อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในค่าที่กำหนดคืออะไร

เครื่องยนต์ดีเซลนั้นทำงานอย่างไร?

เครื่องยนต์ของรถยนต์ที่ใช้ในปัจจุบัน จะแบ่งเป็น 2 ประเภทเชื้อเพลิง คือเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ซึ่งจะอาศัยหลักการจุดระเบิดเชื้อเพลิงเพื่อส่งกำลังไปยังเพลาเพื่อขับเคลื่อน แต่จะต่างกันคือวิธีการจุดระเบิด ซึ่งในระบบเบนซินจะใช้ประกายไฟจากหัวเทียนเป็นตัวจุดระเบิดในกระบอกสูบที่มีไอน้ำมันและอากาศในอัตราส่วนที่พอดี

แต่ในเครื่องยนต์ดีเซลนั้นจะทำงานโดยอาศัยการจุดระเบิดด้วยอากาศ คือ จะมีการอัดอากาศให้มีความหนาแน่น 22:1 ภายในกระบอกสูบ ซึ่งการอัดนี้จะทำให้อากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 538 C (1000 F) เมื่อสิ้นสุดจังหวะอัด น้ำมันดีเซลจะถูกปั้มฉีดเข้ากระบอกสูบด้วยแรงดันที่สูงกว่า 100 kg ต่อตารางเซนติเมตร เมื่อน้ำมันเจอกับอากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะมีการจุดระเบิดเกิดขึ้น

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดเข้าห้องเผาไหม้จะต้องมีปริมาณที่เหมาะกับความต้องการของเครื่องยนต์

  1. ปริมาตรน้ำมันต้องสัมพันธ์กับรอบเครื่องยนต์ เมื่อรอบเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นอย่างทันทีทันใด น้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องฉีดเข้าห้องเผาไหม้เพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ
  2. น้ำมันเชื้อเพลิงที่ฉีดเข้าห้องเผาไหม้จะต้องมีแรงดันที่สูงกว่า ความดันในกระบอกสูบมาก (เมื่อสิ้นสุดจังหวะอัดในห้องเผาไหม้จะมีแรงดันสูงถึง 3,447 kPa (500 psi) ปั้มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงจึงมีความจำเป็นมาก

โครงสร้างของระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล
ระบบหัวฉีดน้ำมันดีเซลประกอบด้วย

  • ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel injection pump) ทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงให้สูงเพื่อป้อนให้กับหัวฉีดหัวฉีดน้ำมัน (Injection nozzle) ทำหน้าที่ฉีดน้ำมันเข้าไปในกระบอกสูบ
  • ปั๊มน้ำดูดน้ำมันเชื้อเพลิง (Feed pump) ทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังน้ำมัน
  • กรองน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกออกจากน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ท่อส่งน้ำมันแรงดันสูง (High-pressure pipe)
  • ท่อน้ำมันไหลกลับ (return pipe)

ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล
มีหน้าที่ควบคุมแรงดันและจังหวะการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านหัวฉีด เข้ากระบอกสูบในแต่ละสูบ ถ้าเทียบกับเครื่องยนต์เบนซินก็เปรียบได้กับหัวเทียนนั่นเอง

ชนิดของปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
ชนิดของปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล มีทั้งแบบควบคุมด้วยกลไก และควบคุมด้วยอีเลกทรอนิกส์ โดยทั่วไปมีใช้กัน มี 3 แบบ

  1. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบแถวเรียง (in-line pump)ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบแถวเรียง (In-line Pump) เป็นปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกออกแบบให้มีจำนวนลูกปั๊มเท่ากับจำนวนสูบของเครื่องยนต์จ่ายน้ำมันแบบ 1 ปั้มต่อ 1 กระบอกสูบ ใช้ในเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1 สูบจนถึงเครื่องยนต์ขนาด 12 สูบ ทำงานโดยการขับเคลื่อนด้วยเฟืองกับเพลาราวลิ้น ประกอบด้วย
    • ปั๊มดูดน้ำมัน (Feed pump)
    • กัฟเวอร์เนอร์ (Governor) ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ในขณะนั้น โดยการปรับปริมาณการฉีดของน้ำมันเชื้อเพลิงสภาวะของเครื่องยนต์เพื่อควบคุมความเร็วรถยนต์ ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้รอบเครื่องยนต์เดินเบาและรอบสูงสุดให้คงที่
      • ควบคุมความเร็วตามภาระของเครื่องยนต์
      • ควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ให้มากเกินไป เมื่อรอบเครื่องสูงขึ้นกะทันหัน ช่วยให้เผาไหม้หมดจดไม่มีน้ำมันเหลือค้างในระบบ ลดปัญหาควันดำ
      • ควบคุมขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติดง่าย
      • ป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ดับในขณะรอบเดินเบา จากการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป
      • อัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลอยู่ในช่วงประมาณ 10:1 ถึง 20:1 (ภายใต้ภาระเต็มที่) กัฟเวอร์เนอร์จะควบคุมอัตราส่วนผสมนี้ให้อยู่ในช่วงนี้ ในกรณีที่อัตราส่วนผสมมากกว่า 20:1 จะทำให้เกิดควันมากในไอเสีย
    • ไทเมอร์อัตโนมัติ(Automatic Timer) เป็นกลไกเร่งการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นเมื่อมีการเร่งเครื่อง เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของเครื่องยนต์ซึ่งทำงานด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางที่ขับโดยเพลาลูกเบี้ยวของปั๊ม
    • ปั๊มดูดน้ำมัน(Feed Pump) ทำหน้าที่ดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังน้ำมันผ่านกรองน้ำมันเชื้อเพลิง
    • ตัวปั๊ม (Pump Body) เป็นที่ติดตั้งของกลไกสร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงและกลไกควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกขับโดยเพลาลูกเบี้ยวและส่งน้ำมันไปให้กับกระบอกสูบของแต่ละสูบ
  2. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบจานจ่าย (distributor pump)ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบจานจ่าย (Distributor Pump) เป็นปั๊มที่มีชุดสร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงเพื่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ทุกกระบอกสูบผ่านท่อแรงดันสูงเพียงชุดเดียวพร้อมๆกัน ตามจังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ประกอบด้วยกัฟเวอร์เนอร์ ไทเมอร์ และปั๊มดูดน้ำมัน โดยมีลักษณะของปั๊มดังนี้
    • ตัวปั๊มมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
    • สามารถทำงานที่ความเร็วสูงได้ดี อัตราเร่งไว
    • ง่ายในการปรับปริมาณการฉีดน้ำมันเพราะมีลูกปั๊มชุดเดียว
    • หล่อลื่นตนเองด้วยน้ำมันดีเซล จึงไม่ต้องบำรุงรักษา
    • มักใช้กับ รถกระบะ รถโฟรค์ลิฟ รถไถ เป็นต้น

    ภายในประกอบด้วย
    • ปั๊มดูดน้ำมัน (Feed pump) ทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังน้ำมัน ทำงานโดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ในการปั๊มน้ำมัน และมีตัวระบายความดันเพื่อไม่ให้ความดันน้ำมันสูงเกินไป
    • กลไกกัฟเวอร์เนอร์ (Governor) จะติดตั้งอยู่ด้านบนของปั๊มหัวฉีด ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เหมาะสมกับความเร็วของเครื่องยนต์
    • ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เครื่องยนต์ตั้งแต่รอบเดินเบา จนถึงรอบสูงสุดให้คงที่
    • ควบคุมปั๊มจ่ายน้ำมันขณะเร่งไม่ให้ไอเสียมีควันดำ
    • ควบคุมขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติดง่าย
    • ไทเมอร์ (Timer) ไทเมอร์มีหน้าที่ควบคุมจังหวะการฉีดน้ำมันให้สม่ำเสมอ จะถูกติดตั้งในส่วนของปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันต่ำ
  3. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคอมมอนเรล (common rail pump)ควบคุมการทำงานด้วยอีเล็คทรอนิคส์ เป็นระบบการจ่ายน้ำมันดีเซล ปัจจุบันรถกระบะที่ออกใหม่จะใช้ระบบนี้ทั้งหมด สามารถสร้างแรงบิดและแรงม้าได้สูง
    ในระบบคอมมอนเรลจะมีอุปกรณ์หลักๆ คือ ปั๊มแรงดันสูง สามารถสร้างแรงดันได้ 1,600-1,800bar ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต (ระบบดีเซลแบบเก่า แรงดันหัวฉีดอยู่ที่ 100-250 bar)
    ในระบบนี้ ปั้มแรงดันสูงจะอัดน้ำมันเข้าสู่รางร่วม เพื่อให้น้ำมันมีแรงดันเท่ากันทุกสูบ และจะใช้ หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Control Unit : ECU) คำนวณหาจังหวะการปล่อยน้ำมันที่เหมาะสม ซึ่ง ECU จะรับค่าจากเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่นเซ็นเซอร์ตำแหน่งขาคันเร่ง ความเร็วรอบเครื่องยนต์ อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิอากาศ แรงดันเทอร์โบ เป็นต้น
    ในปัจจุบันระบบคอมมอนเรลจึง สามารถสั่งการฉีดน้ำมันได้ถึง 5 ครั้งต่อการทำงาน 1 รอบ (จากเดิมฉีดน้ำมัน 1 ครั้ง ต่อการทำงาน 1 รอบ) เป็นการลดปริมาณมลพิษ ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และเขม่าควันดำต่างๆ เพื่อให้ได้ตามกฎข้อบังคับก๊าซไอเสีย ซึ่งประเทศไทยใช้มาตรฐานของยุโรป(EURO) อีกทั้งยังเป็นการลดการเผาไหม้ที่รุนแรง ช่วยลดเสียงน็อคของเครื่องยนต์ โดยการฉีดของหัวฉีดแต่ละครั้งคือ
    การฉีดครั้งที่ 1 เป็นการฉีดนำร่อง (Pilot Injection) เป็นส่วนช่วยให้เชื้อเพลิงส่วนแรกผสมกับอากาศได้ดีก่อน
    การฉีดครั้งที่ 2 การฉีดก่อน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเชื้อเพลิงในการเริ่มการเผาไหม้ส่วนแรก
    การฉีดครั้งที่ 3 เป็นการฉีดเชื้อเพลิงหลัก (Main-Injection) เป็นการฉีดที่ควบคุมสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ตามคันเร่ง
    การฉีดครั้งที่ 4 เป็นการฉีดเพื่อเผาเขม่าหรืออนุภาคคาร์บอน (Particulate matter : PM) ส่วนสุดท้ายเพื่อให้มีการเผาไหม้สมบูรณ์ที่สุด
    การฉีดครั้งที่ 5 เป็นการฉีดเพื่อควบคุมอุณหภูมิไอเสีย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita