ประเทศเพื่อนบ้านของไทย มาเลเซีย

          และที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการเฝ้าตรวจตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย และมาเลเซีย

          สหพันธรัฐมาเลเซีย หรือประเทศมาเลเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยและเป็นคู่ค้าในเอเซียนที่มีมูลค่าการค้ากับไทยมากที่สุด มาเลเซียเป็นหนึ่งประเทศในเอเชียที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย และเป็นพันธมิตรที่ดีของไทยในกรอบอาเซียนและกรอบพหุภาคี อีกทั้งมาเลเซียกับไทยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงอยู่เป็นประจำ

การขนส่งปัจจุบัน ณ ด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย
การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย สามารถทำได้โดยผ่านด่านถาวรระหว่าง ประเทศไทยกับมาเลเซียทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่
     (1) ด่านสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา
     (2) ด่านปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
     (3) ด่านสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
     (4) ด่านตากใบ อ.ตากใบ(ท่าเรือ) จ.นราธิวาส
     (5) ด่านบ้านประกอบ อ.นาทวี จ.สงขลา
     (6) ด่านวังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล
     (7) ด่านสตูล (ท่าเรือ)
     (8) ด่านเบตง จ.ยะลา
     (9) ด่านบูเก๊ะตา อ.แว้ง จ.นราธิวาส

การค้าระหว่างมาเลเซียกับไทย
          สินค้าไทยที่ส่งออกไปมาเลเซีย ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ ยางพารา คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า ถุงมือยาง เป็นต้น สินค้าที่ไทยนิยมนำเข้า ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์

เอเชียทางหลวง AH2
          โดยยึดแนวเส้นทางทางหลวงเอเชียสาย 2 (AH2) เป็นหลัก โดยไทยจะนำรถเข้ามาเลเซีย เริ่มจากด่านพรมแดนสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลาไปสิ้นสุดที่เมืองยะโฮร์บาห์รู มาเลเซียที่ตั้งอยู่ใต้สุดของคาบสมุทรมาเลเซียติดกับสิงคโปร์สำหรับมาเลเซียจะเข้ามาไทย

เอเชียทางหลวง AH18
          เอเชียทางหลวงหมายเลข 18 เป็นเส้นทางทางหลวงที่รวมอยู่ในเอเชียเครือข่ายทางหลวงวิ่งจากหาดใหญ่ในประเทศไทยเพื่อยะโฮร์บาห์รู , มาเลเซีย เส้นทาง AH18 วิ่งไปตามถนนเลียบชายฝั่งตะวันออกสายหลักในภาคใต้ของประเทศไทยและไปตามเส้นทางสหพันธรัฐ มาเลเซีย

          สหพันธรัฐมาเลเซีย หรือประเทศมาเลเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยและเป็นคู่ค้าในเอเซียนที่มีมูลค่าการค้ากับไทยมากที่สุด มาเลเซียเป็นหนึ่งประเทศในเอเชียที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย และเป็นพันธมิตรที่ดีของไทยในกรอบอาเซียนและกรอบพหุภาคี อีกทั้งมาเลเซียกับไทยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงอยู่เป็นประจำ

การขนส่งปัจจุบัน ณ ด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย
การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย สามารถทำได้โดยผ่านด่านถาวรระหว่าง ประเทศไทยกับมาเลเซียทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่
     (1) ด่านสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา
     (2) ด่านปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
     (3) ด่านสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
     (4) ด่านตากใบ อ.ตากใบ(ท่าเรือ) จ.นราธิวาส
     (5) ด่านบ้านประกอบ อ.นาทวี จ.สงขลา
     (6) ด่านวังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล
     (7) ด่านสตูล (ท่าเรือ)
     (8) ด่านเบตง จ.ยะลา
     (9) ด่านบูเก๊ะตา อ.แว้ง จ.นราธิวาส

การค้าระหว่างมาเลเซียกับไทย
          สินค้าไทยที่ส่งออกไปมาเลเซีย ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ ยางพารา คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า ถุงมือยาง เป็นต้น สินค้าที่ไทยนิยมนำเข้า ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์

เอเชียทางหลวง AH2
          โดยยึดแนวเส้นทางทางหลวงเอเชียสาย 2 (AH2) เป็นหลัก โดยไทยจะนำรถเข้ามาเลเซีย เริ่มจากด่านพรมแดนสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลาไปสิ้นสุดที่เมืองยะโฮร์บาห์รู มาเลเซียที่ตั้งอยู่ใต้สุดของคาบสมุทรมาเลเซียติดกับสิงคโปร์สำหรับมาเลเซียจะเข้ามาไทย

เอเชียทางหลวง AH18
          เอเชียทางหลวงหมายเลข 18 เป็นเส้นทางทางหลวงที่รวมอยู่ในเอเชียเครือข่ายทางหลวงวิ่งจากหาดใหญ่ในประเทศไทยเพื่อยะโฮร์บาห์รู , มาเลเซีย เส้นทาง AH18 วิ่งไปตามถนนเลียบชายฝั่งตะวันออกสายหลักในภาคใต้ของประเทศไทยและไปตามเส้นทางสหพันธรัฐ มาเลเซีย

มาเลเซียเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ

โดย...ทีมงานโลก 360 องศา [email protected]

มาเลเซียเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ แต่กลับเป็นประเทศคู่ค้าที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสูงที่สุด ดังนั้นการรักษาและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับมาเลเซียจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อประเทศไทย

สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส คือ 4 จังหวัดของประเทศไทย ที่มีพรมแดนติดกับมาเลเซีย โดยมีจุดผ่านแดนถาวรรวมกันแล้ว 9 แห่ง ในแต่ละปีไทยและมาเลเซียมีมูลค่าการค้ารวมระหว่าง 2 ประเทศ สูงถึง 8 แสนล้านบาท โดยสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปขายคือยางพารา ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าก็จะเป็นพวกเครื่องจักรไฟฟ้า และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง จึงทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้ามาโดยตลอด อย่างไรก็ตามในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด “มาเลเซีย” คือ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่มีสัดส่วนการค้าร่วม 2 ใน 3 ของมูลค่าการค้าชายแดนทุกด้าน

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งอาจเป็นเพราะมาเลเซียนั้นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ที่มีพรมแดนติดกับไทย อีกทั้งยังมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการค้าที่เสรีมากกว่าประเทศอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งการค้าชายแดนไทยและมาเลเซียเกือบทั้งหมด เป็นการค้าผ่านด่านศุลกากรสะเดาและปาดังเบซาร์ ใน จ.สงขลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ด่านสะเดา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ด่านนอก” ได้กลายมาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่มีความน่าสนใจมากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

สังคมอันเป็นเอกลักษณ์ของมาเลเซีย คือการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขระหว่างกลุ่มชนเชื้อชาติต่างๆ

 

แม้ว่าจะมีปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และอาจจะส่งผลต่อความคิดและความรู้สึกของคนไทยบางกลุ่มอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้สายสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเสื่อมคลายลง ซึ่งไทยและมาเลเซียมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 มีความสัมพันธ์ที่ดีกันในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การค้า ศาสนา และวัฒนธรรม มิหนำซ้ำยังเกิดความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับอีกด้วย

เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ประเทศนี้เคยพึ่งพารายได้หลักจากการเกษตร แต่ทุกวันนี้มาเลเซียมีรายได้เพิ่มมาจากภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว เพราะช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซียพยายามสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ด้วยความพยายามลดการพึ่งพารายได้ จากการส่งออกแร่ธาตุและสินค้าเกษตร พร้อมทั้งหันมาส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง ทำให้มาเลเซียมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นถึง 1 ใน 3 ของเงินตราจากต่างประเทศ

ชาวมลายูถือเป็นคนพื้นเมืองเดิมที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางการศึกษาและการทำงาน ภายใต้สิทธิของการเป็น “ภูมิบุตร” คือ การเป็นลูกหลานของเจ้าของแผ่นดินเดิม ซึ่งเดิมทีคนพื้นเมืองเหล่านี้ จะไม่ถนัดทำธุรกิจการค้า ทำให้มีสถานะทางเศรษฐกิจสู้ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนไม่ได้ เกิดเป็นช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ดังนั้นรัฐบาลจึงพยายามเอื้อเฟื้อและสนับสนุนให้ชาวพื้นเมืองเหล่านี้มีสถานะทางเศรษฐกิจและสถานะทางสังคมทัดเทียมเชื้อสายอื่นๆ

ด่านพรมแดนสะเดาประตูสำคัญที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในทุกๆ มิติระหว่างไทยและมาเลเซีย

 

“นโยบายภูมิบุตร” เคยทำให้เศรษฐกิจของมาเลเซียขยายตัว และกระจายความเจริญไปอย่างทั่วถึง แต่อย่างไรก็ตามผลของนโยบายนี้กลับทำให้คนเชื้อสายมลายูส่วนใหญ่อ่อนแอ เพราะต้องพึ่งพาสวัสดิการจากรัฐ ในขณะที่คนเชื้อสายจีนถูกเงื่อนไขบังคับให้ต้องขวนขวายมากกว่า ประกอบกับความสามารถในการปรับตัวของนักธุรกิจจีนได้ทำให้ธุรกิจของชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนกลับมีความเข้มแข็ง
มากยิ่งขึ้น

นอกเหนือจากชาวมลายูและชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนแล้ว ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียก็ยังเป็นอีกหนึ่งกลุ่มชนสำคัญ ที่มีวัฒนธรรมและเชื้อชาติที่เด่นชัด แม้จะมีสัดส่วนไม่ถึง 10% แต่ก็ถือเป็นชนชาติหลัก ที่มีจำนวนรองจากชาวมลายูและชาวจีน ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียนั้นเดินทางเข้ามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เพื่อมาสร้างถนนหนทาง สถานีรถไฟและท่าเรือในสมัยอาณานิคม ดังนั้นถ้าหากพวกเขาจะบอกว่า พวกเขาคือส่วนสำคัญในการสร้างประเทศมาเลเซีย คู่ๆ กันกับชาวมลายูและชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนก็คงจะไม่ผิดนัก

นโยบาย “1 Malaysia” คือ ส่วนสนับสนุนสำคัญที่จะนำพามาเลเซียบรรลุเป้าหมายของ “วิสัยทัศน์ 2020

 

เมื่อมีคนที่มีความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ต้องมาอาศัยรวมอยู่ในประเทศเดียวกัน ก็ย่อมต้องมีปัญหาความขัดแย้งกันอยู่บ้าง เหมือนที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียเองก็ให้ความสำคัญและถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่จะต้องหลอมรวมกลุ่มคนหลากเชื้อชาติ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว เพื่อให้เป็นไปตาม “วิสัยทัศน์ 2020” โดยอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายเอาไว้ว่า มาเลเซียจะต้องก้าวขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้วให้ได้ ภายในปี ค.ศ. 2020 โดยจะไม่เน้นการพึ่งพาชาติตะวันตก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว มาเลเซียจำเป็นจะสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้ปีละไม่น้อยกว่า 7% ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นช่วงปี ค.ศ. 2007-2010 ได้ทำให้ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตามเมื่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง รัฐบาลมาเลเซียในยุคของนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัคก็พยายามให้บรรลุเป้าหมายเดิมให้ได้ จึงได้ประกาศนโยบาย “1 Malaysia” (วัน มาเลเซีย) ขึ้นมา เพื่อเร่งปฏิรูปประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมายของ Vision 2020

มาเลเซียจะสามารถก้าวขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้จริงหรือไม่ คงยังมีอีกหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบ ไม่ใช่เพียงการสร้างเมืองใหม่ หรือการพัฒนาทางด้านสาธารณูปโภคเพียงอย่างเดียว แต่อย่างน้อยนี่คือพื้นฐานและนี่คือภาพที่สะท้อนถึงความโดดเด่นของประเทศมาเลเซีย เพราะถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอยู่หลายครั้ง อาจจะมีแนวคิดและนโยบายการบริหารที่ต่างกันไปบ้าง แต่มาเลเซียก็ยังสามารถดำรงของวิสัยทัศน์ 2020 ไว้เช่นเดิม รวมถึงดำเนินนโยบายความร่วมมือและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้านที่จะมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาคในอนาคตอีกด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita