กรณีที่มีการทำทัณฑ์บนผู้ปกครองว่าจะไม่กระทำการเป็นการเลี้ยงดูเด็กโดยมิชอบจะต้องวางหลักประกันเป็นระยะ

นำเล่นบาคาร่า- 555thb.com555thb.com ป้ายกิจกรรมโปรโมชั่นแพลตฟอร์มเกม. เวลาโปรโมชั่น2022/07/16 ~ 2027/08/20. เพิ่มเติม. แจกโบนัส VIP ทุกวัน สูงสุด 38888. ป้ายกิจกรรมเฉพาะสมาชิกใหม่.

นำเล่นบาคาร่า- 555thb.com

ยืนยันว่าจะไม่เกิดสุญญากาศระหว่างรอกฎหมาย เพราะสถานการณ์โควิด-19 ไม่รุนแรง กระทรวงต่างๆ มีการเชื่อมโยงการทำงาน 

วันนี้ (23 ก.ย.2565) ตั้งแต่วันนี้ กรุงเทพมหานคร จะเจอฝนตกหนักไปต่อเนื่องจนถึง 24 กันยายนนี้ จากร่องมรสุมที่พาดผ่าน ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงที่กรุงเทพฯ เจอกับสถานการณ์ฝนตกหนักช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา

------------

สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอให้บอร์ด กสทช. รับฟังความเห็นจากสภาฯ อีกครั้ง ก่อนตัดสินใจหรือออกเงื่อนไขใดๆ ออกมา เพราะสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นผู้แทนตามกฎหมาย ที่ช่วยปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค

รวบหนุ่มสวมรอยพลเมืองดี เหยื่อเผลอฉกนาฬิกา 'ริชาร์ด มิลล์' 6 ล้าน แหวนเพชร ชิ่งหนี - ข่าวสด|||||รวบหนุ่มสวมรอยพลเมืองดี อ้างเห็นเหตุการณ์เบนซ์ชนกับจยย. ฉวยโอกาสตอนเหยื่อเผลอ ฉกนาฬิกาหรู ‘ริชาร์ด มิลล์’ 6 ล้าน แหวนเพชร ก่อนชิ่งหนี

------------

วันนี้ (23 ก.ย.2565) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นความบกพร่องของหน่วยงานที่ดูแล โดยเฉพาะผู้อำนวยงานโรงเรียน ซึ่งขณะนี้ได้สั่งย้ายมาปฏิบัติงานที่ส่วนกลางแล้ว พร้อมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จ หากพบผู้เกี่ยวข้อง เช่น รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูเวรที่ดูแลเด็ก บกพร่องหรือละเลย จะลงโทษทางวินัยอย่างเต็มที่

เจอตัวแล้ว! หญิงถูกแฟนเก่าบุกพังบ้าน อุ้มหาย พ่อแม่ขอให้เลิกเด็ดขาด - ข่าวสด|||||เจอตัวแล้ว หญิงถูกแฟนเก่าบุกพังบ้าน อุ้มหาย ตำรวจ สภ.สามพราน เร่งเดินทางไปรับกลับอย่างปลอดภัย เผย ไม่ขอแจ้งความ พ่อแม่ ยืนยันขอให้เลิกราเด็ดขาด

วัยรุ่นไล่ฟันคู่อริต่างสถาบันเจ็บสาหัสย่านสายไหม|||||ผู้เสียหาย เข้าแจ้งความกับตำรวจ สน.สายไหม หลังถูกกลุ่มวัยรุ่นก่อเหตุใช้อาวุธมีดรุมทำร้ายได้รับบาดเจ็บสาหัส

รวบแล้ว พี่น้องแสดงละครชิงเงินกันเอง 3.46 ล้าน แต่ไม่เนียน แถลงข่าวพบหนี้อื้อ|||||จับแล้ว พี่สาว-น้องชาย แสดงละครตบตาตำรวจชิงเงิน 3.46 ล้าน พี่เป็นเสมียนเพิ่งเบิกเงิน ให้น้องสวมชุดไรเดอร์ทำทีโวยวายปมชู้สาว ก่อนชิงเงินหลบหนี nภาพคลิปขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านบึง และ ชุดสืบสวน ตำรวจภูธรบ้านบึง ได้สนธิกำลังกันเข้าจับกุมตัวผู้ต้องหาคดีชิงทรัพย์ ภายในห้องพักที่รีสอร์ตแห่งหนึ่ง บนถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครnnล่าสุด วันนี้ (22 ก.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น. พล.ต.ต.อิทธิพร โพธิ์ทอง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 พ.ต.อ.ทวี กุดแถลง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรบ้านบึง ร่วมกันแถลงข่าวการจับกุมตัวผู้ต้องหาร่วมก่อเหตุชิงทรัพย์ โดยใช้ยานพาหนะเพื่อการกระทำความผิดหรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจnประกอบไปด้วย นายจตุพล หรือ เอ็ม อายุ 27 ปี และ นางสาวประภาภรณ์ หรือ บี อายุ 29 ปี สองพี่น้อง พร้อมด้วยของกลางเป็นเงินสดจำนวน 3,263,500 บาทnสืบเนื่องมาจาก ในวันที่ 20 ก.ย. เวลา 11.40 น. นายจตุพล ได้สวมชุดไรเดอร์ ทำการก่อเหตุทำทีวางแผนเล่นละครทะเลาะกับ นางสาวประภาภรณ์ เสมียนที่เบิกเงินมาจำนวน 3,460,000 บาท บริเวณถนนราษฎรอุทิศ หลังธนาคารกรุงเทพ เขตเทศบาลเมืองบ้านบึง อำเภอ บ้านบึง จังหวัดชลบุรี อ้างเป็นสามี ก่อนจะลงมือทำร้ายคนขับรถตู้แล้วหยิบกระเป๋าเป้ไปที่มีเงินสดจำนวนดังกล่าวnจากนั้นได้นำรถจักรยานยนต์คันก่อเหตุไปทิ้งในป่าอ้อย เขตตำบลมาบไผ่ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี แล้วขับรถกระบะหลบหนีต่อไปจอดไว้ในอู่ประกันแห่งหนึ่ง หมู่ 4 ตำบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี แล้วหลบหนีต่อnจนเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 และสืบสวน สภ.บ้านบึง ตามไปจับกุมได้ที่ห้องพักที่รีสอร์ตแห่งหนึ่ง ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครnหลังจากนั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านบึง ทำการควบคุมตัวผู้ต้องหา ไปทำแผนประกอบรับสารภาพในจุดเกิดเหตุ และจุดที่มีการนำรถจักรยานยนต์ไปทิ้ง พร้อมรับสารภาพว่า เหตุจูงใจที่ก่อเหตุจากที่เป็นหนี้สินเป็นจำนวนมาก จากการกู้เงินไปลงทุนซื้อเหรียญบิตคอยน์ แล้วขาดทุน หลังที่ได้เงินไป ก็นำไปซื้อโทรศัพท์มือถือ ไอโฟน 14 จำนวน 2 เครื่อง และของใช้ที่จำเป็น เพื่อหนีต่อ แต่มาถูกจับได้เสียก่อนn 

------------

ด่วน รัฐบาล ประกาศแล้ว! ยุบศบค. ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผล1ต.ค.นี้ - ข่าวสด|||||ประวิตร นั่งหัวโต๊ะ ไฟเขียว ยุบศบค.-ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป เผย รายละเอียดรอให้โฆษก ศบค. เป็นผู้ชี้แจง

เด็กเป็นผู้ที่ยังเยาว์วัยทั้งในด้านความคิด การกระทำและประสบการณ์ จึงควรได้รับการปกป้องดูแลและช่วยเหลือ....

           เด็กเป็นผู้ที่ยังเยาว์วัยทั้งในด้านความคิด การกระทำและประสบการณ์  จึงควรได้รับการปกป้องดูแลและช่วยเหลือ  ตามที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ. 2546 ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2547 นับเป็นกฎหมายหลักสำคัญที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานด้านการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก

          เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์และคุ้มครองตามกฎหมาย  ได้แก่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์   แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส   

           1. การสงเคราะห์เด็ก        ในมาตรา 32  ระบุไว้ว่า   เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่            

           (1) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า               

           (2) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง

          (3) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใดๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท

          (4) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล

          (5) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

          (6) เด็กพิการ

          (7) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก

          (8) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์

          เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ตามมาตรา 24 (ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)  ได้รับแจ้ง หรือพบเห็นเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์  จะต้องสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ถ้าเด็กเจ็บป่วยหรือจำเป็นต้องตรวจสุขภาพหรือเป็นเด็กพิการต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจแก่เด็กทันที (มาตรา 35)     หากเป็นเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์อาจพิจารณาดำเนินการให้การสงเคราะห์เด็กได้ใน 2 ลักษณะ คือ (มาตรา 33)  

           กรณีที่หนึ่ง    ครอบครัวยังสามารถให้การเลี้ยงดูเด็กได้     ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่เด็กและครอบครัวหรือบุคคลที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้สามารถอุปการะเลี้ยงดู  อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก  

          กรณีที่สอง  ครอบครัวไม่สามารถให้การเลี้ยงดูเด็กได้     ผู้ปกครองหรือญาติของเด็กสามารถนำเด็กไปขอรับการสงเคราะห์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เพื่อส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับในระยะแรกก่อนที่จะพิจารณาให้การสงเคราะห์เด็กตามความเหมาะสมในลำดับต่อไป  โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก ได้แก่   

          (1) มอบเด็กให้อยู่ในความอุปการะของบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูตามระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 1 เดือน

          (2) ดำเนินการเพื่อให้เด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

          (3) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะ 

          (4) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานสงเคราะห์

          (5) ส่งเด็กเข้าศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพ หรือส่งเด็กเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพในสถานพัฒนาและฟื้นฟู หรือส่งเด็กศึกษากล่อมเกลาจิตใจโดยใช้หลักศาสนาในวัดหรือสถานที่ทางศาสนาอื่น ที่ยินยอมรับเด็กไว้

          อย่างไรก็ตามการส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับ  ครอบครัวอุปถัมภ์  สถานรับเลี้ยงเด็ก  สถานสงเคราะห์  สถานพัฒนาและฟื้นฟูหรือสถานที่ทางศาสนา  ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองโดยความยินยอมดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือ หรือยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันควรหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้   ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจส่งเด็กเข้ารับการสงเคราะห์ตามวิธีการข้างต้น   ทั้งนี้ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดต้องฟังรายงานและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในสาชาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และการแพทย์ก่อน  ซึ่งในระหว่างที่เด็กได้รับการอุปการะจากบุคคลหรือองค์กรข้างต้น  พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการด้วยวิธีต่างๆเพื่อให้เด็กสามารถกลับไปอยู่ในความปกครองของผู้ปกครองโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

          หากเด็กที่ได้รับการสงเคราะห์มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์แต่ยังอยู่ในสภาพที่จำเป็นจะต้องได้รับการสงเคราะห์ อาจได้รับการสงเคราะห์ต่อไปจนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และถ้ามีเหตุจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ต่อตามความจำเป็นและสมควร แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเวลาที่บุคคลนั้นมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ในกรณีที่ผู้ปกครองรับเด็กกลับมาอยู่ในความดูแล มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำก็ให้ยื่นคำขอต่อปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เพื่อเรียกผู้ปกครองมาทำทัณฑ์บนว่าจะไม่กระทำการอันใดที่มีลักษณะเป็นการให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีก  และให้วางประกันไว้เป็นจำนวนเงินตามสมควรแก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกประกันไว้ได้ไม่เกินระยะเวลาสองปี ถ้ากระทำผิดทัณฑ์บนให้ริบเงินประกันเข้ากองทุนคุ้มครองเด็ก (มาตรา 39)  ทั้งนี้การให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองหรือการเรียกประกันจะต้องคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองและประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ 

        2. การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก     ในมาตรา 40  ระบุไว้ว่า  เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่

          (1) เด็กที่ถูกทารุณกรรม

          (2) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด

          (3) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ    

           2.1 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ถูกทารุณกรรม 

          พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเมื่อได้รับแจ้งหรือพบเห็นพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก  มีอำนาจเข้าตรวจค้นและแยกตัวเด็กจากครอบครัว (มาตรา 41)  โดยจะต้องนำเด็กไปรับการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจโดยเร็วที่สุด และต้องทำการสืบเสาะข้อมูลทางครอบครัวเพื่อประกอบการพิจารณาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก ในระหว่างการสืบเสาะข้อมูลอาจส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับหรือถ้าจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ก็จะพิจารณาให้การสงเคราะห์เด็กตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  และถ้าจำเป็นต้องให้การฟื้นฟูสภาพจิตใจจะต้องรีบส่งเด็กไปยังสถานพัฒนาและฟื้นฟู

การส่งเด็กไปสถานแรกรับ สถานพัฒนาและฟื้นฟู หรือสถานที่อื่นใด   ในระหว่างการสืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก  ให้กระทำได้ไม่เกิน 7 วัน ยกเว้นกรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งขยายระยะเวลาออกไปรวมแล้วได้ไม่เกิน 30 วัน (มาตรา 42)

           กรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาแก่ผู้ปกครองหรือญาติที่เป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อเด็ก       ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องนั้นจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กอีก ศาลที่พิจารณาคดีนั้นมีอำนาจกำหนดมาตรการคุมความประพฤติ   ห้ามเข้าเขตกำหนด หรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กในระยะที่ศาลกำหนด (มาตรา 43)  และจะสั่งให้ทำทัณฑ์บนตามวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 46 และมาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วยก็ได้  (มาตรา 46 ถ้าความปรากฏแก่ศาลตามข้อเสนอของพนักงาน อัยการว่าผู้ใดจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น    ในการพิจารณาคดีความผิดใด   ถ้าศาลไม่ลงโทษผู้ถูกฟ้องแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น   ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งผู้นั้นให้ทำทัณฑ์บน  โดยกำหนดจำนวนเงินไม่เกินกว่าห้าพันบาท ว่าผู้นั้นจะไม่ก่อเหตุดังกล่าวตลอดเวลาที่ศาลกำหนด แต่ไม่เกินสองปี และจะสั่งให้มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้   ถ้าผู้นั้นไม่ยอมทำทัณฑ์บนหรือหาประกันไม่ได้ ให้ศาลมีอำนาจ สั่งกักขังผู้นั้นจนกว่าจะทำทัณฑ์บนหรือหาประกันได้ แต่ไม่ให้กักขังเกินกว่า 6 เดือน หรือจะสั่งห้ามผู้นั้นเข้าไปในเขตกำหนด               มาตรา 47 ถ้าผู้ทำทัณฑ์บนตามความใน มาตรา 46 กระทำผิดทัณฑ์บนให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นชำระเงินไม่เกินจำนวนที่ได้กำหนด ไว้ในทัณฑ์บน)

หากผู้ปกครองหรือญาติของเด็กที่เป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็ก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 81)

           กรณีที่ยังไม่มีการฟ้องคดีอาญาหรือไม่ฟ้องคดีอาญา     แต่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะมีการกระทำทารุณกรรมแก่เด็กอีก พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก หรือพนักงานอัยการจะต้องยื่นคำขอต่อศาล เพื่อออกคำสั่งมิให้กระทำการดังกล่าวโดยกำหนดมาตรการคุมความประพฤติและเรียกประกันด้วยก็ได้  หากศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองเด็กมิให้ถูกกระทำทารุณกรรมอีก  ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้ตำรวจจับกุมผู้ที่เชื่อว่าจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กมากักขังไว้มีกำหนดครั้งละไม่เกินสามสิบวัน  ทั้งนี้การพิจารณาออกคำสั่งหรือการเรียกประกันจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ

              2.2 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด

          พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 24  (ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) พบเห็นหรือได้รับแจ้งว่ามีเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  (เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย)  ให้สอบถามและดำเนินการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเด็ก  ประวัติความเป็นอยู่ และความประพฤติของเด็ก (มาตรา 44)  ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็ก ให้กำหนดมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กได้ 2 วิธีคือ

             วิธีแรก  สำหรับเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์  ดังนี้ 

           (1) ให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่เด็กและครอบครัวหรือบุคคลที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้สามารถอุปการะเลี้ยงดูเด็กได้

          (2) มอบเด็กให้อยู่ในความอุปการะของบุคคลที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูตามระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งเดือน ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตาม (1) ได้

          (3) ดำเนินการเพื่อให้เด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

          (4) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในครอบครัวอุปถัมภ์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่เหมาะสมและยินยอมรับเด็กไว้อุปการะ (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)

          (5) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานแรกรับ  (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)

          (6) ส่งเด็กเข้ารับการอุปการะในสถานสงเคราะห์  (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง)

          (7) ส่งเด็กเข้าศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพ หรือส่งเด็กเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ศึกษาหรือฝึกหัดอาชีพในสถานพัฒนาและฟื้นฟู  หรือส่งเด็กศึกษากล่อมเกลาจิตใจโดยใช้หลักศาสนาในวัดหรือสถานที่ทางศาสนาอื่น ที่ยินยอมรับเด็กไว้   (โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง) 

             วิธีที่สอง     มอบตัวเด็กให้ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่ยินยอมรับเด็กไปปกครองดูแล และอาจวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองที่รับเด็กไปดูแล ต้องปฏิบัติเพื่อป้องกันมิให้เด็กมีความประพฤติเสียหาย ข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้     

             1. ระมัดระวังมิให้เด็กเข้าไปในสถานที่หรือท้องที่ใดอันจะจูงใจให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร
             2. ระมัดระวังมิให้เด็กออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง
             3. ระมัดระวังมิให้เด็กคบหาสมาคมกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะชักนำไปในทางเสื่อมเสีย
             4. ระมัดระวังมิให้เด็กกระทำการใดอันเป็นเหตุให้เด็กประพฤติเสียหาย
             5. จัดให้เด็กได้รับการศึกษาอบรมตามสมควรแก่อายุ สติปัญญาและความสนใจของเด็ก
             6. จัดให้เด็กได้ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของเด็ก
             7. จัดให้เด็กกระทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม จริยธรรมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
          

             หากผู้ปกครองที่รับเด็กไปดูแลไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กจะต้องรับเด็กกลับไปดูแลตามวิธีแรก 

          นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติที่ให้การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กจากอบายมุข  ตามมาตรา 45  ห้ามมิให้เด็กซื้อหรือเสพสุราหรือบุหรี่ หรือเข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการจำหน่ายหรือเสพสุราหรือบุหรี่ หากฝ่าฝืนให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามเด็กเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและมีหนังสือเรียกผู้ปกครองมาร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือ ว่ากล่าวตักเตือน ให้ทำทัณฑ์บนหรือมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการและระยะเวลาในการจัดให้เด็กทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์  และอาจวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองต้องปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังนี้

          (1) ระมัดระวังมิให้เด็กเข้าไปในสถานที่หรือท้องที่ใดอันจะจูงใจให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร

          (2) ระมัดระวังมิให้เด็กออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง

          (3) ระมัดระวังมิให้เด็กคบหาสมาคมกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะชักนำไปในทางเสื่อมเสีย

          (4) ระมัดระวังมิให้เด็กกระทำการใดอันเป็นเหตุให้เด็กประพฤติเสียหาย

           (5) จัดให้เด็กได้รับการศึกษาอบรมตามสมควรแก่อายุ สติปัญญา และความสนใจของเด็ก

          (6) จัดให้เด็กได้ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของเด็ก

          (7) จัดให้เด็กกระทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม จริยธรรมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

          หากปรากฏว่าผู้ปกครองของเด็กไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนด  พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กอาจให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำก็ให้ยื่นคำขอต่อปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เพื่อเรียกผู้ปกครองมาทำทัณฑ์บนว่าจะไม่กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีกและให้วางประกันไว้เป็นจำนวนเงินตามสมควรแก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกประกันไว้ได้ไม่เกินระยะเวลา 2 ปี ถ้ากระทำผิดทัณฑ์บนให้ริบเงินประกันเข้ากองทุนคุ้มครองเด็ก

                         ******************************

บรรณานุกรม

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ. 2546 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita