เส้นชนิดใดใช้เขียนแสดงเส้นศูนย์กลางของส่วนโค้ง หรือวงกลม

 การกำหนดขนาด

       สาระการเรียนรู้
       การเขียนแบบจะต้องกำหนดขนาด เพื่อแสดงสภาวะสุดท้ายของชิ้นงาน การกำหนดขนาดจะตองใช้ความละเอียดเป็นพิเศษ ซึ่งการกำหนดขนาดของชิ้นงานนี้จะผิดพลาดไม่ได้ ถ้ากำหนดขนาดผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความเสียหายและเสียเวลาแก่ผู้ผลิตได้

       เนื้อหาสาระ
       1. การกำหนดขนาดความยาว
       2. การกำหนดขนาดมุม
       3. การกำหนดขนาด รัศมี วงกลมและส่วนโค้ง

       จุดประสงค์การเรียนรู้
       1. กำหนดขนาดความยาวของแบบงานได้
       2. กำหนดขนาดความยาวของมุมได้
       3. กำหนดขนาดความยาวของ รัศมี วงกลม และส่วนโค้งได้

การกำหนดขนาดแบบจัดได้ว่าเป็นหลักของการเขียนแบบอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้อ่านแบบเข้าใจและทำงานได้ถูกต้อง อ่านง่าย สะอาด สวยงาม ซึ่งผู้เขียนแบบจะต้องพิจารณาและระวังให้มาก เพราะถ้าเขียนแบบหรืออ่านแบบผิดพลาดจะทำให้งานนั้นเสียทันที การกำหนดขนาดงานตามมาตรฐานสากล (ISO) จะกำหนดขนาดเป็นมิลลิเมตร โดยเขียนเพียงตัวเลขในแบบงาน ปกติจะกำหนดขนาดจากระนาบอ้างอิง เช่น เส้นกึ่งกลางของชิ้นงาน ซึ่งประกอบด้วยเส้นกำหนดขนาด เส้นช่วยกำหนดขนาด ตัวเลขและหัวลูกศร

1.                การกำหนดขนาดความยาว

   1) เส้นกำหนดขนาด จะเขียนด้วยเส้นเต็มบาง และขนานกับแบบงาน มีความยาวเท่ากับส่วนเส้นส่วนที่จะกำหนดขนาด มีหัวลูกศรที่ปลายทั้งสองข้าง
      2) เส้นกำหนดขนาดครั้งแรกห่างจากขอบ 8 มม.
      3) เส้นกำหนดขนาดส่วนต่อไป ห่างจากเส้นกำหนดขนาด ขนาดเส้นแรก 5 มม.
      4) ขนาดที่สั้นที่สุดให้อยู่ใกล้แบบที่สุด เส้นยาวถัดไปให้อยู่ถัดไปตามลำดับ

  5) ในกรณีที่พื้นที่กำหนดมีเนื้อที่น้อย ไม่พอที่จะเขียนตัวเลขกำหนดขนาดและหัวลูกศร เราจะเขียนหัวลูกศรไว้ข้างนอก
     6) ถ้ามีที่ว่าง เราสามารถกำหนดขนาดในแบบ เพื่อให้อ่านแบบได้ง่ายและสวยงาม
     7) เส้นกำหนดขนาด จะไม่เขียนบอกต่อจากขอบของชิ้นงานโดยตรง เพราะอาจจะทำให้เข้าใจ
     8) เส้นกำหนดขนาด ไม่ควรอยู่ในเขต 30 องศา
     9) เส้นช่วยกำหนดขนาดลากตั้งฉากกับส่วนที่จะบอกขนาด ควรลากเลยขอบหัวลูกศรประมาณ 2 มม. ถ้าหากจะใช้เส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเส้นช่วยกำหนดขนาด จะต้องลากเส้นนี้ให้เป็นเส้นเต็มบางเลยออกนอกชิ้นงาน
    10) หัวลูกศรมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายทั้งสองข้างระบายทึบ แหลมเรียว มีมุม 15 องศา ยาวประมาณ 3 มม.
    11) ส่วนที่กำหนดขนาดมีเนื้อที่น้อย หัวลูกศรเขียนไว้ข้างนอก
    12) ตัวเลขกำหนดขนาด ควรเขียนไว้เหนือเส้นกำหนดขนาด และมีความสูงของตัวเลขเท่ากันตลอด (ประมาณ 3-4 มม.)
    13) การกำหนดขนาดตามแนวดิ่ง ตัวเลขจะอยู่ทางซ้ายของเส้นกำหนดขนาด และอยู่กึ่งกลางของเส้น
    14) ตัวเลขกำหนดขนาดที่ไม่ได้มาตราส่วนจริงจะขีดเส้นใต้ไว้
    15) ตัวเลขกำหนดขนาดจะต้องอ่านจากด้านล่างแล้วเวียนขวา เมื่อแบบวางอยู่ในลักษณะปกติ
    16) แบบที่เหมือนกันควรกำหนดขนาด ณ ที่ตำแหน่งที่ชัดเจนที่สุด
    17) ไม่ควรกำหนดขนาดที่เส้นประ

    เส้นบรรทัด
    รูป A การบอกขนาดด้านเดียวติดต่อกันจะต้องใช้เส้นบรรทัดฐานจากขอบใดขอบหนึ่งของชิ้นงานเป็นหลัก ส่วนเส้นบรรทัดฐานนี้จะต้องเลือกตามลำดับการทำงาน หรือลักษณะหน้าที่ของส่วนนั้น ดังรูป A

    รูป B ชิ้นงานเหมือนกันกับรูป A แต่ใช้ขอบงาน (c) และ (d) เป็นเส้นบรรทัดฐาน

    รูป C สำหรับงานที่สมมาตรกัน (ด้านซ้ายและขวาเหมือนกัน) จะใช้เส้นศูนย์กลางเป็นเส้นบรรทัดฐานกำหนดขนาดได้

2.         การกำหนดขนาดมุม

   1) ขนาดของมุมต้องมีหน่วยวัดเป็นองศา และถ้าเป็นมุมที่ต้องการความละเอียดมากขึ้น อาจกำหนดให้หน่วยวัดเป็นลิปดาและพิลิปดา เส้นกำหนดขนาดมุมต้องเป็นเส้นโค้ง โดยให้จุดศูนย์กลางของส่วนโค้งอยู่ปลายแหลมของมุมนั้น
   2) มุมที่มีขนาดเท่ากันทั้งสองข้างเส้นศูนย์กลาง จะต้องกำหนดขนาดมุมนั้นรวมกันเป็นมุมเดียว
   3) หากมุมที่กำหนดนั้นไม่ได้แสดงจุดปลายสุดของมุม จะต้องสร้างจุดปลายสุดของมุมโดยลากเส้นบาง หรือเส้นศูนย์กลางต่อจากเส้นหนาออกมาตัดกันให้มุมต่อกันครบสมบูรณ์
   4) หากมุมนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ให้ถือเอาเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเส้นกำหนดขนาด

     การกำหนดขนาดรัศมี วงกลม และส่วนโค้ง

1) ในการกำหนดรัศมี เส้นกำหนดขนาดควรเขียนให้เอียง ไม่เขียนในแนวระดับหรือแนวดิ่ง มีหัวลูกศรข้างเดียว ปลายหัวลูกศรชนขอบของส่วนโค้ง
   2) การกำหนดขนาดรัศมีเล็กๆ ให้เขียนหัวลูกศรไว้ข้างนอก
   3) ตัวเลขเขียนเหนือเส้น
   4) กำหนดจุดศูนย์กลางของส่วนโค้งเล็กๆ โดยขีดเส้นสั้นๆ ตัดกันเป็นจุดศูนย์กลาง
   5) สำหลับส่วนโค้งเล็กๆ ควรใส่ R หน้าตัวเลขกำหนดขนาด
   6) ตัวอักษร R ใช้เขียนไว้หน้าตัวเลขของรัศมีขนาดใหญ่ จุดศูนย์กลางที่อยู่ไกล
   7) จุดศูนย์กลางโตๆ ตามแนวศูนย์กลาง อาจย่นระยะเส้นกำหนดขนาดได้ โดยการทำเส้นกำหนดขนาด
   8) สัญลักษณ์ของเส้นผ่าศูนย์กลาง จะใช้แทนด้วยวงกลมมีเส้นตรงเอียงทำมุม 75 องศา กับแนวระดับและเส้นเอียงมีความสูงเท่ากับตัวเลข ซึ่งสัญลักษณ์วงกลมนี้ () ต้องเขียนไว้ข้างหน้าของตัวเลขกำหนดขนาด
   9) การกำหนดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสามารถเขียนไว้ภายในวงกลมได้ แต่ถ้าหากว่าวงกลมมีขนาดเล็กก็สามารถเขียนไว้ภายนอกวงกลมได้
   10) ถ้าหากการกำหนดขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในวงกลมทำให้ยุ่งยาก ผู้เขียนสามารถโยงเส้นออกมากำหนดขนาดภายนอกวงกลมได้
   11) ตัวเลขกำหนดขนาดเขียนเหนือเส้น อ่านเวียนขวา


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita