คนไทยมาจากตอนใต้ของจีน หลักฐาน

รู้ไหม? คนไทยมาจากไหน

2 Min

964 Views

14 Dec 2020

ก่อนอื่นคำว่า ‘ทัย’ หรือ ‘ไทย’ มาจากวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศอินเดีย ที่ทางอินเดียเขียนว่า ‘เทยยะ’ โดยนำมาดัดแปลงให้เข้ากับแฟชั่นในยุคนั้น จนกลายมาเป็นคำว่า ‘ไทย’ ในปัจจุบันนี้

เชื่อว่าหลายคนคงเกิดคำถามขึ้นมาในหัวว่า ‘ความเป็นคนไทยคืออะไร’ แล้ว ‘คนไทยมาจากไหนกัน?’

ซึ่งสันนิษฐานออกมาเป็น 4 ทฤษฎีด้วยกัน คือ

1. คนไทยมาจาก…เทือกเขาอัลไต
2. คนไทยมาจาก…ทางตอนใต้ของจีน
3. คนไทยมาจาก…ไม่ได้มาจากไหน อยู่ตรงนี้นี่แหละ
4. คนไทยมาจาก…ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณแถบประเทศอินโดนีเซีย

ซึ่ง 4 ทฤษฎีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เรามองความเป็นคนไทยจากมุมไหน ไม่ว่าจะทางภาษา วัฒนธรรม และยีนส์ หรือมุมอื่นๆ

ทฤษฎีแรก คนไทยนั้นมาจากเทือกเขาอัลไต อยู่แถวตอนใต้ของประเทศรัสเซีย หรือทางประเทศจีนตอนเหนือ มาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลของไทยสั่งสม บรรจุความเชื่อนี้ในแบบเรียนมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่มีนักวิชาการต่างชาติ และคนไทยจำนวนหนึ่งที่เชื่อถือ

ทฤษฎีที่สอง คนไทยมาจากทางตอนใต้ของจีน เนื่องจากมีอารยธรรมทางภาษาพูดที่คล้ายกับคนไทย ซึ่งได้รับการยอมรับมากที่สุด จนเป็นวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการสืบทอดกันมาเรื่อยๆ

ทฤษฎีที่สาม คนไทยอยู่ตรงนี้มาจากการขุดพบโบราณสถาน วัตถุโบราณ เช่น แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหม้อบ้านเชียงที่มีให้เห็นกันมาถึงปัจจุบันนี้ และพบกระดูกคล้ายของคนไทย จนเริ่มเกิดการผสมผสานจนมียีนส์เหมือนกัน

จากยีนส์ที่เหมือนกัน เชื้อสายที่คล้ายกัน ทำให้นำไปสู่ทฤษฎีสุดท้ายที่สันนิษฐานว่าคนไทยรวมตัวกับประเทศแถบรอบข้าง ไม่ว่าจะพม่า หรืออินโดนีเซียกันมาเป็นเวลานาน ทำให้เป็นการสืบทอดทางสายเลือดต่อๆ กันมา จนมียีนส์ที่ใกล้เคียงกันมากกว่าทางตอนใต้ของจีน

มาลองทายกันดีกว่าว่า จากที่กล่าวมาทั้งหมดมีทฤษฎีใดที่มีหลักฐานไม่ตรง แต่ก็ยังมีคนอ้างถึงอยู่?

เฉลยทฤษฎีแรกคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตนั่นเอง เพราะสมมติคนไทยอยู่แถวเทือกเขาอัลไตจริง คงมีรูปร่างอ้วน ถึก และทนกว่านี้ อีกทั้งเทือกเขาอัลไตอยู่ไกลมาก ระยะการเดินทางกว่าจะถึงไทยก็ไกลแสนไกล อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าคนไทยนั้นยิ่งใหญ่ เกิดมาก่อนคนจีนด้วยซ้ำ

ทำให้มีประวัติศาสตร์ที่แสนยาวนาน ทฤษฎีนี้ทำให้ภาพลักษณ์ความเป็นไทยดูเจริญและยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่รัฐจะอ้างถึง และใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความเป็น ‘ชาตินิยม’ แม้ว่าโดยเหตุและผลแล้วจะมีความเป็นไปได้น้อยกว่าทฤษฎีอื่นๆ ก็ตาม

หากอยากรู้ว่าความเป็นคนไทยมีจริงไหม หรือเป็นเพียงจินตนาการ

หาคำตอบได้ในพอดแคสต์ History Corgi ซีรีส์ประวัติศาสตร์ของตัวเรา EP.1: คนไทยมาจากไหน? //youtu.be/JB4FbcSyU6Y

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท ประกอบด้วยแนวคิดทั้งหลายซึ่งอธิบายถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน โดยมีอยู่หลากหลายแนวคิด เช่น

แถบตอนใต้ของจีน[แก้]

เป็นแนวคิดซึ่งเสนอว่าเดิมคนไทยเคยอาศัยอยู่บนเกาะไหหลำ เขตปกครองตนเองกว่างซี มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคำพ้องกับภาษาไทยจำนวนมาก[1] นักภาษาศาสตร์จึงเสนอว่าเดิมชาวไทยเคยอยู่อาศัยในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของจีน จากนั้นอพยพไปยังยูนนาน ก่อนที่จะอพยพลงมายังคาบสมุทรอินโดจีน[1] แต่การศึกษาในระยะต่อมา แนวคิดดังกล่าวจึงเปลี่ยนเป็นว่าชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเขตปกครองตนเองกว่างซี หรือเวียดนามแถวเดียนเบียนฟู[2]

  • นักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วย เช่น ศาสตราจารย์เจมส์ อาร์. เอ. เชมเบอร์ลิน, ศาสตราจารย์หลีฟ้ง-ก้าย, ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และ ดร.มาร์วิน บราวน์[3]

ต่อมา รายงาน The Archaeological Excavation in Thailand (การขุดค้นโบราณคดีในประเทศไทย) ของ ดร.เบีย ซอเรสเสน นักโบราณคดีชาวเดนมาร์ก ได้เสนอว่า ชนชาติไทยถือกำเนิดบริเวณตอนใต้ของจีน อพยพขึ้นเหนือ แล้วอพยพกลับลงมาอีก[4] จากหลักฐานซึ่งปรากฏว่ามีคนไทยหมู่หนึ่งเคยพูดภาษาไทยมานานถึง 3,777 ปีมาแล้ว[5]

  • พิสิฐ เจริญวงศ์ ได้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว และนับว่าภาคอีสานของไทยเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคโลหะในเอเชีย[5]
  • จิตร บัวบุศย์ ได้เสนอว่าวัฒนธรรมไทยเริ่มขึ้นที่บ้านเชียง และคนไทยเคยอพยพขึ้นไปทางเหนือแล้วย้อนกลับลงมาอีก
  • อย่างไรก็ตาม งานเขียนของ ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ระบุว่า วัฒนธรรมบ้านเชียงไม่สามารถระบุได้ว่ามนุษย์บ้านเชียงเป็นคนไทย เพราะในอดีตเคยมีการอพยพขึ้นเหนือและลงใต้อยู่หลายครั้ง
  • กวี อมรสิริธาดา เคยไปท่องเที่ยวเสียมราฐ ระหว่างที่เดินชมนครวัดอยู่นั้น มีชายชาวเวียดนามกำลังวิจารณ์รูปสลักบนผนังเป็นข้อความว่า "ไก่ไก่กำลังตีกัน" แต่พูดค่อนข้างเร็ว ซึ่งในรูปแกะสลักนั้นมีการแสดงวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของชาวเขมร ซึ่งการชนไก่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น นั่นจึงอาจสนับสนุนทฤษฎีที่ว่าชนชาติไทยอาจเคยอาศัยบริเวณตอนเหนือของเวียดนามมาก่อน เนื่องจากภาษาพูดบางส่วนคล้ายคลึงภาษาไทยมาก

ดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน[แก้]

สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เสนอในบทความ "คนไทยไม่ได้มาจากไหน" ว่า คนไทยได้อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยเกิดจากการรวมตัวกันของแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเป็นประเทศเดียวกัน เนื่องจากวัฒนธรรมพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน และการที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเหมือนกัน โดยถือว่าคนที่พูดภาษาที่คล้ายคลีงกันเป็นบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดพัฒนาการมาเป็นคนไทยในปัจจุบัน[6] อย่างไรก็ตาม ประชาชนเหล่านี้ไม่ค่อยมีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ แต่เน้นไปทางแว่นแคว้นมากกว่า[7]

แถบตอนกลางของจีน[แก้]

เป็นแนวคิดซึ่งเริ่มมาจาก ดร.วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ ในหนังสือเรื่อง The Thai Race: Elder Brother of the Chinese (ชนชาติไทย: พี่ชายของชนชาติจีน) โดยเสนอว่าชนชาติไทเคยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ต่อมา ชนชาติไทถูกชนชาติจีนมาปะทะจึงต้องถอยร่นไปในหลายทิศทาง ซึ่งส่วนมากได้ถอยไปยังแม่น้ำแยงซีและมณฑลยูนนานและตั้งอาณาจักรน่านเจ้า[8]

  • แนวคิดนี้มีนักประวัติศาสตร์เห็นด้วยจำนวนหนึ่ง เช่น วอลฟรัม เอเบอร์ฮาร์ด ในหนังสือ A History of China (ประวัติศาสตร์จีน) และศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ในบทความ "ถิ่นกำเนิดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย"[9]
  • ส่วนนักประวัติศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วย เช่น ศาสตราจารย์วิลเลียม เจ. เก็ดนีย์, ดร.เฟรเดอริก โมต, ชาลส์ โรนีย์ แบกคัส, [9] และวินัย พงศ์ศรีเพียร[1]
  • แบกคัสให้เหตุผลว่าคำในภาษาไทยไม่มีในคำภาษาน่านเจ้า, คำในภาษาน่านเจ้าส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับกลุ่มภาษาทิเบต-พม่ามากที่สุด ซึ่งไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับภาษาไทยเท่าใดนัก และรากฐานและพื้นฐานระหว่างวัฒนธรรมอ้ายลาวกับวัฒนธรรมน่านเจ้ามีความแตกต่างกัน[10]
  • วินัย พงศ์รีเพียรได้อ้างงานเขียนของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ซึ่งกล่าวว่าชนชาติไทยปรากฏในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16[1]

แถบเทือกเขาอัลไต[แก้]

แนวคิดดังกล่าวมาจากงานเขียนเรื่อง "หลักไทย" ของขุนวิจิตรมาตรา กล่าวว่าเดิมชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเทือกเขาอัลไตเมื่อประมาณ 6000 ปีที่แล้ว ต่อมา ได้อพยพลงมายังแม่น้ำหวงเหอ เรียกว่า "อาณาจักรไทยมุง" หรือ "อาณาจักรไทยเมือง"[11] และได้อพยพลงมาอีกจนถึงลุ่มแม่น้ำแยงซี แต่ต่อมาได้เสียเมืองให้กับจีน จึงต้องอพยพลงมาทางใต้ต่อไป[11] แนวคิดดังกล่าวไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ โดยได้มีผู้แสดงเหตุผลโต้แย้งหลายคน อย่างเช่น[11]

  • ศาสตราจารย์วิลห์ เครดเนอร์เห็นว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทควรอยู่ในแถบแม่น้ำ และมีภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้นทางตอนใต้ของจีน
  • ดร.พอล เค. เบเนดิกต์ เห็นว่า คนไทยไม่ได้มีเชื้อสายมาจากประเทศจีน เพราะรากศัพท์ที่แตกต่างกัน
  • ศาสตราจารย์อาจารย์ขจร สุขพานิช เห็นว่าระยะทางจากเทือกเขาอัลไตถึงประเทศไทยอยู่ห่างกันมาก และคนไทยไม่สามารถรอดชีวิตได้จากการเดินทางผ่านทะเลทรายโกบี
  • ขุนวิจิตรมาตรา ยอมรับว่าเป็นเพียงเรื่องแต่ง ที่แต่งเข้าประกวดในงานประกวด โดยไม่ได้ตั้งใจให้เป็นตำราประวัติศาสตร์ เนื้อหาในหนังสือระบุ "เดิมชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเทือกเขาอัลไตเมื่อประมาณ 6000 ปีที่แล้ว ต่อมา ได้อพยพลงมายังแม่น้ำหวงเหอ เรียกว่า อาณาจักรไทยมุง หรืออาณาจักรไทยเมือง และได้อพยพลงมาอีกจนถึงลุ่มแม่น้ำแยงซี แต่ต่อมาได้เสียเมืองให้กับจีน จึงต้องอพยพลงมาทางใต้ต่อไป"[12]
  • แบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการตามหลักสูตรใน พ.ศ. 2521 ได้ระบุให้ยกเลิกแนวคิดนี้จากแบบเรียนเรื่องคนไทยอพยพจากเทือกเขาอัลไต[12]
  • นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2523 ตีพิมพ์ถ้อยคำของ ขุนวิจิตรฯ ถึงประเด็นอันน่าเคลือบแคลงนี้ ซึ่งท่านอ้างว่าไม่ได้คิดขึ้นเอง แต่ได้มาจากหมอวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ ผู้เขียน The Thai Race-The Elder Brother of Chinese "ผมเขียนตามของหมอดอดด์ เขาว่างั้นนะ ไม่ใช่ผมมาเม้คขึ้นเองเมื่อไหร่ ผมก็ไม่รู้ (หัวเราะ) ผมไม่รู้หรอก ว่าจริงหรือไม่จริง"[12]

แถบหมู่เกาะ[แก้]

จากการศึกษาความหนาแน่นของหมู่เลือดพิเศษซึ่งมักพบในคนไทย มีความหนาแน่นมาทางตอนใต้แล้วค่อยลดลงเมื่อขึ้นมาทางเหนือ ในปี พ.ศ. 2506 นายแพทย์สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ จึงเสนอว่าชนชาติไทยอาจอพยพขึ้นไปทางเหนือ[13]

  • พลตรี ดำเนิร เลขะกุล แสดงความเห็นว่า ผลการตรวจอาจไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากผู้ที่ตรวจอาจมิใช่คนไทยทั้งหมด
  • ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช แสดงความเห็นว่า ดินแดนแถบหมู่เกาะมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าดินแดนประเทศไทย จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการอพยพไปอยู่ที่อื่น[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 22.
  2. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 23.
  3. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 24.
  4. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 24-25.
  5. ↑ 5.0 5.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 25.
  6. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 31.
  7. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 30.
  8. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 19-20.
  9. ↑ 9.0 9.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 20.
  10. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 20-22.
  11. ↑ 11.0 11.1 11.2 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 19.
  12. ↑ 12.0 12.1 12.2 "คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ประวัติศาสตร์ ′ปลอม′ ที่ไม่ยอมจากไป และพิพิธภัณฑ์ไทย ที่ไม่หมุนตามโลก". มติชนออนไลน์. 18 กุมภาพันธ์ 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2017.
  13. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 25-26.
  14. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 26.

บรรณานุกรม[แก้]

  • วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2545). บรรพบุรุษไทย: สมัยก่อนสุโขทัยและสมัยสุโขทัย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 974-13-1780-8.

ทฤษฎีที่ว่าคนไทยมาจากตอนใต้ของจีนใช้หลักฐานอะไร

ปัจจุบันด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และความคล้ายคลึงกันของภาษาตระกูลไท-กะได บรรดานักวิชาการยกให้ทฤษฎีคนไทยมีถิ่นกำเนิดบริเวณพื้นที่ทางตอนใต้ของจีนเป็นทฤษฎีหลัก สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในจดหมายเหตุเก่าของจีนที่บันทึกถึงอาณาจักร “เซียน” และอาณาจักร “ฉาน” ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีน สองคำนี้มีความคล้ายคลึงกับคำ ...

หลักฐานที่ใช้ศึกษาเรื่องคนไทยมีถิ่นกำเนิดในตอนกลางของจีนบริเวณมณฑลเสฉวนคือสิ่งใด

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษา 3. หลวงวิจิตรวาท-การ คนไทยเคยอยู่ในดินแดนซึ่งเป็นมณฑลเสฉวน หูเป่ย์ อานฮุย และเจียงซี ในตอนกลางของประเทศจีนแล้วได้อพยพมาสู่มณฑลยูนานและแหลมอินโดจีน ได้เรียบเรียงหนังสือ ชื่อว่า “งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย

คนไทยมาจากไหนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์

1 คนไทยอพยพมาจากพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน – เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไปในบริเวณตอนใต้ของจีน และทางตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงรัฐอัสสัมในอินเดีย หลักฐานจากชนเผ่ามากมายที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ดังกล่าว พวกเขาพูดภาษาตระกูลไท-กะได และมีวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีบางอย่างที่บ่งชี้ว่า ...

ทฤษฎีใดที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดว่าคนไทยมาจากไหน

เฉลยทฤษฎีแรกคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตนั่นเอง เพราะสมมติคนไทยอยู่แถวเทือกเขาอัลไตจริง คงมีรูปร่างอ้วน ถึก และทนกว่านี้ อีกทั้งเทือกเขาอัลไตอยู่ไกลมาก ระยะการเดินทางกว่าจะถึงไทยก็ไกลแสนไกล อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าคนไทยนั้นยิ่งใหญ่ เกิดมาก่อนคนจีนด้วยซ้ำ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita