โครงการโรงเรียนคุณภาพประจําตําบล 2565

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. กล่าวรายงานว่า โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล หรือ “1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบล ให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และมีความพร้อมในการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม งานอาชีพ และสุขอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เชื่อมโยงสู่การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน บ้าน วัด รัฐ และโรงเรียนอีกด้วย

สำหรับการดำเนินการในขั้นต้น  สพฐ.ได้คัดเลือกโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ โดยพิจารณาจากความพร้อมของแต่ละโรงเรียน ทั้งในเรื่องของที่ตั้งที่อยู่ในบริเวณศูนย์กลางของชุมชน ความสะดวกในการคมนาคม การสื่อสาร มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนสามารถรองรับจำนวนนักเรียนที่อาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยกระบวนการคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการได้ผ่านการพิจารณาและความเห็นชอบจากประชาคมระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัดในพื้นที่แล้ว จากนั้น ศธ.และหน่วยงานร่วมโครงการ จะเร่งพัฒนาโรงเรียนให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยเร็ว

โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) มุ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เกิดความเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นการลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ โดยมีโรงเรียนศูนย์กลางของชุมชนเป็นต้นแบบ สร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ นำไปสู่การร่วมกันจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่

1) มีโรงเรียนประจำตำบล อย่างน้อยตำบลละ 1 โรงเรียน ที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย ให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

2) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งสมรรถนะและศักยภาพในการบริหารจัดการ ตลอดจนมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนการสอน

3) นักเรียนทุกคนในตำบล ได้รับโอกาสและเข้าถึงการบริการและสวัสดิการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ และเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นชนบท

4) นักเรียนได้รับการพัฒนา ทั้งด้านสติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ทัศนคติ และพัฒนาการด้านร่างกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย ควบคู่กับการปฏิบัติตามค่านิยม 12 ประการ

ในส่วนของการสนับสนุนจากรัฐบาล ได้ให้การสนับสนุน 3 ด้าน ดังนี้

1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งอาคารเรียน อาคารประกอบ โรงอาหาร โรงพลศึกษา สนามฟุตบอล ระบบคมนาคม ระบบไฟฟ้าและระบบพลังงานทางเลือก ระบบประปาน้ำดื่ม ระบบบำบัดน้ำเสีย เครือข่ายโทรศัพท์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ระบบบำบัดขยะ ด้านโภชนาการและสุขภาพของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือผู้มีความต้องการเป็นพิเศษ

2) ด้านการส่งเสริมการศึกษา ให้การสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิชาการ ด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีน รวมทั้งสร้างสื่อและนวัตกรรมให้เป็นคลังความรู้ในโรงเรียน และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา การส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างการเป็นผู้ประกอบการ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ องค์ความรู้ด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนการพัฒนาเพิ่มทักษะของผู้บริหารให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และทักษะของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ พร้อมสนับสนุนค่าวัสดุรายหัวของนักเรียนด้วย

3) ด้านการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม โดยเน้นให้หน่วยงานในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายการพัฒนา สนับสนุนความร่วมมือระหว่างศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน และชุมชน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานในท้องถิ่นด้วย ในส่วนของผู้บริหารและครู จะส่งเสริมทักษะการสื่อสารและความร่วมมือเพื่อต่อยอดการพัฒนาอย่างเต็มที่ พร้อม ๆ กับการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อร่วมพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลต่อไป

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถถาพิเศษในงานเปิดตัวโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตอนหนึ่งว่า การพัฒนาการศึกษาเป็นกลไกหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะในการประกอบอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำ เป้าหมายไปสู่การสร้างคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม เป็นกำลังสำคัญของชาติ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษาพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ขยายโอกาสการเรียนรู้ในชุมชนและในเมือง

ทั้งนี้ โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่สร้างความเท่าเทียม สิ่งที่สำคัญคือ การเรียนรู้นอกห้องเรียน เสริมสร้างความรู้ สร้างภูมิคุ้มกันในการอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ครูต้องสอนให้รู้เท่าทันโลก รวมไปถึงเท่าทันเทคโนโลยี มีการคิดวิเคราะห์ กล้าแสดงออกในทางที่ถูก ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นเป็นสิ่งที่สำคัญ เด็กต้องเรียนรู้เรื่องราวท้องถิ่นของตนเอง จากผู้รู้ ผู้ที่มีประสบการณ์สร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่นเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่นำความรู้ความสามารถมาพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง นอกจากนี้ทุกภาคส่วนต้องมาช่วยกันพัฒนาการศึกษาของชุมชนท้องถิ่น ให้เป็นรูปธรรมและรวมตัวกันเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันสร้างนำไปสู่การเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita