อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย สรุป

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2017

สาเหตุที่มีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย

สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย       1. สภาพภูมิศาสตร์               คือ ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย จึงทำให้คนไทยที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่กันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จึงมีการแลกเปลี่ยนภาษากัน เช่น คนไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ ก็จะสามารถสื่อสารด้วยภาษาเขมรได้ คนไทยที่อยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา รับเอาภาษามาลายูเข้ามาใช้ เป็นต้น             2.  ประวัติศาสตร์               ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอพยพโยกย้ายของคนไทยเข้ามาอยู่ในถิ่นอาศัยปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมมีชนชาติอื่นอาศัยอยู่ก่อน เช่น เขมร ละว้า มอญ หรือมีการทำศึกสงครามกับชนชาติอื่น มีการกวาดต้อนเชลยศึกและประชาชน พลเมืองชนชาติอื่น ๆ ให้มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผู้คนเหล่านี้ได้นำถ้อยคำภาษาเดิมของตนเองมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย        3.  ศาสนา                คนไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำภาษาที่ใช้ในคำสอน หรือคำเรียกชื่อต่าง

ภาษาชวา-มลายู

ภาษาชวา                ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาตระกูลคำติดต่อ ตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียน ซึ่งรับมาจากวรรณคดีเรื่อง ดาหลังและอิเหนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ตัวอย่าง เช่น ภาษามลายู              ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย เป็นภาษาคำติดต่ออยู่ในตระกูลภาษาชวา คำส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ เข้ามาปะปนในภาษาไทยเพราะมีเขตแดนติดต่อกัน จึงติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางด้านการค้าขาย ศาสนา วัฒนธรรม มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิตประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก วิธีการนำคำภาษามลายูมาใช้ในภาษาไทย มีดังนี้ 1. ยืมมาโดยวิธีทับศัพท์ คำส่วนใหญ่จะยืมมาโดยวิธีการปรับเสียงให้เข้ากับระบบเสียงในภาษาไทย ซึ่งอาจจะมีการตัดเสียง เพิ่มเสียง หรือการเปลี่ยนแปลงเสียงบางเสียง 1.1 คำศัพท์มลายูที่ใช้ทั่วๆไป เช่น ทุเรียน ลองกอง

ภาษาทมิฬ

คำยืมภาษาทมิฬในภาษาไทย จากความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับทมิฬเป็นเวลาช้านานก่อนสมัยสุโขทัย จึงสันนิษฐานว่าภาษาทมิฬได้เข้ามาปะปนในภาษาไทยโดยผ่านทางลังกา เพราะไทยนับถือพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และการค้าขายซึ่งทมิฬในสมัยโบราณเคยเข้ามาค้าขายกับประเทศต่าง ๆ ทางแถบเอเชีย เช่น ชวา มลายู เขมร มอญ ไทย จึงได้หยิบยืมภาษาใช้กันเป็นธรรมดา  ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ ศิลาจารึกภาษาทมิฬ ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

ภาษาอาหรับ

คำยืมภาษาอาหรับในภาษาไทย ภาษาอาหรับที่นำมาใช้ในภาษาไทย มีคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาอิสลาม และได้เข้ามาปะปนในภาษาไทยโดยผ่านทางมลายู

ภาษาฝรั่งเศส

ชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาสู่ประเทศไทยโดยมองซิเออร์ เดอลา มอตต์ ลังแบรต์ สังฑราชแห่งเบริทในคณะสอนศาสนาโรมันคาธอลิกของฝรั่งเศส และมีนักสอนศาสนาเข้ามาเรื่อยๆ ต่อมาได้มีการตั้งโรงเรียนและสร้างโรงสวดขึ้น บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสได้ส่งเรือเข้ามาทำการค้าขายกับประเทศไทย ไทยส่งราชทูตคณะที่ 2 ออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และฝรั่งเศสได้ส่งเชอวาลิเอร์เดอโชมองต์เป็นราชทูตมาเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระนารายณ์เปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาคริสต์ แต่ก็ไร้ผล อย่างไรก็ตามพระองค์ก็มิทรงได้ขัดขวาง ถ้าหากประชาชนชาวไทยจะหันไปเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ การที่ชาวไทยได้มีความสัมพันธ์กับชาวฝรั่งเศสตั้งแต่ครั้งนั้นจนกระทั่งสมัยปัจจุบัน ทำให้มีคำยืมที่มาจากภาษาฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งที่เข้ามาใช้แพร่หลายอยู่ในภาษาไทย     คำที่มาจากภาษาฝรั่งเศส เช่น  ครัวซองท์ ปาร์เกต์     เปตอง

ภาษาโปรตุเกส-สเปน

อิทธิพลของภาษาโปรตุเกส    ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษากลุ่มโรแมนติกและมีประเทศไม่น้อยที่ใช้ภาษาโปรตุเกมในการสื่อสาร เช่น แองโกลา  ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรตุเกสซึ่งเป็นประเทศล่าอาณานิคมได้เข้ามาติดต่อกับไทยโดยมีจุดประสงค์คือการเผยแพร่ศาสนาและทำการค้าขาย    คำที่มาจากภาษาโปรตุเกส เช่น  เหรียญของโปรตุเกส อิทธิพลของภาษาสเปน     ภาษาสเปนหรืออีกชื่อคือภาษาคาสตีล เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์และเป็นหนึ่งในภาษา ทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ โดยภาษาสเปนมีต้นกำเนิดมาจากภาษาละติน      ในยุคล่าอาณานิคมนั้นสเปนไม่ได้เข้ามาติดต่อในทางเอเชียมากนักยกเว้นฟิลิปปินส์ คำที่ได้รับมาจากสเปน เช่น พลาซ่าซึ่งแปลว่าลานหรือสนาม      ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาสเปน

ภาษาเปอร์เซีย

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีว่า "พวกแขกเทศ" คือชาวต่างประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหรับ และ เปอร์เซีย ได้เข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว เช่น มีตำแหน่งกรมท่าฝ่ายขวา ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทางทิศตะวันตกของไทย เรียกว่า "จุฬาราชมนตรี" และมีแขกเทศเป็นข้าราชการไทยอยู่หลายตำแหน่ง คือ "หลวงศรียศ" "หลวงศรีวรข่าน" และ "ราชบังลัน" เป็นต้น และปราฏว่าพวกนับถือศาสนาอิสลามก็มีที่กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ในบรรดาแขกเทศทั้งหลาย พวกเปอร์เซียและอาหรับเป็นพวกที่มีอิทธิพลที่สุด เพราะมีทั้งพ่อค้าและข้าราชการด้วยเหตุนี้คำเปอร์เซียและคำอาหรับจึงปนอยู่ในภาษาไทยจำนวนหนึ่ง ตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา แต่ส่วนมากผ่านมาทางมลายูก่อน           ภาษาเปอร์เซียก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่คนไทยหยิบยืมเอามาใช้แสดงถึงความสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่มีมายาวนาน จนทำให้คำเปอร์เซียปรากฏอยู่ในภาษาไทยด้วย ภาษาเปอร์เซีย เป็นภาษาที่ใช้กันในประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอ

ภาษาอังกฤษ

ภา ษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน มีการใช้วิภัตติปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาอังกฤษได้รับความนิยม ในการ ใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศ หลายประเทศ ยอมรับภาษาอังกฤษเ ป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งในด้านการพูดและการเขียนสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบัน คนไทยศึกษาความรู้และวิทยาการต่าง ๆ จากตำราภาษาอังกฤษ และสนใจเรียนรู้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น คำยืมจากภาษาอังกฤษจึง ถูกนำมา เข้ามา ใช้ ในภาษาไทยมากขึ้น ในหลายวงการ เช่น การ ศึกษา ธุรกิจ การเมือง การบันเทิง เป็นต้น ทำให้ภาษาไทยมีมากพยางค์ขึ้น มีคำควบกล้ำที่นอกเหนือจากแบบของภาษาไทย มีตัวสะกดเพิ่มขึ้น รวมถึงไปการสะกดไม่ตรงมาตรา อีกทั้งยังมีคำศัพท์ที่หลากหลายสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส           การนำคำภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ในภาษาไทยแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้           1. การทับศัพท์ คือ การสร้างคำเลียนแบบเสียงจากภาษาอังกฤษโดยตรง โดยถอดคำมาแล้วเลื

ภาษาญี่ปุ่น

อิทธิพลของภาษาญี่ปุ่นที่มีต่อภาษาไทย           คำยืมภาษาญี่ปุ่นส่วนมากจะนำมาใช้เรียกอาหาร กีฬา หรือเครื่องแต่งกาย ซึ่งคำที่ยืมมาจะออกเสียงต่างจากต้นฉบับเล็กน้อยเพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียง โดยญี่ปุ่นเริ่มติดต่อกับไทยอย่างเป็นทางการในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ โชกุนอิเอยาสุได้มีสาสน์มาถวายสมเด็จพระเอกาทศรถพร้อมด้วยดาบญีปุ่น 10 เล่ม และเกราะ 3 สำรับ ญี่ปุ่นทูลขอปืนใหญ่กับไม้หอมของทางอยุธยาเป็นการแลกเปลี่ยน หลังจากนั้นไม่นานทางญี่ปุ่นก็ประกาศให้สำเภาไทยไปทำการค้าขายยังประเทศญี่ปุ่นได้โดยเสรี ญี่ปุ่นกกับไทยมีความสัมพันธ์กันมาโดยลำดับ จนกระทั่งถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ามายึดครองประเทศไทยอยู่ระยะหนึ่ง หลังจากมหาสงครามเป็นต้นมาไทยก็มีการติดต่อทางการค้ากับประเทศญี่ปุ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ จากการสัมพันธ์มาเป็นเวลานานนี้เองเป็นเหตุให้ภาษาญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งเข้ามามีที่ใช้อยู่ในภาษาไทย ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาญี่ปุ่น

ภาษาจีน

อิทธิพลของภาษาจีนที่มีต่อภาษาไทย ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมาช้านาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ภาษาจีนจึงเข้ามาสู่ไทยโดยทางเชื้อชาติ นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้มีคำภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยจนแทบแยกกันไม่ออก การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น เราได้มาจากภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน เพราะระบบการเขียนภาษาจีนต่างกับภาษาไทยมาก ภาษาจีนเขียนอักษรแทนคำเป็นตัว ๆ ไม่มีการประสมสระ พยัญชนะ คำภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย นำมาเป็นคำเรียกชื่อ เครื่องใช้แบบจีน ยาสมุนไพร สัตว์ อาหาร เครื่องแต่งกาย ธุรกิจการค้า มหรสพ และอื่น ๆ ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดด มีเสียงวรรณยุกต์ เมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย (พี่ชาย) ซ้อ (พี่สะใภ้) เจ๊ (พี่สาว) นอกจากนี้การสะกดคำภาษ

ภาษาเขมร

การใช้คำภาษาเขมรในภาษาไทย            ความเป็นมาของภาษาเขมร และเหตุที่ภาษาเขมรเข้ามาปะปนในภาษาไทย ภาษาเขมร จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย เช่น การไม่มีวรรณยุกต์เป็นต้น การเป็นประเทศเพื่อนบ้านทำให้ภาษาเขมรเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการอพยพของชาวมอญและชาวจามเข้ามาในประเทศไทย ปัจจุบันภาษาเขมรอยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยผ่านทางวรรณคดีและคำราชาศัพท์เป็นส่วนมาก สำหรับการนำคำภาษาเขมรมาใช้ในชีวิตประจำวันมีทั้งการยืมมาใช้โดยตรงและยืมคำที่แผลงแล้วมาใช้            หลักการสังเกตคำภาษาเขมร

ภาษาบาลี-สันสกฤต

การใช้คำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย           ความเป็นมาของภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาบาลี มีที่มามาจาก ภาษามาคธี หรือ ภาษามคธ อันเป็นภาษาที่ใช้ในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้นสมัยพุทธกาล คำว่า ปาลี มีความหมายว่า ‘ ภาษาที่คงไว้ซึ่งพุทธวจนะ ’ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่บันทึกไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ดั้งเดิมถูกบันทึกไว้ด้วยภาษาบาลี ต่อมาพุทธศาสนาถูกเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ประเทศเหล่านั้นได้ทำการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของประเทศตนเอง แต่ประเทศเช่น ลังกา ไทย ลาว และเขมร ยังคงรักษาพระไตรปิฎกไว้ให้เป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต เดิมทีเป็นภาษาของวรรณะพราหมณ์ มีวิวัฒนาการมาจากคัมภีร์พระเวท แต่ก่อนถูกเรียกว่า ภาษาพระเวท เป็นภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี มีรูปคำสละสลวย ไพเราะ นิยมใช้เป็นคำราชาศัพท์ ภาษาในวรรณคดี ชื่อบุคคล และสถานที่ โดย คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตมักมีหลายพยางค์ มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา และนิยมตัวการันต์ 2.         เหตุที่คำภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามาปะปนในภาษาไทย พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยทรงมีพระปณิธานแรงกล้าที่จะทะนุบำรุงพุทธศาสนา และมีการยกให้พุทธศาสนาเป็นศาสนา

อะไรคืออิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย

การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย ทำให้ภาษาไทยมีคำใช้มากขึ้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีความเปิดกว้าง เรียบง่าย และยืดหยุ่น สามารถนำคำภาษาอื่นมาใช้ได้โดยไม่ต้องมาคิดสร้างคำใหม่ โดยการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ เกิดจากการติดต่อระหว่างประเทศ ทั้งทางการทูต การค้า และการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ รวมทั้งการ ...

ภาษาต่างประเทศมีอิทธิพลต่อพัฒนาการภาษาไทยอย่างไร

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยมีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกันและการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่าง ๆ มา ...

ภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอะไร

ภาษาบาลีและสันสกฤตมีอิทธิพลต่อภาษาไทยมานานนับพันปีแล้ว ปรากฏการณ์ที่ ทั้งสองภาษานี้ มีอิทธิพลต่อภาษาไทยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสัมผัสภาษา หลักฐานหนึ่งที่ แสดงว่ามีการสัมผัสภาษาระหว่างภาษาไทยกับภาษาบาลีและสันสกฤตคือ การยืมคํา คํายืม ในภาษาไทยกว่าครึ่งหนึ่งเป็นคําที่ยืมมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต คํายืมเหล่านี้ส่งผลต่อ การ ...

ภาษาใดมีอิทธิพลต่อภาษาไทยมากที่สุด

ในบรรดาภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทย มากที่สุด คือ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต คายืมในภาษาไทยที่ ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นค าที่มีใช้ในชีวิตประจ าวันเป็น จ านวนมากทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาบาลีเข้ามาทาง ศาสนาพุทธ ส่วนภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์และ วรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita