การวิเคราะห์งาน ทางธุรกิจ หมาย ถึง อะไร

                1) ประเภทธุรกิจ  2) การขาดการสนับสนุนจากพนักงานระดับสูง 3) การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 4) การคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมทำได้ยาก 5) ไม่มีข้อมูลสถิติด้านพนักงานที่ถูกต้องแน่นอน 6) ปัญหาด้านการเงิน/ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การต้องตระหนักถึงความสอดคล้องและการสนับสนุนของหน้าที่แต่ละอย่างต่อหน่วยธุรกิจขององค์การ  ทรัพยากรตามหน้าที่ขององค์การไม่เพียงแต่จะรวมเอาพนักงานตามหน้าที่ไว้  แต่รวมความสามารถในการกำหนดและดำเนินกลยุทธ์ไว้ด้วย  ดังนั้นทรัพยากรขององค์การจะรวมทั้งแนวคิดและเทคนิคที่สำคัญของหน้าที่แต่ละอย่างได้แก่

1. การตลาด (Marketing) ผู้บริหารการตลาดมีหน้าที่เบื้องต้นคือ  การบริหารผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ  ซึ่งต้องให้ความสำคัญทั้งด้านตำแหน่งทางการตลาดและการบริหารส่วนประสมทางการตลาดขององค์การ  โดยสิ่งที่ต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับการตลาดมีดังนี้

1. ตำแหน่งทางการตลาด (Market Position) หมายถึง  การเลือกตลาดที่เฉพาะเจาะจงเพื่อการรวมพลังทางการตลาดและสามารถระบุออกมาในแง่ของตลาด  ผลิตภัณฑ์  และพื้นที่ได้  ซึ่งตำแหน่งทางการตลาดจะตอบได้ว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายขององค์การคือใคร  โดยใช้การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation ด้วยผลิตภัณฑ์หลายอย่างโดยการวิจัยตลาดได้  และองค์การต้องแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ขององค์การต้องไม่แข่งขันกันเองโดยตรงด้วย

2. ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หมายถึง  ส่วนประสมของปัจจัยทางการตลาดที่สำคัญที่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การ  ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออุปสงค์และสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางฐานะการแข่งขันแก่องค์การได้  โดยส่วนประสมทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์  ราคา  ช่องทางการจัดจำหน่าย  และการส่งเสริมการตลาด  ซึ่งองค์การต้องวิเคราะห์ถึงรายละเอียดในแต่ละปัจจัยถึงผลกระทบที่อาจมีต่อการดำเนินงานขององค์การด้วย

รูปที่ 5.8 ส่วนประกอบทางการตลาด

3. วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle: PLC) คือ  วงจรที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ขั้นแนะนำเข้าสู่ตลาด (Introduction) ขั้นเจริญเติบโต (Growth) ขั้นเติบโตเต็มที่ (Maturity) และขั้นถดถอย (Decline) ผู้บริหารสามารถใช้แนวความคิดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ขององค์การในการวิเคราะห์ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ขององค์การว่าผลิตภัณฑ์ชนิดใดอยู่ในตำแหน่งใด  เพื่อที่จะสามารถกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ในแต่ละชนิด

รูปที่ 5.9 วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์

2. การเงิน  ผู้บริหารการเงินมีหน้าที่เบื้องต้นคือ  บริหารเงินทุนขององค์การเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนการจัดสรรเงินทุน  และการควบคุมเงินทุนขององค์การให้มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์การให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้บริหารการเงินต้องวิเคราะห์ส่วนประสมระหว่างเงินทุนจากภายนอกและภายในทั้งระยะสั้นและระยะยาว  เช่น  อัตราส่วนระหว่างหนี้สินต่อสินทรัพย์จะชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการชำระหนี้  การจัดหาเงินทุนโดยการจำหน่ายพันธบัตร  ตัวเงิน  หรือหุ้นกู้  เป็นต้น  การวิเคราะห์เกี่ยวกับงบประมาณการลงทุน Capital Budgeting) โดยเปรียบเทียบระหว่างรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้น  การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-even Point Analysis) ที่จะทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนคงที่  ต้นทุนผันแปร  และกำไรขององค์การ  และชี้ให้เห็นถึงจุดที่ยอดขายคุ้มกับต้นทุนขององค์การโดยการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจะใช้ร่วมกับการวิเคราะห์กระแสเงินสดส่วนลด  เช่น  มูลค่าปัจจุบันสุทธหรืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

3. การวิจัยและพัฒนา  ผู้บริหารการวิจัยและพัฒนามีหน้าที่เบื้องต้นคือการบริหารเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ  โดยต้องทำการเสนอแนะและดำเนินกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีขององค์การ       ซึ่งแต่ละองค์การมีจุดมุ่งเน้นที่แตกต่างกันคือ  บางองค์การเน้นการวิจัยและพัฒนาไปในทางทฤษฎี         บางองค์การเน้นทางการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์  และบางองค์การมุ่งเน้นที่วิศวกรรมการควบคุมคุณภาพและการพัฒนาอุปกรณ์การผลิต  โดยในแต่ละองค์การควรจะมีส่วนประสมทางการวิจัยและพัฒนาที่เหมาะสมระหว่างพื้นฐานประยุกต์และวิศวกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ

องค์การควรทำการประเมินความสามารถทางเทคโนโลยี (Technology Competence ทั้งด้านการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี  ซึ่งการคิดค้นสิ่งใหม่ไม่ใช่เพียงแต่ต้องทุ่มเทการวิจัยอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นองค์การต้องบริหารงานวิจัยและผสมผสานการคิดค้นสิ่งใหม่เข้ากับการดำเนินงานประจําวันอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย  หากองค์การขาดประสิทธิภาพทางการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) จากห้องทดลองไปสู่ตลาดแล้วองค์การจะไม่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เท่าที่ควร            ซึ่งองค์การที่อยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีต้องทุ่มเทการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมจะทำการวิจัยและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา  หากองค์การใดหยุดการทำการวิจัยและพัฒนาให้มีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าหรือตามให้ทันคู่แข่งขันแล้ว  ก็จะถูกทิ้งห่างและเป็นเทคโนโลยีที่ล้าหลังในที่สุด

นอกจากเรื่องเงินทุนแล้ว  องค์การต้องพิจารณาถึงเรื่องเวลาด้วย  ระยะเวลาโดยทั่วไปในการทำกำไรขององค์การต้องใช้เวลา 7-11 ภายหลังจากเริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาขึ้นหากองค์การไม่ต้องการทุ่มเทเพื่อการวิจัยและพัฒนา  องค์การสามารถซื้อหรือเช่าอุปกรณ์  เทคนิคหรือสิทธิบัตร  เพื่อตามให้ทันคู่แข่งขันได้  องค์การที่ซื้อเทคโนโลยีจะต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างดีด้วย  หากองค์การไม่ประเมินความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของตนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การได้

4. การผลิตและการดำเนินงาน  ผู้บริหารการผลิตจะมีหน้าที่เบื้องต้นคือ  การเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป  ซึ่งต้องทำการพัฒนาและดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามจำนวน  คุณภาพ  ต้นทุนและเวลาที่กำหนด  โดยผู้บริหารต้องมีความสามารถทางด้านการพยากรณ์  การจัดชื่อ  การควบคุมคุณภาพการออกแบบกระบวนการผลิต  การประเมินผลการดำเนินงาน  และการบำรุงรักษา  กระบวนการผลิตโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ

1. ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง  หมายถึง  การผลิตที่มีสายงานประกอบผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง  เช่นสายงานประกอบรถยนต์  เป็นต้น  ระบบการผลิตแบบต่อเนื่องจะมีข้อได้เปรียบในด้านต้นทุน

2. ระบบการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง  หมายถึง  การผลิตที่เป็นไปตามข้อกำหนดรายละเอียดและความต้องการของลูกค้า  ระบบการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องจะมีข้อได้เปรียบในด้านความพึงพอใจของลูกค้า

การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การจะขึ้นอยู่กับระบบการผลิตที่ใช้อยู่ในองค์การ  เช่น  การวางแผนเพิ่มยอดขายด้วยผลิตภัณฑ์ราคาถูก  องค์การก็จะใช้ระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง  หากต้องการสร้างความภักดีในตราผลิตภัณฑ์ของลูกค้าด้วยสินค้าคุณภาพดี  องค์การก็จะใช้ระบบการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง  เป็นต้น

ระบบการผลิตแบบต่อเนื่องเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย  เนื่องจากองค์การสามารถใช้ประโยชน์จากการะผูกพันทางการดำเนินงาน (Operating Leverage) ได้ Weston และ Copland กล่าวว่า“ ภาระผูกพันทางการดำเนินงานคือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของยอดขายต่อกำไรจากการดำเนินงานสุทธิ” เช่นองค์การที่ใช้แรงงานคนจำนวนมากจะมีเครื่องจักรอัตโนมัติน้อยและมีต้นทุนคงที่ต่ำ  ทำให้องค์การมีจุดคุ้มทุนต่ำ  แต่เส้นต้นทุนผันแปรจะมีความลาดชัน  เพราะต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนผันแปรจากค่าแรงสูงกว่าองค์การที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ  แต่จะมีข้อได้เปรียบหากองค์การเป็นองค์การขนาดเล็กแม้มียอดขายต่ำก็สามารถทำกำไรได้  เมื่อมีรายได้ถึงจุดคุ้มทุนแล้วแต่องค์การไม่สามารถทำกำไรจากยอดขายสูงได้  เนื่องจากภาระผูกพันทางการดำเนินงานต่ำ  ดังนั้นองค์การควรทำการค้นหาส่วนของตลาดที่องค์การสามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการของตลาด

สำหรับองค์การที่ใช้เครื่องจักรมากจะมีการลงทุนภายในสินทรัพย์ถาวรสูงและใช้แรงงานคนน้อยองค์การจะมีจุดคุ้มทุนสูง  แต่เส้นต้นทุนผันแปรมีความลาดชันน้อย  มีข้อได้เปรียบคือเมื่อถึงจุดคุ้มทุนแล้วกำไรขององค์การจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าองค์การที่ใช้เครื่องจักรน้อย  สำหรับแนวคิดในด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์  องค์การที่ใช้เครื่องจักรมากจำเป็นต้องค้นหาส่วนตลาดที่สามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้จำนวนมาก  การมีภาระผูกพันทางการดำเนินงานที่สูงจะทำให้องค์การมีกำไรสูงมาก  การเปลี่ยนแปลงของยอดขายจะมีผลกระทบต่อกำไรมาก  แต่สำหรับช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ  องค์การที่มีเครื่องจักรมากจะมีผลขาดทุนสูง  ในขณะที่องค์การที่มีเครื่องจักรน้อยจะสามารถอยู่รอดได้  เนื่องจากการลดลงของยอดขายจะมีผลกระทบต่อต้นทุนผันแปรเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งองค์การที่ใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักรจะสามารถปลดคนงานได้ง่ายกว่าการขายเครื่องจักรหรือโรงงาน

แนวความคิดเกี่ยวกับเส้นประสบการณ์ (Experience Curve) หรือที่เดิมเรียกว่า  เส้นโค้งการเรียนรู้ (Learning Curve) แนวความคิดนี้เมื่อประยุกต์ใช้กับการผลิตจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลงร้อยละ 20-30 ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  เช่น  เวลาของการเรียนรู้ผลิตสำหรับแรงงาน  ขนาดการผลิตที่ประหยัด  การปรับปรุงผลิตภัณฑ์  และการปรับปรุงกระบวนการผลิต  เป็นต้น

ระบบการผลิตที่นิยมใช้และสามารถช่วยให้ประหยัดต้นทุนในการผลิตได้ดีอีกอย่างคือการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-time, JIT) โดยทำการผลิตเมื่อมีความต้องการ  ซึ่งทำให้ลดต้นทุนการเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าคงคลังลง

การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้  เช่น  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (Computer Aid Design, CAD) การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (Computer Ald Manufacture, CAM) หรือการใช้หุ่นยนต์ (Robot) อย่างไรก็ตามการพัฒนากลยุทธ์การผลิตหรือการเลือกระบบการผลิตขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ

5. ทรัพยากรมนุษย์  ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์มีหน้าที่เบื้องต้นคือ  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสม (Appropriate Human Resource) ผ่านทางการสรรหา  การพัฒนาและการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในงาน  มีผลการปฏิบัติงานที่ดี  อัตราการออกจากงานลดลง  และมีขวัญกำลังใจดีขึ้น         การจัดการทรัพยากรมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับการสรรหาการคัดเลือก  การจัดจ้าง  การฝึกอบรมและพัฒนา    การแรงงานสัมพันธ์  การบริหารค่าจ้าง  และเงินเดือน  การประเมินการปฏิบัติงาน  การเลื่อนตำแหน่ง  และการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต  ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องดำเนินการสำรวจทัศนคติและตรวจสอบข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) อย่างอื่น  เพื่อการประเมินความพอใจในงานของพนักงาน

หน้าที่สำคัญของผู้บริหารงานบุคคลที่ต้องทำคือ  การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) คือวิธีการรวบรวมข้อมูลและลักษณะของงานที่ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ต้องกระทำภายในงานแต่ละอย่างทั้งแง่ของปริมาณและคุณภาพและการจัดทำคำบรรยาย (Job Description) ที่บรรยายถึงลักษณะของงานในแต่ละตำแหน่ง  หน้าที่ในความรับผิดชอบ  และสายงานการบังคับบัญชา  เพื่อให้การปฏิบัติงานไม่ชำซ้อนและสามารถตรวจสอบได้

ผู้บริหารงานบุคคลที่ดีควรจะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับสหภาพแรงงาน  ซึ่งกลุ่มสหภาพแรงงานได้มีการเปลี่ยนแปลงคือ  ผู้นำสหภาพแรงงานต้องการมีส่วนร่วมกับผู้บริหารในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการทำงานมากขึ้น  ซึ่งความไม่พอใจของพนักงานหรือสหภาพจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life, QWL) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ  ซึ่งคุณภาพชีวิตการทำงานคือ  การตอบสนองความต้องการที่สำคัญของพนักงานผ่านทางประสบการณ์ของพนักงานเองภายในองค์การ  ผู้บริหารควรปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานขององค์การให้ดีขึ้นโดยการใช้การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม  การปรับปรุงโครงสร้างงานใหม่  การใช้ระบบรางวัลที่พัฒนาใหม่  และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการทำงานให้ดีขึ้น  โดยการปรับปรุงดังกล่าวจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์การแบบมีส่วนร่วมมากขึ้นและผลการปฏิบัติงานดีขึ้น

6. ระบบสารสนเทศ  ผู้บริหารสารสนเทศมีหน้าที่เบื้องต้นคือ  การออกแบบและการบริหารการไหลของระบบข้อมูลภายในองค์การ  เพื่อเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจและการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การองค์การต้องเก็บรวบรวม  รักษา  วิเคราะห์ข้อมูล  และสังเคราะห์ความรู้เพื่อตอบคำถามเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินงานขององค์การ  ซึ่งหน้าที่ของระบบข้อมูลมีความสำคัญเนื่องจาก

- องค์การมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้บริหารต้องการข้อมูลที่สำรองไว้เป็นหลักฐานมากยิ่งขึ้น

- องค์การมีการกระจายอำนาจมากขึ้น  ทำให้เทคนิคการควบคุมมีความลึกซึ้งมากขึ้นการมีระบบสารสนเทศทำให้ผู้บริหารสามารถดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์การได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

-การใช้คอมพิวเตอร์ทำให้การประมวลข้อมูลขององค์การรวดเร็ว  ทันเวลาและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศขององค์การมีดังนี้

- เป็นสัญญาณเตือน

- ลดความต้องการพนักงานธุรการ

- ช่วยในการดำเนินงาน

- ช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

การประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การต้องพิจารณาถึงระดับการพัฒนาของระบบข้อมูลภายในองค์การ  โดยทั่วไปการพัฒนาระบบข้อมูลขององค์การจะมี 3 ขั้นตอนคือ

- การริเริ่ม  โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการใช้งานทางการบัญชีที่พยายามลดค่าใช้จ่ายในงานธุรการ

- การเจริญเติบโต  พัฒนาขยายออกไปสู่การผลิตและการตลาด  และใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการประมวลข้อมูล

- การหยุดพัก

การวิเคราะห์ตามหน้าที่เป็นวิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การที่ง่ายซึ่งสามารถแยกออกตามหน้าที่ทางธุรกิจโดยทั่วไปคือ  การปฏิบัติการ  การตลาด  การเงิน  ทรัพยากรมนุษย์  และการวิจัยและพัฒนา  เนื่องจากไม่ซับซ้อนและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางโดยการวิเคราะห์จะทำให้ทราบถึงสถานการณ์ในการดำเนินงานในแต่ละหน้าที่ขององค์กาเพื่อนจะนำมาปรับปรุง  แก้ไข  และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพได้ต่อไป

การวิเคราะห์ทางธุรกิจ หมายถึงอะไร

การวิเคราะห์ธุรกิจเป็นกระบวนการของการดูและประเมินความมั่งคั่งของข้อมูลที่บริษัทของคุณมีอยู่ในมือและนำข้อมูลนั้นมาใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ สิ่งนี้ไปไกลกว่าแค่มองดูตัวเลขเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น การวิเคราะห์ธุรกิจพยายามที่จะให้ข้อมูลเชิงลึกว่าทำไมสิ่งต่างๆ จึงเกิดขึ้นและใช้เพื่อแนะนำขั้นตอนในการดำเนินการต่อไป

การวิเคราะห์ธุรกิจ มีอะไรบ้าง

5 หลักการ วิเคราะห์ธุรกิจ สู่ยอดขายหลักล้านบนโลกออนไลน์.
1. วิเคราะห์ก่อนว่าลูกค้าของคุณคือใคร ... .
2. วิเคราะห์ว่าธุรกิจของคุณแก้ปัญหาอย่างไร ... .
3. วิเคราะห์เหตุผลในการตัดสินใจซื้อ ... .
4. วิเคราะห์พฤติกรรมการสั่งซื้อของลูกค้า ... .
5. วิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น.

การวิเคราะห์งานมีขั้นตอนอย่างไร

เทคนิคการวิเคราะห์งานอย่างมีประสิทธิภาพ.
1. ระบุกิจกรรมหลัก ... .
2. วิเคราะห์ระดับของงาน ... .
3. วิเคราะห์ชั่วโมงงานและปริมาณงาน ... .
4. วิเคราะห์ความถี่ในการปฏิบัติงาน ... .
5. วิเคราะห์การใช้ทรัพยากร ... .
6. วิเคราะห์ความเสี่ยงของงานหรือกิจกรรม ... .
7. วิเคราะห์ว่าควรจะทำเองหรือให้หน่วยงานข้างนอกทำ ... .
8. ตรวจสอบผลการวิเคราะห์.

การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจมีกี่วิธี

Data Café Thailand.
การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Descriptive (What is happening? : เกิดอะไรขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน) ... .
การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Diagnostic (Why is it happening? : ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมา) ... .
การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Predictive (What is likely to happen? : คาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต).

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita