สถานที่ทํางานจัดเป็น determinants ประเภทใด

แผนงานนธส. ตั้งใจใช้คำว่า “คนชายขอบ” (Marginal People) ในความหมายเดียวกับ “ประชากรกลุ่มเฉพาะ” (Specific Group of People) เพื่อแสดงให้เห็นคุณสมบัติร่วมของประชากรกลุ่มเฉพาะที่เป็นเป้าหมายการทำงานของสำนัก 9 ในการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพให้คนกลุ่มนี้ คือ คนไร้บ้าน ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล คนพิการ ผู้ใช้แรงงาน คนมุสลิม ผู้หญิง และผู้สูงอายุ

ที่มาของความเป็นคนชายขอบเกิดจากกระบวนการถูกทำให้เป็นชายขอบ (Marginalization) ตามพลวัตรของพื้นที่ทางสังคม 2 แบบ คือ พื้นที่ศูนย์กลางหรือกระแสหลักและพื้นที่ชายขอบของสังคม การถูกทำให้เป็นชายขอบเกิดในทุกมิติของชีวิต ทั้งความเป็นเพศ วัฒนธรรม ภาษา เชื้อชาติ ชนชั้น ฐานะ ศาสนา การศึกษา อายุ สภาพร่างกาย รสนิยมทางเพศ หน้าที่การงาน หรือถิ่นที่อยู่อาศัย  ลักษณะร่วมกันของคนที่ถูกทำให้เป็นคนชายขอบคือ “การด้อยอำนาจ” เนื่องจากถูกกีดกันออกจากผลประโยชน์และอำนาจที่คนในกระแสหลักได้รับ[1] โดยถูกกระทำในสองทิศทางคือ การจงใจกีดกัน ลดอำนาจ หรือติดป้ายตรีตรา หรือการดึงเข้าร่วมในพื้นที่ศูนย์กลาง และถูกทำให้เป็นชายขอบในกระบวนการดังกล่าว เช่น การดึงกลุ่มชาติพันธุ์เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนา โดยเฉพาะการส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่กลับทำให้พวกเขามีสถานภาพเป็นเพียงสินค้าเท่านั้น

การนำแนวคิดเรื่องความเป็นชายขอบมาใช้ในการทำงานด้านสุขภาพ ช่วยให้คนทำงานเข้าใจปัญหาความเจ็บป่วยที่เชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างชัดเจน จนเกิดเป็นขบวนการทำงานที่เป็นรูปธรรมระดับโลก คือ แนวคิดปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health หรือ SDH) ขององค์การอนามัยโลก เพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมทางสุขภาพผ่านจิตวิญญาณของความเป็นธรรมทางสังคม โดยสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 66 (พ.ศ. 2546) ได้ลงมติรับรองคำประกาศ “Rio Political Declaration on Social Determinants of Health” และองค์การอนามัยโลกใช้แนวคิดนี้เป็นวาระพื้นฐานในการขับเคลื่อนงานในช่วงปี พ.ศ. 2557-2562 [2]

หลักการพื้นฐาน 3 ประการของแนวคิดปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ คือ[3]

(1) รากปัญหาที่ลึกสุดของความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ เกิดจากปัญหาความไม่เป็นธรรมทางการเมือง ซึ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสิทธิ การเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะ และการเลือกปฏิบัติ ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาจึงอยู่ที่การเพิ่มอำนาจให้ผู้เสียเปรียบที่สุด โดยภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้ามาทำงานร่วมกัน

(2) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันทั้งทางกาย จิต และพฤติกรรม คือการปรากฏตัวของรากปัญหาทั้งที่อยู่ในโครงสร้างสังคมและระบบสุขภาพ

(3) การแทรกแซงเพื่อลดช่องว่างความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพทำได้พร้อมกันในหลายประเด็นและหลายระดับ โดยการทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มอำนาจให้ผู้เสียเปรียบที่สุด เช่น การปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน การจัดการกับความไม่เป็นธรรมเชิงโครงการในการกระจายอำนาจ เงิน และทรัพยากร การติดตามประเมินผลกระบวนการแก้ปัญหา พัฒนากำลังคนที่เข้าใจแนวคิดปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ และทำให้สาธารณชนตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิดนี้

กรอบแนวคิดปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพที่แสดงในภาพด้านบน แสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง (บล็อกซ้ายสุด) กับสิ่งที่ปรากฏเป็นเงื่อนชีวิตคือสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละบุคคล (บล็อกถัดมา) ซึ่งรวมกันเป็นปัจจัยเชิงโครงสร้าง ที่ส่งผ่านสื่อกลางที่เรียกว่าปัจจัยส่งผ่านทางสุขภาพ 2 ประการ คือ หนึ่ง ยุทธศาสตร์การพัฒนารวมทั้งระบบสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ไม่เท่าเทียม และขาดการมีส่วนร่วม ที่ส่งผลให้ประชาชนเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย และสอง การที่คนเสียเปรียบมีความเปราะบางและอ่อนไหวต่อความเจ็บป่วยมากกว่าคนกลุ่มอื่นในสังคม จนทำให้เกิดเป็นอาการแสดงออกของความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกายและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทางจิตใจ และทางการแสดงออกถึงพฤติกรรมทางลบต่างๆ (บล็อกขวาสุด)

แนวคิดปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพได้กำหนดแนวทางการทำงานเพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางทางสุขภาพ ดังภาพด้านล่าง ซึ่งแสดงจุดเน้นที่การทำงานโดยอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เน้นการมีส่วนร่วมและเติมอำนาจให้ประชาสังคมและชุมชน

วงกลมแถวซ้ายสุดแสดงถึงกลุ่มเป้าหมายระดับต่างๆ ของการทำงาน ตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงโลกาภิวัฒน์ และเข้าร่วมได้จากหลายระดับ โดยเริ่มจากระดับประชาชนทั่วไปและไล่ขึ้นไปจนถึงระดับโครงสร้าง กลุ่มบล็อกสี่เหลี่ยมกลางภาพ แสดงถึงการทำงานผ่านนโยบายระดับต่างๆ และแท่งสี่เหลี่ยมด้านล่างสุดแสดงถึงแนวทางการติดตามประเมินผลการทำงาน และสนับสนุนให้ประเด็นความเป็นธรรมทางสุขภาพเป็นเป้าหมายในการจัดทำและประเมินผลนโยบายทางสุขภาพและสังคม

ในประเด็นการสร้างการมีส่วนร่วมและเพิ่มอำนาจให้ภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เสียเปรียบนั้น  คณะกรรมาธิการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ องค์การอนามัยโลก ได้วางแนวทางการทำงานไว้เป็นขั้นตอนดังนี้

การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ทำโดย

(1) ให้ข้อมูลข่าวสาร  โดยเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นกลางและรอบด้าน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจปัญหา ทราบแนวทางเลือก โอกาส และคำตอบที่จะเป็นไปได้ทั้งหมด

(2) ให้คำปรึกษา  โดยรับเรื่องราวที่สะท้อนกลับมาจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อนำไปวิเคราะห์หาทางออกและตัดสินใจต่อไป

(3) ทำงานร่วมกัน  โดยทำงานร่วมกับชุมชนตลอดทั้งกระบวนการ เพื่อให้ชุมชนตื่นตัวและมุ่งมั่นจัดการปัญหาด้วยตนเองได้ตรงประเด็นอย่างแท้จริง

(4) ประสานความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ  โดยเป็นแนวร่วมกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบในมิติต่างๆ ทั้งการพัฒนาทางเลือกเพื่อการตัดสินใจ และร่วมค้นหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด

(5) เพิ่มอำนาจให้ภาคประชาชน  เพื่อให้ชุมชนมีอำนาจอย่างแท้จริงในการตัดสินใจที่สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของพวกเขา

ส่วนการเพิ่มอำนาจให้ภาคประชาชน มี 5 ระดับ คือ

(1) ระดับสวัสดิการพื้นฐาน  โดยให้สิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

(2) ระดับการเข้าถึงโอกาส  โดยเปิดโอกาสอย่างเท่าเทียมทางด้านการศึกษา การเข้าถึงการใช้ที่ดินและแหล่งทุน เป็นต้น

(3) ระดับการตระหนักรู้ถึงปัญหา  โดยเปิดประเด็นปัญหาเชิงโครงสร้างและการเลือกปฏิบัติที่ฝังตัวอยู่ในโครงสร้างของสังคม

(4) ระดับการมีส่วนร่วมและขับเคลื่อนให้เกิดความเป็นธรรม  เป็นระดับที่การตัดสินใจในการกำหนดนโยบายทุกขั้นตอนเปิดกว้างทั้งกระบวนการ

(5) ระดับที่ควบคุมอำนาจไว้ได้  เป็นระดับที่ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตตนเองได้ในทุกมิติ

_________________________________________________________________________

[1] Daniel, Mark; Linder, G. Fletcher. “Marginal People.” Encyclopedia of Public Health. 2002. Encyclopedia.com. (December 27, 2014). //www.encyclopedia.com/doc/1G2-3404000517.html

[2] Secretariat(2012) Social determinant of health, executive board 132nd session (WHO), สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2557

[3] เนื้อหาส่วนใหญ่และภาพโมเดลจากส่วนนี้ไปจนจบหัวข้อ 3.1  ปรับปรุงมาจากรายงานของคณะกรรมาธิการปัจจัยสังคมกําหนดสุขภาพเรื่อง “A Concept Framework for Action on the Social Determinants of Health”, Discussion paper for the Commission on Social Determinants of Health, Draft version – April 2007,อ้าง ใน นพนันท์ วรรณเทพสกุล. (2554). “ความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้างคือปัจจัยสังคมกําหนดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ”  ใน นพนันท์ วรรณเทพสกุล และกุลธิดา สามะพุทธ. เริ่มที่ชีวิตจิตใจ สู่ความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะทํางานวาระทางสังคม และเครือข่ายถมช่องว่างทางสังคม.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita