การสื่อสารแบบเป็นทางการ ตัวอย่าง

ดังนั้น การติดต่อสื่อสารจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อสามารถส่งผลต่อความหมายและผู้รับเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง การติดต่อสื่อสารอาจมีลักษณะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) หรือเป็นเครือข่ายในองค์การที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า การติดต่อสื่อสารขององค์การ (Organizational Communication)


หน้าที่ของการติดต่อสื่อสาร (Functions of Communication)

การติดต่อสื่อสารมีความสำคัญต่อผู้บริหารและต่อองค์การเพราะการติดต่อสื่อสารจะทำหน้าที่สำคัญ 4 ประการ คือ

1.      Control: ควบคุมพฤติกรรมของพนักงานในสายการบังคับบัญชา การปฏิบัติงานของพนักงานตามที่กำหนดไว้ในคำอธิบายลักษณะงาน (Job Description) จะต้องมีการติดต่อสื่อสาร และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บังคับบัญชาลำดับถัดขึ้นไป การติดต่อสื่อสารที่เป็นทางการ(Formal Communication) จึงเป็นการควบคุมพฤติกรรมของพนักงานไปด้วยในตัว

2.      Motivation: จูงใจพนักงาน ในการมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารจะต้องอธิบายรายละเอียดของงาน เป้าหมาย วิธีการปฏิบัติงาน รวมทั้งผลตอบแทนที่จะได้หากผลงานออกมาดี การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารที่ดีระหว่างผู้บริหารและพนักงาน

3.      Emotional Expression: การทำงานร่วมกันของพนักงานภายในหน่วยงาน เป็นสังคมที่พนักงานมีความร่วมมือผูกพัน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน และมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เป็นที่ที่พนักงานได้พูดคุยแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ต่อกัน

4.      Information: พนักงานแต่ละคน แต่ละกลุ่มจำเป็นต้องได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับงาน เกี่ยวกับหน่วยงาน เพื่อนร่วมงาน สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ

การติดต่อสื่อสารขององค์การ (Organizational Communication)

            การติดต่อสื่อสารภายในองค์การ อาจแบ่งการพิจารณาได้เป็น 2 เรื่องคือ

1.      การติดต่อสื่อสารที่เป็นทางการและที่ไม่เป็นทางการ (Formal and Informal Communication Flow)

2.      เครือข่ายของการติดต่อสื่อสาร( Communication Network)


การติดต่อสื่อสารที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

การติดต่อสื่อสารที่เป็นทางการ (Formal Communication) หมายถึงการติดต่อสื่อสารตามสายการบังคับบัญชา หรือการติดต่อสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติในองค์การ ส่วนการติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ (Informal Communication) คืการติดต่อสื่อสารที่ไม่ได้เป็นไปตามโครงสร้างของสายการบังคับบัญชา เช่น การสนทนากันในเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงาน ซึ่งการติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นทางการอาจทำให้เกิดผลตามมาได้ 2 ประการ คือ

1.      พนักงานได้พูดจา หรือสังสรรค์กันเพื่อบรรลุความต้องการทางสังคม

2.      อาจมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทั้งทางบวกและทางลบ


รูปแบบทิศทางของการติดต่อสื่อสาร

ทิศทางการติดต่อสื่อสารภายในองค์การอาจแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้

1.      แบบบนลงล่าง (Downward Communication) คือการติดต่อจากผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชามายังพนักงานในรูปประกาศ คำสั่ง

2.      แบบล่างขึ้นบน (Upward Communication) คือการติดต่อสื่อสารจากพนักงาน หรือผู้ใต้บังคับ บัญชา ไปยังผู้บริหาร หรือผู้บังคับบัญชาในรูปการรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการเสนอความเห็น ข้อเสนอแนะ

3.      แบบแนวราบ (Lateral Communication) คือการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานในระดับเดียวกันขององค์การเดียวกัน เป็นการติดต่อสื่อสารแนวนอน (Horizontal) ทำให้เกิดความร่วมมือ หรือประสานงานกัน

4.   แบบทแยงมุม (Diagonal Communication) คือการติดต่อสื่อสารข้าแผนก ข้ามระดับสายการบังคับบัญชา การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะเป็นประโยชน์โดยรวมขององค์การในแง่ของการติดต่อสื่อสารอย่างทั่วถึงตลอดทั้งองค์การ แต่อาจเกิดปัญหาในเรื่องเอกภาพของการบังคับบัญชา

การสื่อสารนั้นมีอยู่หลายประเภท และมีอยู่หลายวัตถุประสงค์ด้วยกัน โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยทำงานที่คุณต้องเจอกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง ที่ต้องมีการสื่อสารกันในรูปแบบทั้งเพื่อนร่วมงาน การสื่อสารระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง และขึ้นอยู่กับโครงสร้างของแต่ละองค์กรอีกด้วย โดยประโยชน์จากการที่คุณสามารถแยกแยกประเภทของการสื่อสารภายในองค์กรได้ จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการสื่อสาร ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และเลือกรูปแบบการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมนั่นเองครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ทำงานด้านการสื่อสารองค์กร

แล้วประเภทของการสื่อสารภายในองค์กรนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันครับ

การสื่อสารแบบ Top-Down หรือการสื่อสารจากบนลงล่าง

การสื่อสารประเภทนี้เราจะเห็นได้จากทุกองค์กร ซึ่งเป็นการสื่อสารจากผู้นำขององค์กรที่ถ่ายทอดข้อมูลต่างๆลงมายังหัวหน้างาน หรือการที่หัวหน้างานถ่ายทอดข้อมูลต่างๆมายังลูกน้องในระดับต่างๆ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นการถ่ายทอดนโยบาย ทิศทางการดำเนินงานในด้านต่างๆขององค์กร เช่น

  • ภาพรวมกลยุทธ์
  • การลงทุนหรือขยายกิจการ
  • ผลการดำเนินงาน
  • การประกาศรางวัลต่างๆ

การสื่อสารแบบ Top-Down นั้นจะค่อนข้างเป็นทางการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่หัวหน้าระดับผู้จัดการขึ้นไป จะค่อนข้างมีบทบาทในประเภทการสื่อสารลักษณะนี้

การสื่อสารแบบ Bottom-Up หรือการสื่อสารจากล่างขึ้นบน

การสื่อสารที่เปิดโอกาสให้พนักงานสื่อสารไปยังหัวหน้างานในระดับที่สูงกว่า มีลักษณะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communicaiton) ซึ่งการสื่อสารประเภทนี้จะเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำงาน และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับองค์กร เช่น

  • การเสนอความคิดเห็นใหม่ๆ
  • การเสนอความคิดเห็นในเรื่องราวต่างๆ
  • การตั้งคำถามในประเด็นที่สงสัย
  • การสำรวจความคิดเห็นพนักงานในเรื่องต่างๆ
  • การทำโพลหรือการโหวตให้ความเห็นในเรื่องต่างๆ

การสื่อสารแบบ Bottom-Up จะทำให้พนักงานรู้สึกมีความผูกพันกับองค์กร เสมือนว่าพวกเค้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นต่างๆ

การสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงาน (Peer-to-Peer)

ในการทำงานคุณต้องเจอกับพนักงานรุ่นเดียวกับคุณที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มีความคิดที่คล้ายคลึงกัน และมี Lifestyle ที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจทำงานอยู่ในแผนกเดียวกันหรืออยู่คนละแผนก โดยการสื่อสารแบบ Peer-to-Peer นั้น พนักงานมักจะแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวต่างๆที่นอกเหนือจากชีวิตการทำงาน ซึ่งมันช่วยให้พนักงานมีความสนิทกันมากขึ้น และเป็นแรงส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลือกันในการทำงาน เช่น

  • การร่วมงานกิจกรรมพิเศษที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
  • การร่วมกิจกรรมเพื่อชุมชน
  • การร่วมกันแก้ปัญหา
  • กิจกรรมแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ และกรณีศึกษาต่างๆ

การสื่อสารประเภทนี้อาจเป็นได้ทั้งผลดีและผลเสียในตัวของมันเอง หากพนักงานรู้สึกว่าหน้าที่ของตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม และมีการเปรียบเทียบกับคนอื่นๆในองค์กร อาจะทำให้การปกครองทีมงานนั้นไม่ราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นทีมผู้บริหารก็ควรบริหารจัดการการทำงานอย่างมีความยุติธรรม และรักษาบรรยากาศในการทำงานให้ดีอยู่เสมอครับ

การสื่อสารข้อมูลข่าวสาร (Information)

ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ แนวคิดการทำงานใหม่ๆ คู่แข่งที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ต้องถูกนำมาเล่าให้กับพนักงานในองค์กรได้ฟังเพื่อการปรับตัวให้ทันยุคสมัย และนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ดีให้กับลูกค้า ทำให้แทบจะทุกวันหลายๆองค์กรต้องมีช่องทางการสื่อสารภายในเพื่ออัพเดทความรู้ใหม่ๆให้กับพนักงาน เช่น

  • กฎหมายใหม่ที่มีผลต่อการผลิตหรือนำเข้าสินค้า
  • นโยบายการทำงานของฝ่าย HR ที่เปลี่ยนใหม่
  • คอร์สการฝึกอบรมพนักงาน
  • ระเบียบภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อองค์กร
  • ช่องทางการตลาดแบบใหม่ๆ

การสื่อสารวัฒนธรรมองค์กร (Culture)

ในองค์กรใหญ่ที่มีการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาว ย่อมมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างมีระเบียบแบบแผนเพื่อให้พนักงานภายในองค์กรเข้าใจ และปฏิบัติตาม โดยวัฒนธรรมองค์กรก็ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการดึงดูดให้คนอยากเข้าร่วมทำงานกับองค์กรนั้นๆ ตั้งแต่เป้าหมาย คุณค่า ค่านิยม ทั้งในการบริหารองค์กรและการพัฒนาคนภายในองค์กร เช่น

  • การสื่อสารวิสัยทัศน์ พันธพิจ คุณค่าองค์กร
  • การสื่อสารกิจกรรมจำพวก CSR รวมถึงการทำแคมเปญต่างๆที่เกี่ยวกับการกุศล หรือสิ่งแวดล้อม
  • การสื่อสารเกี่ยวกับระบบการให้รางวัล การพัฒนาบุคลากรขององค์กร

การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Change)

ลักษณะการสื่อสารประเภทนี้จะคล้ายกับการสื่อสารแบบ Top-Down ซึ่งผู้ส่งสารจะเป็นผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารตำแหน่งสูงๆ ซึ่งการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยบริบทของการเปลี่ยนแปลงอาจมาจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่าจากความร่วมมือของคนภายในองค์กร ที่ต้องเข้าใจในความต้องการของพนักงานและวิธีการสื่อสารกับพนักงานเป็นอย่างดี เช่น

  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร หรือการควบรวมกิจการ
  • การเปลี่ยนแปลงสินค้าหรือบริการ เช่น การยกเลิกการผลิตสินค้า การพัฒนาสินค้าใหม่
  • การเปิดออฟฟิศใหม่ หรือการปิดบางกิจการ

การสื่อสารแคมเปญต่างๆ (Campaign)

การสื่อสารประเภทนี้จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในช่วงเวลาต่างๆกับลูกค้า หรือแม้แต่แคมเปญภายในเพื่อสร้างความร่วมมือของพนักงานภายในองค์กร ซึ่งการสื่อสารแคมเปญเหล่านี้จะช่วยให้พนักงานที่งานเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นๆ มีความเข้าใจเงื่อนไข ข้อมูล สารหรือข้อความที่จะสื่อ ข้อกำหนด วิธีปฏิบัติ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่จะสามารถนำไปสื่อสารกับพนักงานและลูกค้าภายนอกได้อย่างถูกต้อง เช่น

  • กิจกรรมทางการตลาดที่จะเกิดขึ้น อาทิ งานอีเว้นท์ งานออกบูธ งานสัมมนา
  • แคมเปญสร้างการรับรู้ให้กับสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ
  • แคมเปญด้านการพัฒนาบุคลากรในองค์กร
  • แคมเปญสร้างการมีส่วนร่วม เช่น การทำแบบสำรวจความคิดเห็น

การสื่อสารภาวะวิกฤต (Crisis)

ภาวะวิกฤต (Crisis) สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา โดยคำว่าภาวะวิกฤตนั้นก็มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ลองดูบทความเรื่อง การสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Communication) เพิ่มเติมครับ ภาวะวิกฤตเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งสามารถส่งผลกระทบทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สิน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงขององค์กร

การสื่อสารภาวะวิกฤตนั้นจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม ทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการเกิดภาวะวิกฤต ที่ต้องครอบคลุมทุกส่วนภายในองค์กรรวมไปถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด นับเป็นความรับผิดชอบของทีมผู้บริหารระดับสูงและทีมการสื่อสารในภาวะวิกฤต ที่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นพนักงานทุกคนในองค์กรควรรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ใครที่มีหน้าที่หลักในการสื่อสาร บทบาทของพนักงานแต่ละคนในการให้ข้อมูลข่าวสารเป็นอย่างไร เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และลดผลกระทบให้มากที่สุด เช่น

  • การเกิดภัยพิบัติต่างๆ อาทิ น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุ
  • ระบบธนาคารโดนแฮค
  • ท่อน้ำมันรั่วหรือระเบิด
  • พนักงานทำเรื่องเสื่อมเสียให้กับองค์กร
  • ข้อมูลสำคัญของลูกค้าหลุด
  • สินค้ามีตำหนิ หมดอายุ ที่สร้างความเสียหายให้กับลูกค้า

เห็นไหมครับว่าการสื่อสารในองค์กรนั้นก็สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทด้วยกัน และแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันที่ต้องมีการวางแผนในการสื่อสาร ให้เหมาะสม เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั่นเองครับ

การสื่อสารอย่างเป็นทางการคืออะไร

2.1 การสื่อสารแบบเป็นทางการ (Formal Communication) หมายถึง การ ติดต่อสื่อสารที่มีระเบียบแบบแผน มีข้อก าหนดวางไว้ชัดเจน มักมีลักษณะที่ค านึงถึงบทบาท หน้าที่และต าแหน่งระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสารซึ่งจะมีลักษณะเป็นระเบียบแบบแผนชัดเจน อาจจะเป็นการสื่อสารที่มีลายลักษณ์อักษร เช่น ใบประกาศแจ้งนโยบายหรือผลก้าวหน้าของ องค์การ ...

ลักษณะของการสื่อสารที่เป็นทางการ (formal communication) ข้อใด

การสื่อสารแบบเป็นทางการ (Formal Communication) เป็นการติดต่อสื่อสารตามลักษณะหน้าที่ ต าแหน่ง หรือล าดับชั้นของการท างาน การ ติดต่อสื่อสารจะเป็นไปตามโครงสร้างขององค์การ มีล าดับขั้นตอน มีกฎระเบียบ ข้อบังคับก าหนด ไว้ชัดเจน การติดต่อสัมพันธ์กันจะยึดระเบียบข้อบังคับเป็นหลักหรือแนวทางเสมอ

การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการมีลักษณะอย่างไร

๒. ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (informal communication channels) เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลในองค์การตามกลุ่มสังคม หรือความชอบพอโดยตรง อาศัย ความสนิทสนม คุ้นเคย การแนะนำจากเพื่อนฝูง การรู้จักเป็นการส่วนตัว โดยไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของการ

การสื่อสารในองค์การมีกี่ประเภท

การสื่อสารในองค์กร โดยทั่วไปแล้วจะมีการแบ่งรูปแบบของลักษณะการสื่อสาร อยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ ▪ การสื่อสารระหว่างบุคคล คือ การสื่อสารกันระหว่างพนักงานต่อพนักงาน หรือระหว่าง ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ▪ การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร คือการสื่อสารกันระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรการสื่อสารระหว่างองค์กร คือ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita