ข้อใดคือความหมายของเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ





เรื่อง : อชิระ ประดับกุล
        
                
    โดยปกติทั่วไปงบการเงินที่แสดงถึงฐานะการเงินของกิจการที่เรียกกันว่า ‘งบดุล’ (ปัจจุบันเรียกว่า งบแสดงฐานะการเงิน) จะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 

    1.สินทรัพย์ เช่น เงินสด, เงินฝากธนาคาร, ลูกหนี้การค้า, สินค้าคงเหลือและที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เป็นต้น

    2.หนี้สิน ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า รายจ่ายค้างจ่ายและเงินกู้ระยะยาว

    3.ส่วนของเจ้าของหรือส่วนของผู้ถือหุ้น เช่น ทุน, หุ้นทุน กำไรสะสม ต่างๆ

    แต่ ‘สินทรัพย์สุทธิ’ ที่ว่าไว้ในที่นี่นั่นหมายถึง ผลแตกต่างระหว่าง สินทรัพย์กับหนี้สิน หรือ สินทรัพย์สุทธิ = สินทรัพย์ – หนี้สิน

    เพราะบางคนอาจเข้าใจไปว่าการที่ตนมีสินทรัพย์มาก หมายถึงกิจการมีฐานะทางการเงินที่ดี แต่ลืมนึกไปว่าขณะเดียวกันนั้นเองก็มีหนี้สินอยู่มิใช่น้อยที่แบกรับภาระอยู่  ทำให้สินทรัพย์ที่ตนมีอยู่จริงและเป็นเจ้าเข้าเจ้าของจริงๆ แบบปลอดภาระ มีน้อยกว่าตัวเลขที่เห็นในงบแสดงฐานะการเงินที่แสดงอยู่ เช่น



  


    จากตัวอย่างที่ 1  ดูเหมือนกับว่า กิจการแห่งนี้มีสินทรัพย์อยู่ไม่น้อยทีเดียวเชียวละครับ ตั้ง 900,000 บาท แต่เมื่อพิจารณาดูอีกฝั่งก็พบว่า กิจการก็มีหนี้สินอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ทั้งหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียนที่รวมกันแล้วมีมากถึง 300,000 บาท  หรือเมื่อเทียบกับสินทรัพย์แล้ว คือ มีมากถึง 33 เปอร์เซ็นต์ หรือก็คือ มีสินทรัพย์สุทธิ เพียง 600,000 บาท เท่านั้น  สรุปแล้วงานนี้สินทรัพย์ของกิจการจริงๆ ก็มีไม่มากอย่างที่ตาเห็น   หรือพิจารณาอีกทอดหนึ่งได้ว่า กิจการมีสินทรัพย์สุทธิเท่ากับส่วนของผู้ถือหุ้นที่ได้ลงทุนไป 

    ในทางธุรกิจนั้น มักจะพิจารณาละเอียดไปถึงขั้นที่ว่าพิจารณากันที่ ‘เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ’ เพราะเป็นรายการที่ใช้ระยะเวลาหมุนเวียนในทางธุรกิจไม่เกิน 1 ปี โดยดูเฉพาะรายการสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนเท่านั้น เนื่องด้วยเพราะว่า เป็นการพิจารณาเงินทุนหมุนเวียน ที่ใช้ในการดำเนินของกิจการว่าได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เช่น




 

จากตัวอย่างที่ 2 จะเห็นได้ว่ากิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ เป็นบวกเท่ากับ 50,000 บาท นั่นคือ

              

เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ  = สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินหมุนเวียน
= 150,000 – 100,000
=   50,000 บาท


    หากพิจารณาจากตัวอย่างข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า กิจการดังกล่าวมีการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน 150,000 บาท ในขณะที่มีการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนหรือหนี้สินหมุนเวียนจำนวน 100,000 บาท โดยลักษณะดังกล่าวทำให้เห็นว่ากิจการมีสภาพคล่องในการดำเนินค่อนข้างดี (มีสินทรัพย์หมุนเวียนที่พร้อมจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้มากกว่าหนี้สินหมุนเวียน) หรืออีกนัยหนึ่ง คือมีการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาว (หนี้สินไม่หมุนเวียน) มาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางส่วนด้วย

     ส่วนกรณีที่เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ มีค่าเป็น ‘ลบ’ นั้น แสดงว่ากิจการมีรายการสินทรัยพ์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน คือมีการจัดหาเงินทุนระยะสั้น เพื่อนำมาลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนบางส่วนด้วยเช่นกัน

    และหากกรณีที่ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ มีค่าเป็น ‘ศูนย์’ แสดงว่า กิจการมีการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนเท่ากับหนี้สินหมุนเวียน หรือบริหารจัดการอย่างลงตัวพอดิบพอดีทั้งสองรายการ ทำให้ไม่เกิดภาวะความเสี่ยงใดๆ จากการจัดหาเงินทุน

    แต่ไม่ว่าจะเป็น สินทรัพย์สุทธิ หรือ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ ก็ตาม ค่าของผลลัพธ์ที่ได้นั้น อาจขึ้นอยู่กับความแตกต่างของธุรกิจ และนโยบายในการจัดหาเงินทุนและจัดการตามแนวทางการดำเนินของบริษัท โดยอย่างน้อยไม่ควรให้ค่าดังกล่าวมีค่า ‘ติดลบ’ น่าจะเป็นนโยบายที่ควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง เพราะนั่นอาจหมายถึงการมีหนี้สิน/หนี้สินหมุนเวียน มากกว่า สินทรัพย์/สินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งไม่ถือเป็นผลดีต่อกิจการเอาเสียเลย

SME Thailand เพื่อนคู่คิด ธุรกิจเอสเอ็มอี
ติดตามข้อมูลดีๆ สำหรับ SMEs ได้ที่ www.smethailandclub.com
 
 
                


Tags: SME SMEs Money เอสเอ็มอี

การบริหารกิจการให้สำเร็จนั้น ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความสมดุลของเงินทุนหมุนเวียนในอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม โดยสามารถดูหรือคาดคะเนได้จาก การพยากรณ์การตลาด การจัดทำงบการเงินโดยคาดคะเนและการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสม

การบริหารเงินทุนหมุนเวียน การตัดสินใจทางการเงิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน

2. การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุน

3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการปันผล

แผนกลยุทธ์

การวางแผนกลยุทธ์จะสามารถช่วยให้เราสามารถคาดคะเนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งการวางแผนกลยุทธ์ที่มีความสำคัญในสายตาผู้บริหารมี 4 ประการคือ

1. การวางแผนกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในปัจจุบันที่มีผลต่ออนาคต

2. การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการ

3. การวางแผนกลยุทธ์เป็นปรัชญา

4. การวางแผนกลยุทธ์เป็นโครงสร้างของแผน

เงินทุนหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียน คือ เงินลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนของธุรกิจ

เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ คือ ผลต่างระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. เงินทุนหมุนเวียนถาวร คือ มูลค่าของเงินทุนหมุนเวียนที่ธุรกิจต้องการอย่างต่ำที่สุด เพื่อรักษาไว้ซึ่งการดำเนินงานตามปกติ

2. เงินทุนหมุนเวียนผันแปร คือ มูลค่าของเงินทุนหมุนเวียนที่ธุรกิจต้องรักษาไว้ ซึ่งการดำเนินงานตามฤดูกาลหรือในกรณีพิเศษ

 

การกำหนดนโยบายเงินทุนหมุนเวียน

พิจารณาจากการแลกเปลี่ยนชดเชยระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนซึ่งเกี่ยวข้องกันจาก

1. สัดส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวร

2. สัดส่วนระหว่างหนี้สินหมุนเวียนและเงินทุนระยะยาวใช้ในการลงทุนสินทรัพย์หมุนเวียน

การกำหนดนโยบายแบ่งเป็น 4 แบบ คือ

1. นโยบาย Matching กำหนดให้ธุรกิจจักหาเงินทุนตามอายุของสินทรัพย์ที่ธุรกิจต้องใช้ นโยบายนี้จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเนื่องจากไม่สามารถคาดคะเนการแสเงินสดได้อย่างถูกต้อง

2. นโยบาย Conservative ไม่แบ่งแยกสินทรัพย์หมุนเวียนออกเป็นส่วนและส่วนผันแปร ในนโยบายนี้ฝ่ายบริหารมีนโยบายที่จะจัดหาเงินทุนเพื่อนำมาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ส่วนผันแปรหลังจากหักเจ้าหนี้การค้าและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายด้วยการก่อนหนี้ระยะยาว การจัดหาเงินทุนในลักษณะนี้ ความเสี่ยงในเรื่องการชำระหนี้เงินกู้ระยะยาวนั้นไม่มี ธุรกิจจะมีความคล่องตัวสูง ลีเงินเหลือใช้ในบางเวลา

3. นโยบาย Aggressive ใช้เงินทุนระยะสั้นจัดหาสินทรัพย์ส่วนผันแปรและสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรบางส่วน และใช้เงินทุนระยะยาวจัดหา สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรที่เหลือ และสินทรัพย์ถาวร นโยบายนี้สามารถทำกำไรได้สูงสุด เนื่องจากใช้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น แต่จะมีความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องสูง เกิดจากการที่ธุรกิจต้องจัดหาเงินทุนระยะสั้น ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยไม่แน่นอนอยู่เสมอ หรือเกิดจากความไม่สมดุลของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

4. นโยบาย Balanced ใช้เงินทุนระยะยาวจัดหาสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรตลอดจนสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนผันแปบางส่วน และใช้เงินทุนระยะสั้นจัดหาสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนผันแปรส่วนที่เหลือ นโยบายนี้จะทำให้ธุรกิจมีส่วนสำรองเพื่อความปลอดภัย

 

นโยบายเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ

1. ความสามารถในการคาคะเนจำนวนและระยะเวลาของกระแสเงินสด

2. Cash Vonversion Cycle ธุรกิจจะต้องมีระดับเงินทุนหมุนเวียนสูงเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดสภาพคล่อง

3. ทัศนคติของผู้บริหาร

 

ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นและระยะยาว

ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้น

1. ต้นทุนต่ำกว่า เพราะกิจการจะชำระดอกเบี้ยของทุนเฉพาะช่วงที่นำมาใช้เท่านั้น

2. เกิดความสัมพันธ์กับธนาคารอย่าใกล้ชิด กู้ยืมเฉพาะเวลาที่ต้องการและชำระคืนทันทีเมื่อหมดความต้องการ

 

ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะยาว

1. ลดความเสี่ยง

2. ให้ความมั่นคง

3. เพิ่มสภาพคล่อง

 

การวางแผนและพยากรณ์ทางการเงิน

1. การพยากรณ์โดยใช้แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผ่านมาทั้งหมดของรายการทางการเงินที่ได้ถูกพยากรณ์ขึ้น ขึ้นอยู่กับแนวโน้มในอดีตและ ความถูกต้องตามฤดูกาล

2. การพยากรณ์โดยใช้อัตราส่วน แสดงถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลทางการเงินสองชนิด แสดงในรูปอัตราส่วน ซึ่งการพยากรณ์รายการทางการเงินแต่ละรายการได้สูตร ดังนี้ Financial Variable = Ratio x base Variable

3. การพยากรณ์โดยใช้กราฟและสถิติ เป็นวิธีการที่ให้ผลค่อนข้างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพิจารณาดูความสัมพันธ์ของรายการทางการเงินสองรายการที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อใช้ในการพยากรณ์

 

ปัญหาในการพยากรณ์ทางการเงิน

ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะต้องเกิดขึ้นจริงตามที่ไดพยากรณ์ไว้เสมอไป การพยากรณ์ที่ดีและให้ผลค่อนข้างแน่นอนนั้นขึ้นอยู่กับความคิดเห็นส่วนตัว รวมกับการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นผู้จัดการทางการเงินจะต้องเลือกใช้วิธีพยากรณ์ที่จะให้ผลออกมาสมเหตุสมผลใกล้เคียงกับความจริงได้

 

งบประมาณและแผนทางการเงิน

งบประมาณ คือ แผนการที่คาดไว้ว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงออกมาเป็นตัวเลขงบประมาณ อาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวนชั่วโมงเครื่องจักร

งบประมาณสัมพันธ์กับหน้าที่หลักในการบริหารธุรกิจทั้ง 5 หน้าที่ คือ

1. การวางแผน คือการกำหนดเกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องจัดทำในอนาคตไว้ล่วงหน้า

2. การจัดการองค์การ คือ การระบุให้ชัดว่าหน้าที่ใดเป็นหน้าทีหลัก

3. การมอบอำนาจหน้าที่ คือ การบรรจุพนักงานให้เหมาะสมกับตำแหน่ง

4. การอำนวยการ คือ การอำนวยกรในการปฏิบัติงานหน้าที่ในการจัดการองค์การ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ และการอำนวยการทั้งสามหน้าที่นี้

5. การควบคุม คือ การจัดทำรายงานการปฏิบัติงานขององค์การ

 

ชนิดของงบประมาณ

ชนิดของงบประมาณ แบ่งตามชนิดของการวางแผนได้เป็น 2 ชนิด คือ งบประมาณระยะสั้นแลพระยะยาว งบประมาณระยะสั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. งบประมาณดำเนินการ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในหน่วยงานทุกแผนก

2. งบประมาณการเงิน ข้อมูลที่อยู่ในงบประมาณดำเนินการสามารถนำมาคำนวณเป็นตัวเลขได้

 

งบประมาณขาย เกิดจากการที่แผนกขายประมาณปริมาณการขายในหน่วยงานของตน มักจะทำในระยะสั้นและระยะยาว

งบประมาณสินค้าคงเหลือ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดปริมาณที่จะทำการผลิตหรือปริมาณสินค้าคงเหลือ กิจการจะต้องมีสินค้าคงเหลือเผื่อไว้สำหรับกรณีที่ต้องการสอนมากกว่าปกติ

งบประมาณการซื้อ ต้องอาศัยงบประมาณของคงคลัง เพื่อทราบจำนวนของคงเหลือทั้งต้นและปลายงวด ละงบประมาณวัตถุดิบเพื่อทราบปริมาณที่ต้องใช้ในแต่ละงวด

งบประมาณการผลิต ต้องอาศัยข้อมูลต่างๆประกอบ ดังนี้

- ปริมาณสินค้าจะขาย

- ปริมาณสินค้าคงเหลือ

- นโยบายสินค้าคงเหลือ

- สมรรถภาพของโรงงานและปัจจัยการผลิตอื่นๆ

- นโยบายการผลิต

- นโยบายการผลิตคงที่

- นโยบายการผลิตผันแปรตามยอดขาย

- นโยบายการผลิตผันแปรตามความเหมาะสม

 

การจัดทำงบประมาณการผลิต เป็นการวางแผนล่วงหน้าทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิตลงได้

งบประมาณวัตถุดิบ ต้องอาศัยงบประมาณการผลิต เพื่อทราบหน่วยที่ต้องผลิต

งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ นำข้อมูลจากงบประมาณขายหักด้วยงบต้นทุนสินค้าโดยประมาณ และงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

งบประมาณเงินสด เป็นการประมาณจำนวนเงินสดรับและเงินสดจ่ายของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

งบประมาณค่าแรงโดยตรง ค่าแรงที่ทำการผลิตสินค้าโดยตรงเท่านั้น การทำงบประมาณค่าแรงโดยตรงจึงต้องการข้อมูล

1.งบประมาณการผลิต เพื่อทราบหน่วยของสินค้าที่ต้องการผลิตในงวด

2. อัตราค่าแรงที่ต้องจ่าย มี 2 ประเภท คอ อัตราค่าแรงต่อสินค้าหนึ่งหน่วยและอัตราค่าแรงต่อชั่วโมง

 

งบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตสินค้ามักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายผันแปร ซึ่งผันแปรไปตามปริมาณของสินค้าที่ผลิต

งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นการประมาณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแผนกงานนั้นๆ ผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประมาณค่าใช้จ่ายนี้ คือ หัวหน้างานฝ่ายขายและฝ่ายบริหารทั่วไป

งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ นำข้อมูลจากงบประมาณขายหักด้วยงบประมาณต้นทุนสินค้าโดยประมาณ งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ

งบประมาณรายจ่ายลงทุน เป็นการประมาณการลงทุนของกิจการในระยะยาว ซึ่งการประมาณนี้มักจะทำควบคู่กับการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ การลงทุนในรายจ่ายประเภทนี้ผู้ที่เป็นเจ้าของโครงการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita