เอกลักษณ์ อาจารย์ เฉลิม ชัย

8.วัดร่องขุ่น (เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ : ศิลปินศิลปาธร) Wat Rong Khun (Chalermchai Kositpipat : Silapatorn Awarded Artist) ที่อยู่ บ้านร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย 57000  เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เป็นศิลปิน ศิลปาธรสาขาทัศนศิลป์ ปี พ.ศ. 2547 มีฝีมือเป็นที่ยอมรับท่านหนึ่งของประเทศไทย เคยได้รับเหรียญ ทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ ในตอนที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 มีผล งานรูปวาดจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพุทธปทีป วัดไทยในกรุงลอนดอน วัด ร่องขุ่นที่จังหวัดเชียงรายบ้านเกิด เป็นผลงานชิ้นเอกที่เฉลิมชัยตั้งใจ สร้างขึ้นอย่างมีเอกลักษณ์และงดงาม นอกจากความงดงามของวัดแล้ว ยังมีห้องแสดงผลงานศิลปะของเฉลิมชัยอยู่ภายในวัดด้วย


วิดีโอ YouTube

บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 29 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

062-5932224

การส่งใบสมัครบนเว็บไซต์

082-796-1670 หรือ 02-118-6953

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโครงการ

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) จิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายอย่าง

ได้มีผลงานเช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป 
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก

และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย

.


ประวัติ

เป็นจิตรกรที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับท่านหนึ่งของประเทศไทย เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย

เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว
(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล) และนางพรศรี อยู่สุขทำคลอดด้วยหมอตำแยชื่อยายตุ่น

ชีวิตตอนเด็กๆ เป็นคนเกเร ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป 
จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ

ในตอนที่เรียนอยู่ตอนปีที่ 4  มีผลงานรูปวาดตามผนังของวัดไทยมากมาย ผลงานปัจจุบัน ท่านตั้งใจที่จะสร้างวัดร่องขุ่น

ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ด้วยศิลปะสมัยใหม่

 (ภาพวาด โดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ )

ลงาน


การแสดงผลงาน เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จัดแสดงผลงานเดี่ยว และร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน

    * พ.ศ. 2523 เป็นประธานก่อตั้งกลุ่ม "ศิลปไทย 23" เพื่อต้านอิทธิพลศิลปะจากยุโรป อเมริกา
    * พ.ศ. 2527 เริ่มโครงการจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเดินทางไปเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีป โดยไม่คิดค่าจ้าง
    * พ.ศ. 2539 เริ่มดำเนินการออกแบบก่อสร้างอุโบสถ วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านเกิดของตนถวายเป็นพุทธบูชาจนถึงปัจจุบัน

รางวัลและเกียรติยศ

    * พ.ศ. 2520 - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 3
    * พ.ศ. 2520 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 จากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 25
    * พ.ศ. 2522 - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 4 ของธนาคารกรุงเทพ
    * พ.ศ. 2536 - ได้รับเครื่องหมายเกียรติคุณบุคคลตัวอย่างผู้สร้างเสริมงานวัฒนธรรมด้าน จิตรกรรม จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
    * พ.ศ. 2537 - ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "เพชรสยาม" (สาขาจิตรกรรม) จากสถาบันราชภัฎจันทรเกษม
    * พ.ศ. 2538 - ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เขียนภาพประกอบ บทพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" 
และออกแบบเหรียญพระราชทานคณะแพทย์
    * พ.ศ. 2543 - ที่ปรึกษากรมศิลปากร งานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง
          o ที่ปรึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย ออกแบบธนบัตรราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
          o ถวายการสอนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

ทุนที่ได้รับ

    * พ.ศ. 2523 - ทุนจากกลุ่มศิลปินร่วมสมัยของศรีลังกา ร่วมกับสถานทูตไทยในโคลัมโบให้พำนักศึกษา พุทธศิลป์ เป็นเวลา 6 เดือน และทุนในการแสดงผลงาน
    * พ.ศ. 2524 - ทุนจากโยฮันเนส ซุลทส์เทสมาร์ ให้พำนักและแสดงผลงานในเยอรมนีเป็นเวลา 6 เดือน - ได้รับเชิญจากบริติชเคาน์ซิล ให้ไปดูงานศิลปะ 
และพบศิลปินมีชื่อของอังกฤษ
    * พ.ศ. 2526 - ทุนจากทูตวัฒนธรรมเยอรมนี ไปศึกษาดูงานพุทธศิลป์ ในประเทศพม่า
    * พ.ศ. 2527 - ทุนจากมูลนิธิวัดพระพุทธศาสนา ณ กรุงลอนดอน และรัฐบาลไทยในการเขียนภาพจิตรกรรม ฝาผนัง วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน
    * พ.ศ. 2532 - ทุนจากกงสุลเยอรมนีในซานฟรานซิสโก แสดงผลงานในสหรัฐอเมริกา
    * พ.ศ. 2539 - ทุนจากกงสุลไทยในแอลเอ ร่วมกับสภาศิลปกรรมไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อเดินทางไปแสดงผลงาน เนื่องในโอกาสเปิดสถานกงสุลไทย

ที่มา วีกีพีเดีย

(ภาพวาด โดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ )

หากจะนับชื่อศิลปินไทยที่เรารู้จัก แน่นอนว่า “เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์” เป็นศิลปินในลำดับต้นที่ถูกนึกมาเป็นชื่อแรกๆ เขาเป็น 1 ใน 3 ของศิลปินสายจิตรกรรมในประเทศไทย
ที่นักสะสมต้องการความเห็นของเขา ผลงานของเขาอยู่ในแกลเลอรี่ส่วนตัวของเศรษฐี นักธุรกิจชั้นนำหลายคน 
การสร้างงานที่เดินทางมาสู่จุดปลายสุดในสาขาอาชีพของความเป็นศิลปินไทย อันได้แก่ ถวัลย์ ดัชนี, จักรพันธ์ โปษยกฤต ที่อยู่ในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 
(จิตรกรรม) ด้วยการยอมรับจากสังคม และผลงานที่ถูกตีราคาสูง



ด้วยผลผลิตจากบรรยากาศชาตินิยมในช่วงปี 2519 การเกิดขึ้นของภาควิชาศิลปไทยในมหาวิทยาลัยศิลปากรภายใต้การกำกับของ ชลูด นิ่มเจริญ ได้สร้างบัณฑิตรุ่นแรกอย่าง 
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มาผลิตงานศิลปะไทยในช่วงกระแสชาตินิยม



ด้วยเหตุนี้ศิลปะไทยจึงกลายเป็นจุดยืนของเขาที่ชัดเจนจากที่ว่างที่มี อยู่ในสังคมในขณะนั้น ด้วยรูปลักษณ์ “ความเป็นไทยแบบร่วมสมัย” 
นอกจากนั้นการร่วมและจัดตั้งกลุ่ม “ศิลปไทย 23” เพื่อต่อต้านกระแสวัฒนธรรมต่างชาติในปี 2523 ก็ทำให้ลักษณะการพูดจาอย่างไม่กลัวเกรงเป็นจุดเริ่มที่ติดตา 
และได้กลายเป็นการย้ำจุดยืนของเขาที่ชัดเจนในศิลปะไทยต่อสังคมในขณะนั้น ภายหลังจากนั้นอีก 4 ปีถัดมา การเดินทางไปเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพุทธประทีป 
ตำบลวิมเบิลดัน พาร์คไซด์ (Wimbledon Parkside) ประเทศอังกฤษ เป็นการมุ่งสู่ความลึกซึ้งทางธรรม และกลายเป็นอิทธิพลต่องานในแนวทาง 
“พุทธศิลป์” (Buddhistic Art) ที่เขาศรัทธา จนนำไปสู่การสร้างงานประติมากรรมและจิตรกรรมที่ยิ่งใหญ่โดยฝากผลงานทั้ง ชีวิตทิ้งไว้ให้เป็นพุทธบูชา

“วัดร่องขุ่น” ที่จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยว เมื่อเกือบ 2 ปีก่อนเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 18,000 คน ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปีที่แล้ว 
โดยคาดว่าปริมาณคนที่แห่เข้ามาชมผลงานจะมากขึ้นและเหยียบหลักแสนได้ภายในไม่ กี่ปี ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะชาวไทยที่ตั้งใจ 
มาเยี่ยมชมผลงานของเฉลิมชัย ซึ่งสิ่งที่เขากล่าวถึงเสมอก็คือต้องการที่จะสร้างงานตลอดชีวิต เขาบอกว่าเกิดจากความต้องการที่จะสร้างงานระดับโลก 
ไม่ได้มีปัญหาเรื่องขาดเงิน

(ภาพวาด โดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ )

การจัดงานนิทรรศการ “วาดทำบุญ” ที่ผ่านมา 3 ครั้ง เป็นการจากมาและจากไปแต่ละครั้งของชีวิต เมื่อ 7 ปีที่แล้ว

การพักงานเขียนเพื่อที่จะลงมือสร้างวัดร่องขุ่น เริ่มมาตั้งแต่ตอนนั้น แต่ชื่อของเขาก็ยังขายได้มาตลอด

ปัจจุบันงานนิทรรศการของเขาที่ผ่านมาจึงไม่ใช่การขายผลงานจริง แต่เป็นเพียงแค่การแสดงผลงานที่ผ่านมา
ตั้งแต่การเป็นชีวิตนักศึกษา เป็นส่วนที่ต่อจาก ภาพพิมพ์ เสื้อ หนังสือ และการ์ด

ที่จำหน่ายและตั้งใจนำรายได้สมทบทุนสร้างวัดร่องขุ่นโดยให้ทุกคนร่วมทำบุญ 
ในจำนวนจำกัดที่ไม่มากกว่า 1 หมื่นบาท และจะไม่มีการจารึกชื่อใดๆ ทั้งสิ้น



ด้วยคำกล่าวตอนหนึ่งที่เขากล่าวกับ “POSITIONING” ว่าเขาไม่ความจำเป็นใดๆ เพื่อที่จะวาดรูปอีก

เขาไม่ได้ต้องการวาดรูปขายหรือเพื่อประทังชีวิต เพราะสิ่งที่เขามีอยู่ตอนนี้เรียกได้ว่าเกินพอ

การวาดของเขาก็เพื่อศาสนา วาดในวัดแค่นี้ก็คงพอแล้ว การจำกัดไม่ให้ใครคนใดบริจาคมากเกินไป

ก็เพื่อหวังจะให้ผลงานนี้ เป็นของทุกคนในประเทศ และเป็นงานของแผ่นดินจริง เขาเล่าว่า

ได้รับการติดต่อจากวัดหลายแห่งทั่วประเทศเพื่อที่จะสร้างผลงน แต่เขาเลือกที่จะไม่ไป 
โดยพอใจที่จะอยู่ที่ถิ่นเกิด และหมายมั่นตั้งใจว่าจะสร้างผลงานที่นี่ตลอดชีวิต ให้เป็นงานระดับโลก



ปัจจุบันรายได้จากภาพพิมพ์ เสื้อ หนังสือ และการ์ด ที่มาจากผลงานของเขา ที่จำหน่ายในวัดร่องขุ่นเดือนหนึ่ง

รวมถึงเงินบริจาค รายได้ตกอยู่เฉลี่ยเดือนละ 1.2 ล้านบาท 
ถูกบริหารจัดการในรูปแบบบริษัทและมีคณะกรรมการที่มาจากชุมชนเป็นคนคอยดูแล

โดยที่เฉลิมชัยวางตัวและดำรงอยู่ในฐานะเป็นศิลปินผู้ออกแบบเท่านั้น 
เขาเล่าว่าเขาปฏิเสธที่จะรับรู้รายได้ และวิธีการบริหารทั้งหมด คนงานภายในวัดกว่า 48 คน

ถูกจัดแบ่งหน้าที่ตามฝ่ายต่างๆ 6 ฝ่าย ประกอบด้วยลูกศิษย์ที่เป็นช่างฝีมือชาวบ้านจังหวัดเชียงรายทั้งสิ้น

รายได้หมดไปกับเงินเดือนพนักงานราวเดือนละ 2 แสนบาท และวัสดุอุปกรณ์เพื่อสร้างงาน
ที่ส่งมาจากต่างประเทศราคาแพง เป็นสิ่งที่สะท้อนมาจากฝ่ายจัดการอีกว่า

พื้นฐานโครงสร้างที่กำลังจะต่อเติมเพิ่มขึ้นอีก 9 หลัง 
ถูกปรับและรื้อถอนตามความไม่พอใจของเฉลิมชัย ซึ่งตกอยู่ราวประมาณ 2-5 ล้านบาทต่อหนึ่งงานที่จ้างจากภายนอก

ที่เป็นฝ่ายทำให้ชายผู้เรียกตัวเองว่า “บ้า” ระดับหนึ่ง กลายเป็นจริง



ขณะที่ส่วนต่างถูกจัดเก็บเพื่อเป็นกองทุน ในยามที่เฉลิมชัยบอกเล่าออกมาเสมอด้วยความไม่ประมาทว่า

“หากเขาจากไปเมื่อไหร่ทุกส่วนต้องอยู่ได้ตัวของตัวเอง” 


ปัจจุบันเฉลิมชัยเดินทางโดยไม่พกเงิน มีเพียงหมวก และไม้เท้าปลายแหลมเพื่อคอยเก็บเศษขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่อยู่ในวัดภายใน

พื้นที่ราว 3 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เมื่อเริ่มแรก ก่อนที่จะได้รับบริจาคและจัดซื้อบริเวณโดยรอบราว 12 ไร่

อันเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านเล่าว่าแต่ก่อนเคยเป็นป่ารกแต่ 7 ปีถัดมาได้กลายสภาพเป็นพื้นที่ร้านค้า

และร้านอาหาร ลานจอดรถ รวมไปถึงบริเวณรอบนอกที่กำลังจะถูกพัฒนา โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นปัญหาสำคัญ

รวมไปถึงการดูแลภูมิทัศน์โดยรอบไม่ว่าบ้านสองหลังในกรุงเทพฯ ที่ซอยอารีย์สัมพันธ์ และบ้านที่สะพานใหม่

พื้นที่ที่เขาใช้สิทธิเลือกตั้ง บ้านที่เชียงใหม่สำหรับโรงเรียนของลูกและที่อยู่ของภรรยา 
และบ้านพักใกล้น้ำตกที่เชียงรายถูกดูแลโดยครอบครัวที่เฉลิมชัยอุปถัมภ์ 3 ครอบครัว การวางแผน

และการจัดการทรัพย์สิน รวมไปถึงภาพเขียนที่เป็นที่ต้องการของตลาด 
เขาเล่าว่าถูกจัดการอย่างเป็นระบบ และเตรียมการมาอย่างดี

 ภาพวัดร่องขุ่น จังหวัด เชียงราย

ขอขอบคุณข้อมูล : //www.sipang-artgallery.com


    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita