ธุรกรรมการเงินดิจิทัล fintech

FinTech คือ คำที่มีที่มาจากคำว่า Financial Technology แปลว่าเทคโนโลยีทางการเงิน โดยธุรกิจ FinTech หรือฟินเทคจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจการเงินไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การธนาคาร การประกันภัย รวมถึงการเงินส่วนบุคคล

ประโยชน์หลักของ FinTech คือการทำให้ธุรกรรมหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการเงินแบบเดิมเดิมสะดวกและรวดเร็วขึ้นมาก และในฝั่งของธุรกิจเองยังได้รับประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลง อย่างที่ใครหลายคนเคยเห็นข่าวที่หลายธนาคารต่างลดจำนวนพนักงานลง

ในเบื้องต้น FinTech (ฟินเทค) ถ้าหากนำมาจัดหมวดหมู่ง่าย ๆ จะสามารถแบ่งประเภทได้ 7 ประเภทตามหมวดหมู่ของธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน ได้แก่ ธนาคาร, สินเชื่อ, การจ่ายเงิน, การโอนเงินระหว่างประเทศ, การประกันภัย, การลงทุน, และ Cryptocurrency

อย่างไรก็ตาม FinTech เป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่ช่วงที่ผ่านมา FinTech ถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านที่หลายธุรกิจเกี่ยวกับการเงินทั้งในไทยและต่างประเทศเริ่มเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเงินหรือ FinTech กันมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนและความถูกต้องแม่นยำ

ตัวอย่าง FinTech ในชีวิตประจำวัน

อย่างที่บอกว่า FinTech คือ เทคโนโลยีทางการเงินที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจการเงิน มาดูกันว่า FinTech ตัวอย่างของทั้ง 7 ประเภทธุรกิจการเงิน มีอะไรบ้างที่คุณเคยพบเห็นมาแล้วในชีวิตประจำวัน

FinTech ในธุรกิจธนาคาร (Banking) คือสิ่งที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยที่สุดในบรรดา FinTech (ฟินเทค) ทุกประเภท สำหรับตัวอย่างของธุรกิจธนาคาร ได้แก่ Mobile Banking และ Internet Banking ของแต่ละธนาคาร, บัตร ATM, และการกดเงินโดยที่ไม่ต้องใช้บัตร ATM

สินเชื่อและการกู้ยืม เทคโนโลยีเกี่ยวกับการตรวจสอบเครดิต การให้สินเชื่อ รวมถึงการเป็นตัวกลางของการกู้ระหว่าง 2 ฝ่าย ตัวอย่างเช่น Upstart, Prosper, Lending Club, และ Funding Circle ที่เป็นตัวกลางของ P2P lending ที่เป็นการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล

เทคโนโลยีสำหรับการจ่ายเงินและกระเป๋าเงินออนไลน์ (e-wallet) ตัวอย่างเช่น TrueWallet, AliPay, LinePay, Google Pay, Apple Pay, Paypal และ Rabbit

FinTech เกี่ยวกับการโอนเงินระหว่างประเทศที่ช่วยทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศง่ายขึ้นมาก ตัวอย่างเช่น Transferwise, Western Union, World Remit, Remitly, Currencyfair, TransferGo, และ Paypal

การลงทุน (Investment FinTech) ตัวอย่างเช่น StockRadars และ Jitta ที่เป็น 2 FinTech ที่ใช้สำหรับดูข้อมูลหุ้น วิเคราะห์หุ้นและคัดกรองหุ้น นอกจากนี้ยังถ้าหากพูดถึงเทคโนโลยีเกี่ยวกับการลงทุนอีกตัวอย่างที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการใช้ Machine Learning ในการเทรดของกองทุนใหญ่ ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน

FinTech ของธุรกิจการประกันภัย เรียกอีกอย่างว่า InsurTech ตัวอย่างเช่น การใช้ Machine Learning ในการประเมินความเสี่ยงและค่าเบี้ยประกันสำหรับผู้ทำประกัน รวมไปถึงระบบการเปรียบเทียบประกันที่หลายคนอาจจะเคยเห็นในหลายเว็บไซต์

Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิตอลเข้ารหัส ก็นับว่าเป็นเทคโนโลยีทางการเงินหรือ FinTech (ฟินเทค) ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจการเงินด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Ethereum, XRP Ripple, และสกุลเงิน Libra ของ Facebook ทั้งหมดก็นับว่าเป็น FinTech ด้วยเช่นกัน

Banking กลุ่มธนาคารที่หลายคนคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เพราะมีบริการอย่าง การกู้เงิน ฝากเงิน ถอนเงิน และปัจจุบันนี้ก็เห็นว่าบริการทั้งหมดของธนาคารถูกยกขึ้นไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัลแล้ว จากที่ต้องเดินไปถึงสาขาเพื่อทำธุรกรรม วันนี้เราทุกคนก็ใช้แค่เพียงโทรศัพท์มือถือเท่านั้น 

  • Cloud Funding แหล่งเงินทุนที่มาจากผู้คนจำนวนมาก เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีตและเพิ่งจะเข้ามาใหม่ ด้วยความเก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสามารถดึงเงินจำนวนทีละเล็กทีละน้อยจากผู้คนจำนวนหลายร้อยจนไปถึงหลักหมื่นคนมารวมเป็นก้อนใหญ่อยู่บนแพลตฟอร์ม เพื่อช่วยให้เราได้สามารถกู้หรือยืม โดยในไทยเองก็มีหลายแพลตฟอร์มให้ใช้งาน 

  • Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิทัล ในอดีตหลายคนคงคุ้นเคยกับสกุลเงินของแต่ละประเทศ แต่เมื่อเกิดเงินเฟ้อมากขึ้นทำให้มูลค่าเงินเริ่มเสื่อมถอย รวมถึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าทำให้เกิด Cryptocerency ที่หมายถึงสกุลเงินดิจิทัลที่มีการเข้ารหัสเอาไว้ ระบุจำนวนเงินชัดเจนและส่งมอบผ่านทางดิจิทัล และในทุกวันนี้มีเทคโนโลยีที่เจาะลึกลงในด้านนี้อีกด้วยเช่น Decentralised finance (DeFi), GameFi และอีกมากมาย 

  • Payment Technology หรือเทคโนโลยีด้านการจับจ่าย นอกเหนือจากการจ่ายเงินสดแล้ว ปัจจุบันการจ่ายเงินด้วยวิธีอื่น ๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพร้อมเพย์ บัตรเครดิต Internet Banking หรือ Alipay 

  • Enterprise Financial Software หรือระบบซอฟต์แวร์การเงินในธุรกิจ ภาพคุ้นเคยที่เราคุ้นกันในการทำเอกสารการเงินคงหนีไม่พ้น สมุด กระดาษ การจดบันทึก และพัฒนามาอีกก็คือซอฟต์แวร์ประเภทติดตั้งที่ออฟฟิศ แต่ตอนนี้ระบบขึ้นไปอยู่บน Cloud เกิดซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการทำธุรกรรมการเงิน 

  • Investment Management หรือระบบจัดการการลุงทุน จากการเดินทางไปยังสาขาเพื่อทำการลงุทน สู่การมีแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยจัดการการลงทุน รวมถึงมีผู้ดูแลการเงินให้ผ่านแอปพลิเคชัน 

  • InsurTech ประกันภัยแบบดิจิทัล ที่อดีตเราคุ้นเคยกับเอกสารกระดาษต้องไปพบตัวแทนเพื่อทำการซื้อและจัดการ แต่ทุกวันนี้แค่เพียงคลิกผ่านหน้าจอก็เรียบร้อยแล้ว 

  • ทั้งหมดนี้คือรูปแบบ FinTech ที่เกิดขึ้นในไทยและไม่ใช่เรื่องใหม่แล้ว ในขณะที่วงการ FinTech มีเด็กรุ่นใหม่เข้ามาโลดแล่น เกิดผู้เล่นมากขึ้น ไม่ได้ผูกขาดอย่างแต่ก่อน ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีบริการจากต่างประเทศเข้ามาให้บริการในไทยด้วย ฝั่งของธนาคารเองก็กำลังปรับตัวอย่างหนักเช่นกันเพราะจากที่เคยเป็นผู้ควบคุมก็เริ่มเกิดคู่แข่งมากมาย ทำให้ต้องปรับโครงสร้างเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเริ่มมีการลงทุนใน Startup ต่าง ๆ ด้วย สำหรับประชาชนเองก็คุ้นเคยกับการใช้งาน FinTech พอสมควร อย่างการที่ทางรัฐเองก็ออกแบบระบบการเงินของตัวเองขึ้นอย่าง แอปพลิเคชันเป๋าตังค์ เพื่อช่วยหมุนเศรษฐกิจประเทศให้เดินหน้า เรียกได้ว่า FinTech เป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนประเทศเลยก็ว่าได้ 

    ชวนปรับใช้ FinTech เพื่อยกระดับธุรกิจสู่อีกขั้น

    ต้องบอกว่าภาคธุรกิจในประเทศสามารถใช้ FinTech ได้ทุกธุรกิจ โดยสามารถหยิบยกบริการการเงินทั้ง 7 รูปแบบมาปรับใช้ เจ้าของธุรกิจจากที่เคยต้องจ้างพนักงานมาดูแลด้านการเงิน รอเอกสารตรวจสอบ ปัจจุบันนี้สามารถเช็คการเงินทุกอย่างผ่านทางโทรศัพท์ ดูรายรับ กำไร ขาดทุน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อสามารถเข้าถึงได้อย่างทันถ่วงทีก็ทำให้การตัดสินใจแม่นยำมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจควรนำ FinTech มาใช้เพื่อทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือแม้กระทั่งบุคคลทั่วไปด้วยเช่นกัน เปรียบเทียบกับเมื่อก่อนที่ต้องไปกู้นอกระบบและดอกเบี้ยสุดโหดมาสู่การคลิกผ่านแอปพลิเคชันการเงินต่าง ๆ ก็สามารถทำธุรกรรมได้อย่างไม่สะดุด 

    คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ยกตัวอย่างบริษัทวิตามินเกี่ยวกับเส้นผมที่ตัวเองกำลังทำอยู่ โดยเล่าว่า ตั้งแต่ต้นสิ่งที่ต้องการก็คือแหล่งเงินทุน ซึ่งวิธีการในอดีตก็คือคุณจะต้องไปธนาคารเพื่อที่จะขอกู้เงิน และวิธีการเดิม ๆ ใช้เวลานานและยุ่งยาก แต่เมื่อมีบริการ Cloud Funding ก็ทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายด้วยการกดเพียงไม่กี่ครั้งและระบบจะทำการคำนวณให้ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อได้ทำธุรกิจแล้ว ในเรื่องของบัญชีก็ยังใช้บริการซอฟต์แวร์บัญชี ในช่วง COVID-19 พนักงานบัญชีก็สามารถทำงานที่บ้านได้อีกด้วย ทุกอย่างปรับเป็นดิจิทัล การทำงานในองค์กรการเบิกจ่ายและบัญชีก็ออนไลน์หมด อีกทั้งยังมีระบบ e-KYC ที่ช่วยในการยืนยันใบหน้าของลูกค้าเพื่อสามารถตรวจสอบและวิเคราห์ว่าลูกค้าเป็นมีตัวจนจริงหรือไม่ ง่ายต่อการทำเอกสารและเซ็นสัญญาต่าง ๆ ในขณะที่หน้าการขายออนไลน์ก็มีระบบที่ช่วยให้ลูกค้าชำระเงินได้หลากหลายวิธี ทั้งโอนชำระ บัตรเครดิต หรือผ่อนชำระแบบศูนย์เปอร์เซ็นต์ไปจนถึงจ่ายด้วยสกุลเงินดิจิทัล ทั้งหมดเป็นการชี้ให้เห็นถึงกระบวนการทำธุรกิจในการปรับใช้ FinTech ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 

    ผู้เล่นด้าน FinTech ในไทยอาจจะมีอยู่ไม่มากในตอนนี้ แต่ในอนาคตเราได้เห็นการเติบโตขึ้นอย่างมากแน่นอน และจะเติบโตอย่างรวดเร็วด้วย เพราะทุกคนต้องกระโดดลงไปในโลกดิจิทัล เพราะฉะนั้นทุกคนต้องการซอฟต์แวร์และเครื่องมือเข้ามาช่วยในการบริหารธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังและมีมาตราการควบคุมในด้านการให้บริการ FinTech โดยในปัจจุบันก็มีหน่วยงานควบคุมจากภาครัฐไม่ว่าจะเป็น ธนาคารกลางหรือแบงค์ชาติ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพราะเมื่อธุรกรรมการเงินก้าวขึ้นไปบนโลกออนไลน์ การฟอกเงิน ระบบการจัดการ และอีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเงินต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ดังนั้นต้องปรับให้ดีมากขึ้น 

    ผู้บริหารคือหัวใจสำคัญในการเริ่มต้นขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เทคโนโลยี

    ที่ผ่านมาพบว่าคนที่ทำงานบัญชีมักไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือเทคโนโลยี อย่างเช่น ในทีมของคุณ หากผู้บริหารไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีการปรับใช้ พนักงานบัญชีก็อาจจะยังไม่มีการปรับตัวเข้าไปใช้งานเครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะลดช่องว่างระหว่างโลกการทำงานแบบเดิม ๆ กับโลกเทคโนโลยีใหม่ ๆ จุดสำคัญคือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในการจะนำพา FinTech หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาในองค์กร และต้องเข้าใจและรู้จักว่าจะหยิบเครื่องมือ FinTech ชิ้นไหนเข้ามาทำงาน ต้องยอมรับว่ายังมีอุตสาหกรรมอีกหลายประเภทที่ยังห่างจากเทคโนโลยี จะสังเกตได้ว่า FinTech มักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่ใกล้ชิดกับเทคโนโลยี เช่น อุตสาหกรรม IT อุตสาหกรรม Telecom หรือธุรกิจ Data ในขณะที่อุตสาหกรรมการเกษตร การผลิต หรือสิ่งพิมพ์ ยังคงห่างไกลกับเทคโนโลยี ตรงนี้คือโอกาสของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือใหม่ ๆ ในการผลักดันตัวเองเข้ามาสู่เทคโนโลยี 

    หลายคนกลัวเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เรื่องความเป็นส่วนตัว หลาย SME ยังมีการทำสองบัญชี และเรื่องของการยื่นตัวเลขต่อภาครัฐที่ไม่ตรง ทำให้มีความกลัวว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนในการทำให้ภาครัฐมองเห็นข้อมูลของตน ซึ่งสิ่งแบบนี้เป็นเรื่องผิดเพราะความกลัวนี้จะไปฉุดให้ธุรกิจของคุณเดินไปได้ช้า ธุรกิจรุ่นใหม่ ๆ มักไม่มีการทำสองบัญชีอีกแล้วแต่เป็นการเสียภาษีอย่างตรงไปตรงมา ทำให้คุณไม่ต้องมาหลบและกังวล แน่นอนว่าปัจจุบันนี้ก็มีเทคนิคมากมายในการลดหย่อนภาษี อีกทั้งยังมี FinTech ด้าน Tax Planing อีกด้วย หากสนใจส่วนไหนคุณแค่คลิกหาข้อมูล ทุกอย่างมีข้อมูลรอคุณอยู่หมดแล้ว หากอยากเริ่มนำ FinTech ไปปรับใช้ก็มีวิธีการง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน 

    1. ลองกลับไปดูที่บริษัทของคุณว่าทีมงานเรายังคงใช้วิธีการเดิม ๆ อยู่ไหม ในระยะ 10-20 ปีมานี้ 

    2. หากยังทำแบบเดิมอยู่ ลองเสิร์ชหาข้อมูลด้านบริการ FinTech ซึ่งมีอยู่มากมาย ลองค้นหาและเรียนรู้เทคโนโลยีเหล่านั้น

    3. หากเห็นว่าบริการไหนดี ลองนำมาปรับใช้กับองค์กรของคุณ

    ทั้งหมดนี้คือวิธีที่คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุแนะนำ และยังบอกอีกว่าหากอยากเรียนรู้ปัจจุบันนี้มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายให้คุณศึกษา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณจะทำมันเมื่อไหร่ คุณต้องทำทันที เมื่อเริ่มแล้วคุณจะเห็นผลลัพธ์ทันที และเมื่อทำไปเรื่อย ๆ ผลลัพธ์ก็จะดีขึ้นไปเรื่อย ๆ เช่นกัน 

    เรียกว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจและน่านำไปปรับใช้กับธุรกิจในทุกขนาดมาก ๆ หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมและอยากเจาะลึกให้รู้จริงไปอีกกับเรื่อง FinTech ติดตามข้อมูลได้ที่ //www.jrit-ichi.com/cutting/2022/02/02/767/

    ธุรกรรมการเงินดิจิทัล Fintech มีอะไรบ้าง

    Fintech มีกี่แบบ อะไรบ้าง.
    1. Banking Technology. ... .
    2. Crowdfunding Platforms. ... .
    3. Cryptocurrency. ... .
    4. Payment Technology. ... .
    5. Enterprise Financial Software. ... .
    6. Investment Management. ... .
    7. Insurance Technology/ Insurtech. ... .
    ผู้ให้บริการ E-Commerce..

    ธุรกรรมการเงินดิจิทัล คืออะไร

    1/ดิจิตอลแบงกิ้ง (Digital Banking) หมายถึงการให้บริการลูกค้าในการทาธุรกรรมกับธนาคาร โดยลูกค้าไม่จาเป็นต้องมาธนาคาร เช่น การให้บริการทางโทรศัพท์ (Call Center) การทาธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางคีออส (ตู้เอทีเอ็ม) อินเทอร์เน็ต (Internet Banking) และโทรศัพท์เคลื่อนที่(Mobile Banking) เป็นต้น

    ระบบ E

    4. Payment Technology ระบบการจ่ายเงินที่ดำเนินการด้วยเทคโนโลยี ประเภทนี้คือระบบตัวแทนการใช้จ่าย ที่ผู้ใช้ต้องเปิดบัญชีกับทางแพลตฟอร์มจึงจะสามารถใช้งานได้ ตัวอย่างเช่นระบบ E-Wallet ต่าง ๆ เครดิตการ์ด ซึ่งระบบ Payment จะต่างจาก Mobile Banking ตรงที่เจ้าของแพลตฟอร์มไม่ใช่ธนาคาร และให้บริการเฉพาะการใช้จ่ายเท่านั้น

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita