า ความสุภาพ ปัญญา เกียรติยศ และมารยาท

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita