พักตร์จิตผิดประมาณ ความหมาย

คำนำ

            รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย(ท22102)ซึ่งรายงานเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

โครงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสี่สุภาพซึ่งมีบทนำ ๑ บท เนื้อเรื่อง ๑๖ บท และสรุป ๑ บท ซึ่งในพระราชนิพนธ์นี้หมายถึงสิ่งที่ควรแสงหาหรือควรละเว้นโดยโคลงแต่ละบทมีอยู่  ๓ สิ่ง มักมีหลักธรรมประจำใจเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆดังนั้นเราควรที่จะศึกษาและปฏิบัติตามเพื่อขจัดความทุกข์ สร้างกุศล และเพิ่มความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง

                หวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านไม่มากก็น้อยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในด้านใดด้านหนึ่ง ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา    ที่นี่ด้วย


                                                                                                                                                                จัดทำโดย

                                                                                                                                                       คณะผู้จัดทำ





















บทวิเคราะห์

บทความนี้เป็นความเปรียบที่มีคติสอนใจเป็นที่จดจำมาช้านาน  เป็นคำสอนให้คระหนักถึงความสำคัญของความรู้ ความสุจริต ปัญญา และสติ ซึ่งเปรียบเสมือน อาวุธ และ เกราะประจำกาย ที่ใช้ออกรบ คำสอนนี้เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา  เป็นโครงบทหนึ่งในเรื่องสุภาษิต เบ็ดเตล็ด (เรื่องที่ ๓) ในชุดโคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งรวม ๑๑ เรื่อง เช่น เรื่องสุภาษิตบางปะอิน โคลงกระทู้สุภาษิต สุภาษิตเบ็ดเตล็ด เป็นต้น 

ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมักมีคติประจำใจของตนเองเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเป็นข้อคิดที่นักปราชญ์แต่โบราณได้รวบรวมไว้

โคลงโสฬสไตรยางค์เดิมเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์เป็นภาษาไทย ดั่งปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันตอนหนึ่งว่า  วันที่ ๔๔๕๑ ในรัชกาลที่ ๕  วันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ (วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๓)

กรมหมื่นพิชิต (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร)  ถวายโคลงโสฬสไตรยางค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ไปแต่งแก้ใหม่ให้ถูกกับความหมายในภาษาอังกฤษ

            โคลงสุภาษิตไตรยางค์เป็นโคลงสี่สุภาพซึ่งมีบทนำ ๑ บท เนื้อเรื่อง ๑๖ บท และบทสรุป ๑ บท ซึ่งบอกจำนวนสุภาษิตว่ามี ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ รวมเป็น ๔๘ ข้อ ในพระราชนิพนธ์นี้ ไตรยางค์หมายถึงสิ่งที่ควรแสวงหาเพื่อกระทำและเพื่อการละเว้นจากการกระทำนั้นๆ  นับได้ว่าเป็นวิธีแปลและดัดแปลงให้เข้ากับวิธีคิดและค่านิยมของคนไทยได้ทางหนึ่ง  บทพระราชนิพนธ์นี้จึงมิใช่  เพียงงานแปลที่ถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งมาเป็นอีกภาษาหนึ่งเท่านั้น  แต่ได้บันทึกความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ไว้อย่างน่าสนใจ














โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์


บทนำ                                         ว่าด้วยสามอย่าง

ปราชญ์แสดงดำริด้วย         ไตรยางค์

                              โสฬสหมดหมวดปาง                       ก่อนอ้าง

                               เป็นมาติกาทาง                                บัณฑิต แสวงเฮย

                               หวังสวัสดิ์ขจัดทุกข์สร้าง                สืบสร้องศุภผล


แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

          ผู้มีความรู้แสดงความคิดด้วยองค์สาม มีสิบหกบทเป็นแม่บทและเป็นแนวทางให้ผู้มีปัญญาแสวงหาความรู้ หวังให้ความดีกำจัดความยากลำบาก เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าแล้วร้องสรรเสริญต่อผลของความดีงาม

























สามสิ่งควรรัก  ( Three  Things to Love)

                                      ควรกล้ากล้ากล่าวถ้อย                   ทั้งหทัย แท้แฮ

                             สุวภาพพจน์ภายใจ                                   จิตพร้อม

                             ความรักประจักษ์ใจ                                 จริงแน่ นอนฤๅ

                             สามสิ่งควรรักน้อม                                  จิตให้สนิทจริง


แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

       ควรกล้าที่จะพูดความจริงในใจทั้งหมด มีความสุภาพทางคำพูดหรือวาจา  ทางกาย ทางใจ มีความรักที่แน่ชัดให้กับผู้อื่น  สามสิ่งนี้ควรให้ผู้อื่นอย่างจริงใจ

คำศัพท์ในบทนี้

Courage                  Gentleness              Affection

ความกล้า                                ความสุภาพ                             ความรักใคร่



สามสิ่งควรชม (Three Things to Admire)

ปัญญาสติล้ำ                                        เลิศญาณ

อำนาจศักดิ์ศฤงคาร                                         มั่งขั้ง

มารยาทเรียบเสี่ยมสาร                                     เสงี่ยมเงื่อน งามนอ

 สามสิ่งจักควรตั้ง                                           แต่ซ้องสรรเสริญ 


แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

                ควรที่จะชื่นชมผู้ที่มีทั้งสามอย่างนี้ คือ ผู้ที่มีปัญญาล้ำเลิศ ผู้ที่เกียรติยศ ผู้ที่มีมารยาทงาม และ เราควรจะมีสามสิ่งนี้ จะได้เป็นที่ชื่นชมของผู้อื่น

คำศัพท์ในบทนี้

Intellectual Power          Dignity            Gracefulness

อำนาจปัญญา                                      เกียรติยศ                      มีมารยาทดี

สามสิ่งควรเกลียด (Three Things to Hate)

ใจบาปจิตหยาบร้าย                             ทารุณ

กำเริบเอิบเกินสกุล                                          หยิ่งก้อ

อีกหนึ่งห่อนรู้คุณ                                            ใครปลูก ฝังแฮ

สามสิ่งควรเกลียดท้อ                                                  จิตแท้อย่าสมาน 


แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

            สามสิ่งที่ควรเกลียด เราไม่ควรที่จะมีสามสิ่งนี้ คือ ความดุร้าย  ความหยิ่งกำเริบ และ ความอกตัญญูรู้คุณ

คำศัพท์ในบทนี้
Cruelty                Arrogance                  Ingratitude

ความดุร้าย                     ความหยิ่งกำเริบ                       ความอกตัญญู


สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน(Three Things to Despise)

ใจชั่วชาติต่ำช้า                                    ทรชน  
ทุจริตมารยาปน                                               ปกไว้  
หึงส์จิตคิดเกลียดคน                                       ดีกว่า ตัวแฮ  
สามส่วนควรเกียจใกล้                                    เกลียดซ้องสมาคม


แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

            กล่าวถึงสามสิ่งที่ควรจะรังเกียจไม่ควรเข้าใกล้ นั่นคือ ความชั่วช้าเลวทราม ความมารยา ความฤษยา(ริษยา)

คำศัพท์ในบทนี้

Meanness                        Affectation                      Envy

ชั่วเลวทราม                             มารยา                                                  ฤษยา

สามสิ่งควรเคารพ(Three Things to Reverence)

ศาสนาสอนสั่งให้                      ประพฤติดี  
หนึ่งยุติธรรมไป่มี                              เลือกผู้ ประพฤติเพื่อประโยชน์ศรี                     สวัสดิ์ทั่ว กันแฮ สามสิ่งควรรอบรู้                              เคารพเรื้องเจริญคุณ


แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

            เราควรเคารพศาสนา เพราะ ศาสนาสอนให้คนประพฤติตนเป็นคนดี  ควรจะยุติธรรมต่อทุกคนไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และ ควรจะประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

คำศัพท์ในบทนี้

Religion                  Justice                     Self-denial

ศาสนา                                     ยุติธรรม                                   สละประโยชน์ตนเอง



สามสิ่งควรยินดี (Three things to Delight in)

สรรพางค์โสภาคพร้อม                       ธัญลักษณ์

ภาษิตจิตประจักษ์                                           ซื่อพร้อม

เป็นสุขโสดตนรัก                                           การชอบ ธรรมนา

สามสิ่งควรชักน้อม                                         จิตให้ยินดี

แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

ความงามพร้อม พูดปากกับใจตรงกันและเป็นอิสระแก่ตัวในการที่จะทำอะไรในทางที่ชอบธรรม

คำศัพท์ในบทนี้

Beauty                               Frankness                                    Freedom

งาม                                          ตรงตรง                                               ไทยแก่ตน

สามสิ่งควรปรารถนา (Three things to Wish for)

                                             สุขกายวายโรคร้อน                             รำคาญ

มากเพื่อนผู้วานการ                                         ชีพได้

จิตแผ้วผ่องสำราญ                                           รมยสุข เกษมแฮ

สามสิ่งควรจักให้                                            รีบร้อนปรารถนา  

แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

            สามสิ่งที่ควรหามาใส่ตน คือ ความสุขสบายปราศจากโรคภัยมาเบียดเบียน มีมิตรสหายที่ดีตายแทนเราได้ และจิตใจผ่องใส

คำศัพท์ในบทนี้

Health                                    Friends                          a Cheerful Spirit

ความสุขสบาย                            มิตรสหายที่ดี                       ใจสบายปรุโปร่ง


สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ(Tree  Things to Pray for)

ศรัทธาทำจิตหมั้น                                คงตรง

สงบระงับดับประสงค์                                                สิ่งเศร้า

จิตสะอาดปราศสิ่งพะวง                                 วุ่นขุ่น  หมองแฮ

สามส่วนควรใฝ่เฝ้า                                          แต่ตั้งอธิษฐาน

แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

ความเชื่อถือทำให้จิตใจเรามั่นคงไม่วอกแวก  มั่นคงอยู่กับสิ่งที่เราจดจ่อ ไม่คิดฟุ้งซ่านไปกับเรื่องต่างๆ  ความสงบจะทำให้เรายับยั้งความต้องการในสิ่งต่างๆที่ทำให้เราเป็นทุกข์ระทมใจ  ใจบริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเศร้าหมอง สามสิ่งนี้ควรมุ่งดูแลรักษา แต่ก็ควรที่จะตั้งใจอธิษฐาน

คำศัพท์ในบทนี้
Faith                      Peace                       Purity of Heart

ความเชื่อถือ                             ความสงบ                                ใจบริสุทธิ์

สามสิ่งควรนับถือ(Tree Things to Esteem)

ปัญญาตรองตริล้ำ                                ลึกหลาย

ฉลาดยิ่งสิ่งแยบคาย                                         คาดรู้

มั่นคงไม่คืนคลาย                                            คลอนกลับ  กลายแฮ

สามสิ่งควรกอบกู้                                            กับผู้นับถือ

แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

            ปัญญา ฉลาด มั่นคง ความรอบรู้ ฉลาดที่จะนำความรู้ไปใช้และจิตใจมั่นคงเชื่อถือได้  สามสิ่งนี้ควรนำกลับมาให้กับผู้ที่เคารพนับถือ

คำศัพท์ในบทนี้

Wisdom                  Prudence                 Firmness

ปัญญา                                     ฉลาด                                       มั่นคง


สามสิ่งควรจะชอบ (Three Things to Like)

สุจริตจิตโอบอ้อม                                                        อารี

ใจโปร่งปราศราคี                                                                    ขุ่นข้อง

สิ่งเกษมสุขเปรมปรี-                                                               ดาพรั่ง พร้อมแฮ

สามสิ่งสมควรต้อง                                                                  ชอบต้องยินดี


แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

            ใจอารี สุจริต ใจดี มีความสนุกสนานและเบิกบาน สุจริต = ดี ปฏิบัติในทางชอบ

คำศัพท์ในบทนี้

Cordiality        Good Humour         Mirthfulness

ใจอารีสุจริต                 ใจดี                                          ความสนุกเบิกบานพร้อมเพรียง



สามสิ่งควรสงสัย (Three Things to Suspect)


คำยอยกย่องเพี้ยน                                            ทุกประการ

พักตร์จิตผิดกันประมาณ                                             ยากรู้

เร็วรัดผลัดพลันขาน                                                    คำกลับ พลันฤา

สามส่วนควรแล้วผู้                                                     พะพ้องพึงแคลง


แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

คำยกยอ รู้หน้าไม่รู้ใจ รักง่ายและกลับคำอย่างรวดเร็ว สามสิ่งนี้ควรตั้งข้อสงสัยเอาไว้

คำศัพท์ในบทนี้

Flattery                   Hypocrisy                       Sudden Affection

ยอ                                            หน้าเนื้อใจเสือ                         พลันรักพลันจืด


สามสิ่งควรละ(Three Things to Avoid)

เกียจคร้านการท่านทั้ง                         การตน
ก็ดีพูดมากเปล่าเปลืองปน                               ปดเหล้น
คำแสลงเสียดแทงระคน                                  คำหยาบ หยอกฤๅ
สามสิ่งควรทิ้งเว้น                                           ขาดสิ้นสันดาน


แปลเป็นร้อยแก้วได้ดังนี้

ขี้เกียจในเรื่องของการทำงานทั้งของตนเองและของคนอื่น ทำได้ก็แค่พูดมาก ไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ไปวัน ๆ คำพูดที่พูดก็เสียดแทงคนรอบข้าง ทั้ง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita