ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้จากเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 คือเรื่องใด

  • เผด็จ ขำเลิศสกุล
  • นักวิจัยประวัติศาสตร์ หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ

22 กรกฎาคม 2017

ที่มาของภาพ, Hulton Archive/Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ทหารอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ 1

22 กรกฎาคม 1917 หรือเมื่อหนึ่งศตวรรษที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางซึ่งนำโดยเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี หลังจากคงท่าที 'เป็นกลางอย่างเคร่งครัด' มาเกือบ 3 ปี หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มต้น การเลือกข้างของสยามในท้ายที่สุดเป็นความจำเป็นทางการเมือง

นี่เป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยและเสรีภาพในการค้าและการพาณิชย์กับชาติตะวันตกอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส เปิดทางสู่การยกเลิกสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สนธิสัญญาเบาว์ริง ที่มีเรื่อยมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งทำให้ชาติตะวันตกทำการค้าได้โดยเสรี มีเพดานภาษีส่งออกและนำเข้าเพียงร้อยละ 3 รวมไปถึงการตั้งสถานกงสุลอังกฤษในสยามและให้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

  • เยอรมนีสั่งอพยพ 50,000 คน เพื่อกู้ระเบิดตกค้างสมัยสงครามโลก
  • “เที่ยวบินสุดท้าย” ของนักบินสงครามโลกครั้งที่ 2
  • เกิดอะไรขึ้นที่ดันเคิร์ก?

หลังสงครามสิ้นสุด สยามได้ก้าวสู่การเป็นส่วนหนึ่งประชาคมโลก เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติเมื่อปี 1919 และประสบความสำเร็จในการยุติสนธิสัญญาที่มีต่อเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ตามมาด้วยสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกาในปี 1920 และกับอังกฤษในปี 1924 และฝรั่งเศสในปี 1925

ที่มาของภาพ, THE NATIONAL ARCHIVES

คำบรรยายภาพ,

การประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี 22 ก.ค. 1917

'ไม่มีความรักให้กับเยอรมนี'

ในช่วงแรกของสงคราม ความคิดเห็นทั่วไปของกลุ่มชนชั้นนำของสยามดูโอนเอนไปทางฝ่ายสัมพันธมิตร ดังจะเห็นได้จากรายงานของราชทูตอังกฤษประจำสยาม เซอร์ เฮอร์เบิร์ต เดอร์ริง ผู้กล่าวว่า "ท่าน[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]ไม่มีความรักให้กับเยอรมนี"

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงมีความเห็นว่า สยามยังอยู่ห่างไกลจากสงครามและนโยบายที่เหมาะสมคือการรักษา 'ความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด' ซึ่งจะเห็นได้จากการประกาศเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ปี 1914 ห้ามไม่ให้มีการสื่อสารบนเรือเดินสมุทรของประเทศคู่สงครามในน่านน้ำสยาม เพื่อป้องกันการละเมิดความเป็นกลางของสยาม รวมถึงการออกกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ปี 1914 เพื่อป้องกันการแทรกแซงจากภายนอก และรักษาความมั่นคงภายใน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า ถ้าเยอรมนีชนะสงครามและประสบความสำเร็จในการขยายอิทธิพล สยามจะตกอยู่ในฐานะที่ลำบากเนื่องจากทางรถไฟสายเหนือของสยามซึ่งกำลังก่อสร้างยังตกอยู่ใต้อิทธิพลของนายช่างวิศวกรและผู้ควบคุมชาวเยอรมัน และธนาคารของรัฐบาลสยามที่เพิ่งก่อตั้งก็ตกอยู่ภายใต้การการบริหารของชาวเยอรมันเช่นกัน

สิ่งที่ทำให้สยามเริ่มไม่ไว้เนื้อเชื่อใจเยอรมนีและเริ่มพยายามหาเหตุผลเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรคือข้อมูลจากรายงานลับของ เซอร์ เฮอร์เบิร์ต เดอร์ริง ราชทูตอังกฤษ ที่ส่งกลับไปให้ เซอร์ เอ็ดเวิร์ด เกรย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณกลางปี 1915

ที่มาของภาพ, THE NATIONAL ARCHIVES

คำบรรยายภาพ,

รายงานลับเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ในสถานกงสุลเยอรมนีมีส่วนเกี่ยวข้องในการปลุกปั่นชาวอินเดีย ปี 1915

รายงานนี้อ้างอิงข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ชาวอินเดียประจำกองตำรวจสิงคโปร์ซึ่งเข้ามาสืบข่าวในกรุงเทพเมื่อต้นปี 1915 ซึ่งระบุว่า เจ้าหน้าที่ของสถานทูตเยอรมนีในกรุงเทพฯ เป็นผู้ปลุกปั่นชาวซิกข์ และชาวอินเดียที่เดินทางจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาในสยามให้กระด้างกระเดื่องต่อจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้เกิดการกบฏของทหารอินเดียในสิงคโปร์ในเดือนกุมภาพันธ์

ในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ในสถานกงสุลเยอรมนีก็มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลุกปั่นชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในสยามเพื่อที่จะทำการติดอาวุธและบุกเข้าไปในพม่า

ด้วยความที่อังกฤษเป็นคู่สงครามพอดี เยอรมนีจึงให้การสนับสนุนกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านจักรวรรดิอังกฤษนี้ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วภูมิภาคเอเซีย

แต่ถึงกระนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวยังไม่เห็นโอกาสหรือเหตุผลสมควรที่จะประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง เนื่องจากยังไม่มีชาวสยามถูกสังหาร ไม่มีเรือสยามที่ถูกโจมตี หรือลูกเรือชาวสยามที่ถูกจับเป็นนักโทษแต่อย่างใด

มีหลักฐานว่า ฝรั่งเศสต้องการจะขอสัมปทานทำทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับอินโดจีนของฝรั่งเศส และนี่น่าจะเป็นสาเหตุของฝรั่งเศสในการจะดึงสยามเข้าร่วม โดยฝรั่งเศสก็คงเล็งเห็นอยู่แล้วว่าสยามเองก็ต้องการเข้าร่วมสงครามเพราะนี่จะทำให้สยามมีสิทธิ์และเสียงที่ในการต่อรองมากขึ้นหลังสงครามสิ้นสุดลง

อีกเหตุผลหนึ่งของการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรคือรัฐบาลสยามมีความกังวลต่อรัฐบาลญี่ปุ่นที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก หลักฐานจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนการที่จะให้มีการอภิเษกสมรสระหว่างรัชกาลที่ 6 กับหนึ่งในพระราชธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น และมีการจับตัวผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นสายลับของญี่ปุ่นในป่าทางภาคใต้ของสยาม

ด้าน เซอร์ เฮอร์เบิร์ต เดอร์ริง ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการเข้าร่วมสงครามเพราะอาจเป็นเหตุให้สยามมีข้ออ้างขอแก้ไขสนธิสัญญา ดังจะเห็นได้จากโทรเลขจากกระทรวงต่างประเทศอังกฤษที่มีไปถึง เซอร์ จอร์จ บูแคนัน เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำเปโตรกราด หรือนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปัจจุบัน ว่า "แรงกดดันจากฝ่ายสัมพันธมิตรอาจจะได้รับการตอบสนองที่ไม่พึงประสงค์จากสยามในการที่จะใช้เป็นข้อต่อรองในการแก้ไขเรื่องภาษีศุลกากรและสิทธิพิเศษเหนือดินแดน"

'สยามส่งกองทัพในสงครามโลกครั้งที่ 1'

ท่าทีรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัดของสยามเปลี่ยนไปหลัง เคานต์ โยฮานน์ ฟอน แบนชตอร์ฟ เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำสหรัฐอเมริกาได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะทำสงครามทางเรือดำน้ำแบบไม่มีข้อจำกัด (unrestricted submarine warfare) ซึ่งคือการโจมตีเรือโดยไม่บอกกล่าวก่อนตามธรรมเนียมการสู้รบทางเรือ และเมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 6 เมษายน ปี 1917

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ทหารฝรั่งเศสในสงครามในช่วงปี 1916

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคาดการณ์ว่า เยอรมนีจะแพ้สงครามและพระองค์ก็ตระหนักถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมกับกลุ่มพันธมิตร จากบันทึกลับเรื่องความคิดที่จะให้กรุงสยามเข้าร่วมในสงคราม พระองค์ทรงแจ้งต่อคณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ปี 1917 ว่า สยามมีโอกาสเสี่ยงต่อการสููญเสียมากกว่าหากยังดำรงความเป็นกลาง มีความเป็นไปได้ที่เยอรมนีจะแพ้สงคราม และถ้าอังกฤษและฝรั่งเศสตัดสินใจเข้ายึดทรัพย์สินและสิทธิพิเศษของเยอรมนีในสยาม สยามก็จะไม่สามารถทำอะไรได้

แต่หากเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร สนธิสัญญาใด ๆ ที่สยามทำกับเยอรมนีก็จะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย และฝ่ายสัมพันธมิตรอาจยินยอมให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกันซึ่งมีผลผูกมัดสยามตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกและเป็นนายทหารกิตติมศักดิ์ของกองทหารม้าฮุสซาร์ของรัสเซีย และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร อัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส เห็นว่าสยามควรจะเข้าร่วมสงคราม

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถทรงกล่าวว่า จะเป็นประโยชน์ต่อสยามอย่างมากถ้าส่งกองทหารไปยังทวีปยุโรปเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจและตั้งใจที่จะเป็นพันธมิตรที่แข็งขัน และจะช่วยเพิ่มโอกาสในการปรับแก้สนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ได้ทำไว้

1 มิถุนายน 1917 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายกับคณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์ว่า การจะรอให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาเชิญเพื่อให้เข้าร่วมสงครามคงจะเป็นไปได้ยาก จากนั้นพระองค์ได้กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่สยามจะดำเนินนโยบายของตัวเอง และในตอนเช้าของวันที่ 22 กรกฎาคม 1917 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปี 1917 สยามได้ออกประกาศรับอาสาสมัครเข้าประจำการในกองทหารอาสาสมัครที่จะไปช่วยรบประมาณ 1,250 คน ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยขนส่งยานยนต์ บุคลากรทางการแพทย์ และนักบิน โดยก่อนหน้าที่จะส่งทหารอาสาไปแนวรบด้านตะวันตก(Western Front) ซึ่งเป็นบริเวณการสู้รบหลักของสงครามโลกครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งคณะทูตทหารซึ่งนำโดย นายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้บัญชาการ กองพลที่ 4 ไปประสานงานกับฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปไปก่อนแล้ว

ที่มาของภาพ, NATIONAL ARCHIVE

คำบรรยายภาพ,

บทความจาก Bangkok Daily Mail รายงานถึงการมาถึงของกองทหารอาสาสยามในยุโรป ปี 1918

วันที่ 30 กรกฏาคม ปี 1917 เรือเอ็มไพร์ซึ่งได้บรรทุกกองทหารอาสาได้เทียบท่าที่ท่าเรือมาร์กเซย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส หลังจากได้รับการตอนรับจากผู้บัญชาการทหารภาคที่ 15 ประจำมาร์กเซย กองบินของกองทหารอาสาสยามเดินทางไปฝึกที่โรงเรียนการบินที่เมืองอิสทร์ ในเดือนสิงหาคม ปี1917 นักบินสยามที่ผ่านการฝึกอบรมขั้นพื้นฐานก็ถูกส่งไปยังโรงเรียนฝึกอบรมเฉพาะทางอีกหลายแห่ง แต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็ยุติลงเสียก่อน

แม้ว่ากองบินของสยามจะไม่ได้ผ่านการต่อสู้ในสงครามแต่กองบินนี้ก็ได้กลายเป็นแกนหลักในการก่อตั้งกองทัพอากาศไทยในเวลาต่อมา

สำหรับกองทหารบกรถยนต์ได้ถูกส่งไปโรงเรียนฝึกอบรมที่เมืองลียง และเมืองดูร์ดอง เมือวันที่ 6 สิงหาคม ปี 1918 ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน ของปีเดียวกัน กองทหารบกรถยนต์ได้ถูกส่งไปที่เขตวิลมัวแย็น ซึ่งตั้งอยู่ประมาณ 50 กิโลเมตรจากแนวหน้าสู้รบ เพื่อฝึกอบรมยุทธวิธีทหารเพิ่มเติม

ในระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน ปี 1918 กองทหารบกรถยนต์ประสบความสำเร็จในการการขนส่งทหารจำนวน 3,600 นาย รวมทั้งเสบียงอาหารและยุทธภัณฑ์จำนวนมากถึง 3 พันตันไปที่แนวหน้าสู้รบ จากนั้น กองทหารบกรถยนต์ได้ย้ายที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองแวร์เดิง ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน จนถึงวันสงบศึกวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี 1918

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ทางกองบัญชาการขนส่งทางบกกองทัพฝรั่งเศส ได้นำเหรียญเกียรติยศฝรั่งเศส คัว เดอ แกร์ (Croix de Guerre) มามอบให้นายทหารสยามในกองทหารบกรถยนต์ และต่อมาในวันที่ 12 ธันวาคม ปี 1918 กองทหารบกรถยนต์ได้เดินทัพรวมกับกองทัพสัมพันธมิตรเพื่อเข้ายึดครองเมืองนอยชตัด ในเยอรมนี

ข้อใดคือประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1

การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทยในครั้งนั้น ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติหลายประการ โดยนอกจากจะได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสถานการณ์โลกและความเป็นเอกราช ความสามารถ และศักยภาพของไทยแล้วนั้น ยังทำให้ประเทศต่าง ๆ ในโลก โดยเฉพาะชาติสัมพันธมิตร ยุโรปและอเมริกา ได้รู้จักประเทศไทย ซึ่งเปิดทางสู่การแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่ ...

ผลที่ประเทศไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 สมัยรัชกาลที่ 6 คือข้อใด *

ผลที่ประเทศสยามได้รับจากการตัดสินพระราชหฤทัยเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในการพระราชสงคราม ณ ทวีปยุโรปครั้งนี้ นอกจากจะได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ส่ง นายนาวาโท พระประดิยัตินาวายุทธ [7] (ศรี กมลนาวิน) ไปฝึกหัดปฏิบัติการในเรือพิฆาตของกองทัพเรือเดนมาร์ก และ นายนาวาตรี หลวงหาญสมุท [8] (บุญมี พันธุมนาวิน) ...

ไทยมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างไร *

ราชอาณาจักรสยาม หรือประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยส่งกำลังพลไปช่วยฝ่ายสัมพันธมิตรรบกับฝ่ายมหาอำนาจกลางที่แนวรบด้านตะวันตกในประเทศฝรั่งเศส สงครามโลกครั้งที่หนึ่งถึงแม้จะไม่มีผลกระทบต่อภายในสยามมากนัก แต่การตัดสินใจเข้าร่วมสงครามก็เป็นหนึ่งในความสำเร็จของสยามที่ทำให้นานาประเทศใน ...

ประเทศไทยได้รับผลกระทบอะไรจากสงครามโลกครั้งที่1

ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงคราม นอกจากจะเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียง และเกียรติคุณของประเทศแล้ว ยังมีการแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย รวมทั้งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกริเริ่มในองค์การสันนิบาตชาติ ตลอดจนได้นำประสบการณ์จากสงครามในครั้งนี้มาปรับปรุงวิชาการทหารให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita