โครงการ ฝายชะลอน้ำห้วย ฮ้อง ไคร้

แม้จะผ่านไปนานเกือบ 1 ปี หลังจากชุมชนชายฝั่งซึ่งเคยเต็มไปด้วยผู้คนถูกคลื่นสึนามิซัดทำลายจนราบคาบ แต่ข่าวลือเรื่อง “ผี” หรือวิญญาณคนตายยังคงแพร่สะพัดในเมืองอิชิโนะมากิ ซึ่งกำลังเร่งพลิกฟื้นจากโศกนาฎกรรมดังกล่าว

เชียงใหม่ เปิดโครงการสร้างฝายสายน้ำแห่งชีวิต ภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวบ้าน โพธิ์ทองเจริญ - ดงป่าก่อ ร่วมสร้ายฝายชะลอน้ำ ป่าต้นน้ำขุนแม่กวง อ.ดอยสะเก็ด

 

25 เมษายน 2565 - พันเอก ธีระ ผดุงสุนทร รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดโครงการสร้างฝายสายน้ำแห่งชีวิต ตามแนวพระราชดำริ บ้านโพธิ์ทองเจริญ - บ้านดงป่าก่อ หมู่ 2 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ บริเวณป่าต้นน้ำขุนแม่กวง

 

จากการประสานงาน โดย นางสาวโสรัตยา บัวชุม กำนันตำบลเชิงดอย ร่วมกับ อำเภอดอยสะเก็ด ทต.เชิงดอย ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลเชิงดอย นายบุญเลิศ คำคล้อง ผู้ใหญ่บ้านโพธิ์ทองเจริญ ต.เชิงดอย ร่วมกับ กลุ่มพี่น้องจิตอาสาชาติพันธุ์ เเละ อาสากิจการพลเรือน มณฑลทหารบกที่ 33 อ.ดอยสะเก็ด

 

(ทสปช)ไทยอาสาป้องกันชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน สภ.ดอยสะเก็ด ปศุสัตว์อำเภอดอยสะเก็ด พัฒนาการอำเภอดอยสะเก็ด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด เจ้าหน้าที่ทหารชุดปฏิบัติการผาลาด หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชม.9

สถานีควบคุมไฟป่าห้วยฮ้องไคร้ อุทยานแม่ตะไคร้ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และชาวบ้านในพื้นที่ ต.เชิงดอย ร่วมกันทำฝายแม้วชะลอน้ำ บริเวณลำห้วยฮ่องฮัก ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำขุนแม่กวงที่ไหลผ่านหมู่บ้านดงป่าก่อ

 

การสร้างฝายดังกล่าวเพื่อชะลอการไหลของน้ำในฤดูน้ำหลาก สร้างความชุ่มชื้นในชั้นผิวดิน สร้างระบบควบคุมไฟป่า และยังเป็นป่าเปียก เป็นแนวป้องกันไฟป่า และยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำธรรมชาติ สำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค กว่า 100 ครอบครัว

โดยชาวบ้านใช้ท่อพีวีซีขนาดใหญ่ต่อจากลำห้วย นำไปใช้เป็นน้ำประปาหมู่บ้าน และใช้กักเก็บในถังกัก สำรองเพื่อไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และชาวบ้านในพื้นที่สัญญาว่าจะช่วยกันรักษาดูแลอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยกันกำจัดวัชพืช นำมาใส่ในเสวียน ทำเป็นเป็นปุ๋ยบำรุงดิน และยังร่วมกันปลูกไม้ผล บริเวณป่าต้นน้ำ ให้เกิดความร่มรื่น และยังสามารถรับประทานได้ในอนาคต

     ฝายแม้ว เป็นชื่อเรียกโครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับวิศวกรรมแบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็ก ๆ ให้

     ฝายแม้ว เป็นชื่อเรียก โครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ วิศวกรรม แบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็ก ๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบ ๆ จะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้ ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการทดน้ำ ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่น ๆ ต่อมา


       ฝายชะลอน้ำสร้างขวางทางไหลของน้ำบนลำธารขนาดเล็กไว้ เพื่อชะลอการไหล - ลดความรุนแรงของกระแสน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของตลิ่ง - เมื่อน้ำไหลช้าลง ก็มีน้ำอยู่ในลำห้วยนานขึ้น โดยเฉพาะในหน้าแล้ง - ช่วยดักตะกอนที่ไหลมากับน้ำ ลดการตื้นเขินที่ปลายน้ำ ทำให้น้ำใสมีคุณภาพดีขึ้น - ช่วยให้ดินชุ่มชื้น ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ - สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต คืนพืชแก่เนินเขา/ภูเขาหัวโล้น - ดินชื้น ป่าก็ชื้น กลายเป็นแนวกันไฟป่า ลดความรุนแรงของไฟได้

เพื่อรักษาความชุ่มชืนของผืนป่าและกักเก็บน้ำ ทางโครงการฯ ได้จัดทำฝายชะลอน้ำ ในต้นน้ำลำธาร ๒ สาย และเพื่อสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง สำหรับ โครงการ ฝายชะลอน้ำ ที่ทางเราได้จัดทำ ขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์และวิธีการก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในระยะยาว ดังนี้

๑. ฝายที่เราสร้างขึ้นมาเป็นฝายแบบไม่ถาวร ให้วัสดุจากธรรมชาติเป็นหลัก สำหรับชะลอน้ำในหน้าแล้งเท่านั้น ไม่ได้สร้างเพื่อกักเก็บน้ำ การไหลของน้ำที่หน้าฝายยังมีน้ำไหลอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะซึมผ่านฝายหรือน้ำล้นข้ามฝาย

๒. ระดับความสูงของตัวฝาย ไม่สูงมากนัก ระดับความสูงประมาณ ๔๐ % ของความสูงของระดับน้ำสูงสุด ในลำคลองหรือลำห้วย สายน้ำยังสามารถไหลล้นผ่านฝายได้ ตลอดเวลา เพื่อยังรักษาระบบนิเวศน์หน้าฝายไว้

๓. ตัวฝายควรมีระดับความลาดชัน ประมาณ ๒๐ - ๔๕ องศา ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ไม่ควรสร้างฝาย ที่มีหน้าตัด ๙๐ องศา

๔. การก่อสร้างจะสร้างเป็นช่วง ๆ แบบ ขั้นบันไดเป็นช่วง ๆ ระยะขึ้นอยู่กับพื้นที่ ประมาณ ๕๐ - ๒๐๐ เมตร ๔ งบประมาณการก่อสร้างเราแทบจะไม่มี เพียงช่วยกันขนหิน ที่ระเกะระกะอยุ่ตามลำคลอง มาจัดเรียงใหม่เท่านั้น เป็นการออกกำลังกายไปในตัว หากไม่มีหิน เราก็จะใช้กระสอบทราย

๕. หากหน้าน้ำ มีน้ำมา ฝายนี้ก็จะพังทลายลง (ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำป่าลงได้) หินที่ก่อเรียงตัวไว้ ก็จะพังและไหลลงมาสู่ตัวฝายด้านล่างต่อไป

๖. พอหมดหน้าน้ำป่าน้ำเกือบจะใกล้แห้ง เราก็หาเวลามาออกกำลังกาย มายกก้อนหินกลับไปเรียง เป็นฝายชะลอน้ำตามเดิม (ส่วนใหญ่แล้วจะยังหลงเหลือโครงสร้างเดิมอยู่บ้าง) ใช้เวลาก่อสร้าง ประมาณ ๑ - ๒ ชม. ต่อฝายเท่านั้น

๗. ควรคำนึงถึงสัตว์น้ำที่อาศัยในลำคลองด้วยว่า สามารถเดินทางไปยังต้นน้ำได้หรือไม่ เพราะเราตั้งใจว่า "ในน้ำต้องมีปลา ในป่าต้องมีน้ำ"

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita