แฮดลีย์เซลล์มีการหมุนเวียนอย่างไร การหมุนเวียนของอากาศ มีอะไรบ้าง แบบจำลองการหมุนเวียนของอากาศแบบทั่วไปแบ่งออกเป็นกี่เซลล์ Hadley Cell เกี่ยวข้องกับข้อใด ข้อจํากัดของแบบจําลองการหมุนเวียนอากาศแบบเซลล์เดียว ได้แก่ จากแบบจำลองการหมุนเวียนของอากาศแบบเซลล์เดียว อากาศร้อนจะลอยขึ้นที่บริเวณใด แบบจำลองการหมุนเวียนของอากาศแบบเซลล์เดียว อากาศเคลื่อนที่ระหว่างละติจูดใด การหมุนเวียนอากาศแบบโพลาร์เซลล์ การหมุนเวียนอากาศแบบเฟอร์เรลเซลล์ การหมุนเวียนอากาศแถบขั้วโลก การหมุนเวียนอากาศแถบละติจูดกลาง จากแบบจำลองการหมุนเวียนของอากาศแบบทั่วไป กระแสลมจะพัดเข้าสู่ละติจูดใด

แบบจำลองการหมุนเวียนของอากาศแบบเซลล์เดียว

การหมุนเวียนทั่วไปของบรรยากาศปรากฏการณ์ของบรรยากาศเช่น ลมฝน ณ ที่ใดที่หนึ่งนั้นเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียน ส่วนใหญ่ (large scale general circulation) ของบรรยากาศ ทฤษฎีของการหมุนเวียนส่วนใหญ่ของบรรยากาศยังเป็นเรื่องยุ่งยากที่สุดเรื่องหนึ่งในวิชาอุตุนิยมวิทยา ในการพยายาม อธิบายทฤษฎีของการหมุนเวียนส่วนใหญ่นี้ เราจำต้องกล่าวถึงปัจจัยสำคัญบางอย่าง ซึ่ง มีอิทธิพลต่อเรื่องนี้


แสดงการหมุนเวียนส่วนใหญ่ โดยสังเขปของบรรยากาศในกรณีที่โลกหมุน


อิทธิพลของความร้อน

เราทราบแล้วว่า บริเวณโซนร้อนหรือบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรจะได้รับความร้อน มากกว่าบริเวณขั้วโลก อุณหภูมิทั่วไปตามบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรหรือบริเวณโซนร้อน จึงสูงกว่าอุณหภูมิตามบริเวณโซนอุ่นและขั้วโลก สมมติว่า ถ้าโลกของเราไม่มีการหมุนรอบตัวเอง อากาศในโซนร้อนก็จะลอยตัวขึ้นไปยังระดับสูงและเคลื่อนตัวไปยังขั้วโลกทั้งสอง ซึ่งมีอุณหภูมิเย็นกว่า อากาศเย็นตามผิวพื้น ณ บริเวณขั้วโลกก็จะเคลื่อนตัวมาแทนที่อากาศ ร้อน ณ บริเวณโซนร้อน

อิทธิพลของการหมุนรอบตัวเองของโลก

เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองจากตะวันตกไปยังตะวันออก ทำให้ลมพัดเฉจากแนวเดิมไปทางตะวันออกในซีกโลกเหนือ และเฉจากแนวเดิมไปทางตะวันตกในซีกโลกใต้ ดังนั้น ลมจากทางศูนย์สูตรไปทางขั้วโลกจึงเป็นลมที่พัดมาจากทิศตะวันตก ในขณะที่ลมจากทางขั้วโลกไปทางศูนย์สูตรเป็นลมที่พัดมาจากทิศตะวันออก และเนื่องจากมีการเสียความร้อน เมื่ออากาศเคลื่อนที่จากทางศูนย์สูตรไปทางขั้วโลก การหมุนเวียนของอากาศ จึงแตกออกเป็นส่วนๆ (cells) และค่อนข้างจะยุ่งยาก แต่เราพอจะแสดงรูปของการหมุนเวียนส่วนใหญ่แบบง่ายๆ (simplified general circulation) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ที่บริเวณใกล้ขั้วโลกทั้งสอง และที่บริเวณศูนย์สูตร ลมพัดมาจากทิศตะวันออก ส่วนบริเวณโซนอุ่น หรือละติจูดกลาง ลมส่วนมากพัดมาจากทิศตะวันตก ลมตะวันออกจากขั้วโลกกับลม ตะวันตกจากโซนอุ่นจะไปปะทะกันที่ราวๆ ละติจูด ๖๐° ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ (low pressure) เกิดเป็นแนวปะทะขึ้น อากาศในบริเวณนี้จึงปรวนแปรที่สุด และมีน้ำฟ้า (precipitation) เกิดมากส่วนที่ราวๆ ละติจูด ๓๐° เป็นบริเวณติดต่อระหว่างลมตะวันตก จากโซนอุ่น กับลมตะวันออกจากทางศูนย์สูตร จะมีความกดอากาศสูง (high pressure) มีลมพัดเบา และท้องฟ้าแจ่มใส การเดินเรือสมัยโบราณได้รับความลำบาก เพราะขาดกระแสลมหรือมีลมอ่อนมากในบริเวณนี้ จึงทำให้ม้าที่บรรทุกไปในเรือ ต้องเสียชีวิตไปมาก ฉะนั้น บริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า "ละติจูดม้า" (horse latitude) และเนื่องจาก ลมตะวันออกเฉียงเหนือในซีกโลกเหนือ และลมตะวันออกเฉียงใต้ในซีกโลกใต้ เป็นลมที่ใช้ในการเดินเรือสินค้าในสมัยโบราณ พวกกัปตันเรือจึงเรียกลมนี้ว่า "ลมสินค้า" (trade winds)

ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร กระแสลมมีกำลังอ่อน แต่ลักษณะอากาศในบริเวณนี้แตกต่างกับอากาศในบริเวณละติจูดม้า คือ ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร อากาศมักจะพัดสอบเข้าหากันตามแนวนอน ซึ่งเรียกว่า "แนวปะทะแห่งโซนร้อน หรือแนวรวมแห่ง โซนร้อน" (intertropical convergence zone) บริเวณนี้มีอุณหภูมิสูง มีความชื้นมาก มีฝน และพายุฟ้าคะนองมาก

อิทธิพลของทวีปและมหาสมุทร (หรือของแผ่นดินและน้ำ)โดยที่พื้นโลกมีเนื้อที่ที่เป็นน้ำและแผ่นดินไม่เท่ากัน การหมุนเวียนของบรรยากาศ ส่วนใหญ่จึงมีลักษณะยุ่งยากขึ้นอีก ในฤดูหนาว บริเวณผืนแผ่นดินจะมีความเย็นมากกว่า บริเวณพื้นน้ำ ส่วนในฤดูร้อนนั้น บริเวณผืนแผ่นดินจะมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณพื้นน้ำ ตาม ธรรมดาฤดูหนาวของซีกโลกเหนือมีความหนาวรุนแรงกว่าฤดูหนาวของซีกโลกใต้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ในซีกโลกเหนือ มีเนื้อที่ของผืนแผ่นดินมากกว่าบริเวณซีกโลกใต้

ความแตกต่างของอุณหภูมินี้ ทำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศขึ้น ในฤดู หนาวอากาศเย็นซึ่งมีความแน่นมากกว่า จะทำให้เกิดความกดอากาศสูง ณ บริเวณผืนแผ่น ดินของทวีป ในฤดูร้อนความกดอากาศสูง จะเกิดขึ้นแถวมหาสมุทรซึ่งเย็นกว่า

ผลการเรียนรู้

    1. อธิบายผลของแรงเนื่องจากความแตกต่างของความกดอากาศ แรงคอริออลิส แรงสู่ศูนย์กลาง และแรงเสียดทานที่มีต่อการหมุนเวียนของอากาศ

    2. อธิบายการหมุนเวียนของอากาศตามเขตละติจูด และผลที่มีต่อภูมิอากาศ

จุดประสงค์การเรียนรู้

    1. อธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศที่เป็นผลมาจากแรงที่เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศ

    2. อธิบายผลของแรงที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลกกับการเคลื่อนที่ของอากาศ

    3. อธิบายผลของแรงสู่ศูนย์กลางกับการเคลื่อนที่ของอากาศ

    4. อธิบายผลของแรงเสียดทานกับการเคลื่อนที่ของอากาศ

    5. วิเคราะห์ และอธิบายการหมุนเวียนอากาศตามแบบจeลองการหมุนเวียนอากาศแบบทั่วไป

    6. อธิบายความสัมพันธ์ของการหมุนเวียนอากาศกับลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

สาระสำคัญ

    การหมุนเวียนของอากาศเกิดขึ้นจากความกดอากาศที่แตกต่างกันระหว่างสองบริเวณ โดยอากาศเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในการเคลื่อนที่ของอากาศในแนวราบ และเมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่ของอากาศในแนวดิ่งจะพบว่าอากาศเหนือบริเวณความกดอากาศต่ำจะมีการยกตัวขึ้น ขณะที่อากาศเหนือบริเวณความกดอากาศสูงจะจมตัวลงโดยการเคลื่อนที่ของอากาศทั้งในแนวราบและแนวดิ่งนี้ทำให้เกิดเป็นการหมุนเวียนของอากาศ

    การหมุนรอบตัวเองของโลกจะทำให้เกิดแรงคอริออลิสซึ่งมีผลให้ทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศเบนไป โดยอากาศที่เคลื่อนที่ในบริเวณซีกโลกเหนือจะเบนไปทางขวาจากทิศทางเดิม ส่วนบริเวณซีกโลกใต้จะเบนไปทางซ้ายจากทิศทางเดิม เช่น ลมค้า มรสุม แต่ละบริเวณของโลกมีความกดอากาศแตกต่างกันประกอบกับอิทธิพลจากการหมุนรอบตัวเองของโลกทำ ให้อากาศในแต่ละซีกโลกเกิดการหมุนเวียนของอากาศตามเขตละติจูด แบ่งออกเป็น 3 แถบ โดยแต่ละแถบมีภูมิอากาศแตกต่างกัน ได้แก่ การหมุนเวียนแถบขั้วโลกมีภูมิอากาศแบบหนาวเย็น การหมุนเวียนแถบละติจูดกลางมีภูมิอากาศแบบอบอุ่น และการหมุนเวียนแถบเขตร้อนมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น

    บริเวณรอยต่อของการหมุนเวียนอากาศแต่ละแถบละติจูดจะมีลักษณะลมฟ้าอากาศที่แตกต่างกันเช่น บริเวณใกล้ศูนย์สูตรมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยสูงกว่าบริเวณอื่น บริเวณละติจูด 30 องศา มีอากาศแห้งแล้ง ส่วนบริเวณละติจูด ๖๐ องศา อากาศมีความแปรปรวน

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 14 ชั่วโมง

    1 การเคลื่อนที่และการหมุนเวียนของอากาศ                       6    ชั่วโมง

    2 การหมุนเวียนของอากาศบนโลก                                     4     ชั่วโมง

    3 ความสัมพันธ์ของการหมุนเวียนอากาศกับภูมิอากาศ      4     ชั่วโมง

แฮดลีย์เซลล์มีการหมุนเวียนอย่างไร

ส่วนบริเวณขั้วโลกทั้งสองจะเป็นแถบความกดอากาศสูง (อุณหภูมิต่ำ) เนื่องจากแสงอาทิตย์ตกกระทบเป็นมุมลาด อากาศร้อนบริเวณศูนย์สูตรยกตัวขึ้น ทำให้อากาศเย็นบริเวณขั้วโลกเคลื่อนตัวเข้าแทนที่ เราเรียกการหมุนเวียนของอากาศทั้งสองซีกโลกว่า “แฮดเลย์เซลล์” (Hadley cell),(แฮดลีย์) หรือแบบการหมุนวนแบบเซลล์เดียว

การหมุนเวียนของอากาศ มีอะไรบ้าง

โลกมีความกดอากาศแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ รวมทั้งอิทธิพลจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้อากาศในแต่ละซีกโลกเกิดการหมุนเวียนของอากาศตามเขตละติจูด แบ่งออกเป็น 3 แถบ โดยแต่ละแถบมีภูมิอากาศแตกต่างกัน ได้แก่ การหมุนเวียนแถบขั้วโลกมีภูมิอากาศแบบหนาวเย็น การหมุนเวียนแถบละติจูดกลางมีภูมิอากาศแบบอบอุ่น และการหมุนเวียนแถบเขตร้อนมี ...

แบบจำลองการหมุนเวียนของอากาศแบบทั่วไปแบ่งออกเป็นกี่เซลล์

ในความเป็นจริง โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง เซลล์การหมุนเวียนของบรรยากาศจึงแบ่งออกเป็น 3 เซลล์ ได้แก่ แฮดเลย์เซลล์ (Hadley cell), เฟอร์เรลเซลล์ (Ferrel cell) และ โพลาร์เซลล์ (Polar cell) ในแต่ละซีกโลก ดังภาพที่ 4.

Hadley Cell เกี่ยวข้องกับข้อใด

แผนที่แสดงการไหลของกระแสอากาศ “Hadley cell” คือกระแสอากาศในพื้นที่ตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรไปจนถึงละติจูดที่ 30 องศาเหนือและใต้ “Mid-latitude cell” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “Ferrel Cell” กระแสอากาศในพื้นที่ตั้งแต่ละติจูดที่ 30 องศาเหนือและใต้ ถึงละติจูดที่ 60 องศาเหนือและใต้ และสุดท้ายคือ “Polar Cell” ที่เกิดขึ้นบริเวณขั้วโลก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita