แนวโน้มสินเชื่อส่วนบุคคล 2564

     สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่า แรงหนุนจากสัญญาณเศรษฐกิจจะช่วยหนุนให้มีการเบิกใช้สินเชื่อต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง และน่าจะทำให้แรงกดดันต่อรายได้จากธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ในส่วนอื่นๆ คลายตัวลงบางส่วน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับตัวเลขคาดการณ์สินเชื่อของระบบธ.พ. ไทยในปี 2565 มาที่ 5.0% (กรอบคาดการณ์ใหม่ที่ 4.0-5.5%) อย่างไรก็ดีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ไทยอาจยังไม่สะท้อนอานิสงส์จากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างเต็มที่ เนื่องจากสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และปัญหาของลูกหนี้อีกหลายกลุ่มที่ยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านและยังไม่ได้รับผลบวกจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ดังนั้นคาดว่าจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์เพียงบางผลิตภัณฑ์ก่อนในระยะแรก สำหรับภาพรวมของรายได้จากธุรกิจหลักในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 นั้น ด้วยข้อจำกัดในการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียม และรายได้จากธุรกิจใหม่ที่ยังต้องใช้เวลา ทำให้คาดว่าภาพรวมของกำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนการกันสำรองฯ และภาษีเงินได้) ในปี 2565 จะอยู่ในกรอบ 4.01-4.03 แสนล้านบาท ซึ่งยังไม่กลับไปสู่ระดับค่าเฉลี่ยในช่วง 3 ปีก่อนวิกฤตโควิด-19 แม้จะเข้าใกล้มากขึ้นก็ตาม

            ธนาคารทิสโก้ยังคงรักษาระดับฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง โดยมีประมาณการอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ 23.4% สูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ำ 11.0% ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และมีอัตราเงินกองทุนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 19.6% และ 3.7% ตามลำดับ

ธุรกิจที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลปี 2565 แม้มีสัญญาณฟื้นตัวช่วงต้นปีแต่แนวโน้มการเติบโตทั้งปียังอยู่ในอัตราต่ำ แรงกดดันหลักจากการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนผลักดันให้     ราคาน้ำมันและราคาวัสดุก่อสร้างปรับเพิ่มสูง กระทบต้นทุนธุรกิจ ขณะที่กำลังซื้อถูกบั่นทอนจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งท่ามกลางเศรษฐกิจซบเซา อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่อยู่อาศัยยังได้แรงหนุนจากกลุ่มรายได้ระดับกลางบน-บนที่ไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากนัก และมีความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง สำหรับปี 2566-2567 ธุรกิจมีแนวโน้มทยอยเติบโตตามเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปัจจัยหนุนจากการเร่งเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจ็กต์โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าที่ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น ตลอดจนการเข้ามาลงทุน/ทำงานในไทยของชาวต่างชาติ (Expatriates) ที่จะทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยมีมากขึ้น

ประเด็นท้าทายที่ธุรกิจต้องเผชิญในระยะอันใกล้ ได้แก่ (1) เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้ประกอบการเผชิญความยากลำบากในการทำตลาดมากขึ้น (2) หนี้ครัวเรือนที่ทรงตัวระดับสูง มีผลให้สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ (3) พฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยอาจเปลี่ยนไปหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้มีความต้องการบ้านแนวราบนอกเมืองที่มีบริเวณ (4) ดีมานด์ที่อยู่อาศัยฟื้นตัวได้จำกัด ส่วนใหญ่เป็นความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ขณะที่อุปสงค์ชาวต่างชาติยังมีความไม่แน่นอน และ (5) ต้นทุนการพัฒนาโครงการมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นต่อเนื่องตามภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งรวมถึงราคาที่ดิน และทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น

มุมมองวิจัยกรุงศรี

 

ปี 2565-2567 ธุรกิจที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อานิสงส์จากกำลังซื้อที่มีแนวโน้มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครนทำให้ต้นทุนการพัฒนาโครงการมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามราคาพลังงานและภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งรวมถึงราคาที่ดินและทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่คาดว่าจะประคับประคองธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้ แต่รายกลาง-เล็กจะถูกกดดันจากการแข่งขันรุนแรง ทั้งด้านยอดขาย ต้นทุนวัสดุก่อสร้างและราคาที่ดินซึ่งหายากขึ้นและมีราคาแพง ผู้ประกอบการจึงมีแนวโน้มหาพันธมิตรเพื่อร่วมทุน ทั้งกับบริษัทในประเทศหรือกลุ่มทุนต่างชาติ เพื่อขยายฐานเงินทุนทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้

  • ธุรกิจบ้านจัดสรร (ในกทม.และปริมณฑล): รายได้ของผู้ประกอบการรายใหญ่จะเติบโตต่อเนื่อง จากความสามารถในการปรับตัวและมีความได้เปรียบด้านต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่า เนื่องจากสามารถระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดตราสารหนี้ ส่วนผู้ประกอบการรายกลาง-เล็กจะเผชิญภาวะยากลำบากมากกว่าและมีส่วนแบ่งตลาดลดลง โดยเฉพาะรายที่ไม่มีพันธมิตร/เครือข่ายจะแข่งขันได้ยาก บางรายอาจมีข้อจำกัดด้านเงินทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน จึงอาจมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง

  • ธุรกิจอาคารชุดพักอาศัย (ในกทม.และปริมณฑล): อาคารชุดพักอาศัยเพื่อขายย่านใจกลางเมืองและแนวเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพ ทั้งในด้านการบริหารโครงการ การตลาด และแหล่งเงินทุนหมุนเวียน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยังถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า การเดินทางข้ามพรมแดนที่ยังต้องระมัดระวัง การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะมาตรการ “Zero COVID” ของประเทศจีน ทำให้มีการล็อกดาวน์บางพื้นที่เป็นระยะ กระทบต่อยอดการโอนกรรมสิทธ์ของชาวต่างชาติ จึงคาดว่าอัตราการขายจะยังอยู่ในระดับต่ำและอาจมีต้นทุนส่งเสริมการตลาดเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นยอดขาย การแข่งขันจึงมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เป็นข้อจำกัดในการทำกำไรของผู้ประกอบการอยู่บ้าง ด้านผู้ประกอบการรายกลางและเล็กจะเน้นพัฒนาโครงการที่มีความสูงไม่เกิน 8 ชั้นในย่านชานเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่รอบนอกและมีศักยภาพเชิงทำเลต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบ อีกทั้งยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับโครงการแนวราบ (บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์) ในทำเลเดียวกัน ผลประกอบการจึงมีแนวโน้มชะลอตัวและต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว


ข้อมูลพื้นฐาน


ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าตลาดคิดเป็นสัดส่วน 4.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปี 2564 (ลดลงมากเมื่อเทียบกับสัดส่วน 8% ปี 2562 ก่อนแพร่ระบาดของ COVID-19) เป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากกระตุ้นให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบจำนวนมาก เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ ทั้งยังเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่น อาทิ ก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์/การตกแต่ง และสถาบันการเงิน

อสังหาริมทรัพย์แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย เพื่อการพาณิชยกรรม และเพื่อการอุตสาหกรรม โดยอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ (ที่มา: World Bank) การผลิตมุ่งตอบสนองตลาดในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากกฎหมายไทยอนุญาตให้ต่างชาติเข้าซื้อและถือครองกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยได้เฉพาะอาคารชุด โดยสัดส่วนถือครองต้องไม่เกิน 49% ของพื้นที่ขายทั้งหมดของอาคารชุดนั้น สำหรับที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ ชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดที่เข้มงวดมากขึ้น

ที่ผ่านมา ความต้องการที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะสูงกว่าเขตภูมิภาค สะท้อนจากการขออนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยแนวราบ (สัดส่วนประมาณ 58:42 ช่วงปี 2558-2562) และแนวสูง (สัดส่วน 79:21 ในช่วงเดียวกัน) ทั่วประเทศ (ภาพที่ 1-2) อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2563-2564 ที่ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยโดยรวมลดลงทั่วประเทศ แต่เมื่อดูจากการขออนุญาตจัดสรรที่ดินบ้านแนวราบทั่วประเทศ (ภาพที่ 2) พบว่าสัดส่วนของเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลปรับลดลงจนเริ่มต่ำกว่าภูมิภาค ขณะที่การขออนุญาตก่อสร้างโครงการแนวสูงยังกระจุกตัวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่พื้นที่ขออนุญาตฯ ปรับลดแตะระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปี


ตลาดที่อยู่อาศัย แบ่งออกเป็น ที่อยู่อาศัยประเภทปลูกสร้างเอง (Self-built housing) และที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการ (Housing project) (ภาพที่ 3) ที่อยู่อาศัยใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลประมาณ 80% เป็นโครงการที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการ มูลค่าตลาดเฉลี่ยแต่ละปี (ก่อน COVID-19) ประมาณ 4.0-4.5 แสนล้านบาท ผู้ประกอบการรายใหญ่ (ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ) และบริษัทในเครือครองส่วนแบ่งตลาด 70-80% ทั้งด้านจำนวนและมูลค่าโครงการ (ตารางที่ 1) เนื่องจากมีความสามารถในการบริหารต้นทุนได้ดีกว่าผู้ประกอบการรายกลาง-เล็ก เช่น มีการซื้อที่ดินสะสมไว้ต่อเนื่อง ทำให้ที่ดินรอการพัฒนา (Land bank) ในมือมีมาก และมีต้นทุนการพัฒนาโครงการต่ำกว่า อีกทั้งสามารถพัฒนาที่ดินได้พร้อมกันหลายโครงการทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) นอกจากนี้ ยังมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจทำให้ได้รับความเชื่อถือจากผู้ซื้อ


ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา จำนวนที่อยู่อาศัยใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลประเภทโครงการแนวสูง (คอนโดมิเนียม) มีสัดส่วนสูงกว่าโครงการแนวราบ (บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์) มาโดยตลอด โดยครองส่วนแบ่งตลาดเฉลี่ยเกือบ 70% ของจำนวนที่อยู่อาศัยใหม่ทั้งหมด (ภาพที่ 4) เป็นผลจากราคาที่ดินในทำเลที่มีศักยภาพ  ปรับขึ้นต่อเนื่องและมีพื้นที่เหลือน้อย ประกอบกับการขยายแนวเส้นทางรถไฟฟ้า (MRT และ BTS) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าต่อเนื่อง ส่งผลให้โครงการแนวสูงเป็นที่นิยมมากขึ้น

สถานการณ์ที่ผ่านมา


การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี 2563 ชะลอลงทุกภาคส่วน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานล่าช้า และยังเกิดภัยแล้งรุนแรงในช่วงครึ่งแรกของปี ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัว 6.1% รุนแรงสุดในรอบ 22 ปี ผู้ประกอบการธุรกิจที่อยู่อาศัยจึงชะลอการเปิดขายโครงการใหม่ โดยจำนวนยูนิตเปิดใหม่ลดลง 41.6% YoY ด้านมูลค่าโครงการใหม่หดตัวเกือบ 40% YoY ต่ำสุดในรอบ 8 ปี โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมมีจำนวนเปิดขายใหม่ลดลงถึง 61.0% YoY (ต่ำกว่าบ้านแนวราบครั้งแรกในรอบ 10 ปี)  ด้านผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศชะลอการตัดสินใจซื้อ รวมถึงเลื่อน/ยกเลิกการโอนกรรมสิทธิ์ฯ จากรายได้ที่หายไปและความไม่มั่นใจสถานการณ์ในอนาคต แม้ว่าธปท.จะผ่อนคลายเกณฑ์ LTV[1] ให้กับสัญญาที่ 1 มากขึ้นก็ตาม เมื่อผนวกกับหนี้ครัวเรือนปรับเพิ่มขึ้น และสถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อ มีผลให้ยอดขายที่อยู่อาศัยหดตัว 36.0% YoY รุนแรงสุดในรอบ 10 ปี และมีจำนวนยูนิตเหลือขายสะสมมากกว่า 2 แสนยูนิต สูงสุดในรอบ 26 ปี (ตารางที่ 2) โดยที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทมียูนิตเหลือขายคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของยูนิตเหลือขายทั้งหมด

ปี 2564 ตลาดที่อยู่อาศัยซบเซาต่อเนื่อง การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นช่วงไตรมาส 3 ส่งผลให้มีการปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง ขณะที่แรงงานไทยและต่างชาติเดินทางกลับภูมิลำเนาตนเอง ทำให้จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จเฉลี่ยอยู่ที่ 4,900 ยูนิต/เดือน ลดลงมากจากเฉลี่ย 8,500  ยูนิต/เดือนในช่วงก่อน COVID-19 (ที่มา: ธปท.) อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่อยู่อาศัยยังได้แรงหนุนจากมาตรการภาครัฐช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ อาทิ การลดค่าจดทะเบียนโอนและจดจำนองสำหรับราคาบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท (1 กุมภาพันธ์ 2564- 30 มกราคม 2565) การเลื่อนใช้บัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรอบใหม่ (ปี 2564-2567) การลดอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบปี 64 ลง 90% และการผ่อนคลายมาตรการ LTV เป็นการชั่วคราว[2] (20 ตุลาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2565) โดยภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยปี 2564 สรุปได้ดังนี้

การเปิดขายโครงการใหม่ต่ำสุดในรอบ 11 ปี ที่ 54,464 ยูนิต  ลดลง 16.3% ต่อเนื่องจากปี 2563 (ภาพที่ 7) ด้วยมูลค่าโครงการต่ำสุดในรอบ 9 ปี ที่ 2.8 แสนล้านบาท ลดลง 3.4% YoY (ภาพที่ 8) ผลจากอุปทานคงค้างที่สะสมจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการเปิดโครงการใหม่ ส่งผลให้จำนวน  บ้านแนวราบเปิดขายใหม่อยู่ที่ 31,019 ยูนิต ลดลง 20.8% YoY และคอนโดมิเนียม 23,445 ยูนิต ลดลง 9.5% YoY โดยยูนิตเปิดขายใหม่ของคอนโดมิเนียมมีสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 ของยูนิตเปิดขายใหม่ปี 2562 (ปีก่อน COVID-19) และต่ำกว่าบ้านแนวราบเป็นปีที่ 2 (สัดส่วน 43:57) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะเน้นเปิดโครงการรองรับกลุ่มรายได้ระดับกลางบนขึ้นไป เนื่องจากได้รับผลกระทบจำกัดจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

  • ​ราคาต่อยูนิตของที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เฉลี่ยที่ 4.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.7% จากปีก่อนหน้า จากการเน้นทำตลาดที่อยู่อาศัยราคาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวราบซึ่งผู้บริโภคให้ความสนใจมากขึ้น  อีกทั้งมีการเปิดตัวอสังหาฯ โครงการใหญ่ที่มีมูลค่าสูงถึง 4.6 หมื่นล้านบาทและมีราคาขายเริ่มต้นมากกว่า 5 ล้านบาทต่อยูนิต

  • ยอดขายที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 11.8% อยู่ที่ 73,736 ยูนิต หลังหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 (ภาพที่ 9) ปัจจัยหนุนหลักมาจากกลุ่มรายได้ระดับกลางบน-บนที่ยังมีกำลังซื้อ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยทรงตัวระดับต่ำช่วยลดต้นทุนการกู้เงิน โดยยอดขายบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 22.6% YoY ที่จำนวนใกล้เคียงกับปี 2562 ก่อน COVID-19 ส่วนยอดขายคอนโดมิเนียมอยู่ที่ระดับเพียงครึ่งหนึ่งของปี 2562 สะท้อนว่าผู้บริโภคมีความต้องการที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น ผู้พัฒนาโครงการจึงเน้นจัดโปรโมชั่นเพื่อเร่งระบายสต็อกคงค้างแทนการเปิดตัวโครงการใหม่ ทำให้โครงการแนวราบไม่ได้รับผลกระทบมากนักเมื่อเทียบกับคอนโดมิเนียม ทั้งนี้ ยอดขายที่อยู่อาศัยโดยรวมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่สูงกว่าจำนวนเปิดขายใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี ทำให้มีการดูดซับอุปทานเหลือขายไปบางส่วน ส่งผลให้ยูนิตเหลือขายสะสม (Cumulative unsold units) ณ สิ้นปี 2564 ลดลง 6.3% จากปี 2563 อยู่ที่ 189,948 ยูนิต ซึ่งมากกว่า 60% ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท (ภาพที่ 10)

  • ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยลดลง 15.5% YoY ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 อยู่ที่ 166,402 ยูนิต (ภาพที่ 11) โดยคอนโดมิเนียม (สัดส่วนสูงสุด 42% ของยอดโอนทั้งหมด) ลดลง 29.0% YoY รองลงมาเป็นทาวน์เฮ้าส์ (สัดส่วน 32%) ลดลง 4.0% YoY และบ้านเดี่ยว (สัดส่วน 17%) ลดลง 0.2% YoY และอื่นๆ ได้แก่ บ้านแฝดและอาคารพาณิชย์ (สัดส่วน 9%) เพิ่มขึ้น 2.5% YoY จากกำลังซื้อชะลอลง โดยผู้ซื้อชาวไทยชะลอ/ยกเลิกโอนกรรมสิทธิ์จากความกังวลด้านรายได้ในอนาคต หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายระลอกทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ส่วนชาวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางมาไทยได้ ทำให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมของชาวต่างชาติมีจำนวนเพียง 4,784 ยูนิต ลดลง 8.9% YoY อย่างไรก็ตาม มูลค่ารวมของคอนโดมิเนียมที่มีการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้น 2.6% YoY เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการโอนฯ คอนโดมิเนียมที่มีระดับราคาต่อยูนิตค่อนข้างสูง (ภาพที่ 12)


 

  • ราคาที่อยู่อาศัยโดยรวมปี 2564 ปรับขึ้นทุกประเภท (ภาพที่ 13) โดยดัชนีราคาคอนโดมิเนียมปรับขึ้นมากสุด 6.1% YoY สอดคล้องกับการเปิดขายโครงการใหม่ที่มีมูลค่าสูง และราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าปรับเพิ่ม ขึ้นต่อเนื่อง (ดัชนีราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 8.8% YoY) ด้านดัชนีราคาบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 1.3% YoY และ 2.6% YoY ตามลำดับ

  • สินเชื่อที่อยู่อาศัยของระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2564 ขยายตัว 3.4% YoY (ภาพที่ 14) แบ่งเป็น

          1) สินเชื่อผู้ประกอบการ (Pre-finance loans) หดตัว 1.5% YoY ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากการเลื่อนการเปิดโครงการใหม่ออกไปเพื่อรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ อย่างไรก็ดี ยังมีความต้องการลงทุนเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง โดยเฉพาะบ้านแนวราบและรองรับอุปสงค์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการขยายแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ 

          2) สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคล (Post-finance loans) เพิ่มขึ้น 4.8% YoY (ภาพที่ 14) ผลจากผู้ประกอบการเร่งระบายสต็อกคงค้างผ่านกลยุทธ์การขายหลายรูปแบบ เช่น การให้ส่วนลดมากกว่าปกติ การให้อยู่ฟรี 1 - 2 ปี เป็นต้น อีกทั้งการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มสินเชื่อของสถาบันการเงิน (LTV ratio) ของธปท. ช่วยให้ลูกค้าบางกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ด้านธนาคารพาณิชย์เร่งกระตุ้นการขยายสินเชื่อ อาทิ พัฒนาการปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital Mortgage) และร่วมทำแคมเปญพิเศษกับผู้พัฒนาโครงการเพื่อเพิ่มทางเลือกแก่ลูกค้า ซึ่งช่วยพยุงตลาดให้ขยายตัวได้ สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงินทั้งระบบ[3] เติบโตสอดคล้องกันที่ระดับ 5.8% (ภาพที่ 15)




สำหรับช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 ตลาดที่อยู่อาศัยได้แรงหนุนจากสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย และการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่ปลายปี 2564 อย่างไรก็ตาม การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน (เริ่มปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565) ผลักดันต้นทุนพลังงานและวัสดุก่อสร้างสำคัญเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดเดือนมิถุนายน 2565 อาทิ ราคาน้ำมัน (+62.0 YoY) เหล็กเส้นกลม (+25.3% YoY) และผลิตภัณฑ์คอนกรีต (+5.7% YoY) ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5% (ที่มา: บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด) สอดคล้องกับดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 1/2565 ที่เพิ่มขึ้น 5.3%

  • ผู้ประกอบการทยอยเปิดขายโครงการใหม่รวม 21,472 ยูนิต เพิ่มขึ้น 152.6% YoY นำโดยคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยว เนื่องจากต้องการเร่งสร้างรายได้และสะสม Back log หลังชะลอ/เลื่อนการเปิดขายโครงการใหม่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

  • ยอดขายที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 6,499 ยูนิต (เฉพาะยูนิตใหม่) เพิ่มขึ้น 100.6% YoY โดยคอนโดมิเนียมมียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 200% YoY ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท

  • ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยโดยรวมอยู่ที่ 38,954 ยูนิต ลดลง 4.8% YoY แบ่งเป็น คอนโดมิเนียม 15,433 ยูนิต (-10.5% YoY) ทาวน์เฮ้าส์ 12,796 ยูนิต (+1.2% YoY) บ้านเดี่ยว 7,043 ยูนิต (-0.2% YoY) และอื่นๆ (บ้านแฝดและอาคารพาณิชย์) 3,682 ยูนิต (-8.3% YoY)
  • ราคาที่อยู่อาศัย 4 เดือนแรกปี 2565 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะบ้านแนวราบ โดยดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้น 3.9% YoY และ 3.6% YoY ตามลำดับ ส่วนดัชนีราคาคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้น 3.3% YoY (ภาพที่ 13) ผลจากต้นทุนค่าก่อสร้างที่ปรับเพิ่มขึ้น ผลักดันให้ราคาที่อยู่อาศัยโดยรวม  ปรับสูงขึ้นตามมา

  • สินเชื่อที่อยู่อาศัยของระบบธนาคารพาณิชย์ช่วงไตรมาส 1/2565 ขยายตัว 3.3% YoY (ภาพที่ 14) โดยสินเชื่อผู้ประกอบการขยายตัวเป็นครั้งแรก (+1.5% YoY) หลังจากหดตัวติดต่อกัน 5 ไตรมาส ผลจากเศรษฐกิจมีสัญญาณปรับดีขึ้นและมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่การระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นเพียง 3.8% YoY เนื่องจากสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการขยายสินเชื่อ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และหนี้ครัวเรือนทรงตัวระดับสูง สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลรวมทุกสถาบัน (ที่มา: REIC) เพิ่มขึ้น 5.3% ชะลอลงจาก 7.0% ในไตรมาส 1/2564 (ภาพที่ 15)

​สถานการณ์ที่อยู่อาศัยแยกรายประเภท สรุปได้ ดังนี้


บ้านเดี่ยว (Detached houses)

  • โครงการบ้านเดี่ยวทยอยเติบโตตามเส้นทางคมนาคมสายหลักที่ขยายออกไปรอบนอกเมืองและแนวถนนเส้นทางตัดใหม่ ที่ผ่านมา การเปิดขายโครงการใหม่ที่เร่งตัวขึ้นเร็วกว่าความต้องการ ทำให้บ้านเดี่ยวมีอุปทานคงค้างสะสมคิดเป็นสัดส่วน 17% ของที่อยู่อาศัยเหลือขาย ณ สิ้นปี 2564 ขณะที่อัตราการดูดซับ (Absorption rate) ทรงตัวต่อเนื่องที่ระดับ 25% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเฟื่องฟูในปี 2546 (64%)

  • การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2653-2564) ทำให้ผู้ประกอบการหันมาพัฒนาโครงการแนวราบเพื่อตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการใช้ชีวิตที่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนการเปิดขายบ้านแนวราบสูงกว่าคอนโดมิเนียมเป็นครั้งแรกในปี 2563 เป็นที่น่าสังเกตว่าบ้านเดี่ยวราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท/ยูนิต มีสัดส่วนสูงถึง 22% ของบ้านเดี่ยวเปิดขายใหม่ ตามการปรับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการที่เน้นลูกค้ากลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยต่อยูนิตอยู่ที่ 10.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.9% จากปี 2563 ด้านจำนวนยูนิตขายได้เพิ่มขึ้น 11.7% อยู่ที่ 11,942 ยูนิต ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงราคา 5-10 ล้านบาท ยอดขายได้ที่สูงกว่าจำนวนยูนิตเปิดใหม่ ทำให้ยูนิตเหลือขายสะสมของบ้านเดี่ยว ณ สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 32,690 ยูนิต ลดลง 11.3% จากปี 2563

  • ไตรมาส 1/2565 บ้านเดี่ยวเปิดขายใหม่มีจำนวน 2,110 ยูนิต เพิ่มขึ้น 163% YoY มูลค่า 16.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 150% YoY ด้านจำนวนยูนิตขายได้ (เฉพาะยูนิตใหม่) หดตัว 43% YoY ทำให้อุปทานสะสมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 34,800 ยูนิต


 

ทาวน์เฮ้าส์ (Townhouses)

  • การเพิ่มขึ้นต่อเนื่องของราคาที่ดิน ทำให้ทาวน์เฮ้าส์เป็นที่ต้องการเพื่อทดแทนบ้านเดี่ยวซึ่งมีราคาสูง อย่างไรก็ตาม การที่ต้องแข่งขันกับโครงการคอนโดมิเนียม (City condo) ซึ่งมีข้อได้เปรียบทั้งด้านราคาและทำเลที่สะดวกในการเดินทางเข้าสู่ย่านใจกลางเมืองโดยเฉพาะตามแนวรถไฟฟ้า ส่งผลให้อัตราการดูดซับของทาวน์เฮ้าส์ทรงตัวที่ระดับเฉลี่ย 34% (ลดลงมากจากระดับเฉลี่ย 56% ช่วงเฟื่องฟูของตลาดทาวน์เฮ้าส์ปี 2545-2549) ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ผู้ประกอบการจึงหันมาพัฒนาโครงการโดยเน้นกลุ่มลูกค้าระดับบนที่ราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้นขึ้นไป ตั้งอยู่ในทำเลรอบเมืองชั้นในและไม่ไกลจากรถไฟฟ้า เช่น พระราม 3 สาธุประดิษฐ์ ยานนาวาและลาดพร้าว ควบคู่กับการพัฒนาโครงการในทำเลตามซอยแยกย่อยที่เชื่อมต่อการเดินทางโดยรถไฟฟ้าได้สะดวก เพื่อจับกลุ่มลูกค้าระดับกลางที่ราคายูนิตละ 2-3 ล้านบาท

  • การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ความต้องการทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้นจากกลุ่มที่ต้องการที่อยู่อาศัยแท้จริง เพื่อตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องมี Physical Distancing ทั้งยังทดแทนบ้านเดี่ยวที่ราคามีทิศทางปรับขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงคอนโดมิเนียมซึ่งมีข้อจำกัดด้านขนาดพื้นที่ โดยปี 2564 ทาวน์เฮ้าส์เปิดขายใหม่อยู่ที่ 23,248 ยูนิต (สัดส่วน 43% ของที่อยู่อาศัยเปิดใหม่) ลดลง 20.1% YoY จากปี 2563 ราคาเฉลี่ยต่อยูนิตอยู่ที่ 3.0 ล้านบาท (+3.4% YoY) ด้านจำนวนยูนิตขายได้อยู่ที่ 26,356 ยูนิต (+28.2% YoY) และยูนิตเหลือขายสะสมอยู่ที่ 71,945 ยูนิต (-4.1% YoY)

  • ช่วงไตรมาส 1/2565 ทาวน์เฮ้าส์เปิดขายใหม่อยู่ที่ 4,152 ยูนิต เพิ่มขึ้น 51% YoY มูลค่า 12.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% YoY ด้านจำนวนยูนิตขายได้ (เฉพาะยูนิตใหม่) หดตัว 27.1% YoY ทำให้อุปทานสะสมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 76,097 ยูนิต

คอนโดมิเนียม (Condominiums)

  • คอนโดมิเนียมเป็นที่นิยมและมีโครงการเปิดใหม่เข้าสู่ตลาดต่อเนื่อง สะท้อนจากอุปทานคอนโดมิเนียม ที่เข้าสู่ตลาดมากกว่า 50,000 ยูนิตต่อปี ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา โดยมีอุปสงค์รองรับจากผู้ซื้อ 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงมีสัดส่วนประมาณ 60% และ (2) ผู้ซื้อเพื่อลงทุน ทั้งการ   ปล่อยเช่าระยะยาว (สัดส่วน 25-30%) และเก็งกำไร (สัดส่วน 10-15%) นอกจากนี้ กฎหมายไทยยังกำหนดให้ชาวต่างชาติถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมได้ ส่งผลให้อัตราดูดซับของคอนโดมิเนียมเฉลี่ยอยู่ที่ 50% สูงกว่าบ้านแนวราบในช่วงเวลาเดียวกัน (บ้านเดี่ยวเฉลี่ย 25% และทาวน์เฮ้าส์เฉลี่ย 34%)

  • ปี 2563-2564 ตลาดคอนโดมิเนียมซบเซาจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 กำลังซื้อในประเทศที่ชะลอตัว ขณะที่มีการใช้มาตรการ lockdown เกือบทั่วโลก ทำให้ชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาทำธุรกรรมในไทยได้ นอกจากนี้ ทางการยังใช้เกณฑ์ LTV ที่เข้มงวดกับสัญญาที่ 2 ขึ้นไป ทำให้อุปสงค์เพื่อการลงทุน/เก็งกำไรหายไปบางส่วน โดยโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่มีจำนวนลดลงถึง 61.0% ในปี 2563 สำหรับปี 2564 คอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่มีจำนวน 23,445 ยูนิต (สัดส่วน 43% ของที่อยู่อาศัยเปิดใหม่) หดตัว 9.5% ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ยูนิตละ 4.0 ล้านบาท (+42.3% YoY) จากการทำเหลือขายตลาดเน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลางบน-บน และการใช้กลยุทธ์ด้านราคาเพื่อระบายสต็อก จำนวนยูนิตขายได้จึงทรงตัวที่ 28,973 ยูนิต ใกล้เคียงกับปี 2563 จำนวนยูนิต เปิดขายใหม่ที่น้อยกว่ายูนิตขายได้ ทำให้ยูนิต ณ สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 85,313 ยูนิต (-6.1% YoY) สำหรับอัตราการดูดซับลดลงมากอยู่ที่ 25% และต้องใช้เวลาดูดซับอุปทานนานถึง 2 ปี 8 เดือน

  • ช่วงไตรมาส 1/2565 คอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่อยู่ที่ 15,210 ยูนิต เพิ่มขึ้นถึง 207% YoY มูลค่า 43.1 พันล้านบาท ลดลง 9.1% YoY ด้านจำนวนยูนิตขายได้ (เฉพาะยูนิตใหม่) เพิ่มขึ้น 207.2% YoY ทำให้อุปทานสะสมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 100,523 ยูนิต

แนวโน้มอุตสาหกรรม

 

 ปี 2565 ยอดขายตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแนวโน้มเติบโตในอัตรา 4.5% จากปี 2564 ชะลอลงจากคาดการณ์เดิม ผลจาก (1) การสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครนผลักดันให้ราคาพลังงานปรับเพิ่มขึ้นสูง (คาดราคาน้ำมันดิบดูไบปี 65 อยู่ที่เฉลี่ย 102.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับ 69.5 ดอลลาร์ในปี 64) รวมถึงราคาวัสดุก่อสร้าง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค (ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤษภาคมต่ำสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2564) และต้นทุนค่าก่อสร้าง เมื่อผนวกกับค่าแรงอยู่ในทิศทางปรับเพิ่มขึ้นจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน ผลักดันให้ราคาที่อยู่อาศัยที่จะเปิดตัวหรืออยู่ระหว่างก่อสร้างมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นเฉลี่ย 5-10% และ (2) กำลังซื้อจากต่างชาติมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดเป็นระยะของจีน (นักลงทุนจีนคิดเป็นสัดส่วน 45% ของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ ในไทย) เป็นอุปสรรคในการทำตลาดในกลุ่มชาวต่างชาติ จึงกดดันความต้องการคอนโดมิเนียม ทำให้ยอดขายอสังหาฯ สำหรับกลุ่มตลาดระดับกลางลงมามีแนวโน้มฟื้นตัวได้จำกัด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมีแนวโน้มพัฒนาโครงการแนวราบต่อเนื่องสำหรับกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ช่วยประคองยอดขาย ขณะที่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวช้าๆ ของโครงการคอนโดมิเนียม เนื่องจากยังมีอุปทานส่วนเกินอยู่มาก ทั้งนี้ คาดว่าการเปิดตัวโครงการใหม่รวมทุกประเภทในปี 2565 จะเพิ่มขึ้น 14-15% จากปี 2564

ปี 2566-2567 วิจัยกรุงศรีคาดว่ายอดขายตลาดที่อยู่อาศัยจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเติบโตที่ระดับ 5-7% ต่อปี โดยความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก (1) กำลังซื้อมีแนวโน้มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 3.0-4.0% ต่อปี ขณะที่การลงทุนและภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว จะดึงดูดกำลังซื้อต่างชาติและผลักดันให้ตลาดคอนโดมิเนียมกลับมาเติบโตได้ (2) การเร่งเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ โดยเฉพาะด้านการคมนาคมขนส่ง และ (3) การเข้ามาลงทุน/ทำงานในไทยของชาวต่างชาติ (Expatriates) จะเป็นปัจจัยบวกส่งเสริมให้ตลาดคอนโดมิเนียมกลับมาเติบโตได้โดยทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยโดยรวมสรุปได้ดังนี้


การเปิดตัวโครงการใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15-16% ต่อปี คาดว่าผู้ประกอบการยังให้ความสำคัญกับการเปิดขายโครงการบ้านแนวราบ เพื่อรองรับความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงและเทรนด์การอยู่อาศัยในยุค New Normal ที่ตอบโจทย์การทำงานจากที่บ้าน (Work from home) ขณะที่จะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของคอนโดมิเนียมชัดเจนมากขึ้น โดยคาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่จะเฉลี่ยที่ 8.4 หมื่นยูนิตต่อปี ซึ่งยังคงต่ำกว่าระดับ 1 แสนยูนิตช่วงปี 2557-2562 ก่อนการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

  • บ้านแนวราบ (บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์): มีทิศทางทยอยเติบโต โดยผู้บริโภคมองว่าตอบโจทย์การอยู่อาศัยในระยะยาวที่หันมาให้ความสำคัญกับพื้นที่ใช้สอย/ ฟังก์ชั่นที่เอื้อต่อการทำงานที่บ้านมากขึ้น โดยบ้านแนวราบในทำเลชานเมืองจะได้รับความนิยมสูงขึ้น เนื่องจาก (1) ราคาที่ดินยังไม่สูงเท่าย่านใจกลางเมืองและสามารถแบ่งเฟสในการพัฒนาโครงการได้ ต่างจากคอนโดมิเนียมที่ต้องสร้างเสร็จ ทั้งโครงการจึงจะโอนกรรมสิทธ์ได้ และ (2) การขยายเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าอีกหลายเส้นทางครอบคลุมพื้นที่รอบนอกมากขึ้น อาทิ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) สายสีชมพู (แคราย –มีนบุรี) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว –สำโรง) และสายสีส้ม (รามคำแหง –ลำสาลี)

  • คอนโดมิเนียม: คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในบางพื้นที่ โดยเฉพาะย่านใจกลางเมืองและแนวรถไฟฟ้าบางเส้นทาง ขณะที่บางพื้นที่ยังมีอุปทานคงค้างอยู่ในระดับสูง เช่น แนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว (บางนา-สมุทรปราการ) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบนอกและมีศักยภาพเชิงทำเลต่ำกว่าพื้นที่อื่นโดยเปรียบเทียบ ทั้งนี้ คอนโดมิเนียมส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาโดยผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพทั้งด้านการบริหารโครงการ การตลาดและแหล่งเงินทุนหมุนเวียน โดยตลาดคอนโดมิเนียมมีแนวโน้มจะเป็นที่ต้องการในกลุ่มผู้เช่าเพิ่มขึ้น (จากราคาน้ำมันและค่าครองชีพ/ ราคาสินค้าที่สูงขึ้น ส่งผลต่อกำลังซื้อที่อยู่อาศัย) ช่วยหนุนดีมานด์จากกลุ่มผู้ซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว ซึ่งรวมถึงคอนโดทางเลือก (ราคาต่ำกว่า 5 หมื่นต่อตารางเมตร) นอกจากนี้ การเปิดประเทศเต็มรูปแบบยังช่วยดึงดูดกำลังซื้อต่างชาติ ซึ่งจะช่วยผลักดันตลาดคอนโดมิเนียมให้กลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita