สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรามีอะไรบ้าง

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environment Conservation) คือ การใช้สิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาดเพื่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมากที่สุด และเกิดประโยชน์ยาวนานตลอดไป

ปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่เป็นประเภททรัพยากรธรรมชาติ

1. ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน
2. ทรัพยากรน้ำ
3. ทรัพยากรป่าไม้
4. ทรัพยากรประเภทสัตว์ป่า
5. ทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงาน
6. ทรัพยากรประเภทอากาศ

วัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

1. เพื่อรักษาให้คงสภาพสิ่งแวดล้อมเดิมให้นานที่สุด
2. เพื่อรักษาปัจจัยสำคัญของระบบสิ่งแวดล้อม
3. เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์
4. เพื่อป้องกันผลกระทบที่เป็นลักษณะต่อเนื่องคล้ายลูกโซ่

แนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

1. การให้การศึกษาและเผยแพร่ความรู้
2. การปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
3. การนำกลับมาใช้ใหม่
4. การถนอมรักษา
5. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
6. การนำสิ่งอื่นมาใช้แทน
7. การลดอัตราการเสื่อมสูญ
8. การสำรวจหาทรัพยากรใหม่ๆ
9. การใช้สิ่งที่มีคุณภาพรองลงมา
10. การรักษาและซ่อมแซม
11. การแบ่งเขต

ประโยชน์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ทางตรง

1. ประชาชนสามารถคงเหลือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. การสูญเสียและการสูญเปล่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีน้อยลง

ประโยชน์ทางอ้อม

1. สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
2. เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ

สิ่งแวดล้อมอยู่รอบตัวเราจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อากาศ รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรแร่

สิ่งแวดล้อมอยู่รอบตัวเราจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อากาศ รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรแร่

โดย...วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

สิ่งแวดล้อมอยู่รอบตัวเราจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อากาศ รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรแร่ ทรัพยากรพลังงาน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ทรัพยากรประมง รวมตลอดถึงสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมด้านศิลปกรรม ขยะ สารอันตราย ของเสียอันตราย

คุณภาพของสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของเราทุกคน เช่น คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ระดับเสียงดัง เป็นต้น ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาจเป็นเพราะการเติบโตและขยายตัวของประชากรควบคู่ไปกับการขยายตัวของการอุปโภคบริโภค และภาคการผลิต ที่ขาดการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ (ระบบของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่เดียวกันที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่นั้นด้วย)

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชากรทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น เพื่อผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศมากขึ้นและนับวันจะยิ่งมีความรุนแรงยิ่งขึ้น

กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทก็ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงเช่นกัน

ปัจจุบันนอกจากภาคการผลิตแล้ว ประเทศไทยยังเผชิญกับปัญหาการขยายตัวของภาคเกษตรกรรมและการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทรัพยากรประมง หรือแม้แต่ความเสื่อมโทรมของคุณภาพดินอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญ คือ การขยายกิจกรรมทางการเกษตร เพื่อสร้างรายได้และเพื่อสนองการบริโภคที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ เรายังเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญๆ คือ การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ดินเค็ม มลพิษน้ำ หรือปัญหาภาวะมลพิษอันเกิดจากของเสียจากภาคอุตสาหกรรม

ผลกระทบต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมยังมีอีกมากมายในบ้านเรา สถานการณ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝน จำนวนการเกิดพายุหมุนเขตร้อน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ สถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น การลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) คือ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งของโลกใบนี้ และส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล

ทุกวันนี้ภัยพิบัติที่สืบเนื่องจากภูมิอากาศรุนแรงขึ้น เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น การไหลและหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนแปลง (ผลกระทบทางกายภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดก็คือ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล) สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ และส่งผลกระทบต่อเนื่องนานัปการต่อวิถีชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ผลการศึกษาวิจัยมากมายชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจะส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรในแต่ละปีมีความแปรปรวนและผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ และอาจมีส่วนทำให้ภาคการเกษตรของไทยมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงด้านอาหารสูงยิ่งขึ้น ทั้งจากภัยธรรมชาติและการระบาดของศัตรูพืช โดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของโรคติดต่อต่างๆ ที่มีแมลงเป็นพาหะเกิดการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ เช่น ไข้หวัดนก โรคซาร์ส (SARS) และโรคอุบัติซ้ำ เช่น มาลาเรีย วัณโรค ไข้เลือดออก อหิวาตกโรค และมีสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ดื้อยาเกิดขึ้น โรคหอบหืด ภูมิแพ้ และโรคทางเดินหายใจจากสารพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้น

หมายถึง ถิ่นที่อยู่อาศัยร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์นานาชนิดรวมทังจุลชีพทั้งมวลต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยต้นไม้อันขึ้นอยู่บนพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ และมีรากยึดเหนี่ยวอยู่ใต้ดิน ป่าไม้เป็นสิ่งที่ปลูกทดแทนขึ้นมาใหม่ได้

ประโยชน์ของป่าไม้

มนุษย์เราได้อาศัยป่าไม้เพื่อการดำรงชีวิต เช่น

  • มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น เป็นที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
    อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
  • มีประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ เป็นแหล่งประกอบอาชีพ และหาราย
    ได้ของมนุษย์
  • มีประโยชน์ในการท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ
  • ป่าไม้มีประโยชน์ในทางอ้อม เช่น เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธาร
  • ป่าไม้ช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล
  • ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของพายุ และอุทกภัย เป็นต้น

 

 

ทรัพยากรดิน

ดิน เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินชนิดต่างๆ โดยใช้เวลาที่นานมาก หินที่สลายตัวผุกร่อนนี้จะมีขนาดต่างๆ กัน เมื่อผสมรวมกับซากพืช ซากสัตว์ น้ำ อากาศ ก็กลายเป็นเนื้อดินซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะมากน้อยแตกต่างกันไปตาม
ชนิดของดิน

ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ใช้ไม่หมดสิ้น ดินเกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์สาร (ซากพืชซากสัตว์สลายตัวเป็นฮิวมัส) และอนินทรีย์สาร (สลายตัวเป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน) คลุกเคล้ากันโดยผสมกับน้ำและอากาศจนกลายเป็นดิน เราสามารถพบดินได้ทั่วไปตามสถานที่ต่างๆ จากสมบัติต่างๆ ของดิน สามารถแบ่งดิน ได้ 3 ชนิด ดังนี้

  • ดินเหนียว เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วมีความยืดหยุ่น อาจปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี มีความสามารถในการจับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้สูง หรือค่อนข้างสูง เป็นดินที่มีก้อนเนื้อละเอียด เพราะมีปริมาณอนุภาคดินเหนียวอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน
  • ดินทราย เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ชั้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งอาหารและน้ำเป็นดินที่มีเนื้อดินทรายเพราะมีปริมาณอนุภาคทรายมาก
  • ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือ ยืดหยุ่นได้บ้าง มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในธรรมชาติมักไม่ค่อยพบ แต่จะพบดินที่มีเนื้อดินใกล้เคียงกันมากกว่า
    สีของดิน สีของดินจะทำให้เราทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ปะปนอยู่และแปรสภาพเป็นฮิวมัสในดิน

    ประโยชน์ของดิน

    ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือ

  • ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ใช้ปั้นภาชนะต่างๆ
  • การเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทั้งพวกพืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู แมลง นาก ฯลฯ
  • เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แผ่นดินเป็นที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรมและอารยธรรมของชุมชนต่างๆ มากมาย

ทรัพยากรน้ำ

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเรามาก ซึ่งบนโลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%)

น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชคนเรามีชีวิตอยู่โดยขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ

ประโยชน์ของน้ำ ได้แก่

  • ใช้ในการอุปโภคบริโภค เป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับการดื่มกิน การประกอบอาหาร ชำระร่างกาย
  • เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์
  • น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ ทำประมง
  • น้ำเป็นแหล่งพลังงาน พลังงานจากน้ำใช้ทำระหัด ทำเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้
  • เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ
  • เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ
  • เป็นแหล่งการเล่นกีฬาทางน้ำ


ดังนั้นเราจะเห็นว่า ป่าไม้ ดิน น้ำ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้ป่าไม้ ดิน และน้ำ เป็นทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และการใช้ทรัพยากรจากแหล่งดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการพัฒนา และช่วยกันประหยัด รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้องและคุ้มค่า และการจัดการที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ด้วย

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

หมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาดโดยใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นระยะเวลานานที่สุด และต้องสงวนรักษาไว้ไม่ให้มีการใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย
การอนุรักษ์ หมายถึง การรักษาให้คงเดิม โดยใช้อย่างประหยัด ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และปลูกสร้างทดแทนในส่วนที่ใช้ไป

แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

  • การนำต้นไม้มาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
  • เมื่อมีการตัดไม้ ต้องปลูกต้นไม้ทดแทน
  • ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เผาและถางป่า
  • ไม่บุกรุกทำลายป่าเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยส่วนตัว
  • เพิ่มแร่ธาตุในดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน
  • ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการกัดเซาะดินของน้ำในฤดูฝน เป็นการป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
  • ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งช่วยรักษาสภาพหน้าดินกว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์
  • ไม่ระบายของเสียและสิ่งปฏิกูลสู่แหล่งน้ำ
  • ปิดน้ำทุกครั้งหลังจากเลิกใช้แล้ว
  • ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ขณะแปรงฟันหรือฟอกสบู่

ดังนั้น เราจึงสรุปสาระสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราได้ ดังนี้

  • สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีทั้งสิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้

    ด้านสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

    สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม

    สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีอะไรบ้าง

    สิ่งแวดล้อมอยู่รอบตัวเราจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อากาศ รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรแร่ ทรัพยากรพลังงาน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ทรัพยากรประมง รวมตลอดถึงสิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมด้านศิลปกรรม ขยะ สารอันตราย ของเสียอันตราย

    ความสําคัญของสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

    สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต มีส่วนทำให้คุณภาพของมนุษย์ไปในทางที่ดีและไม่ดี เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและดูแลรักษา เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดปัญหาต่างๆ ...

    สิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่อะไรบ้าง

    2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนเก็บน้ำ ตลอด จนขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita