ความสัมพันธ์ระหว่างธนบุรีกับจีน

ความสัมพันธ์ไทย-จีน ในรัชสมัยกรุงธนบุรี

โดย ว.วรรณพงษ์

ก่อนจะเล่าเรื่องราวรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่มีในบันทึกใน “พงศาวดารจีน” หรือ “สมุดจดหมายเหตุจีน” ที่เรียกว่า “เฉียนหลงตงฮวาลู่” ที่ทำขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง)  ทำขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๑๖ - พ.ศ. ๒๓๒๕ ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง ทั้งนี้เรื่องราวในรัชสมัย พระเจ้าตากสินมหาราชได้ถูกบันทึกไว้ในสารานุกรมจีนเล่มนี้เช่นกัน

เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังก็คือ “เรื่องไหใส่สมบัติไปใช้หนี้จีน”  เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ผู้เขียนได้รับข้อมูลจากท่านหนึ่ง เป็นล่ามในการติดต่อกับ “อาซินแซ” และกลุ่มเครือญาติ (พระเจ้าตากสิน) ผู้ดูแลอุทยานพระเจ้าตากสิน ณ เมืองเถ่งไห่ ประเทศจีน

อาซินแซให้ดูและได้ถ่ายรูป “ไหที่พระเจ้าตากสินใส่ผักกาดดองส่งไปเมืองจีน” เพื่อใช้หนี้จีนและส่วนหนึ่งก็ส่งไหนี้ให้ลูกหลาน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ๒๕๐ กว่าปีมาแล้ว อาซินแซ เล่าให้ฟังว่า  “ไหใบนี้ พระเจ้าตากสินใส่ทรัพย์สินไปใช้หนี้ที่เมืองจีน ข้างล่างใส่แก้วแหวนเงินทองของล้ำค่ามากมาย ด้านบนปิดด้วยผักกาดดอง เพื่อป้องกันโจรปล้น”

เดิมทุกคนไม่มีใครทราบว่า ไหผักกาดดองนี้จะมีแก้วแหวนเงินทองอยู่ภายใน เพื่อใช้หนี้ให้จีนและส่วนหนึ่งส่งให้ลูกหลานที่จีนด้วยเรือลำหนึ่ง ด้วยมาทราบภายหลัง เมื่อเหลือไหเหล่านี้ไปถึงเมืองจีนไม่กี่ใบ ตอนเรือเกิดพายุ ต้องลดน้ำหนักเรือ ไต้ก๋งได้โยน “ไหผักกาดดอง” เหล่านี้ลงทะเลไปไม่น้อย ส่วนหนึ่งส่งเพื่อไปใช้หนี้จีน อีกส่วนหนึ่งส่งมาให้ลูกหลานที่เมืองจีน เมื่อได้รับไหนี้ ลูกหลานโกรธมากว่า พระองค์ส่งไหผักกาดดองเหล่านี้มาให้ลูกหลานทำไม จึงเอาจอบทุบไหแตกทำให้ทราบว่า มีแก้วแหวนเงินทองซ่อนอยู่ด้านล่างไหนั่นเอง”

ดังนั้น “ไหใส่สมบัติล้ำค่า” เหล่านี้ เป็นหลักฐานยืนยันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์ได้ส่งมอบแก้วแหวนเงินทองของล้ำค่าไปใช้หนี้จีน  พระองค์มิได้สละราชบัลลังก์ เพื่อหนีหนี้แต่อย่างใด

************

หลักฐานสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่ยืนยันความสัมพันธ์ระหว่าจีนกับไทยเป็นอันดี ถูกบันทึกในพงศาวดารจีน ในรัชสมัย “สมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง)” เสด็จขึ้นเสวยราชย์สมบัติในปี พ.ศ. ๒๒๗๘ ทรงอยู่ในราชสมบัติถึง ๖๐ พรรษา นับว่ามีพระชนมายุยืนนาน จึงทรงรู้จักคุ้นเคยกับทูตไทยที่ขึ้นไปจิ้มก้องหลายคณะด้วยกัน ตั้งแต่รัชสมัย “สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๐๑) กระทั่งถึงรัชสมัย “สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์” กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา โดยมีคณะทูตไทย ๓ คณะเดินทางไปเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง ณ ราชสำนักกรุงปักกิ่ง

ทูตแห่งกรุงศรีอยุธยาคณะสุดท้ายมี “พระยาสุนทรอภัย (ปี้เอี้ยซ่งท้งออพ่าย)” เป็นราชทูต ครั้นไปถึงกรุงปักกิ่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๐๙ เป็นระยะเวลาที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าแล้ว หลังกรุงศรีอยุธยาแตกนั้น ทูตไทยคณะพระยาสุนทรอภัยยังคงตกค้างอยู่ ณ เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ยังกลับไทยไม่ได้

จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม “ซื่อคู่เฉวียนซู” หรือ “เฉียนหลงตงฮวาลู่” ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๑๖ - พ.ศ. ๒๓๒๕ ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง ดังนั้นเรื่องราวของพระเจ้าตากสินจึงได้ถูกบันทึกไว้ในสารานุกรมจีนเล่มนี้

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ คราเสียกรุงครั้งที่สองของไทย กว่าข่าวคราวจะล่วงรู้ไปถึงกรุงปักกิ่งในปี พ.ศ. ๒๓๑๑ เพราะการสื่อสารสมัยนั้น ต้องอาศัยการเดินทางโดยเรือสำเภาไปขึ้นที่ท่าเรือ ณ เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง แล้วจะต้องรอนแรมไปกรุงปักกิ่งโดยทางบกอีกแรมเดือน

จักรพรรดิเฉียนหลงทรงทราบข่าวคราวว่า กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว ทรงแสดงความเป็นห่วงใยอย่างยิ่ง จึงมีพระราชโองการถึงเสนาบดีกลาโหมและข้าราชการผู้เกี่ยวข้องให้หาทางช่วยกรุงศรีอยุธยา พระราชโองการนี้ลงเดือนที่ ๗ พ.ศ. ๒๓๑๑ ปรากฏเป็นหลักฐาน อยู่ในสมุดจดหมายเหตุจีนเรียกว่า “เฉียนหลงตงฮวาลู่” โดยมีอารักษ์เป็นผู้จดบันทึกพระราชโองการในสมุดจดหมายเหตุจีน เรียกคนพม่าว่า “ฮวนพุงลาย” เรียกไทยหรือสยามว่า “เสียมหลอก๊ก” มีบันทึกดังต่อไปนี้ คือ 
                

“ด้วยเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๓๑๐) หลีซือเหยา (ผู้สำเร็จราชการมณฑลกวางตุ้งกวางสี) ทราบว่าเสียมหลอก๊ก (เมืองไทย) ถูกกองทัพของฮวนพุงลาย (พม่า) ตีแตกเสียแล้ว อ๋องของเสียมหลอก๊กเสด็จหนีหายไปไม่มีร่องรอย

เมื่อท่านรับคำสั่งนี้แล้วจึงสั่งการไปยังเสฉวน ผู้บัญชาการทหารจังหวัด ให้สืบเสาะหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ระหว่างรอรับรายงานนั้น ก็ได้ทราบข่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนั้นเสียมหลอก๊ก (เมืองสยาม) ถูกฮวนพุงลายลาย (พม่า) เข้าปกครองแล้ว มีขุนนางฝ่ายบุ๋นและบู๊ของไทย ร่วมมือกับฮวนพุงลายปกครองเสียมหลอก๊กอยู่ด้วย อันเมืองของฮวนพุงลายกับเสียมหลอก๊กนั้นมีดินแดนติดต่อกัน ฮวนพุงลายอาจกลืนเสียมหลอก๊กทั้งหมด หรือหรือตัดทอนไปทีละน้อยก็ได้ ข่าวที่ได้รับยังไม่แน่ชัดทีเดียว

จักรพรรดิเฉียนหลงจึงทรงรับสั่งให้ “หลี่ซือเหยา” สอบถามเรื่องราวความเป็นไปจากพวกพ่อค้าที่ค้าขายติดต่ออยู่กับเสียมหลอก๊ก เราอยากทราบว่าเวลานี้เสียมหล่ออ๋อง (พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา) ประทับอยู่ ณ ที่ใด ระยะทางบกทางน้ำที่จะไปถึงเสียมหลอก๊กกับฮวนพุงลายไกลเพียงไร การเดินทางยากง่ายแค่ไหน มีอันตรายหรือไม่ ขอให้สอบสวนมาโดยละเอียด ถ้าสามารถเขียนแผนที่สังเขปมาให้ดูด้วยก็จะยิ่งดี ทั้งนี้เพื่อเอาไว้สำหรับพิจารณา ถ้าเคลื่อนทัพโดยสะเพร่าออกไปสู่ทะเลกว้างในต่างถิ่น อาจทำให้เสียการได้

ถ้าเสียมหลออ๋อง มีพระราชประสงค์จะกู้บ้านเมือง แต่ไม่มีกำลังเพียงพอ ต้องการให้ราชสำนักฟ้า (ราชสำนักจีน) ช่วยเหลือ เรายินดีจะยกทัพไปช่วย แต่เรื่องนี้ต้องพิจารณากันให้ถ่องแท้รอบคอบ ซึ่งจะดำเนินการอย่างไรหรือไม่นั้นยังไม่แน่ “หลีซือเหยา” จะต้องไปถามสืบเสาะให้ดีก่อนในทางลับ จงอย่าให้ข่าวรั่วไหลออกไปได้เป็นอันขาด ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นจึงแจ้งมาเพื่อทราบ ขอให้รีบปฏิบัติการและรีบรายงานให้เราทราบโดยด่วน”

พระราชโองการนี้บันทึกอยู่ใน “เฉียนหลงตงฮวาลู่” เล่มที่ ๖๘

***************
              

 “จงต๊กกวางตุ้ง” (ผู้สำเร็จราชการมณฑลของจีน) กระทำการสืบข่าวในทางลับด้วยความรีบร้อน ขณะนั้นสำเภาจากไทยไม่มีเลย ด้วยบ้านเมืองไทยกำลังอลหม่าน ทางจกต๊กมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ “เจ้าเมืองพุทไธมาศ” สมัยนั้นเมือพุทไธมาศขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา คือ “พระยาราชาเศรษฐี” เป็นช่องทางเดียวที่จงต๊กกวางตุ้ง จะได้ข่าวคราวจากเมืองไทย

เดิม “พระยาราชาเศรษฐี” เจ้าเมืองพุทไธมาศตั้งใจจะช่วยพระเจ้าตากสินในการกู้ชาติ แต่มาเปลี่ยนแปลงภายหลัง เมื่อตอนที่ “เจ้าเมืองจันทบุรี” หนีไปพึ่งพระยาราชาเศรษฐี ประกอบกับ “เจ้าจุ้ย” และ “เจ้าศรีสังข์” หนีไปพึ่งพระยาราชาเศรษฐีในระยะเวลาใกล้เคียงกัน จะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่ เมื่อฟังความข้างเดียว เรื่องก็กลับกลายจากขาวเป็นดำได้เสมอ

“พระยาราชาเศรษฐี” จึงไม่ยอมร่วมมือกับพระยาตากในการขับไล่พม่าอีกต่อไป คงหมายจะสถาปนา “เจ้าจุ้ย” หรือ “เจ้าศรีสังข์” บุตรกรมพระราชวัง ให้เป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา หรือเพื่อหวังประโยชน์แห่งตนในวันข้างหน้า อาจจะได้เป็นใหญ่เป็นโต พระยาราชาเศรษฐีจึงได้เขียนข่าวรายงานเบี่ยงเบนความจริง พร้อมทั้งได้เขียนแผนที่ในแถบโพ้นทะเล พร้อมคำอธิบายส่งมาให้อาณาจักรจีนด้วยความเคารพ

จงต๊กกวางตุ้งได้นำความจากพระยาราชาเศรษฐี ขึ้นทูลเกล้าถวายให้จักรพรรดิเฉียนหลงทรงทราบ ทางจีนก็เชื่อตามที่ได้รับรายงานมา จึงได้ส่งจดหมายขอบคุณไปถึงพระยาราชาเศรษฐี ดังนี้ว่า

“ท่านอยู่ในที่ห่างไกลโพ้นทะเล เมื่อท่านทราบว่าทางราชสำนักต้องการทราบความเป็นไปในเสียมหลอก๊ก ก็ได้เขียนแผนที่พร้อมคำอธิบายส่งมาให้ด้วยความเคารพนั้น เราได้นำความขึ้นทูลเกล้าถวายให้ฮ่องเต้ทรงทราบ แล้วมีกระแสรับสั่งชมเชยและขอบใจท่านมาก จึงมีหนังสือตอบมายังท่าน พร้อมด้วยส่งแพรมาให้เป็นรางวัลเพื่อทดแทนความดีของท่าน ขอท่านจงรับไว้ด้วยความเคารพเทอญ”

จดหมายจาก “พระยาราชาเศรษฐี” ฉบับนี้ทำให้พระเจ้าตากสินถูกจีนเข้าใจผิดในช่วงแรกอยู่บ้าง ส่งผลให้พระเจ้าตากสินและเมืองไทย กว่าจะได้รับการรับรองจากจีนอย่างเป็นทางการ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่น้อย แต่เมื่อจีนเข้าใจพระเจ้าตากสินดีแล้ว ทางจีนก็ช่วยเหลือไทยอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม จากสารานุกรมจีน “ซื่อคู่เฉวียนซู” ทำให้ทราบว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) ได้ช่วยเหลือไทยไว้เป็นอันมาก ดังนั้น การที่หลายคนสันนิษฐานว่า พระเจ้าตากสินเป็นหนี้จีนหรือจีนจะยึดเอากรุงธนบุรีเพื่อชำระหนี้นั้น ประเด็นนี้ไม่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารจีนใดๆ ทั้งสิ้น จึงไม่น่าเป็นไปได้แต่อย่างใด

เชิงอรรถ :
๑. ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าตากสินกับพระเจ้ากรุงจีน, สังข์ พัธโนทัย,พ.ศ. ๒๕๒๒
๒. มรดกโลกสารานุกรมจีน “ซื่อคู่เฉวียนซู” สมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) บันทึกระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๑๖ - พ.ศ. ๒๓๒๕ 
๓. พระราชพงศาวดาร ฉบับ พระราชหัตถเลขา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
๔. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) 
๕. ขอบคุณ ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ล่ามในการแปลและติดต่อกับ “อาซินแซ” และกลุ่มเครือญาติ (พระเจ้าตากสิน) ผู้ดูแลอุทยานพระเจ้าตากสิน ณ เมืองเถ่งไห่ ประเทศจีน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita