การจัดการโลจิสติกส์มีการประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีใดบ้าง

การจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) คือ การจัดการในการขนส่งสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีการวางแผน ควบคุม จัดเก็บข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวของเพื่อให้ไปถึงยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบโลจิสติกส์นี้ช่วยให้การบริหารงานด้านธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย

กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์

          กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย การบริหารจัดการการผลิต การตลาดและการบริการลูกค้า การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ การจัดการสินค้าคงคลังและการกระจายสินค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

การเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์

          ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์ คือความต้องการของมนุษย์และการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์ต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น

ความรู้การยศาสตร์ : ออกแบบกระบวนการทำงาน และเครื่องใช้สำนักงานที่เหมาะสมกับสรีระของแรงงาน เพื่อทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการหาความคุ้มค่าและจุดคุ้มทุน : ของการสั่งซื้อวัตถุดิบการควบคุมปริมาณวัตถุดิบที่เก็บไว้ไม่ให้มีอยู่มากหรือน้อยจนเกินไป

ความรู้เกษตรศาสตร์ เรื่องการเลือกวัตถุดิบและแหล่งผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ

ความรู้วิศวกรรมศาสตร์ เรื่องกระบวนการผลิต : นำมาใช้ในการดูแลรักษาและควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตสินค้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการบริหารจัดการ : วางแผนการขนส่งสินค้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ความรู้สังคมศาสตร์และจิตวิทยา เรื่องความต้องการของแต่ละวัยแต่ละสังคม : เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตภาวะทางการเงินรสนิยมเพื่อที่จะผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

ผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์

ด้านเศรษฐกิจ
ด้านบวก : เริ่มรายได้ให้กับประชาชนเนื่องจากสามารถขายสินค้า และขนส่งสินค้าในพื้นที่ห่างไกลได้ สามารถลดต้นทุนในการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขนส่ง การวางแผนจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มูลค่าความเสียหายของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผลิตและการขนส่งมีจำนวนลดลง

ด้านลบ : มีการสื่อสารติดต่อในหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ต้องใช้งบประมาณลงทุนจำนวนมากในการวางโครงสร้างพื้นฐาน

ด้านสังคม
ด้านบวก : ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าได้สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี เพราะมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน

ด้านลบ : ลดการใช้แรงงานในการผลิตและการขนส่งทำให้เกิดการว่างงาน มีการประสานงานในหลายหน่วยงานซึ่งหลายครั้งก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านบวก : เกิดของเสียจากกระบวนการน้อย

ด้านลบ : มีความต้องการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น

อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี), พิมพ์ครั้งที่ 1, สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ปีที่พิมพ์ 2563

prosoftgps, “Logistics Management เพื่อประโยชน์สูงสุดของการขนส่ง”, //www.prosoftgps.com/Article/Detail/70852 สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

SURIYA ANJUMOHAN, “Global Logistics Industry: Grappling with Supply Shocks Across Markets Amid COVID-19”, //ww2.frost.com/frost-perspectives/global-logistics-industry-grappling-with-supply-shocks-across-markets-amid-covid-19/ สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

  • หน้าแรก

  • ข่าวสารความรู้

  • การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์

                


        เทคโนโลยีมีความหมายตามที่ระบุไว้ในสารานุกรมคือ แนวคิดกว้างๆในการนําความรู้และเครื่องทุ่นแรงมาประยุกตใช้เพื่ออํานวยประโยชน์ในการควบคุมหรือปรับสภาพให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยมนุษย์ได้มีการนําเทคโนโลยีมาใช้จะเริ่มจากการแปลงทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติไปเป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายในการอํานวยความสะดวกโดยช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในทางด้านโลจิสติกส์เทคโนโลยีก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากจนถือว่าเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดตัวหนึ่งในการแข่งขัน

        เนื่องมาจากความพร้อมของพล้งการประมวลต้นทุนต่ำได้ก่อให้เกิดการพัฒนาการสำคํยในศาสตร์ของการจัดการโลจิสติกส์ ความสามารถในการจัดการข้อมูลประมาณมหาศาลอย่างรวดเร็วและแม่นยำในช่วง 35 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจเกือบจะเรียกได้ว่าทั้งหมด เทคโนโลยีเหล่านี้ ถูกเรียกซ้ำไปว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง ความสามารถในการส่งข้อมูลร้หว่างคู่ค้าในโซ่อุปทานผ่านทางระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอีเล็คทรอนิคส์ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ ในบริษัทต่างๆ ความสามารถที่ทำให้ฝูงชนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เป็นสิ่งทีจุดประกายกระแสการซื้อสินค้าจากบ้านสำนักงาน และยังไม่รวมถึงการใช้อีเมล์เป็นหนทางในการสื่อสารกับเพื่อนและเพื่อนร่วมธุรกิจทั่วโลก

         ระบบสารสนเทศระบบสื่อสารร่วมกับฮารด์แวร์ที่เกี่ยวข้อง ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการโซ่อุปทานจะช่วยในหลายบทบาทด้วยกัน อาจจะช่วยเหลือกระบวนการตัดสินใจ ช่วยปฏิบัติการติดตามควบคุมจัดเก็บและประมาลผลข้อมูล และช่วยเหลือในการสื่อสารระหว่างบุคคล บริษัท และ เครื่องจักร

บทบาทของเทคโนโลยีในโซ่อุปทานและโลจิสติกส์

การดําเนินงานในโซ่อุปทานสามารถที่จะแบ่งเป็น 3  กระบวนการสําคัญอันได้แก่
1.กระบวนการจัดซื้อวัสดุ (Sourcing)
2.กระบวนการผลิตสินค้า (Make)
3.กระบวนการจัดส่งสินค้า (Deliver) 
   โดยในแต่ละกระบวนการนี้มีการดําเนินงานย่อยได้แก่
       (1) การตัดสินใจ (Decision)
       (2) การส่งต่อข้อมูล(Data and Information) 
       (3) การขนถ่ายและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (Material Handling and Storage)  เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในทุกกระบวนการย่อยนี้ (การตัดสินใจ,  การส่งต่อข้อมูล,  การเคลื่อนย้ายวัสดุ) เริ่มตั้งแต่ในการเคลื่อนย้ายวัสดุเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการนี้ได้แก่เทคโนโลยีที่หมายถึงอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุนอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องมือทื่ใช้ในการติดตามและบ่งบอกสถานะของวัสดุไปจนถึงผลิตภัณฑ์สําเร็จ ในกระบวนการต่อมาคือกระบวนการส่งต่อข้อมูลต่างๆ เทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการนี้คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและเชื่อมโยงส่วนต่างๆขององค์กรโดยการใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วย ซึ่งถูกเรียกโดยรวมว่าTransactional information technology อันได้แก่ ระบบ ERP, EDI, XML และสุดท้ายคือเทคโนโลยีที่ใช้ช่วยประกอบการตัดสินใจเพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและสําเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้แก่ระบบAPS (Analytical Planning and Scheduling)

    การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุและผลิตภัณฑ์

ประเภทของอุปกรณ์จัดเก็บและขนถ่ายที่มีใช้สําหรับสินค้าที่อยู่บนแพลเล็ต
       1 การเคลื่อนย้ายแพลเล็ต
       2 ระบบจัดเก็บและหยิบเลือกอัตโนมัติ
       3 เทคโนโลยีในการบ่งบอกและติดตามสินค้า
          -  บาร์โค้ด
          -  RFID
          -  GPS

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการไหลของข้อมูลสารสนเทศมีด้วยกัน 4 ระบบดังนี้
        1. ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอีเลคโทรนิคส์ (EDI)
        2. ระบบสารสนเทศทั่วทั้งองค์กร (ERP)
        3. ระบบจุดขายทางอีเล็คทรอนิคส์ (EPOS)
        4. ระบบการค้าทางอีเล็คทรอนิคส์ (E-Commerce)

 การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกิจกรรมการตัดสินใจและวางแผนเชิงโลจิสติกส์

ระบบจัดการโซ่อุปทานโดยทั่วไปแล้วจะเป็นเครื่องมือสนับสนุนและวางแผนปฏิบัติการระบบเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทวางแผนและจัดการปฏิบัติการลอจิสติ์กสผ่านทางการใช้ชุดซอฟท์แวร์ที่บูรณาการอยู่ทั่วทั้งระบบ ซึ่งช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ในทางโลจิสติกส์เทคโนโลยีก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากจนถือว่าเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดตัวหนึ่งในการแข่งขัน โดยแบ่งตามกระบวนการได้ 6 ระบบดังนี้
        1. ระบบการวางแผนและการจัดตารางอย่างก้าวหน้า (APS)
        2. ระบบการวางยุทธศาสตร์เครือข่ายโซ่อุปทาน
        3. ระบบการจัดการคลังสินค้า
        4. ระบบพยากรณ์และจัดการคลังสินค้า
        5. ระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต
        6. ระบบการวางแผนการขนส่งและการกระจายสินค้า

ที่มา : โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน SMEs Projects

//logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=494:2009-07-12-16-22-10&catid=43:technologies&Itemid=91

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita