ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ มีอะไรบ้าง กระบวนการขั้นสุดท้ายของการฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณคือข้อใด ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกในการฟังอย่างมีวิจารณญาณ จุดมุ่งหมายของการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณมีอะไรบ้าง ขั้นตอนการฟังและการดูมีอะไรบ้าง การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง การฟังอย่างมีวิจารณญาณ ตัวอย่าง ใบงานที่ 7.1 หลักการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ ใบงานการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ การฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ ppt หากผู้เรียนฟังและดูสื่อประเภทละคร ควรศึกษารายละเอียดประเภทใดบ้าง หลักเกณฑ์การใช้วิจารณญาณในการรับสารมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ คือ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ วิจารณญาณไว้ว่า ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง  คำนี้มาจากคำว่า พิจารณ์ หรือวิจารณ์ คำหนึ่ง ซึ่งแปลว่า การคิดใคร่ครวญโดยใช้เหตุผลและคำว่า ญาณ คำหนึ่ง ซึ่งแปลว่าปัญหาหรือ ความรู้ในชั้นสูง

วิจารณญาณในการฟังและดู  คือการรับสารให้เข้าใจเนื้อหาสาระใช้ปัญญาคิดใคร่ครวญโดยอาศัยความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์ประกอบแล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

การฟังและดูให้เกิดวิจารณญาณนั้นมีขั้นตอนในการพัฒนาเป็นลำดับบางทีก็อาจเป็นไปอย่างรวดเร็ว  บางทีก็ต้องอาศัยเวลา  ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้  ประสบการณ์ของบุคคลและความยุ่งยากซับซ้อนของเรื่องหรือสารที่ฟัง

ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

๑.  ฟังและดูให้เข้าใจเรื่อง 

เมื่อฟังเรื่องใดก็ตามผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังเรื่องนั้นให้เข้าใจตลอดเรื่อง  ให้รู้ว่า

เนื้อเรื่องเป็นอย่างไร  มีสาระสำคัญอะไรบ้าง พยายามทำความเข้าใจรายละเอียด

ทั้งหมด

๒.  วิเคราะห์เรื่อง 

จะต้องพิจารณาว่าเรื่องเป็นเรื่องประเภทใดเป็นข่าว  บทความ เรื่องสั้น นิทาน

นิยาย บทสนทนา สารคดี ละคร และเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เป็นเรื่องจริงหรือ

แต่งขึ้นต้องวิเคราะห์ลักษณะของตังละคร และกลวิธีในการเสนอสารของผู้ส่งสาร

ให้เข้าใจ

๓.  วินิจฉัยเรื่อง

คือ การพิจารณาเรื่องที่ฟังว่าเป็นข้อเท็จจริง  ความรู้สึกความคิดเห็นและผู้ส่งสาร

หรือผู้พูดผู้แสดงมีเจตนาอย่างไรในการพูดการแสดง  อาจจะมีเจตนาที่จะโน้มน้าวใน

จรรโลงหรือแสดงความคิดเห็น  เป็นเรื่องที่มีเหตุมีผลมีหลักฐานน่าเชื่อถือหรือไม่และ

มีคุณค่ามีประโยชน์เพียงใด

สารที่ให้ความรู้

สารที่ให้ความรู้บางครั้งก็เข้าใจง่าย  แต่งบางครั้งที่เป็นเรื่องสลับซับซ้อนก็จะเข้าใจยาก  ต้องใช้การพินิจพิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง  ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเรื่องที่เข้าใจง่ายหรือเข้าใจยาก  ผู้รับมีพื้นฐานในเรื่องที่ฟังเพียงใด  ถ้าเป็นข่าวหรือบทความเกี่ยวหับเกษตรกรผู้มีอาชีพเกษตรย่อมเข้าใจง่าย  ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจนักธุรกิจก็จะได้เข้าใจง่ายกว่าผู้มีอาชีพเกษตร  และผู้พูดหรือผู้ส่งสารก็มีส่วนสำคัญ  ถ้ามีความรู้ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีรู้วิธีเสนอ ก็จะเข้าใจได้ง่าย

ข้อแนะนำในการรับสารที่ให้ความรู้โดยใช้วิจารณญาณ

๑.  เมื่อได้รับสารที่ให้ความรู้เรื่องใดต้องพิจารณาว่าเรื่องนั้นมีคุณค่าหรือมีประโยชน์

ควรแก่การใช้วิจารณญาณมากน้อยเพียงใด

๒.  ถ้าเรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณไม่ว่าจะเป็นข่าว บทความ สารคดี ข่าว หรือความรู้เรื่องใด

ก็ตาม  ต้องฟังด้วยความตั้งใจจับประเด็นสำคัญให้ได้  ต้องตีความหรือพินิจพิจารณาว่า

ผู้ส่งสารต้องการส่งสารถึงผู้รับคืออะไร  และตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับเพื่อน ๆ

ที่ฟังร่วมกันมาว่าพิจารณาได้ตรงกันหรือไม่อย่างไร  หากเห็นว่าการฟังและดูของเรา

ต่างจากเพื่อนด้อยกว่าเพื่อนจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้มีปะสิทธิภาพการฟังพัฒนาขึ้น

๓.  ฝึกการแยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เจตคติของผู้พูดหรือแสดงที่มีต่อเรื่องที่พูดหรือ

แสดงและฝึกพิจารณาตัดสินใจว่าสารที่ฟังและดูนั้นเชื่อถือได้หรือไม่  และเชื่อถือได้

มากน้อยเพียงใด

๔.  ขณะที่ฟังควรบันทึกสาระสำคัญของเรื่องไว้  ตลอดทั้งประเด็นการอภิปรายไว้เพื่อ

นำไปใช้

๕.  ประเมินสารที่ให้ความรู้ว่า  มีความสำคัญมีคุณค่าและประโยชน์มากน้อยเพียงใด

มีแง่คิดอะไรบ้าง และผู้ส่งสารมีกลวิธีในการถ่ายทอดที่ดีน่าสนใจอย่างไร

๖.  นำคุณค่าประโยชน์ข้อคิด ความรู้และกลวิธีต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ในการดำเนิน

ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต  พัฒนาชุมชนและสังคมได้

อย่างเหมาะสม

สารที่โน้มน้าวใจ

สารที่โน้มน้าวใจเป็นสารที่เราพบเห็นประจำจากสื่อมวลชน  จากการบอกเล่าจากปากหนึ่งไปสู่ปากหนึ่ง ซึ่งผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายหลายอย่างทั้งที่ดี และไม่ดี มีประโยชน์หรือให้โทษจุดมุ่งหมายที่ให้ประโยชน์ก็คือ  โน้มน้าวใจให้รักชาติบ้านเมือง  ให้ใช้จ่ายอย่างประหยัด ให้รักษาสิ่งแวดล้อม ให้รักษาสาธารณสมบัติและประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม  ในทางตรงข้ามผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความเสียหาย  มุ่งหมายที่จะโฆษณาชวนเชื่อหรือปลุกปั่น ยุยงให้เกิดการแตกแยก  ดังนั้นจึงต้องมีวิจารณญาณ คิดพิจารณาให้ดีกว่าสารนั้นเป็นไปในทางใด

หลักการใช้วิจารณญาณสารโน้มน้าวใจ

๑.  สารนั้นเรียกร้องความสนใจมากน้อยเพียงมด หรือสร้างความเชื่อถือของผู้พูดมากน้อย

เพียงใด

๒.  สารที่นำมาเสนอนั้น สนองความต้องการพื้นฐานของผู้ฟังและดุอย่างไรทำให้เกิดความ

ปรารถนาหรือความว้าวุ่นขึ้นในใจมากน้อยเพียงใด

๓.  สารได้เสนอแนวทางที่สนองความต้องการของผู้ฟังและดูหรือมีสิ่งใดแสดงความเห็น

ว่าหากผู้ฟังและดูยอมรับข้อเสนอนั้นแล้วจะได้รับประโยชน์อะไร

๔.  สารที่นำมาเสนอนั้นเร้าใจให้เชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งใด และต้องการให้คิดหรือปฏิบัติ

อย่างไรต่อไป

๕.  ภาษาที่ใช้ในการโน้มน้าวใจนั้นมีลักษณะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์อย่างไรบ้าง

สารที่จรรโลงใจ

ความจรรโลงใจ  อาจได้จากเพลง ละคร ภาพยนตร์ คำประพันธ์ สุนทรพจน์ บทความบางชนิด คำปราศรัย พระธรรมเทศนา โอวาท ฯลฯ เมื่อได้รับสารดังกล่าวแล้วจะเกิดความรู้สึกสบายใจ สุขใจ คลายเครียด เกิดจินตนาการ มองเห็นภาพและเกิดความซาบซึ้ง  สารจรรโลงใจจะช่วยยกระดับจิตใจมนุษย์ให้สูงขึ้นประณีตขึ้น  ในการฝึกให้มีวิจารณญาณในสารประเภทนี้ควรปฏิบัติดังนี้

๑.  ฟังและดูด้วยความตั้งใจ  แต่ไม่เคร่งเครียดทำใจให้สบาย

๒.  ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่สำคัญ  ใช้จินตนาการไปตามจุดประสงค์ของสารนั้น

๓.  ต้องพิจารณาว่าสิ่งฟังและดูให้ความจรรโลงในด้านใด อย่างไรและมากน้อยเพียงใด

หากเรื่องนั้นต้องอาศัยเหตุผล ต้องพิจารณาว่าสมเหตุสมผลหรือไม่

๔.  พิจารณาภาษาและการแสดง  เหมาะสมกับรูปแบบเนื้อหาและผู้รับสารหรือไม่เพียงใด

การวิเคราะห์และวิจารณ์สาร

การวิเคราะห์  หมายถึง การที่ผู้ฟังและผู้ดูรับสารแล้วพิจารณาองค์ประกอบออกเป็นส่วน ๆ นำมาแยกประเภทลักษณะ สาระสำคัญของสาร กลวีการเสนอและเจตนาของผู้ส่งสาร

การวินิจ  หมายถึง การพิจารณาสารด้วยความเอาใจใส่ ฟังและดูอย่างไตรตรองพิจารณาหาเหตุผล แยกแยะข้อดีข้อเสีย คุณค่าของสาร ตีความหมายและพิจารณาสำนวน ภาษา ตลอดจนน้ำเสียงและการแสดงของผู้ส่งสาร  พยายามทำความเข้าใจความหายที่แท้จริงเพื่อให้ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้วินิจ

การวิจารณ์  หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้น ให้เห็นว่า น่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรู้มีเหตุมีผล มีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วย

ตามปกติแล้ว  เมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด  จะต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการของการวิเคราะห์สาร วินิจสาร และประเมินค่าสาร ให้ชัดเจนเสียก่อนแล้ว  จึงวิจารณ์แสดงความเห็นออกมาอย่างมีเหตุมีผลให้น่าคิด น่าฟังและเป็นคำวิจารณ์ที่เชื่อถือได้

การวิจารณ์  ที่รับฟังมาก็เช่นเดียวกัน  ต้องผ่านการวิเคราะห์ วินิจ และประเมินค่าสารนั้นมาก่อนและการวิจารณ์แสดงความคิดเห็นที่จะทำได้อย่างมรเหตุมีผลน่าเชื่อถือนั้น  ผู้รับสารจะต้องรู้หลักเกณฑ์การวิจารณ์แสดงความคิดเห็นตามชนิดของสารเพราะสารแต่ละชนิดย่อมมีองค์ประกอบเฉพาะตัว เช่น ถ้าเป็นข่าวต้องพิจารณาความถูกต้องตามความเป็นจริง  แต่ถ้าเป็นละครจุดูความสมจริง  และพิจารณาโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ฉาก ตัวละคร ภาษาที่ใช้ บาบาทการแสดง ฯลฯ นอกจากรู้หลักเกณฑ์แล้วจะต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ และอ่านตัวอย่างงานวิจารณ์ของผู้อื่นที่เชี่ยวชาญให้มาก  ก็จะช่วยให้การวิจารณ์ดีมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ

อาจกล่าวสรุปได้ว่า

๑.  วิจารณญาณในการฟังและดู  หมายถึงการรับสารให้เข้าใจตลอดเรื่องแล้วใช้

ปัญญาคิดไตรตรอง  โดยอาศัยความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์เดิม

แล้วสามารถนำสาระต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม  โดยมี

ขั้นตอนดังนี้

๑.๑  ฟังและดูให้เข้าใจตลอดเรื่อง

๑.๒  วิเคราะห์เรื่อง  ว่าเป็นเรื่องประเภทใด  ลักษณะของเรื่องและ

ตัวละครเป็นอย่างไร  มีกลวิธีในการเสนอเรื่องอย่างไร

๑.๓  วินิจฉัย  พิจารณาเรื่องที่ฟังเป็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็น เจตนาของ

ผู้เสนอเป็นอย่างไร มีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่

๑.๔  การประเมินค่าของเรื่อง  ผ่านขั้นตอน ๑ – ๓ แล้ว ก็ประมาณว่าเรื่อง

หรือสารนั้นดีหรือไม่ดี มีอะไรที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

๑.๕  การนำไปใช้ประโยชน์  ผ่านขั้นตอนที่ ๑ – ๔ แล้ว ขั้นสุดท้ายคือ

นำคุณค่าของเรื่องที่ฟังและดูไปใช้ได้เหมาะสมกับกาลเทศะและ

บุคคล

๒.  การวิเคราะห์  หมายถึงการแยกแยะประเภท ลักษณะ สาระสำคัญและ

การนำเสนอพร้อมทั้งเจตนาของผู้พูดหรือผู้เสนอ

การวินิจ  หมายถึงการพิจารณาเรื่องอย่างไตรตรอง  หาเหตุผลข้อดีข้อเสีย  และ

คุณค่าของสาร

การวิจารณ์  หมายถึง การพิจารณาอย่างมีหลักเกณฑ์ในเรื่องที่ฟังและดู

ว่ามีอะไรน่าคิดน่าสนใจ น่าติดตาม น่าชมเชย น่าชื่นชมและมีไรบกพร่องบ้าง

การวิจารณ์สารหรือเรื่องที่ได้ฟังและดู  เมื่อได้วิเคราะห์และวินิจและใช้วิจารณญาณในการฟังและดูเรื่องหรือสารที่ได้รับแล้วก็นำผลมารายงานบอกกล่าวแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งนั้น  อย่างมีเหตุผล มีหลักฐานประกอบ  และเป็นสิ่งสร้างสรรค์

หลักการฟังอย่างวิจารณญาณ การฟังอย่างวิจารณญาณ

ผู้ฟังพิจารณาว่า ฟังเรื่องอะไรเป็นการฟังประเภทบทความ บทสัมภาษณ์การเล่าเรื่องสรุปเหตุการณ์ ใครเป็นคนพูดคนสัมภาษณ์ ใครเป็นคนเขียนบทความ และหัวข้อนั้นมีคุณค่าแก่การฟังหรือไม่

๑.๑ พิจารณาผู้ส่งสารว่ามีจุดมุ่งหมาย และมีความจริงใจในการส่งสารนั้นเพียงใด

๑.๒ พิจารณาผู้ส่งสารว่ามีความรู้ ประสบการณ์หรือความใกล้ชิดกับเรื่องราวในสาร

นั้นเพียงใด

๑.๓ พิจารณาผู้ส่งสารว่าใช้กลวิธีในการส่งสารนั้นอย่างไร คือวิธีการธรรมดาหรือยอกย้อน

ซ่อนปมอย่างไร

๑.๔ พิจารณาเนื้อหาของสารว่า ส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็น

๑.๕ พิจารณาสารว่าเป็นไปได้ และควรเชื่อเพียงใด

๑.๖ ผู้ฟังควรประเมินว่าสิ่งที่ฟังมีประโยชน์และมีคุณค่ามากน้อยเพียงไร

หลักการแยกข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง ในการรับฟังสาร นอกจากจะจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังแล้ว นักเรียนจะต้องแยะแยะได้ว่า ใจความตอนใดเป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวของผู้พูดซึ่งจะมีลักษณะเมื่อพิจารณาความถูกต้องได้ยาก และตอนใดเป็นข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้ การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นมีดังนี้

ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ มีอะไรบ้าง

1. ฟังด้วยความตั้งใจแต่ไม่เคร่งเครียดทำใจให้สบาย 2. ต้องทำความเข้าใจเนื้อหาสาระสำคัญของสิ่งที่ฟัง 3. ต้องพิจารณาว่าสิ่งที่ฟังนั้น ให้ความจรรโลงใจในด้านใดถ้าสิ่งที่ฟังนั้นต้องอาศัยเหตุผล ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ เพียงใด 4. พิจารณาภาษาที่ใช้ว่า เหมาะสมกับรูปแบบ เนื้อหา ปละผู้ฟังหรือไม่ เพียงใด

กระบวนการขั้นสุดท้ายของการฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณคือข้อใด

๔. พิจารณา เป็นกระบวนการขั้นที่สี่ เมื่อเข้าใจสารที่ได้ฟังแล้ว ก็นำมาพิจารณาแยกแยะว่า สารนั้นเป็นสารประเภทใด โดยการใช้วิจารณญาณว่าควรจะเชื่อได้หรือไม่ ข้อมูลที่ได้ฟังมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงได้ ๕. นำไปใช้ เป็นกระบวนการสุดท้ายของการฟัง เมื่อใช้วิจารณญาณวิเคราะห์แล้ว ก็สรุปนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกในการฟังอย่างมีวิจารณญาณ

การฟังให้เกิดวิจารณญาณ จะต้องฟังให้สัมฤทธิ์ผลทั้ง ๔ ขั้นก่อนแล้วพัฒนาต่อไปอีก ดังนี้ ๑. ผู้ฟังพิจารณาว่าผู้พูดมีจุดมุ่งหมายในการพูดอย่างไร ๒. เรื่องที่ได้ฟังมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ๓. เรื่องที่ได้ฟังมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ๔. เรื่องที่ได้ฟังมีสารประโยชน์ ให้แง่คิดก่อให้เกิดความเจริญงอกงามและความคิด ...

จุดมุ่งหมายของการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณมีอะไรบ้าง

การฟังและดูเป็นการรับสารเข้าสู่สมอง ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น การฝึกรับสารด้วยการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะที่สำคัญ จะทำให้ผู้รับสารมีความรู้ที่ดี ถูกต้อง เหมาะสมและนำความรู้ที่ได้รับพูดนำเสนออกไปได้อย่างมีคุณค่า มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita