พัฒนาการ ไทย สมัยรัตนโกสินทร์ ยุค ปฏิรูปประเทศ

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

           การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์สมัยใหม่ (ยุคปฏิรูปบ้านเมือง) มีการปฏิรูปการปกครองเพื่อให้รอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก โดยการตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ปฏิรูปราชการแผ่นดินส่วนกลางเป็นแบบกระทรวงและปฏิรูปการปกครองหัวเมืองเป็นแบบเทศาภิบาล และส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง และมณฑล ตามลำดับ และเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์สมัยใหม่ (ยุคปฏิรูปบ้านเมือง) เปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นแบบสมัยใหม่ เป็นการทำการค้าแบบเสรีใช้เงินเป็นสื่อกลาง มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก จัดตั้งธนาคารสยามกัมมาจลเป็นแห่งแรก พัฒนาระบบคมนาคม และการสื่อสารขึ้นมาเป็นครั้งแรก ทำให้ประเทศไทยพัฒนาและเจริญมาตามลำดับ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด  

มฐ ส4.1 ป.6/3  ยกตัวอย่างผลงานของบุคคลสำคัญด้านต่างๆ สมัยรัตนโกสินทร์

จุดประสงค์

- อธิบายพัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจ รัตนโกสินทร์สมัยใหม่ (ยุคปฏิรูปบ้านเมือง)ได้

ด้านทักษะ กระบวนการ (P)

- วิเคราะห์พัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจ รัตนโกสินทร์สมัยใหม่ (ยุคปฏิรูปบ้านเมือง)ได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

          - เห็นความสำคัญในการศึกษาพัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจ รัตนโกสินทร์สมัยใหม่ (ยุคปฏิรูปบ้านเมือง)ได้

การวัดผลและประเมินผล

1. ใบงานที่ 5 เรื่อง พัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

2. การถาม-ตอบ

3. การเล่นเกม

การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง

วิกฤตการณ์ทางการเมืองและการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก

นโยบายของไทยที่มีต่อการล่าอาณานิคม 
     การดำเนินวิเทโศบายของรัชกาลที่ 4 และ 5 ในยุคล่าอาณานิคมของชาวตะวันตกพระองค์ทรง   
ตะหนักถึงความเป็นมหาอำนาจของชาติตะวันตก การต่อต้านโดยใช้กำลังจึงเป็นไป  ไม่ได้ จึงต้อง
ใช้วิธีการอื่นแทน ซึ่งพอสรุปได้ 3 ประการ ได้แก่    
1. การผ่อนหนักเป็นเบา      
2. การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย        
3.การผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป

การผ่อนหนักเป็นเบา

     1.ยอมทำสนธิสัญญาเสียเปรียบ คือ สนธิสัญญาเบาริง ทำกับประเทศอังกฤษในสมัย  รัชกาลที่ 4 แม้จะทรงทราบดีว่าเสียเปรียบ แต่ก็พยายามให้เสียเปรียบให้น้อยที่สุด

     2.การยอมเสียดินแดน รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงทราบดีถึงวิธีการเข้าครอบครองดินแดนไว้เป็นอาณานิคมของชาวตะวันตก เช่น ขั้นแรกจะเน้นเข้ามาค้าขายหรือเผยแพร่ศาสนาก่อนแล้วภายหลังก็จะอ้างถึงข้อขัดแย้ง หรือขอสิทธิพิเศษ (เช่น ขอเช่าเมือง,แทรกแซงกิจการ ภายในประเทศ) ขั้นต่อไปก็จะส่งกำลังทหารเข้ายึด อ้างว่าเพื่อคุ้มครองคนของตนให้ปลอดภัยหรือเพื่อเป็นหลักประกันให้ปฏิบัติตามสัญญา ขั้นสุดท้ายก็ใช้กำลังเข้ายึดเพื่อเอาเป็นดินแดนอาณานิคม โดยอ้างข้อพิพาทต่างๆ (กรณีอังกฤษยึดพม่า) ด้วยพระปรีชาสามารถในการหยั่งรู้ความคิดนี้ ทำให้พระองค์สามารถประคับ   ประครองให้ชาติไทยพ้นจากการถูกยึดครองของชาวตะวันตก ซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการเสียสละดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ของชาติเอาไว้(ถือเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะทำเพื่อรักษาเอกราชเอาไว้)

นโยบายผ่อนหนักเป็นเบา
 
     1. สนธิสัญญาเบาริง
ข้อเสียเปรียบอย่างยิ่งของไทยจากสนธิสัญญาเบาริง 
สนธิสัญญาเบาริงเป็นสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบในทุกๆ ด้าน ในบรรดาความเสียเปรียบเหล่านั้นมีความเสียเปรียบ
ที่ยิ่งใหญ่ 2 ประการ
         1.ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ
            สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ สิทธิที่ไม่ต้องขึ้นศาลไทย เมื่อคนอังกฤษหรือคนในบังคับอังกฤษ 
(ประเทศอาณานิคมของอังกฤษ) หรือคนชาติใดๆ ที่ขอจดทะเบียนเป็นคนในบังคับอังกฤษ ทำความผิดหรือมีคดี
กับคนไทย ในประเทศไทย ให้ไปขึ้นศาลกงสุลอังกฤษ โดยอ้างว่า กฎหมายของไทยป่าเถื่อนและล้าหลัง
         2.ทำให้อังกฤษเป็นชาติอภิสิทธิ์ คือ อังกฤษเป็นชาติที่มีสิทธิพิเศษ ไม่ว่าไทยจะทำสัญญากับประเทศอื่นใด 
ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริง ก็ให้ถือว่าอังกฤษมีสิทธิเช่นเดียวกับชาตินั้นๆ โดยอัตโนมัติ 
     2. การยอมเสียดินแดนการเสียดินแดนของไทยเป็นการเสียให้แก่ชาติตะวันตกเพียง 2 ชาติ คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการเสียให้แก่ฝรั่งเศส ครั้งแรกเสียไปในตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
รัชกาลที่ 4 หลังจากนั้นเป็นการเสียดินแดนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 
ทั้งสิ้นการเสียดินแดนเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายในการรักษาเอกราชของชาติ 
การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเร่งปรับปรุงชาติบ้านเมืองให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ
และการเสด็จประพาสยุโรปเพื่อผูกมิตรกับชาติมหาอำนาจในยุโรปถึง 2 ครั้งของพระองค์ เป็นเครื่องยืนยันพระราชวิริยะอุตสาหะของพระองค์ที่จะรักษาเอกราชของชาติไว้ ทุกครั้งที่ทรงยินยอมเสียดินแดนไปนั้นล้วนแล้วแต่เป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทั้งสิ้น

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 4 

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4
สาเหตุการปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ 
1.ทรงได้รับแนวคิดจากชาวตะวันตก ซึ่งพระองค์ได้สัมผัสและทรงคุ้นเคยตั้งแต่ครั้งยังผนวชอยู่
2.เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และเป็นพื้นฐานที่จะได้มีการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป    เพื่อรักษาเอกราชของประเทศชาติให้พื้นจากการครอบครองของประเทศตะวันตก    
   ที่กำลังขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศไทยในขณะนั้น
การปรับปรุงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4
1.ออกประกาศต่างๆ เรียกว่า ประกาศรัชกาลที่ 4 เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสาร    
   ระเบียบแบบแผนการปฏิบัติของผู้คนในสังคมอย่างถูกต้อง
2.ปรับปรุงกฎหมาย ทรงตราพระราชกำหนดกฎหมายใหม่ และออกประกาศข้อบังคับต่างๆ    
   ถือว่าเป็นกฎหมายเช่นเดียวกันรวมทั้งหมดประมาณ 500 ฉบับ
3.โปรดให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมหาราชวัง มีชื่อเรียกว่า “โรงอักษรพิมพการ”    
   เพื่อใช้พิมพ์ประกาศและกฎหมายต่างๆ เป็นหนังสือแถลงข่าวของทางราชการ เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา
4.ให้ราษฎรมีโอกาสได้ถวายฎีการ้องทุกข์ได้สะดวก พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงระเบียบวิธีการร้องทุกข์    โดยพระองค์จะเสด็จออกมารับฎีการ้องทุกข์ด้วยพระองค์เองทุกวันโกณ ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ 
   เดือนละ 4    ครั้ง และโปรดเกล้าฯให้ตุลาการ ชำระความให้เสร็จโดยเร็ว    ทำให้ราษฎรได้รับความยุติธรรมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
5.ทรงประกาศให้เจ้านายและข้าราชการทำการเลือกตั้งตำแหน่ง พระมหาราชครูปุโรหิตาจารย์   
   และตำแหน่งพระมหาราชครูมหิธร อันเป็นตำแหน่งที่ว่างลง    แทนที่พระองค์จะทรงแต่งตั้งด้วยพระราชอำนาจของพระองค์เอง    นับเป็นก้าวใหม่ของการเลือกตั้งข้าราชการบางตำแหน่ง
6.การปรับปรุงระบบการศาล ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่างเกี่ยวกับระบบ การศาล ได้แก่    
   ทรงยกเลิกการพิจารณาคดีแบบจารีตนครบาล เริ่มมีการจัดตั้ง ศาลกงสุลเป็นครั้งแรก
7.ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงเสวย    น้ำพระพิพัฒน์สัตยา
   ร่วมกับขุนนางข้าราชการ และทรงปฏิญาณนความซื่อสัตย์ของ    พระองค์ต่อข้าราชการทั้งปวงด้วย 
   ซึ่งแต่เดิม ขุนนางข้าราชการจะเป็นผู้ ถวาย สัตย์ปฏิญาณแต่เพียงฝ่ายเดียว    นับว่าพระองค์ทรงมีความคิดที่ทันสมัยมาก
8.ทรงริเริ่มการจัดกองทหารแบบตะวันตก

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 5

สาเหตุสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
1.ปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพื่อป้องกันการคุกคามของประเทศมหาอำนาจตะวันตก
2.การปกครองแบบเก่า อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับขุนนาง ถ้าปฏิรูปการ
   ปกครองใหม่ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริง 
การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 
รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) สมาชิกสภาประกอบด้วยข้าราชการ
ที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาจำนวน 12 คน ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมีหน้าที่ ถวายคำปรึกษา
ในเรื่องเกี่ยวกับราชการแผ่นดินโดยทั่วไป พิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ
2.องคมนตรีสภา (สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์) (Privy Council) สมาชิกประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ
์และข้าราชการระดับต่างๆ จำนวน 49 คน ทำหน้าที่ ถวาย คำปรึกษาข้อราชการและเสนอความคิดเห็นต่างๆ 
และมีหน้าที่ช่วยปฏิบัติราชการตามแต่จะมีพระบรมราชโองการ ปัจจุบันคือ คณะองคมนตรี ต่อมาภายหลัง 2 สภา
ถูกยกเลิกไปเพราะขุนนางไม่พอใจ คิดว่ากษัตริย์จะล้มล้างระบบขุนนาง จึงเกิดการ ต่อต้าน 
การปฏิรูปการปกครองส่วนกลางของรัชกาลที่ 5
      มีการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางโดยยกเลิก จตุสดมภ์ และใช้การบริหารงานแบบกระทรวง
ตามแบบอย่างของตะวันตก โดยจัดรวมกรมต่างๆ ที่มีลักษณะงาน คล้ายๆ กันมาเป็นกรมขนาดใหญ่ 12 กรม ต่อมา 
เปลี่ยนเป็น กระทรวง อยู่ในความดูแลของเสนาบดี มี 12 กระทรวง
1.กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งเมืองประเทศราชทางเหนือ 
2.กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้รวมทั้งเมืองประเทศราชทางใต้ 
3.กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ 
4.กระทรวงวัง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราชพิธีต่างๆ ตลอดจนพิจารณาคดีแทนพระมหากษัตริย์ 
5.กระทรวงเมือง มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในพระนคร ดูแลรักษาบัญชีคนดูแลเกี่ยวกับคุก ดูแลกิจการตำรวจ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงนครบาล)
6.กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่ จัดการเรื่องการเพาะปลูก การป่าไม้ เหมืองแร่ 
   การค้าขาย และการขุดคลอง รวมทั้งโฉนดที่ดิน ที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 5 นี่เอง
7.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร รายรับ-รายจ่ายของแผ่นดิน 
ตลอดจนรักษาทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน
8.กระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องการทหาร ทั้งทหารบก และทหารเรือ 
9.กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการศาสนา การศึกษา การพยาบาลและพิพิธภัณฑ์ 
10.กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่จัดการเรื่องการก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนการไปรษณีย์โทรเลขและการรถไฟ 
11.กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี โดยรวมการพิจารณาพิพากษาคดี ที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆเข้าด้วยกัน 
12.กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร ตลอดจนพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือราชการต่างๆ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ต่อมาได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหมและยุบกระทรวงมุรธาธิการไปรวมกับกระทรวงวัง เพื่อความเหมาะสมและรัดกุมมากยิ่งขึ้นและให้กระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เกี่ยวกับการทหาร        ทั่วประเทศอย่างเดียว
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  ยาวนานมาก(23ปี)

มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานการบริหารงานในกระทรวงมหาดไทยมีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
มีผลงานด้านการปกครองที่สำคัญคือการจัดตั้งมณฑล 18 มณฑล   จังหวัด 71 จังหวัด อันเป็นรากฐานสำคัญในการปกครองและบริหารท้องที่ในปัจจุบันจนได้รับการยกย่องว่าเป็น   “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย”

 

การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคของรัชกาลที่ 5

1.ยกเลิกหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา และยกเลิกหัวเมืองประเทศราช จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล แบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล 
   เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย เป็นการรวมอำนาจตามหัวเมืองเข้าสู่ราชธานี            
    1.1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ดูแล แต่ละมณฑลแบ่งออกเป็น เมือง
    1.2 เมือง มีผู้ว่าราชการเป็นผู้ดูแล แต่ละเมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ 
    1.3 อำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ดูแล แต่ละอำเภอแบ่งออกเป็นตำบล 
    1.4 ตำบล มีกำนันเป็นผู้ดูแล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน 
    1.5 หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแล 

การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นของรัชกาลที่ 
5
1.ทรงริเริ่มให้สิทธิแก่ราษฎรในการเลือกผู้ปกครองตนเองเป็นครั้งแรก โปรดเกล้าฯให้มีการทดลองเลือกตั้ง “ผู้ใหญ่บ้าน”ที่บางปะอิน 
   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมือง ต่อมาใน พ.ศ.2440 ทรงออกพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร.ศ.116    กำหนดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โดยอาศัยเสียงข้างมากของราษฎร
2.โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก และสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่บริหารงาน สุขาภิบาล มีรายได้จากภาษีโรงเรือนในท้องถิ่น 

ผลของการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 
5
1.ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผลสืบเนื่อง      มาจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล    โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
2.รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพทางการเมือง    ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดยั้งการคุกคามจากประเทศมหาอำนาจตะวันตก ต่อประเทศไทย 
3.ทำให้กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครอง พากันก่อปฏิกิริยาต่อรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ดังจะเห็นได้จากกรณีกบฏผู้มีบุญภาคอีสาน ร.ศ.121  กบฏเงี้ยวเมืองแพร่    ร.ศ.121 กบฏแขกเจ็ดหัวเมือง ร.ศ.121 แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานสถารณ์ไว้ได้

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 6

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6
1.การจัดตั้ง ดุสิตธานี เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดฯให้สร้างนครจำลองขึ้น 
   พระราชทานนามว่า ดุสิตธานี เดิมตั้งอยู่ที่พระราชวังดุสิต ต่อมาย้ายไปอยู่ที่พระราชวังพญาไท 
   (บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯในปัจจุบัน) ภายในดุสิตธานีมีสิ่งสมมุติ หรือ
   แบบจำลองต่างๆ เช่น ที่ทำการรัฐบาล วัดวาอาราม อาคารบ้านเรือน ถนน สาธารณูปโภค สถานที่ราชการ ฯลฯ 
   โปรดฯ ให้มีการบริหารงานในดุสิตธานี โดยวิธีการเลือกตั้งตามแบบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งในระบบพรรคการเมือง
   พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมาก เป็นผู้จัดตั้งคณะผู้บริหารดุสิตธานี เรียกว่า นคราภิบาล 
   ลักษณะการบริหารงานในดุสิตธานี เป็นการจำลองการบริหารงานแบบเทศบาล ของประเทศตะวันตก 
การปรับปรุงการปกครองส่วนกลางของรัชกาล 6
   1.โปรดให้จัดตั้งกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงมุรธาธิการ (ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกไป) กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์
   2.ทรงยกเลิกกระทรวงนครบาล รวมเข้ากับกระทรวงมหาดไทย
   3.ทรงให้เปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการ เป็นกระทรวงคมนาคม
การปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคของรัชกาลที่ 6
   1.ปรับปรุงเขตการปกครองของมณฑล บางมณฑล
   2.โปรดฯให้รวมมณฑลที่อยู่ติดกันหลายๆ มณฑล รวมกันเป็น ภาค แต่ละภาคมีอุปราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ตรวจตรา       ควบคุมดูแลการบริหารงานของสมุหทศาภิบาลมณฑลในภาคนั้น ๆ
   3.เปลี่ยนคำว่า เมือง เป็น จังหวัด
การขยายกิจการทหารของรัชกาลที่ 6
   1.ทรงจัดตั้งกระทรวงทหารเรือ กองบิน และสร้างสนามบินขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีเหตุการณ์ ร.ศ.130 ในปีพ.ศ.2445 ได้มีนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งได้เตรียมการยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลง
การปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่รัฐบาลได้ล่วงรู้ก่อนได้จับกุมกลุ่มกบฏ ร.ศ.130 จำคุกและได้รับการลดโทษและอภัยโทษภายหลัง

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมืองรัชกาลที่ 7

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 7
1.ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีสมาชิกประกอบด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง 5 พระองค์
2.ทรงแต่งตั้งองคมนตรีสภา มีหน้าที่พิจารณาถวายความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่ออกใหม่และการบริหารราชการด้านต่างๆ
3.ทรงแต่งตั้งเสนาบดีสภา มีหน้าที่ในการถวายคำปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายงานในหน้าที่ของกระทรวง สมาชิกเสนาบดีสภา    ประกอบด้วย เสนาบดีบังคับบัญชากระทรวงต่างๆ
การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง 
   การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2475-2461) ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายลดหน่วยราชการ จึงรวมกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงพาณิชย์ เข้าด้วยกัน เรียกชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์และการคมนาคม
การปรับปรุงการบริหารส่วนภูมิภาค 
1.ยกเลิกมณฑลบางมณฑลที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยรวมมณฑลหลายมณฑลเข้าด้วยกัน
2.ยุบเลิกจังหวัดบางจังหวัด
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 
1.เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน    ทุกคนเท่าเทียมกัน)
2.ผู้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ คณะราษฎร ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือและพลเรือน นำโดย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าฝ่ายทหาร คือ    จอมพลแปลก(ป)  พิบูลสงคราม  หัวหน้าฝ่ายพลเรือน คือ นายปรีดี  พนมยงค์  (หลวงประดิษฐ์  มนูธรรม)เข้าทำการยึดอำนาจและส่งผู้แทน
เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งพระองค์ก็ทรงยอมรับข้อเสนอของคณะราษฎร    และพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ซึ่งประเทศไทยถือวันนี้ของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ
3.วันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475
4.พระมหากษัตริย์องค์แรกของการปกครองแบบประชาธิปไตย และอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ รัชกาลที่ 7
5.นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

การปฏิรูปกฎหมายและการศาลไทยรัชกาลที่ 4-7

การปฏิรูปกฎหมายและการศาลของรัชกาลที่ 5           ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นระยะเวลาที่ชาวตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทย แม้จะมีการออกประกาศและตรากฎหมายต่างๆ ขึ้นมาใช้บังคับราษฎร แต่ยังมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดี ที่เรียกว่า จารีตนครบาล คือ การพิจารณาคดีที่ถือว่า ผู้ใดถูกกล่าวหา ผู้นั้นต้องหาพยานหลักฐานมาแสดงให้เห็นได้ว่าตนบริสุทธิ์ และมีการทำทารุณกรรม เพื่อให้ผู้ต้องหารับสารภาพว่าทำผิด เช่น การตอกเล็บ บีบขมับ จนกว่าจะรับสารภาพ ซึ่งชาวตะวันตกเห็นว่าเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน ไร้อารยธรรม จึงไม่ยอมให้ใช้กับคนในบังคับของตนเป็นเหตุให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (สิทธิทางการศาล) โดยไทยต้องยอมให้ต่างประเทศตั้งศาลกงสุลชำระคดีความที่คนของตนและคนในบังคับตน
ทำความผิดในประเทศไทย ซึ่งเท่ากับทำให้ไทยเสียเอกราชทางการศาล 
                   รัชกาลที่ 5 จึงทรงพยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ขึ้น ได้แก่
1.จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2434
2.จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย (ภายหลังได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ หรือพระนามเดิมคือ    พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ โอรสของรัชกาลที่ 5 หลังจากสำเร็จวิชากฎหมายจาก มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ก็กลับมารับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น และทรงดำเนินการสอนเอง ภายหลังได้รับการยกย่อง ว่าเป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย 3.ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายลักษณะอาญา ประกาศใช้ในพ.ศ.2451 จัดเป็นกฎหมายแบบใหม่และทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย
4.ยกเลิกกฎหมายตราสามดวง และประกาศใช้กฎหมายอีกหลายฉบับ เช่น  พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ.116 พระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือร.ศ.120    กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส พ.ศ.2448 ฯลฯ
5.มีการปฏิรูปภาษากฎหมายไทยให้รัดกุมและชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
6.ปรับปรุงรวบรวมปรับปรุงศาล เพื่อให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ตราพระธรรมนูญศาล ยุติธรรม พ.ศ.2451 ให้มีศาลฎีกา ศาลสถิตยุติธรรมกรุงเทพฯ และศาลหัวเมือง
7.ในพ.ศ.2455 มีการจัดระบบศาลใหม่ ให้มีศาลในกระทรวงยุติธรรม 2 แผนก คือ
   1.ศาลยุติธรรมกรุงเทพฯ ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลพระราชอาญา ศาลแพ่ง ศาลต่างประเทศ ศาลโปรีสภา
   2.ศาลหัวเมือง ได้แก่ ศาลมณฑล ศาลเมือง และศาลแขวง
การปฏิรูปกฎหมายและการศาลของไทยนอกจากจะเป็นผลงานของ   พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการไทยแล้ว ยังได้ว่าจ้างนักกฎหมายชาวญี่ปุ่น และชาวยุโรป มาช่วยด้วย 
การปรับปรุงกฎหมายและการศาลของรัชกาลที่ 6
1.ปรับปรุงระเบียบการศาล โดยแบ่งงานในกระทรวงยุติธรรมเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายธุรการ กับฝ่ายตุลาการ โดยตุลาการทำหน้าที่พิจารณาคดีได้อย่างอิสระ
2.มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นครั้งแรก
3.โปรดฯให้ตั้งสภานิติศึกษา มีหน้าที่จัดระเบียบและวางหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนกฎหมาย 

การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

พัฒนาทางด้านประชาธิปไตยสมัยรัชกาลที่ 4-7

การปูพื้นฐานประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 5
    การรับอารยธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดการยอมรับความคิดของผู้อื่น           
ซึ่งเท่ากับเป็นการปูพื้นฐานประชาธิปไตย พอสรุปได้ ดังนี้
1.ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้น 2 สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of  State) 
   และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) เพื่อแสดงการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น    แม้สมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์แต่ก็นับเป็นการเริ่มระบอบประชาธิปไตย
2.ทรงเป็นผู้นำกลุ่ม สยามหนุ่ม (Young Siam) ในการต่อสู้ทางความคิดเห็นกับ
   คนรุ่นเก่าที่มักไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และออกหนังสือชื่อ ดรุโณวาท เพื่อเผยแพร่แนวคิดใหม่
3.ทรงยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มคนหนุ่มที่มีความคิดก้าวหน้ากลุ่มสำคัญกลุ่ม
   หนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพระราชวงศ์ และข้าราชการสามัญ ทรงยอมรับฟังว่า    
   หนทางที่ประเทศไทยจะรักษาเอกราชไว้ได้หนทางหนึ่งนั้น คือ การปรับระบบข้าราชการ 
   และเปลี่ยนการปกครองแบบ แอบโสลูตโมนากี (สมบูรณาญาสิทธิราชย์) เป็นแบบคอนสติติวชันแนลโมนากี ห(พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ) แม้จะยังไม่ทรงสามารถปฏิบัติตามในขณะนั้นได้ก็ตาม
4.ทรงออกพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.2440 ซึ่งมีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง คือ
   ให้มีการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งจัดว่าเป็นการปูพื้นฐานประชาธิปไตยที่ชัดเจน 

การปูพื้นฐานประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 6
     ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญของโลก ที่แสดงพลังอำนาจของประชาชนเป็นกระแสประชาธิปไตยที่รุนแรง กล่าวคือ ใน พ.ศ.2451 (ก่อนขึ้นครองราชย์ 2 ปี) ประเทศตุรกีก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นแบบประชาธิปไตย ในพ.ศ.2454 เกิดการปฏิวัติในประเทศจีน ขับไล่พระจักรพรรดิเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐและใน พ.ศ.2460 พระองค์ก็ได้ทรงทราบถึงการปฏิวัติใหญ่ของพวกบอลเชวิก ล้มล้างอำนาจ ปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์และราชวงศ์ เกิดการนองเลือดทั่วไปในแผ่นดินรัสเซีย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงทราบดีว่ามีกลุ่มประชาชนคนไทยจำนวนหนึ่งที่เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง แม้จะทรงเห็นด้วย แต่ความรู้เรื่องประชาธิปไตยจำกัดขอบเขตอยู่ในคนส่วนน้อยเท่านั้น จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย
เพื่อเผยแพร่ประชาธิปไตย เป็น 3 วิธี คือ

     1.ทรงตั้งดุสิตธานี เมืองจำลองประชาธิปไตย ดุสิตธานีเป็นเมืองจำลองหรือเมืองตุ๊กตา 
โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ.2461 บนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ในพระราชวังดุสิต (ภายหลังย้ายไปวังพญาไท) มีถนน อาคารสถานที่ราชการ 
ร้านค้า และบ้านเรือนเหมือนเมืองจริงๆ แต่ย่อส่วนให้เล็กลงพอเดินดูเห็นได้หมดทั้งเมือง แล้วสมมุติให้ข้าราชการบริพาร ขุนนาง มหาดเล็กของพระองค์เป็นราษฎรของเมืองนี้ จัดให้มีการเลือกตั้ง สภานคราภิบาล ทำหน้าที่ปกครองเมือง มีการออกกฎหมายจัดระบบภาษีอากร ระบบการรักษาพยาบาล และกระบวนการต่างๆ 
ของเมืองประชาธิปไตย มีการเรียกประชุมราษฎรสมมุติเหล่านั้น มาร่วมกันเลือกตั้ง และแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญของดุสิตธานี มีการอภิปรายถกเถียงกันระหว่างคณะนคราภิบาลกับฝ่ายค้านเพื่อเป็นแบบอย่างให้คนทั้งหลายได้เห็นและคุ้นเคยกับ
กระบวนการประชาธิปไตย เป็นการสอนหลักประชาธิปไตยแก่ประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดการเล่นละครอยู่แล้วคนทั่วไปจึงพากันเข้าใจว่าดุสิตธานีเป็นการเล่นละครอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงไม่ได้ผลในทางปลูกฝังประชาธิปไตยมากนัก


     2.ทรงเขียนบทความหนังสือพิมพ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 
ทรงเป็นนักอักษรศาสตร์ นอกจากจะทรงมีพระปรีชาสามารถในทางพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองแล้ว ยังทรงเขียนบทความทางการเมืองตอบโต้กับคนหัวใหม่สามัญชน แม้พระองค์จะทรงใช้พระนามแฝงแต่คนทั่วไป
ก็ทราบดีว่าผู้เขียน คือ พระองค์ นับเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีในหมู่พสกนิกรว่า พระมหากษัตริย์มิได้ถือพระองค์ ทรงมีพระราชหฤทัยเป็นนักประชาธิปไตย เป็นอีกก้าวหนึ่งในการปูพื้นฐานประชาธิปไตยของพระองค์ 
     3.พระราชทานอภัยโทษ กบฏ ร.ศ.130 กลุ่มผู้ก่อการกบฏ ร.ศ.130 ส่วนใหญ่เป็น
นายทหารหนุ่มซึ่งมีแนวคิดสมัยใหม่ที่ค่อนข้างรุนแรงไม่พอใจวิธีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต้องการให้มีการปกครอง
แบบประชาธิปไตยโดยเร็ว จึงร่วมกันคบคิด แต่ความลับรั่วไหลเสียก่อนถูกจับได้ทั้งหมดจึงถูกจำคุกบ้าง รอการลงอาญาบ้าน แต่ภายหลังก็ทรงพระราชทางอภัยโทษให้ทั้งหมด อีกทั้งยังแจกกางเกง ผ้าขาวม้า และเงิน 100 สตางค์ให้ทุกคนอีกด้วย การพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้อาจนับได้ว่าพระองค์ทรงเล็งเห็นความปรารถนาดีของกลุ่มก่อการกบฏ ที่ต้องการให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศจึงไม่ทรงเอาโทษจัดเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยอีกอย่างหนึ่งของพระองค์

การปูพื้นฐานประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7
     ได้กล่าวมาแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จขึ้นครองราชย์ ในปีพ.ศ.2468 ท่ามกลางกระแสความคิดแบบประชาธิปไตย บรรดาสื่อมวลชนในเวลานั้น ซึ่งได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวันและรายคาบ ต่างตีพิมพ์บทความแสดงความคิดเห็นทางการเมือง วิพากษ์วิจารณ์การบริหารราชการแผ่นดิน และข้อขัดแย้งระหว่างพระราชวงศ์กับราษฎรสามัญอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน นับเป็นแรงกดดันอย่างสำคัญที่พระองค์จะต้องทรงเร่งรีบพิจารณาพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนโดยเร็ว
สิ่งที่ปรากฏชัดว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงปรารถนาที่จะให้ประชาชนปกครองตนเอง ได้แก่ การที่พระองค์พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาขณะที่ประทับรักษาพระเนตรอยู่ที่นั่นว่า พระองค์กำลังทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทย และเมื่อเสด็จกลับประเทศไทยก็ทรงมีพระราชดำริชัดเจนว่าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 เมษายน 2475 วันเดียวกับวันพระราชพิธีเปิดสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ) เนื่องในโอกาสฉลองกรุงที่กรุงรัตนโกสินทร์สถิตสถาพรมาครบ 150 ปี โดยทรงให้ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศจัดร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย ได้มอบหมายต่อให้พระยาศรีวิสารวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศกับ นายเรย์มอนด์  สตีเวนส์  ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ 
ทั้งสองต่างถวายร่างของตน และถวายความเห็นตรงกันว่ายังไม่ควรปกครองประเทศในระบบรัฐสภา เนื่องจากประชาชนยังไม่พร้อม ควรทดลองในระดับท้องถิ่น (เทศบาล) ก่อน ที่สำคัญ คือพระองค์ยังทรงได้รับการทัดทานการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
จากพระบรมวงศานุวงศ์ในอภิรัฐมนตรีสภา จึงมิได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญตามกำหนดังกล่าว พระราชปณิธานอันนี้เองที่อธิบายได้ว่า เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจเหตุใดพระองค์จึงทรงยินดีมอบรัฐธรรมนูญ
ให้แก่พสกนิกรของพระองค์ โดยมิได้ทรงขัดขวาง จะมีขัดขวางก็ที่พระราชวงศ์ผู้ใหญ่บางพระองค์เท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง

สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.2475
นอกจากสาเหตุดั้งเดิมได้กล่าวมาแล้ว ยังเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ดังจะกล่าวต่อไปนี้
     1.เศรษฐกิจตกต่ำ ในระหว่าง พ.ศ.2472-2474 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก          สินค้าไทยโดยเฉพาะข้าวราคาตกต่ำ เกิดภาวะขาดแคลนทั่วประเทศ ประกอบกับประเทศไทยมี     รายจ่ายเกินกว่ารายได้ต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้ฐานะการเงินการคลังของรัฐบาลอยู่สภาพคลอนแคลน
รายได้ – รายจ่ายของประเทศ พ.ศ.2463 – 2468


ปีงบประมาณ

รายได้

รายจ่าย

จ่ายเกิน

พ.ศ.2463

72,500,000

82,130,126

9,630,126

พ.ศ.2464

77,800,000

82,030,582

4,232,582

พ.ศ.2465

79,000,000

87,416,713

8,416,713

พ.ศ.2466

80,000,000

90,216,043

10,216,043

พ.ศ.2467

84,000,000

93,125,688

9,125,688

พ.ศ.2468

91,000,000

94,875,238

3,875,238

ที่มา : เกียรติชัย  พงษ์พาณิชย์, คณะราษฎร : ความขัดแย้งและรูปแบบเพื่อการครองอำนาจ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 6 (10)
มิถุนายน 2515 หน้า 59   ซึ่งรัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 7 พยายามแก้ไขสถานะการคลังเป็นหลายวิธี เช่น ลาออกจากองค์การมาตรฐานทองคำ กำหนดค่าเงินบาทขึ้นใหม่ แต่ที่สำคัญซึ่งได้รับความเดือดร้อนกันทั่วไป คือ การเพิ่มภาษีราษฎรและการปลดข้าราชการออกเพื่อรักษาดุลยภาพทางการเงินสร้าง             ความไม่พอใจให้แก่ข้าราชการที่พูดกันในสมัยนั้นว่า ถูกดุล เป็นอันมาก
     2.ความขัดแย้งระหว่างสามัญชนกับพระราชวงศ์ สามัญชนมีการศึกษาสูงขึ้น ที่จบจากต่างประเทศ กลับเข้ามารับราชการก็มีมาก แต่บรรดาเจ้านายพระราชวงศ์บางพระองค์ทรงไม่สามารถปรับพระองค์ได้ ยังทรงถือเป็นข้าหรือบ่าวอยู่ตามเดิมอยู่ในลักษณะดูหมิ่นดูแคลน ทำให้สามัญชนที่มีความรู้ความสามารถเกิดน้อยเนื้อต่ำใจ 
     3.แนวคิดที่ได้รับจากตะวันตก ข้าราชการที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตกต้องการให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 
     4.การประวิงเวลาพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 เมษายน 2475 การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มิอาจพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสสมโภชกรุงครบรอบ 150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 เพราะได้รับการทัดทานจากคณะอภิรัฐมนตรี เป็นการเร่งรัดให้มีการปฏิวัติโดยเร็วยิ่งขึ้น เพราะข้าราชการที่มีความคิดก้าวหน้าเห็นว่า หนทางที่จะได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญ โดยไม่ใช้กำลังบังคับนั้นไม่มีแล้ว
เหตุการณ์การปฏิวัติ 
กลุ่มผู้ริเริ่ม คือ นักเรียนไทยในฝรั่งเศส ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญตั้งแต่ต้น ได้แก่ นายปรีดี พนมยงค์ กับ ร้อยโทแปลก ขีตตะสังคะ เมื่อบุคคลเหล่านี้กลับประเทศไทย ก็รวบรวมผู้คนซึ่งมีความคิดอย่างเดียวกัน โดยนายปรีดี  พนมยงค์  ซึ่งได้รับพระราชทางบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐ์ มนูธรรมเป็นผู้ดำเนินการด้านพลเรือน และร้อยโทแปลก  ขีตตะสังคะ ซึ่งได้เลื่อนยศมีบรรดาศักดิ์เป็นพันตรีหลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้ดำเนินการด้านทหาร เมื่อรวบรวมผู้คนได้จำนวนมากพอสมควรจึงตั้งชื่อ  คณะปฏิวัติว่าคณะราษฎร มีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์  พหลโยธิน) เป็นหัวหน้า พันเอกพระยาทรงสุรเดช (เทพ  พันธุมเสน) พันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์ (สละ  เอมะศิริ) และพันโท               พระประสาทพิทยยุทธ (วัน  ชูถิ่น) เป็นรองหัวหน้า
การปฏิวัติเริ่มในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยอ้างกับกองทหารต่างๆ ว่าเป็นการซ้อมรบยุทธวิธีอย่างใหม่ เมื่อมาถึงพร้อมกันจึงได้ประกาศว่าเป็นการปฏิวัติ หลังจากพระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศแล้วจึงส่งกำลังเข้าควบคุมสถานที่สำคัญๆ ทางราชการในกรุงเทพฯ และแยกย้ายกันไปถวายอารักขา (ควบคุม) พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงและบุคคลสำคัญเพื่อเป็นตัวประกันสำหรับต่อรอง เช่น จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์  กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  ประธานอภิรัฐมนตรีสภา และเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ขณะนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรฯทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการพระนครอยู่พระองค์ท่านทรงตัดสินพระทัยไม่ใช้กำลังโต้ตอบคณะราษฎรให้เกิด
การเสียเลือดเนื้อขึ้น และทรงยินยอม ออกแถลงการณ์ให้ประชาชนอยู่ในความสงบ
ระหว่างนั้นทางฝ่ายคณะราษฎรได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงจุดประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ประชาชนทราบ และได้แถลงหลัก 6 ประการ อันเป็นนโยบายของคณะราษฎรที่จะนำมาใช้บริหารประเทศ

หลัก 
6 ประการของคณะราษฎร


1.หลักเอกราช  จะรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางการศาล    ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.หลักความปลอดภัย จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก    และสร้างความสามัคคีของคนในชาติ
3.หลักเศรษฐกิจ จะบำรุงความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ    จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.หลักเสมอภาค จะให้ราษฎรมีสิทธิเสมอหน้ากัน ไม่ให้ผู้ใดมีสิทธิเหนือผู้อื่น
5.หลักเสรีภาพ จะให้ราษฎรมีอิสระที่จะใช้สิทธิ ผู้ใดจะบังคับมิได้
6.หลักการศึกษา จะให้การศึกษาแก่ราษฎรอย่างทั่วถึง
   หลังจากนั้นคณะราษฎรได้ทำหนังสือไปกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7    ให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ    พระองค์ทรงยอมรับตามข้อเสนอของคณะราษฎร    เพื่อให้ประเทศชาติมีรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับนานาอารยประเทศตามที่ทรงมีพระราชปณิธานอยู่แล้    ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองประสบความสำเร็จ โดยปราศจากการเสียเลือดเนื้อ
   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2475    คณะราษฎรได้นำรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่ง                
   หลวงประดิษฐ์มนูธรรมและคณะราษฎรบางคนได้ร่างขึ้น    ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย    พระองค์จึงได้พระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475    นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย
   จากนั้นคณะราษฎรจึงได้คัดเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 คน ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ    ตั้งขึ้นเป็นสภาผู้แทนราษฎร    ละได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 ชุด ชุดแรกมีจำนวน 14 คน ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน    ชุดที่สองจำนวน 9 คน เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

พัฒนาทางการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ.2475-ปัจจุบัน)

วิกฤตการณ์ทางการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง    การพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร 
     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้ใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ     ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้วจึงได้มีการตั้งคณะรัฐมนตรี จำนวน 20 คนทำหน้าที่บริหารประเทศ มี
พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่รัชกาลที่ 7 พระราชทานให้ใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ มีดังนี้
1.พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดละเมิดมิได้
2.อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นพระประมุข ทรงใช้อำนาจนี้แก่โดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ    อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ  บริหาร  และตุลาการ
3.พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี 
   มีสมาชิก 2 ประเภท    จำนวนเท่ากันเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยมีสมาชิกประเภทที่ 1 ได้แก่ สมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งเข้ามา และประเภทที่ 2    ได้แก่สมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
4.พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างน้อย 14 นาย อย่างมาก 24 นาย
5.พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมาย เพื่อพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
   ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้เกิดความยุ่งยากทางการเมืองขึ้น    ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความคิดเห็นขัดแย้งในคณะรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี  พนมยงค์)    ซึ่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี เห็นว่าเค้าโครงการเศรษฐกิจนี้ดำเนินการตามหลักการของประเทศสังคมนิยม    ซึ่งก็สอดคล้องกับพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 7    ในขณะเดียวกันพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ออกคำสั่งห้ามข้าราชการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าเป็นสมาชิกสมาคม
   เกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งเท่ากับจะเป็นการล้มคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2476    พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา    และออกพระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์    ซึ่งเป็นผลทำให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องเดินทางออกนอกประเทศ    ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎรจึงปรากฏเด่นชัดขึ้น ในที่สุด    พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา จึงก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล    เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี    อำนาจของคณะราษฎรจึงคืนกลับมาอีกครั้งหนึ่งพร้อมกันนั้นหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้เดินทางกลับประเทศไทยเข้าร่วมกับรัฐบาลชุดใหม่

กบฏบวรเดช


     เหตุการณ์ในระยะต่อมามีหลายสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าสมาชิกคณะราษฎรบางคนละทิ้งสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน และละเลยหลักการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการปล่อยให้ประชาชนฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนส่วนหนึ่ง พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม กับพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น  ท่าราบ)  และนายทหารผู้ใหญ่อีกหลายคน จึงได้ก่อการกบฏขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2476 เพื่อให้มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง คณะกบฏเคลื่อนกำลังทหารนครราชสีมา สระบุรี อยุธยา มาจนถึงดอนเมือง เกิดการสู้รบขึ้นจนถึงขั้นประจัญบาน แต่ในที่สุดกองทหารฝ่ายรัฐบาลอันมีพันตรีหลวงพิบูลสงครามเป็นผู้บัญชาการรบก็สามารถปราบลงได้ พันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามตายในที่รบ และพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเสด็จลี้ภัยไปต่างประเทศ

การสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 
7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
     การกบฏครั้งนี้มีผลกระทบกระเทือนต่อพระราชฐานะของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะคณะราษฎรเข้าใจว่าพระองค์ทรงสนับสนุนการกบฏ ทั้งๆ ที่ทรงวางพระองค์เป็นกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 7 และคณะราษฎรจึงร้าวฉานยิ่งขึ้น
ต้น พ.ศ.2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ ระหว่างนั้นได้ทรงขอให้คณะราษฎรคำนึงถึงความต้องการอันแท้จริงของประชาชน และให้ปกครองประเทศตามหลักสากลเยี่ยงนานาประเทศ แต่ไม่สัมฤทธิผล จึงทรงประกาศสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม 2477  รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นลงมติเห็นชอบกราบทูลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (โอรสพระองค์หนึ่งของรัชกาลที่ 5) ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8

การสร้างและพัฒนาชาติด้านการเมือง 
     ในสมัยประชาธิปไตยของไทย เป็นสมัยที่วิทยาการและเทคโนโลยีของโลกกำลังเจริญขึ้น การติดต่อระหว่างประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น แม้การบินนานาชาติยังไม่มี แต่การติดต่อสื่อสารทางวิทยุ และโทรเลข ก็สามารถทำได้สะดวก ทำให้ประเทศซึ่งแม้จะเป็นประเทศประชาธิปไตยใหม่ เริ่มมีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่การส่งทหารไปร่วมรบในสงครามโลก เป็นต้นมา

การแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบและยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
 
     สัญญาเสียเปรียบที่ไทยเราทำกับนานาประเทศไว้ในในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้นยังมีผลใช้บังคับเรื่อยมา เป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างและพัฒนาชาติ โดยเฉพาะสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาติต่างๆ ทำให้ไทยไม่มีเอกราชสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงแก้ไข โดยถือโอกาสที่ไทยเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรโดยมีผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจา คือ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ เป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศและเป็นบุตรเขยของประธานาธิบดีวิลสันแห่ง สหรัฐอเมริกา ภายหลังได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระยากัลยาณไมตรี แต่เจรจาสำเร็จเพียง 2 ประเทศ ได้แก่ 1.สหรัฐอเมริกา  2.ญี่ปุ่นเนื่องจากรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตเสียก่อน ทำให้ต้องพยายามต่อมา และสามารถแก้ไขได้หมดทุกประเทศในสมัยรัฐบาลประชาธิปไตย ในพ.ศ.2481

กรณีพิพาทอินโดจีน พ
.ศ.2483 ไทยได้ดินแดนบางส่วนคืนจากฝรั่งเศส
     ในพ.ศ.2482 ได้มีสงครามเกิดขึ้นในทวีปยุโรป กองทัพเยอรมันบุกเข้ายึดประเทศโปแลนด์ รุกเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส และอีกหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 ความรู้สึกชาตินิยมในประเทศไทยทำให้เกิดการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส รัฐบาลขอให้ฝรั่งเศสทำความตกลงปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศสเสียใหม่ แต่ตกลงกันไม่ได้และฝรั่งเศสยังไม่ล่วงละเมิดพรมแดนไทย และใช้กองทัพเรือฝรั่งเศสในอินโดจีนล่วงล้ำน่านน้ำทะเลไทยทางด้านจังหวัดตราด จึงเกิดการรบขึ้นทั้งทางบกและทางทะเล กองทัพได้บุกเข้าไปในดินแดนอินโดจีนและยึดดินแดนคืนได้หลายแห่ง แต่ก่อนที่จะยึดได้ทั้งหมด ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจและเริ่มมีบทบาทในอินโดจีน เข้ามาไกล่เกลี่ย ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนฝรั่งขวาแม่น้ำโขงที่เสียไปครั้งที่ 4 ในสมัยรัชกาลที่ 5 และปรับปรุงแนวเขตแดนใหม่ ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงส่วนที่ตรงข้ามกับหลวงพระบาง ไทยตั้งชื่อเป็นจังหวัดล้านช้าง และดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตอนล่าง ตั้งชื่อเป็นจังหวัดจำปาศักดิ์ จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดพระตะบอง การปรับปรุงเขตแดนคราวนี้ ทำให้ราชอาณาจักรไทยครอบคลุมไปถึงทะเสสาบเขมรตอนบน

วิกฤตการณ์ทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
     ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะสงบนั้น ในฐานะที่ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพฯ จึงถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทางอากาศ ทิ้งระเบิดทำลายจุดยุทธศาสตร์ เช่น สะพาน โรงไฟฟ้า และอาคารต่างๆ ประชาชนได้รับความลำบากเดือดร้อน จอมพล ป. พิบูลสงคราม (หลวงพิบูลสงคราม) ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีเวลานั้น จึงถูกสถานการณ์บีบคั้น ในที่สุดก็ต้องลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2487 เมื่อแพ้คะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎร

.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อกอบกู้สถานการณ์บ้านเมือง พ.ศ.2488
     เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ลาออก นายควงอภัยวงศ์ (หลวงโกวิทอภัยวงศ์) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ.2475 ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และได้ลาออกให้นายทวี  บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว เพื่อรอ ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช  กลับจากสหรัฐอเมริกามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้สถานการณ์บ้านเมืองที่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงคราม เนื่องจาก ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช  เป็นหัวหน้าคณะเสรีไทย เป็นที่รู้จักดีของสหรัฐอเมริกา มหาอำนาจชั้นนำของฝ่ายสัมพันธมิตรในเวลานั้น ซึ่ง ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช  ก็แก้ไขสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จนประเทศไทยไม่มีสภาพเป็นผู้แพ้สงคราม
แม้ไทยจะได้ชื่อว่ามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มาตั้งแต่ พ.ศ.2475 แต่ตลอดเวลานั้นอำนาจในการบริหารประเทศที่แท้จริงตกอยู่ในมือของคณะทหารที่มี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้นำ เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม หมดอำนาจลงภายหลังสงครามโลก มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2492 พรรคการเมืองต่างๆ เกิดขึ้น ประชาชนมีโอกาสได้สัมผัสระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีผู้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นนายกรัฐมนตรี คือ นายปรีดี  พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) และพลเรือตรีถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์  (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)  แม้ทั้งสองท่านนี้จะร่วมอยู่ในคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ด้วย แต่ก็เป็นฝ่ายที่ไม่นิยมใช้กำลัง

รัชกาลที่ 
8 ถูกลอบปลงพระชนม์ , สาเหตุการรัฐประหาร พ.ศ.2490


    หลังสงครามโลกสงบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้เสด็จนิวัตประเทศไทย พร้อมด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน) และก่อนที่จะเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 9 มิถุนายน  พ.ศ.2489 คณะทหารซึ่งนิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงอ้างเป็นสาเหตุหนึ่งกระทำรัฐประหารเข้ายึดอำนาจขับไล่รัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรีถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 และให้นายควง  อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับพรรคสหชีพ ของพลเรือตรีถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์) เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ 6 เดือนต่อมาคณะรัฐประหารก็ให้ออก แล้วเชิญจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน

การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
 
    เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นช่วงเวลาที่เวทีการเมืองของโลก แบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ ๆ ได้แก่ ค่ายเสรีประชาธิปไตย หรือค่ายตะวันตก มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ กับค่ายคอมมิวนิสต์ หรือค่ายตะวันออกมีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ 
(ใน พ.ศ.2492 จีนทั้งประเทศตกอยู่ในอำนาจของ เหมา  เจ๋อ  ตุง  ซึ่งปกครองประเทศในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์) ทั้งสองค่ายต่างฝ่ายต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งคุกคามสันติภาพของโลก และแสวงหาประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นพรรคพวก  จอมพล ป. พิบูลสงคราม จังตัดสินใจนำประเทศเข้าร่วมกับค่ายเสรีประชาธิปไตย และทุ่มเทความไว้วางใจให้แก่สหรัฐอเมริกา

การเข้าร่วมสงครามเกาหลี
 
    สหประชาชาติลงมติว่าจีนและเกาหลีเหนือ เป็นฝ่ายรุกรานเกาหลีใต้ ในพ.ศ.2493 และส่งกองทัพสหประชาชาติเข้าไปช่วยเกาหลีใต้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงส่งกำลังทหารไทยไปร่วมในกองทัพสหประชาชาติด้วย ทั้งกำลังทางบกและทางเรือ

สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
    ภาวะการคุกคามระหว่าง 2 ค่าย ที่เรียกว่า สงครามเย็น ได้ทวีความรุนแรงขึ้นในที่สุดก็เกิดความร่วมมือทำสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ) ขึ้น ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์  ปากีสถาน  ฟิลิปปินส์ และไทย  มีสาระสำคัญว่า เมื่อประเทศใดถูกรุกรานประเทศที่เหลือจะเข้าช่วย

จอมพล ป
. พิบูลสงครามกับไฮด์ปาร์คที่สนามหลวง
     การเข้ามามีอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีโดยอำนาจรัฐประหารใน พ.ศ.2490 ทำให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับการต่อต้านจากประชาชน มีการกบฏเกิดขึ้นหลายหน แต่สามารถปราบได้ เป็นเหตุให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องหาวิธีแก้ไข ได้เดินทางไปดูงานในต่างประเทศ พบว่าประชาชนอังกฤษในลอนดอน มีสิทธิเสรีภาพในการพูดการเมืองที่สนามในสวนหลวงที่ชื่อ ไฮด์ปาร์ค จึงนำมาใช้บ้าง โดยยอมให้มีการพูดการเมืองได้อย่างเสรีที่สนามหลวง (การพูดเช่นนี้ผู้คนทั่วไปเรียกกันติดปากว่า ไฮด์ปาร์ค)

รัฐประหาร พ
.ศ.2500
     จอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่งเสริมประชาธิปไตย โดยจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 แต่ประชาชนไม่พอใจ เชื่อว่าฝ่ายรัฐบาลโกงการเลือกตั้ง เนื่องจากที่เขต (อำเภอ) ดุสิตนั้นนับคะแนนผลการเลือกตั้งเป็นเวลาถึง 3 วัน 3 คืน นิสิตนักศึกษาและประชาชนจึงเดินขบวนไปประท้วงที่ทำเนียบรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก สามารถทำความเข้าใจกับนิสิตนักศึกษาและประชาชนได้ จึงมีชื่อเสียงขึ้นมาหลังจากเคยมีชื่อเสียงในการปราบกบฏมาแล้ว เมื่อเห็นว่าประชาชนสนับสนุน อีกไม่กี่เดือนต่อมา จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงทำรัฐประหารขับไล่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 และเชิญให้นายพจน์  สารสิน เลขาธิการ ส.ป.อ. ซึ่งสหรัฐอเมริกายอมรับนับถือมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ (จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และไม่ได้กลับประเทศไทยอีกเลยจนตลอดชีวิต)

จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี
 
     เมื่อนายพจน์  สารสิน  จัดการเลือกตั้งสำเร็จเรียบร้อยแล้วก็ลาออกให้ จอมพลถนอม           กิตติขจร (ขณะนั้นมียศพลโท) ผู้ใกล้ชิดจอมพลสฤษดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว ต่อมาจอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารใหม่ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และตั้งคณะรัฐบาลทหารขึ้น มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี

ยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์
 
     รัฐบาลทหารของจอมพลสฤษดิ์ บริหารราชการแผ่นดินด้วยความเข้มแข็ง มีการระดมกำลังสมองจากนักปราชญ์นักวิชาการมาช่วยชาติบ้านเมือง เช่น กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (ม.จ.วรรณไวทยากร  วรวรรณ) และหลวงวิจิตรวาทการ เป็นต้น  ปกครองบ้านเมืองอย่างเฉียบขาด มีการตอบโต้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อย่างจริงจัง และสนิทแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกา จนได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินมาพัฒนาประเทศเป็นอันมาก
แต่การบริหารนั้นก็เกิดหละหลวม เมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่กรรมใน พ.ศ.2506 จึงมีการกล่าวหาว่าจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง จนถูกยึดทรัพย์สินทั้งหมดให้ตกเป็นของแผ่นดิน

รัฐบาลถนอม 
– ประภาส (พ.ศ.2506 – 2516)
     จอมพลถนอม กิตติขจร  ได้สืบทอดเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากจอมพลสฤษดิ์  คนทั่วไปเรียกว่า รัฐบาลถนอม-ประพาส เพราะจอมพลประภาส  จารุเสถียร ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กำลังสำคัญของรัฐบาล เป็นเครือญาติกับจอมพลถนอมโดยการสมรสของบุตร
รัฐบาลถนอม – ประภาส ได้จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ในเวลาหลายปี จนถึงปลายปี พ.ศ.2511 จึงเสร็จและมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในต้นปี พ.ศ.2512 ซึ่งฝ่ายรัฐบาลถนอม-ประภาสตั้งพรรคการเมืองขึ้น ชื่อพรรคสหประชาไทย และชนะการเลือกตั้ง หลังการเลือกตั้ง จึงมีรัฐบาลถนอม-ประภาสอีก แต่ไม่ถึง 2 ปี จอมพลถนอม กิตติขจรก็ทำรัฐประหารตนเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบรัฐสภาผู้แทนราษฎร ตั้งรัฐบาลทหารขึ้นใหม่ เป็นรัฐบาลถนอม-ประพาส ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น

วันมหาวิปโยค  
14  ตุลาคม   2516


     การยกเลิกรัฐธรรมนูญ  ทำให้ประชาชนไม่พอใจ เพราะการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2511 นั้นใช้เวลานานหลายปีผิดปกติอยู่แล้ว ครั้นใช้มาไม่ถึง 3 ปี ก็ยกเลิกเสีย ไม่แน่ว่าอีกนานเท่าไรจึงจะร่างใหม่ได้สำเร็จ จึงมีนักศึกษา อาจารย์  และนักกฎหมายรวม 13 คน ประกาศเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งหมดได้ถูกต้องจับกุม
เมื่อคณะผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญถูกจับกุม จึงเกิดการชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัวบุคคลทั้ง 13 คนนั้นการชุมนุมได้รับความสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่เด็กนักเรียนชั้นมัธยมขึ้นไปฝ่ายรัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบปราม ทำให้เหตุการณ์ลุกลามใหญ่โต เกิดนองเลือดในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 มีผู้คนเสียเลือดเนื้อล้มตาย ทำให้ประชาชนบางพวกโกรธแค้นถึงกับเผาทำลายอาคารสถานที่และยานพาหนะของทางราชการ
แต่ด้วยเดชะพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เหตุการณ์จึงได้สงบ โดยจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส  จารุเสถียร ยอมลาออกจากตำแหน่งและเดินทางออกไปจากพระราชอาณาจักร

นายสัญญา  ธรรมศักดิ์ นายกฯพระราชทาน
 
     เมื่อจอมพลทั้งสองเดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นายสัญญา  ธรรมศักดิ์  ประธานองคมนตรีในเวลานั้น ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  มีภารกิจสำคัญ  คือ ฟื้นฟูระเบียบของบ้านเมือง ประสานสามัคคีในหมู่คนในบ้านเมืองกลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว  และร่างรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมขึ้นใช้ปกครองประเทศ
ในที่สุดบ้านเมืองก็สงบดังเดิม  การร่างรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นลง และประกาศใช้ในวันที่ 7 ตุลาคม 2517 เป็นรัฐธรรมนูญที่นักการเมือง และนักวิชาการจำนวนมากลงความเห็นว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นประชาธิปไตยดีที่สุด สมกับที่ได้มาด้วยความยากลำบาก

เหตุการณ์ภายหลังวันมหาวิปโยค
 
     ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 มีรัฐบาลบริหารประเทศหลายชุด แต่ต่างก็เข้ามาบริหารประเทศในช่วงเวลาสั้นๆ

รัฐบาล ม
.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช  (ก.พ.2518)
     เริ่มแรกที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญใหม่ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช  ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค  ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งคณะรัฐบาลขึ้น แต่เมื่อถึงวันแถลงนโยบายไม่ได้รับความไว้วางใจจึงต้องลาออก

รัฐบาล ม
.ร.ว.ศึกฤทธิ์  ปราโมช  (มี.ค.2518 – ม.ค.2519)
     เมื่อรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช  ลาออกแล้ว  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช  หัวหน้าพรรคกิจสังคม ได้เป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นจากหลายพรรคการเมือง แต่การบริหารประเทศก็มีอุปสรรคอันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมือง การชุมนุมและเดินขบวนของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาถอนทหารออกไปจากประเทศไทย และเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ
การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช  เป็นไปด้วยความยากลำบาก ในที่สุด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช  นายกรัฐมนตรีต้องประกาศยุบสภา  เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่

การปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 
6 ตุลาคม 2519
     ผลการเลือกตั้งจากการยุบสภา ทำให้ ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช  หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นนายกฯอีกสมัยหนึ่ง แต่ก็ยังมีการประท้วงเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแรงงาน กลุ่มนักศึกษา ซึ่งได้รับการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม เช่น กลุ่มกระทิงแดง กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน เป็นต้น
การประท้วงครั้งสำคัญ คือการประท้วงการกลับเข้ามาในราชอาณาจักรของสองอดีตผู้นำ จอมพลถนอมกับจอมพลประภาส
ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ความรุนแรงของความขัดแย้งถึงขนาดปะทะกันด้วยกำลัง ในที่ชุมนุมบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และลุกลามออกมาถึงบริเวณสนามหลวง มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต รัฐบาลประชาธิปัตย์ของ ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช  ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ตกเย็นวันนั้นเอง คณะทหารก็ประกาศยึดอำนาจ เรียกคณะของตนว่าคณะปฏิรูป           การปกครองแผ่นดิน มีพลเรือเอกสงัด  ชลออยู่  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า และมีพลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันท์ เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อาสาเข้ามาจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองเสียใหม่ มีการปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรง มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก และบางคนต้องหลบหนีเข้าป่าไปสมทบกับขบวนการคอมมิวนิสต์ทั้งในประเทศและนอกประเทศ

รัฐบาลนายธานินทร์  กรัยวิเชียร  
(8 ต.ค. – 19 ต.ค.2520)
     มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายธานินทร์  กรัยวิเชียร  เป็นนายกรัฐมนตรี     โดยมีรัฐธรรมนูญซึ่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงประกาศใช้ปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีหลักการสำคัญ คือ นายกรัฐมนตรี กับคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีอำนาจเบ็ดเสร็จ เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญสมัยเผด็จการ จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่เหล่าทหารบางกลุ่ม นักการเมือง และประชาชน จนทหารกลุ่มหนึ่งได้ก่อการรัฐประหารขึ้น โดยมี     พลเอกฉลาด  หิรัญศิริ  เป็นหัวหน้า  แต่ถูกปราบปรามลง กลายเป็นขบถและหัวหน้ากลุ่มหนึ่งได้ก่อการรัฐประหารขึ้น ตามอำนาจเบ็ดเสร็จที่ให้ไว้ในรัฐธรรมนูญ

พลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันท์  ปฏิวัติและเป็นนายกรัฐมนตรี 
(11 พ.ย. 2520 – 3 มี.ค.2523)
     การบริหารอย่างเด็ดขาดของรัฐบาลนายธานินทร์ สร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชน และขัดแย้งกับทหารในคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด พลเรือเอกสงัด  ชลออยู่  ก็ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลและยุบสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มีพระบรม                  ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และจัดให้มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่ โดยพลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันท์ สมัครรับเลือกตั้งด้วย ซึ่งก็ได้รับเลือกตั้งเข้ามา และสามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีตามวิถีทางประชาธิปไตย แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ทั้งยังขัดแย้งกับทหารกลุ่มหนุ่ม (ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า กลุ่มยังเติร์ก) ทำให้ต้องลาออก และพลเอกเปรม    ติณสูลานนท์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนายทหารกลุ่มหนุ่ม ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

รัฐบาลพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ 
(พ.ศ.2523-2531)
     พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ.2523 และเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อเนื่องอยู่นานถึง 8 ปี เนื่องจากพลเอกเปรมเป็นผู้ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด แต่รวมมือกับพรรคการเมืองและนักวิชาการตั้งรัฐบาลผสมขึ้น เป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษในการประสานความคิดและรู้จักผ่อนปรน   เป็นผู้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงนโยบายปราบปรามผู้ก่อการร้ายจากการใช้กำลังเป็นการให้ความเห็นใจ เช่น ไม่เอาโทษผู้ก่อการร้ายที่กลับใจ  ช่วยหาอาชีพให้ เรียกผู้กลับใจว่า ผู้ร่วมพัฒนาชาติ  เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ก่อการร้าย จึงทำให้มีจำนวนผู้ร่วมพัฒนาชาติมากขึ้นทุกที จนในที่สุดการก่อการร้ายก็หมดไป พร้อมกันนั้นก็เริ่มวางพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง เช่น การนำก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยขึ้นมาใช้ และการสร้างท่าเรือน้ำลึก โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) เป็นต้น
หลังการเลือกตั้งใน พ.ศ.2531 พลเอกเปรม ก็วางมือจากการเมืองปล่อยให้นักการเมืองเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลกันเอง

รัฐบาลพลเอกชาติชาย  ชุณหวัณ 
(พ.ศ.2531-2534)


     เมื่อพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  วางมือ บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ก็สนับสนุนให้พลเอกชาติชาย  ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาลผสมขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผลพวงจากการวางรากฐานของรัฐบาลพลเอกเปรมเริ่มสัมฤทธิ์ผล การเศรษฐกิจของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว จัดเป็นชาติหนึ่งที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงสุดในโลก แต่รัฐบาลที่มีพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง รัฐมนตรีบางคนทุจริต กลุ่มทหารที่มีพลเอกสุนทร  คงสมพงษ์  เป็นหัวหน้าจึงเข้าทำการปฏิวัติ

สภา รสช
. กับรัฐบาลนายอานันท์  ปันยารชุน  (พ.ศ.2534 – 2535)
     คณะปฏิวัติได้จัดการปกครอง โดยมีสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) และได้ดำเนินการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีนายอานันท์  ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

จลาจล 
(พฤษภาทมิฬ) พฤษภาคม 2535
      หลังจากร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 เสร็จแล้ว รัฐบาลนายอานันท์  ก็จัดให้มีการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคการเมืองหลายพรรคได้รวบรวมเสียงข้างมากสนับสนุนให้ พลเอกสุจินดา  คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น สร้างความไม่พอใจให้แก่นักศึกษา นักการเมือง และประชาชน เพราะเห็นว่าพลเอกสุจินดา  เป็นผู้อยู่เบื้องหลังคณะ รสช. และทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง ผู้ไม่พอใจซึ่งมีพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้นำ  จึงทำการประท้วงอย่างกว้างขวาง เรียกร้องให้พลเอกสุจินดา  คราประยูร ออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประการ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
รัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ไม่ยอมลาออก ซ้ำยังใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุมเดินขบวน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตไปจำนวนหนึ่ง แต่ผู้ชุมนุมก็ผนึกกำลังต่อสู้อย่างไม่ลดละ

พระบารมียุติการจลาจล
 
     เมื่อการชุมนุมต่อต้านพลเอกสุจินดา ไม่มีทีท่าว่าจะยุติได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกสุจินดา กับพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯ เพื่อพระราชทานโอวาทให้ปรองดองกัน โดยทรงมอบหมายให้ พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  ซึ่งดำรงตำแหน่งองคมนตรี เป็นผู้ประสานความเข้าใจ การจลาจลจึงยุติลง พลเอกสุจินดา คราประยูร ลาออก และนายอานันท์  ปันยารชุน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่งเพื่อดำเนินการเลือกตั้งใหม่

รัฐบาลหลังยุค รสช
.
     รัฐบาลนายอานันท์  ได้ยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ.2535 ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากกว่าพรรคอื่นๆ แต่ไม่ถึงกับเป็นเสียงข้างมากจึงต้องตั้งรัฐบาลผสมขึ้น มีนายชวน  หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ได้เพียง 2 ปีเศษ ก็ต้องลาออก เพราะถูกฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เมื่อรัฐบาลนายชวน  หลีกภัย  ลาออกแล้วก็จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในเดือนกรกฎาคม   พ.ศ.2538 พรรคชาติไทยได้เสียงมากกว่าพรรคอื่นๆ จึงได้รับมอบหมายให้จัดตั้งรัฐบาลโดยมี          นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย  เป็นนายกรัฐมนตรี และได้บริหารราชการมาเป็นเวลา  1 ปี 2 เดือน จึงถูกฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเพียงผู้เดียว เนื่องจากไม่ได้บริหารราชการให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ แม้จะได้รับมติความไว้วางใจให้บริหารราชการ
ต่อไปได้ แต่นายกรัฐมนตรีก็ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2539 และจัดให้มี            
การเลือกตั้งในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539

      ผลจากการเลือกตั้ง ปรากฏว่าพรรคความหวังใหม่ที่มีพลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  เป็นหัวหน้า ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด จึงได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น โดยมีพลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2539แต่การเมืองการปกครองบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นย่อมจะไม่ราบรื่นเรียบร้อยเสมอไป
ความยุ่งยากทางการเมืองของไทย ยังคงมีต่อมาเป็นประวัติศาสตร์ที่เราจะต้องศึกษาต่อไป
หลังจากพลเอกชวลิต    ยงใจยุทธ  เป็นผู้นำในการบริหารประเทศมาได้ระยะหนึ่งก็เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (ยุค IMF)  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธก็ประกาศลาออก  รัฐบาลที่เข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่อมาก็คือรัฐบาลที่นำโดยนายชวน   หลีกภัย  แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาให้หมดไปจนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ และพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็คือ               พรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งมี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ    ชินวัตร  เป็นหัวหน้าพรรคและได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี  หัวหน้าคณะรัฐบาล สามารถบริหารประเทศให้มีภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น        ในเวลาต่อมาแต่ก็มีปัญหามากมายที่ต้องแก้ไข ถือว่าความยุ่งยากทางการเมืองก็ยังไม่หมดไปจากสังคมไทย
อดีตรัฐบาลที่นำโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ     ชินวัตร ก็ได้รับเลือกตั้งให้เข้ามาบริหารประเทศเป็นสมัยที่ 2  หลังจากสามารถบริหารประเทศครบตามวาระ 4 ปี ในสมัยแรก ซึ่งก็ถือว่าเป็นรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก

ภายหลังการปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีกระแสความคิดที่จะให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย สูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันหลักที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้นเป็น ลำดับ จนกระทั่งได้มีคณะนายทหารชุดกบฏ ร.ศ.130 ซึ่งมีความคิดที่ปฏิบัติการให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว แต่ไม่ทันลงมือกระทำการก็ถูกจับได้เสียก่อนเมื่อ พ.ศ.2454 ในต้นรัชกาลที่ 6  
                อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงมีออกมาเป็นระยะๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ยังไม่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก นอกจากการปรับตัวของรัฐบาลทางด้านการเมืองการปกครองให้ทันสมัยยิ่งขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแต่ประการใด จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีคณะผู้ก่อการภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 2475
                ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย

สภาพการณ์โดยทั่วไปของบ้านเมืองก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
1.สภาพการณ์ทางสังคม
                สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกในทุกๆ ด้าน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปแผ่นดินเข้าสู่ความทันสมัยในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453)  ความจริงแล้วสังคมไทยเริ่มปรับตัวให้เข้ากับกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 และกับประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรปอีกหลายประเทศ และทรงเปิดรับรับประเพณีและวัฒนธรรมของตะวันตก เช่น การจ้างชาวตะวันตกให้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบรมมหาราชวัง การให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า การอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพร้อมกับขุนนางข้าราชการไทยในงานพระบรมราชาภิเษก เป็นต้น
                ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินพระบรมราโชบายปลดปล่อยไพร่ให้เป็นอิสระและทรงประกาศเลิกทาสให้เป็นไทแก่ตนเอง พร้อมกันนั้นยังทรงปฏิรูปการศึกษาตามแบบตะวันตก เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาถึงขั้นอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย บุตรหลานขุนนาง หรือราษฎรสามัญชนที่พ้นจากความเป็นไพร่หรือทาส ถ้าบุคคลใดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็จะมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศตะวันตกโดยพระบรมราชานุเคราะห์จากผลการปฏิรูปการศึกษา ทำให้คนไทยบางกลุ่มที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก เริ่มรับ เริ่มรับเอากระแสความคิดเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ ที่ยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากตะวันตก และมีความปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกคราองเกิดขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากคำกราบบังคมทูลถวายถึงความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะเจ้านายและข้าราชการใน พ.ศ.2427 (ร.ศ.103) หรือการเรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาของ “เทียนวรรณ” (ต.ว.ส. วัณณาโภ) ในหน้าหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้น และกระแสความคิดนี้ก็ดำเนินสืบเนื่องมาโดยตลอดในหมู่ผู้นำสมัยใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก และจากผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก
                อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้นำสมัยใหม่บางส่วนที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบราชการสมัยใหม่ที่ตนเองเข้าไปมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ ก็ถูกระบบราชการดูดกลืนจนปฏิเสธที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัยใหม่ในระยะเวลาอันใกล้ เพราะมีความเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังขาดความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง


                สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัย สังคมไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความมีเสรีในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเริ่มเปิดโอกาสสื่อมวลชนเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนได้ค่อนข้างเสรี ดังนั้นจึงปรากฏว่าสื่อมวลชนต่างๆ เช่น น.ส.พ.สยามประเภท, ตุลวิภาคพจนกิจ,  ศิริพจนภาค, จีนโนสยามวารศัพท์ ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายในรัชกาลที่ 5 น.ส.พ. บางกอกการเมือง ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 6 และ น.ส.พ.สยามรีวิว ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เรียกร้องและชี้นำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่ระบบรัฐสภา โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างต่อเนื่อง
                อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปลดปล่อยไพร่และทาสให้เป็นอิสระในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ผ่านพ้นไปได้เพียง 20 ปีเศษ ดังนั้นสภาพสังคมส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมในระบบเจ้าขุนมูลนาย นอกจากนี้คนส่วนน้อยยังคงมีฐานะ สิทธิ ผลประโยชน์ต่างๆ เหนือคนไทยส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่มักมีความเห็นคล้อยตามความคิดที่ส่วนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยชี้นำ ถ้าจะมีความขัดแย้งในสังคมก็มักจะเป็นความขัดแย้งในทางความคิด และความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์ในหมู่ชนชั้นนำของสังคมที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้นำของสังคมไทยกับราษฎรทั่วไป

2.สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ
                ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เริ่มมีการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศมากขึ้น เพราะระบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปและความต้องการของตลาดโลก ชาวนาจึงหันมาปลูกข้าวเพื่อส่งออกมาขึ้น ทำให้มีการปลูกพืชอื่นๆ น้อยลง ผลผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ลดลงด้วยบางที่ก็เลิกผลิตไปเลย เพราะแรงงานส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการผลิตข้าวแทน
                สมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเห็นว่าถึงแม้รายได้ของแผ่นดินจะเพิ่มพูนมากขึ้นอันเป็นผลมาจากระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไป แต่การที่ระบบการคลังของแผ่นดินยังไม่รัดกุมพอ ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ง่าย จังทรงจัดการปฏิรูปการคลังโดยจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อการปรับปรุงและการจัดระบบภาษีให้ทันสมัยใน พ.ศ.2416 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.2434 เริ่มโครงการปฏิรูปเงินตราใหม่ พ.ศ.2442 จัดการส่งเสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น ปรับปรุงการคมนาคมให้ทันสมัยโดยการสร้างทางรถไฟ ตัดถนนสายต่างๆ ขุดคลอง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการคมนาคม การขนส่งสินค้าและผลผลิต ซึ่งผลการปฏิรูปเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มมากขึ้น 15 ล้านบาทใน พ.ศ.2435 เป็น 46 ล้านบาทใน พ.ศ.2447 โดยไม่ได้เพิ่มอัตราภาษีและชนิดของภาษีขึ้นอย่างใด ทำให้เงินกองคลังของประเทศ ซึ่งเคยมีอยู่ประมาณ 7,500,000 บาท ใน พ.ศ.2437 เพิ่มเป็น 32,000,000 บาทใน พ.ศ.2444
                สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468) ได้มีการส่งเสริมธุรกิจด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กิจการไฟฟ้า มีการจัดตั้งบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม ส่งเสริมด้านชลประทานและการบำรุงพันธุ์ข้าว จัดตั้งธนาคารออมสิน สร้างทางรถไฟเพิ่มเติมจากเดิม ทั้งนี้เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่เนื่องจากได้อุทกภัยใน พ.ศ.2460 และเกิดฝนแล้งใน พ.ศ. 2462 ทำให้การผลิตข้าวอันเป็นที่มาของรายได้หลักของประเทศประสบความเสียหายอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อภาวะการคลังของประเทศอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับมาโดยตลอดระหว่าง พ.ศ.2465-2468


                สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468-2475) พระองค์ได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มพระสติกำลังความสามารถ โดยทรงเสียสละด้วยการตัดทอนรายจ่ายในราชสำนัก เพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ โดยโปรดให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ จากเดิมปีละ 9 ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้านปี พ.ศ.2469 และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีศุลกากรใหม่หลายอย่าง ทำให้งบประมาณรายรับรายจ่ายเกิดความสมดุล พ.ศ.2472-2474 เศรษฐกิจโลกเริ่มตกต่ำอันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงส่งผลกระทบต่อประเทศโดยตรง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับเป็นจำนวนมาก รัชกาลที่ 7 ได้ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนมากเพื่อการประหยัด ตลอดจนจัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารแก่ข้าราชการ ประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ และกำหนดค่าเงินตราตามเงินปอนด์สเตอร์ลิง รวมทั้งการประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะข้าราชการซึ่งจะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า ภาษเงินเดือน แต่ถึงแม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการประหยัดและตัดทอนรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งการเพิ่มภาษีบางอย่างแล้ว แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ไดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

3.สภาพการณ์ทางการเมือง
                สภาพการณ์ทางการเมืองและการปกครองของไทยกำลังอยู่ในระยะปรับตัวเข้าสู่แบบแผนการปกครองของตะวันตก เห็นได้จากพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ภายหลังที่ไทยได้มีการติดต่อกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-7สมัยรัชกาลที่ 4 ยังไม่ได้ทรงดำเนินนโยบายปรับปรุงการปกครองให้เป็นแบบตะวันตก แต่ก็ทรงมีแนวพระราชดำริโน้มเอียงไปในทางเสรีนิยม เช่น ประกาศให้เจ้านายและข้าราชการเลือกตั้งตำแหน่งมหาราชครูปุโรหิตและตำแหน่งพระมหาราชครูมหิธร อันเป็นตำแหน่งตุลาการที่ว่างลง แทนที่จะทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาตามพระราชอำนาจของพระองค์ และเปลี่ยนแปลงวิธีถวายน้ำพิพัฒน์สัตยา ด้วยการที่พระองค์ทรงเสวยน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการและทรงปฏิญาณความซื่อสัตย์ของพระองค์ต่อขุนนางข้าราชการทั้งปวงด้วย
                สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ เพื่อให้การปกครองของไทยได้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับชาติตะวันตก โดยจัดตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ (Privy Council) ใน พ.ศ.2417 เพื่อถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและในเรื่องต่างๆ  ที่พระองค์ของคำปรึกษาไป นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปฏิรูปการปกครองที่สำคัญคือ การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่จำนวน 12 กระทรวงขึ้นแทนจตุสดมภ์ในส่วนกลางและจัดระบบการปกครองหัวเมืองต่างๆในรูปมณฑลเทศาภิบาลในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2435 เป็นต้นมา นอกจากนี้พระองค์ทรงริเริ่มทดลองการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูป สุขาภิบาล จัดตั้ง รัฐมนตรีสภา เพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย ใน พ.ศ.2437 ตามแบบอย่างตะวันตก


                สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงริเริ่มทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยการจัดตั้ง ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต พ.ศ.2461 เพื่อทดลองฝึกฝนให้บรรดาข้าราชการได้ทดลองปกครองตนเองในนครดุสิตธานี เหมือนกับการจดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่า “เทศบาล”  นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่จากที่มีอยู่เดิม และยุบเลิกกระทรวงบางกระทรวงเพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้นและทรงปรับปรุงการบริหารงานของมณฑลด้วยการยุบรวมมณฑลเป็นหน่วยราชการที่เกี่ยวกับการปกครองเรียกว่า มณฑลภาค เพื่อให้การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลมีความคล่องตัวมากขึ้น
                สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2468-2475) ทรงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ทันสมัย และต้องเตรียมการให้พร้อมเพิ่มมิให้เกิดความผิพลาดได้ โดยพระองค์ได้ทรงจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน พ.ศ.2468 และทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีสภาวางระเบียบสำหรับจัดตั้งสภากรรมการองคนตรี เพื่อเป็นสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์อีกด้วย
                นอกจากนี้ทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีวางรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล ด้วยการแก้ไขปรับปรุงสุขาภิบาลที่มีอยู่ให้เป็นเทศบาล แต่ไม่มีโอกาสได้ประกาศใช้ เพราะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นก่อน   นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์  ซึ่งเป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญ ตามกระแสพระราชดำริใน พ.ศ.2474 มีสาระสำคัญดังนี้
                อำนาจนิติบัญญัติจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางอ้อม โดยมีสมาชิก 2 ประเภท คือ มาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง ส่วนผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเลือกตั้งจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า30 ปี มีพื้นฐานความรู้อ่านออกเขียนได้ ส่วนอำนาจบริหารให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากอภิรัฐมนตรีมีความเห็นประชาชนยังไม่พร้อม ดังนั้นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญควรระงับไว้ชั่วคราว จนกระทั่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อนจึงมิได้มีการประกาศใช้แต่อย่างใด

สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475
1.ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
                การที่คณะนายทหารหนุ่มภายใต้การนำของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์) ได้วางแผนยึดอำนาจการปกครอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบที่จำกัด พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในฐานะประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ.2454 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะถูกจับกุมก่อนลงมือปฏิบัติงาน แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของระบอบนี้อย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ที่ไม่ดุลกับรายรับ ทำให้มีการกล่าวโจมตีรัฐบาลว่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินไป ครั้งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ถูกโจมตีว่าทรงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง และบรรดาพระราชวงศ์ก็มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองมากเกินไป ควรจะให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองด้วย ปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อระบอบการปกครองที่มีพระ มหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย   ซึ่งนับวันจะมีปฏิกิริยาต่อต้านมากขึ้น

2.การได้รับการศึกษาตามแนวความคิดตะวันตกของบรรดาชนชั้นนำในสังคมไทย
                อิทธิพลจากการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งที่ไปศึกษายังประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่ และนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทย ทำให้คนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศรับอิทธิพลแนวความคิดดัง กล่าวด้วย อิทธิพลของปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแลปงการ ปกครองมากขึ้น นับตั้งแต่คณะเจ้านายและข้าราชการเสนอคำกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการ ปกครองใน พ.ศ.2427 นักหนังสือพิมพ์อย่าง เทียนวรรณ (ต.ว.ส.วัณณาโภ) ก.ศ.ร. กุหลาบ (ตรุษ ตฤษณานนท์) ได้เรียกร้องให้ปกครองบ้านเมืองในระบบรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และยังได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์สังคม กระทบกระเทียบชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ ซึ่งตัวเทียนวรรณเองก็ได้กราบบังคมทูลถวายโครงร่างระบบการปกครองที่เป็น ประชาธิปไตยแด่รัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชกาลที่ 6 กลุ่มกบฏ ร.ศ.130 ที่วางแผนยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็เป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกแต่ไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศ แต่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 เป็นคณะบุคคลที่ส่วนใหญ่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตกแทบทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงอัทธิพลของความคิดในโลกตะวันตกที่มีต่อชนชั้นผู้นำของไทยเป็น อย่างยิ่ง เมื่องคนเลห่านี้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข การเปลี่ยนแปลงกรปกครองจึงเกิดขึ้น

3.ความเคลื่อนไหวของบรรดาสื่อมวลชน
                สื่อมวลชนมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปกครองแบบใหม่และ ปฏิเธระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น น.ส.พ.ตุลวิภาคพจนกิจ (พ.ศ.2443-2449) น.ส.พ.ศิริพจนภาค (พ.ศ.2451) น.ส.พ.จีนโนสยามวารศัพท์ (พ.ศ.2446-2450) น.ส.พ.บางกอกการเมือง (พ.ศ.2464) น.ส.พ.สยามรีวิว (พ.ศ.2430) น.ส.พ.ไทยใหม่ (พ.ศ.2474) ต่างก็เรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการ ปกครองประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงความดีงามของระบอบประชาธิปไตยที่จะเป็นแรงผลักดันให้ประชา ชาติมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ ดังเช่นที่ปรากฎเป็นตัวอย่างในหลายๆประเทศที่มีการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ การะแสเรียกร้องของสื่อมวลชนในสมัยนั้นได้มีส่วนต่อการสนับสนุนให้การดำเนิน ของคณะผู้ก่อการในอันที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองบรรลุผลสำเร็จได้เหมือนกัน

4.ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
                รัชกาลที่ 7 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ และทรงเต็มพระทัยที่จะสละพระราชอำนาจมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อถึงเวลาที่ เหมาะสม แต่เมื่อพระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อประกาศใช้ พระองค์ได้ทรงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาอภิรัฐมนตรีสภา แต่อภิรัฐมนตรีสภากลับไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าประชาชนยังขาดความพร้อมและเกรงจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ทั้งๆที่รัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออภิรัฐมนตรีสภาคัด ค้าน พระองค์จึงมีน้ำพระทัยเป็นประชาธิปไตยโดยทรงฟังเสียงทัดทานจากอภิรัฐมนตรี สภาส่วนใหญ่ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงยังไม่มีโอกาสได้รับการประกาศใช้ เป็นผลให้คณะผู้ก่อการชิงลงมือทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ในที่สุด

5.สถานะการคลังของประเทศและการแก้ปัญหา
                การคลังของประเทศเริ่มประสบปัญหามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะการผลิตข้าวประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งติดต่อกันใน พ.ศ. 2460 และ พ.ศ.2462 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการผลิตข้าวอย่างรุนแรง ภายในประเทศก็ขาดแคลนข้าวที่จะใช้ในการบริโภค และไม่สามารถส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศได้ ทำให้รัฐขาดรายได้เป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องจัดสรรเงินงบประมาณช่วยเหลือชาวนา ข้าราชการ และผู้ประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น มีทั้งรายจ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้นจนเกินงบประมาณรายได้ ซึ่งใน พ.ศ. 2466 งบประมาณขาดดุลถึง 18 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลได้นำเอาเงินคงคลังที่เก็บสะสมไว้ออกมาใข้จ่ายจนหมดสิ้น ในขณะที่งบประมาณรายได้ต่ำ รัชกาลที่ 6 ทรงแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อให้มีเงินเพียงพอกับงบประมาณรายจ่าย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างไม่ประหยัด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังคับขัน
                ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลลดจำนวนข้าราชการในกระทรวงต่างๆให้น้อยลง และทรงยินยอมตัดทอนงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ให้น้อยลง เมื่อ พ.ศ.2469 ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 3 ล้านบาท แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกเริ่มตกต่ำมาเป็นลำดับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นอันมาก จัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารของข้าราชการ รวมทั้งการประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ
                พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะการเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ แต่มาตรการดังกล่าวมก็ไม่สามารถจะกอบกู้สถานะการคลังของประเทศได้กระเตื้อง ขึ้นได้ จากปัญหาเศรษฐกิจการคลังที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขให้มีสภาพเป็นปกติได้ ทำให้คณะผู้ก่อการใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีประสิทธิภาพการบริหารงานของ รัฐบาล จนเป็นเงื่อนไขให้คณะผู้ก่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จ

การยึดอำนาจการปกครอง
1.วิธีการดำเนินงาน
                กลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้ริเริ่มความคิดที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งแรกหรือที่เรียกว่า “คณะผู้ก่อการ นั้นมี 7 คน ที่สำคัญคือ นายปรีดี พนมยงค์ ร.ท.แปลก ขีตตะวังคะ ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เป็นต้น
                คณะบุคคลทั้ง 7 คนได้เริ่มเปิดประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 ที่พักแห่งหนึ่งในถนน รู เดอ ซอมเมอรารด์ ณ กรุงปารีส การประชุมครั้งนั้นดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นประธานที่ประชุม และที่ประชุมตกลงดำเนินการจัดตั้งคณะผู้ก่อการขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์รวมในการดำเนินงานต่อไป โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการต่อไป   ที่ประชุมได้ตกลงในหลักการที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้กฎหมายหรือที่เรียกกันว่า ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
                นอกจากนี้ คณะผู้ก่อการได้กำหนดหลักการในการปกครองประเทศไว้ 6 ประการ
                    1) รักษาความเป็นเอกราชของชาติในทุกๆด้าน เช่น เอกราชทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางการศาล ฯลฯ ให้มีความมั่นคง
                    2) รักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้มีการประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลง
                    3) บำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทำทุกคน โดยจะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติและไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
                    4) ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคทัดเทียมกัน
                    5) ให้ราษฎรมีเสรีภาพที่ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการข้างต้น
                    6) ให้การศึกษาแก่ราษฎรทุกคนอย่างเต็มที่
                ภายหลังจากเสร็จการประชุมในครั้งนั้นแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมายแล้ว ได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย ทางสมาชิกที่อยุ่ในกรุงปารีสจึงได้เลือกเฟ้นผู้ที่สมควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อไป และได้สมาชิกเพิ่มในคณะผู้ก่อการอีก 8 คน ที่สำคัญ คือ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน เป็นต้น
                ภายหลังเมื่อบรรดาสมาชิกของคณะผู้ก่อการที่กรุงปารีสกลับคืนสู่ประเทศไทยแล้ว ก็ได้มีการชักชวนบุคคลที่มีความเห็นร่วมกันเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะผู้ก่อการอีกเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปลายปี พ.ศ.2474 จึงได้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ ดังนั้นสมาชิกคณะผู้ก่อการฝ่ายทหารที่สำคัญ ได้แก่ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม น.ต.หลวงสินธุ์สงครามชัย ฯลฯ สำหรับสมาชิกคณะผู้ก่อการหัวหน้าฝ่ายพลเรือนที่สำคัญคือ นายปรีดี พนมยงค์ นายทวี บุญยเกตุ นายควง อภัยวงค์ เป็นต้น
                คณะผู้ก่อการได้วางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองดำเนินไปอย่างละมุนละม่อมและหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อให้มากที่สุด โดยมีแผนจับกุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเอาไว้ก่อน ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน นอกจากนี้ยังมีแผนการจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์องค์อื่นๆ รวมทั้งเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ และผู้บังคับบัญชาทหารที่สำคัญๆ อีกหลายคนด้วยกัน เพื่อเป็นข้อต่อรองให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทย

2.ขั้นตอนการยึดอำนาจ
                คณะผู้ก่อการได้เริ่มลงมือปฏิบัติงานในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการนำคณะนายทหารพร้อมด้วยกำลังหน่วยทหารที่เตรียมการเอาไว้ เข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นฐานบัญชาการ และได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดวังบางขุนพรหม พร้อมทั้งได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสด็จมาประทับยัง พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นผลสำเร็จ จากการที่คณะผู้ก่อการได้พยายามดำเนินการอย่างละมุนละม่อมดังกล่าว ทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีซึ่งมีผลต่อชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวม
                สำหรับทางฝ่ายพลเรือนนั้น สมาชิกคณะผู้ก่อการกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (นายควง อภัยวงศ์) ได้ออกตระเวนตัดสายโทรศัพท์และโทรเลขทั้งในพระนครและธนบุรี เพื่อป้องกันมิให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตและผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในกรุงเทพฯ ขณะนั้น โทรศัพท์และโทรเลขติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ได้จัดทำใบปลิว คำแถลงการณ์ของคณะผู้ก่อการออกแจกจ่ายประชาชน
                คณะผู้ก่อการสามารถยึดอำนาจและจับกุมบุคคลสำคัญฝ่ายรัฐบาลไว้ได้โดยเรียบร้อย และได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะราษฎร ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร เพื่อชี้แจงที่ต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองให้ประชาชนเข้าใจ นอกจากนี้คณะราษฎรได้แต่งตั้งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารขึ้น 3 นาย ได้แก่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ โดยให้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ
                หลังจากนั้น คณะราษฎรได้มีหนังสือกราบบังคับทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัวเสด็จกลับคืนสู่พระนคร เพื่อดำรงฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรต่อไป ด้วยความที่พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยที่เป็นประชาธิปไตย และทรงพร้อมที่จะเสียสละเพื่อประชาชนและประเทศชาติ พระองค์ทรงตอบรับคำกราบบังคับทูลอัญเชิญของคณะราษฎร โดยพระองค์ทรงยินยอมที่จะสละพระราชอำนาจของพระองค์ด้วยการพระราชทานรัฐ ธรรมนูญตามที่คณะราษฎรได้มีเป้าหมายเอาไว้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนครเพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวง ชนชาวไทย

การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
                การที่คณะราษฎรภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการ ปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นผลสำเร็จ โดยมิต้องสูญเสียเลือดเนื้อแต่ประการใดนั้น เป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่รงยอมรับ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยมิได้ทรงต่อต้านเพื่อคิดตอบโต้คณะราษฎรด้วยการใช้กำลังทหารที่มีอยู่แต่ ประการใด และทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยตามที่คณะราษฎรได้เตรียมร่างเอา ไว้ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธย นอกจากนี้พระองค์ก็ทรงมีพระราชประสงค์มาแต่เดิมแล้วว่าจะพระราชทานรัฐ ธรรมนูญให้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแก่ประชาชนอยู่แล้ว จึงเป็นการสอดคล้องกับแผนการของคณะราษฎร ประกอบกับพระองค์ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและความสุขของ ประชาชนเป็นสำคัญ ยิ่งกว่าการดำรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจของพระองค์
                รัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยมี 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475

1.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475
                ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่เจ้า เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน กลับคืนสู่พระนครแล้ว คณะราษฎรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎรบางคนได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระปรมาภิไธย พระองค์ได้พระราชทานกลับคืนมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้มีพิธีเปิดสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้มีชื่อเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว”
                รัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในแผ่นดินประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ จึงได้เปลี่ยนเป็นของปวงชนชาวไทยตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยเกี่ยวกับการได้มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ได้กำหนดแบ่งระยะเวลาออกเป็น 3 สมัยคือ


                    1) สมัยที่ 1 นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกในสมัยที่ 2 จะเข้ารับตำแหน่ง ให้คณะราษฎรซึ่งมีผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทน และจัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน 70 นาย เป็นสมาชิกในสภา
                    2) สมัยที่ 2 ภายในเวลา 6 เดือน หรือจนกว่าจะจัดประเทศเป็นปกติเรียบร้อย สมาชิกในสภาจะต้องมีบุคคล 2 ประเภท ทำกิจกรรมร่วมกัน คือ ประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ผู้แทนราษฎรซึ่งราษฎรได้เลือกขึ้นมาจังหวัดละ 1 นาย ต่อราษฎรจำนวน 100,000 คน ประเภทที่สอง ผู้เป็นสมาชิกอยู่ในสมัยที่หนึ่งมีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่หนึ่ง ถ้าจำนวนเกินให้เลือกกันเองว่าผู้ใดจะยังเป็นสมาชิกต่อไป ถ้าจำนวนขาดให้ผู้ที่มีตัวอยู่เลือกบุคคลใดๆเขาแทนจนครบ
                    3) สมัยที่ 3 เมื่อจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรได้สอบไล่วิชาประถมศึกษาได้เป็นจำนวน กว่าครึ่ง และอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น ส่วนสมาชิกประเภทที่สองเป็นอันสิ้นสุดลง  ผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 นาย ซึ่งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารจะเป็นผู้จัดตั้งขึ้นในระยะแรกนั้น ประกอบด้วยสมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ ซึ่งมีความปรารถนาจะช่วยบ้านเมือง และกลุ่มกบฏ ร.ศ.130 บางคน ซึ่งสมาชิกทั้ง 70 คน ภายหลังจากการได้รับการแต่งตั้งแล้ว 6 เดือน ก็จะมีฐานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
                ทางด้านอำนาจบริหารนั้นในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ซึ่งตำแหน่งบริหารที่สำคัญเอาไว้คือ ประธานคณะกรรมการราษฎร (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี) ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลที่สามารถประสานความเข้าใจระหว่างคณะราษฎรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างดี และเพื่อความราบรื่นในการบริหารประเทศต่อไป คณะราษฎรจึงตกลงเห็นชอบที่จะให้ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร
                คณะกรรมการราษฎร (คณะรัฐมนตรี) ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีชุดแรกที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราว พ.ศ.2475   มีจำนวนทั้งสิ้น 15 นาย เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475
                ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐ ธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวแล้วสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งอนุกรรมการ ขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบไป ในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญครั้งสุดท้ายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2475 และสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับรองให้ใช้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2475 โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรสยามเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 หลังจากนั้นได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติ ธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม 2475 มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
                1.อำนาจนิติบัญญัติ กำหนดให้มีสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้ง แต่มีบทเฉพาะกาลกำหนดไว้ว่า ถ้าราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ยังมีการศึกษาไม่จบชั้นประถมศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด และอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 
               สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท มีจำนวนเท่ากันคือ สมาชิกประเภทที่ 1 ได้แก่ผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งสขึ้นมาตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนสมาชิกประเภทที่ 2 ได้แก่ ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ในระหว่างที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
                2.อำนาจบริหาร พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 นาย และรัฐมนตรีอีกอย่างน้อย 14 นาย อย่างมาก 24 นาย และในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ กล่าวโดยสรุปในภาพรวมของรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองการปกครองและสังคมไทยดังนี้คือ
                    2.1 อำนาจการปกครองของแผ่นดินซึ่งแต่เดิมเคยเป็นของพระมหากษัตริย์ก็ตกเป็นของปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ทาง คือ อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี อำนาจตุลาการผ่านทางผู้พิพากษา (ศาล)
                    2.2 ประชาชนจะได้รับสิทธิในทางการเมือง โดยการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล ออกกฎหมายและเป็นปากเสียงแทนราษฎร
                    2.3 ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองมากขึ้น สามารถแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องต่างๆได้ ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย และคนทุกคนมีความเสมอภาคภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน
                    2.4 ในระยะแรกของการใช้รัฐธรรมนูญ อำนาจบริหารประเทศจะต้องตกอยู่ภายใต้การชี้นำของคณะราษฎร ซึ่งถือว่าเห็นตัวแทนของราษฎรทั้งมวลในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ความสงบเรียบร้อย ประชาชนจึงจะมีสิทธิในอำนาจอธิปไตยอย่างเต็มที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแหลงการปกครอง พ.ศ. 2475


1.ผลกระทบทางด้านการเมือง
                การเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อสถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการสิ้นสุดพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทางยอมรับการเปลี่ยนแปลง และทรงยินยอมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยแล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงเป็นห่วงว่าประชาชนจะมิได้รับอำนาจการปกครองที่พระองค์ทรงพระราชทานให้โดยผ่านทางคณะราษฎรอย่างแท้จริง พระองค์จึงทรงใช้ความพยายามที่จะขอให้ราษฎรได้ดำเนินการปกครองประเทศด้วยหลักการแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่พระองค์ก็มิได้รับการสนองตอบจากรัฐบาลของคณะราษฎรแต่ประการใด จนกระทั่งภายหลังพระองค์ต้องทรงประกาศสละราชสมบัติใน พ.ศ.2477
                นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้เป็นเพราะยังมีผู้เห็นว่าการที่คณะราษฎรยึดอำนาจการปกครองมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีพระมหากษัตรยิ์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ยังมิได้เป็นไปตามคำแถลงที่ให้ไว้กับประชาชน
                นอกจากนี้การที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศตามหลักการข้อ 3 ในอุดมการณ์ 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ประกาศไว้เมื่อครั้งกระทำการยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ปรากฏว่าหลายฝ่ายมองว่าเค้าโครงการเศรษฐกิจมีลักษณะโน้มเอียงไปในทางหลักเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้น ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสิ้นสุดลงแล้วไม่นาน
                พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี เห็นว่าการบริหารประเทศท่ามกลางความขัดแย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจไม่สามารถจะดำเนินต่อไปได้ จึงประกาศปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันส่งผลให้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา นำกำลังทหารยึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในวันที่ 20 มิถุนายน 2476 และหลังจากนั้น พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินสืบไป
                เมื่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้าบริหารประเทศได้ไม่นาน ก็มีบุคคลคณะหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง นำโดยพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2476 โดยอ้างว่ารัฐบาลได้ทำการหมิ่นประมาทองค์พระประมุขของชาติ และรับนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นร่างเค้าโครงเศรษฐกิจอันอื้อฉาวเข้าร่วมในคณะรัฐบาล พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาล ดำเนินการปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ในที่สุดรัฐบาลก็สามารถปราบรัฐประหารของคณะกู้บ้านกู้เมืองได้สำเร็จ
                หลังจากนั้นก็มีการจับกุมและกวาดล้างผู้ต้องสงสัยว่าจะร่วมมือกับคณะกู้บ้าน กู้เมืองจนดูเหมือนว่าประเทศไทยมิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระยะนั้น อย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นความขัดแย้งสืบต่อกันมาในยุคหลัง
                ปัญหาการเมืองดังกล่าว ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้สถาบันทางการเมืองในยุคหลังๆ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนาการทางการเมืองมิได้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย และเป็นการสร้างธรรมเนียมการปกครองที่ไม่ถูกต้องให้กับนักการเมืองและนักการทหารในยุคหลังต่อๆมา ซึ่งทำให้ระบอบประชาธิปไตยต้องประสบกับความล้มเหลวเพราะการใช้กำลังบีบบังคับอยู่เป็นประจำถึงปัจจุบัน

2.ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
                การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของไทย แต่ถ้าพิจารณาถึงผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแล้ว ผลกระทบทางการเมืองจะมีมากกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เป็นเพราะความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคนร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจเพื่อนำเสนอนั้น มิได้รับการยอมรับจากคณะราษฎรส่วนใหญ่ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังคงเป็นแบบทุนนิยมเช่นเดิม และโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงเน้นที่การเกษตรกรรมมากว่าอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจากประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้พัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว
                อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจก็พอจะมีอยู่บ้าง ถึงแม้จะไม่เด่นชัดเท่ากับผลกระทบทางการเมืองก็ตาม จากการที่คณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองตกลงกันได้แต่เพียงว่าจะเลิกล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ไม่สามารถจะตกลงอะไรได้มากกว่านั้น กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจจึงต้องต่อสู้กันต่อไป เพื่อบีบบังคับให้ระบบเศรษฐกิจและการเมืองเป็นไปตามที่ตนต้องการ นอกจากนี้กลุ่มผลประโยชน์ที่ครอบครองที่ดินและทุนอันเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ก็รวมตัวกันต่อต้านกระแสความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเงินทุนจากของบุคคลเป็นระบบสหกรณ์

3.ผลกระทบทางด้านสังคม
                ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมไทยได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงพอสมควร คือ ประชาชนเริ่มได้รับเสรีภาพและมีสิทธิต่างๆ ตลอดจนความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ในขณะที่บรรดาเจ้าขุนมูลนาย ขุนนาง ซึ่งมีอำนาจภายใต้ระบอบการปกครองดั้งเดิมได้สูญเสียอำนาจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เคยมีมาก่อน โดยที่คณะราษฎรได้เข้าไปมีบทบาทแทนบรรดาเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าเหล่านั้น
                เนื่องจากที่คณะราษฎรมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาของราษฎรอย่างเต็มที่ ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรข้อที่ 6 ดังนั้น รัฐบาลจึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นให้เทศบาลเหล่านั้นรับไปจัดการศึกษาเอง เท่าที่เทศบาลเหล่านั้นจะสามารถรับโอนไปจากกระทรวงธรรมการได้ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงการศึกษาของบุตรหลานของตนเอง นอกจากนั้นรัฐบาลได้กระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีสภาเทศบาลคอยควบคุมกิจการบริหารของเทศบาลเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ โดยมีเทศมนตรีเป็นผู้บริหารตามหน้าที่
                พ.ศ.2479 รัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479 โดยกำหนดแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภท คือ สายสามัญศึกษาและสายอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นการเน้นความสำคัญของอาชีวศึกษาอย่างแท้จริง โดยได้กำหนดความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เรียนจบการศึกษาในสายสามัญแตะละประโยคแต่ละระดับการศึกษา ได้เรียนวิชาอาชีพเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากเรียนวิชาสามัญ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการที่จะออกไปประกอบอาชีพต่อไป
                ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 จึงได้นำไปสู่การปรับปรุงให้ราษฎรได้รับการศึกษา และสามารถใช้วิชาการความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ประกอบอาชีพต่อไปอย่างมั่นคงและมีความสุข  
                การเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้ชนชั้นเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าถูกลิดรอนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ขุนนางเดิมถูกปลดออกจากราชการโดยรับเพียงบำนาญ และเจ้านายบางพระองค์ถูกเรียกทรัพย์สินสมบัติคืนเป็นของแผ่นดิน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita