ภูมิอากาศแบบทุนดราอยู่ในบริเวณใดของทวีปอเมริกาเหนือ

ย้อนเวลากลับไปในปี ค.ศ.1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ออกเดินเรือข้ามมหาสมุทร จนค้นพบทวีปอเมริกา ซึ่งวันนี้เราอยากจะชวนเพื่อน ๆ กระโดดขึ้นเรือไปกับโคลัมบัส เพื่อสำรวจภูมิอากาศอเมริกาเหนืออันหลากหลาย ตั้งแต่อากาศร้อนในทะเลทราย ไปจนถึงความหนาวเหน็บในเขตขั้วโลก และสิ่งที่ทำให้ลักษณะภูมิอากาศทวีปอเมริกาเหนือมีความหลากหลายแบบนี้ ก็คือ...

1. ที่ตั้ง : ทวีปอเมริกาเหนืออยู่ระหว่างเขตเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุด ไปจนถึงเขตขั้วโลกซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงอาทิตย์น้อย ทำให้มีทั้งบริเวณอากาศร้อนจัด ไปจนถึงหนาวจัด

2. ลักษณะภูมิประเทศ : ทางด้านตะวันตก มีเทือกเขาสูงทอดตัวยาวจากทิศเหนือลงมายังทิศใต้ ซึ่งเจ้าเทือกเขานี้ ขวางกั้นลมที่พัดความชื้นจากมหาสมุทร ทำให้เกิดพื้นที่แห้งแล้งขึ้นหลังแนวเทือกเขา ขณะที่ด้านตะวันออกของอเมริกาเหนือ มีเทือกเขาที่ไม่สูงมากนัก ทอดตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ลมพัดความชื้นมายังพื้นที่แห่งนี้ได้ จึงไม่แห้งแล้งแบบฝั่งตะวันตก

3. กระแสนํ้า :  หากกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นไหลผ่านพื้นที่ไหน อุณหภูมิของพื้นที่นั้นก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย อย่างทิศตะวันออกของสหรัฐอเมริกา มีกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมไหลผ่าน เป็นตัวช่วยให้อากาศไม่หนาวเย็นจนเกินไป เช่นเดียวกับชายฝั่งตะวันตกของอะแลสกา และประเทศแคนาดา ที่มีกระแสน้ำอุ่นอะแลสกาไหลผ่าน ทำให้มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ส่วนกระแสนํ้าเย็นแคลิฟอร์เนีย ก็ช่วยให้พื้นที่ฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก  และชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาไม่ร้อนจนเกินไป ขณะที่กระแสนํ้าเย็นแลบราดอร์ ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของแคนาดามีอากาศหนาวเย็น 

4. ทิศทางลม : อเมริกาเหนือมีทั้งลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือ ลมตะวันตก และลมขั้วโลก ซึ่งพัดเข้าสู่บริเวณที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้อุณหภูมิของแต่ละพื้นที่ในทวีปนี้แตกต่างกันไปด้วย

ภาพแผนที่ภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ  (ขอบคุณภาพจาก www.voyagesphotosmanu.com)

หลังจากที่ได้รู้สาเหตุของสภาพภูมิอากาศอันหลากหลายในทวีปอเมริกาเหนือแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะออกสำรวจ “5 เขตภูมิอากาศในทวีปอเมริกาเหนือ” ซึ่งมีสภาพอากาศและพืชพรรณที่แตกต่างกันออกไป ถ้าเพื่อน ๆ พร้อมแล้ว ไปดูกันได้เลย!

1. เขตภูมิอากาศในทวีปอเมริกาเหนือ แบบเขตร้อน ได้แก่ 
  • ป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) :
    เป็นพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง  (พื้นที่ที่อากาศร้อนแบบนี้ ค่าไฟจะสูงแค่ไหนกันนะ ลองคำนวณกันได้เลย ที่นี่) ฝนตกชุกตลอดปี พืชพรรณเป็นป่าดิบชื้น เขียวชอุ่มตลอดปี
  • ทุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical Grassland Climate) :
    มีอากาศร้อน หนาว ฝนตก สลับกัน มีฝนตกในฤดูร้อน เป็นทุ่งหญ้าสะวันนา เหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน 

ภาพทุ่งหญ้าสะวันนา (ขอบคุณภาพจาก unsplash)

2. เขตภูมิอากาศในทวีปอเมริกาเหนือ แบบเขตแห้งแล้ง ได้แก่
  • ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) :
    มีอากาศกึ่งแห้งแล้ง กลางวันร้อน กลางคืนหนาว และมีทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) ซึ่งมาจากภาษารัสเซีย แปลว่า บริเวณที่ราบและแห้งแล้ง พื้นที่นี้จึงเต็มไปด้วยทุ่งหญ้ากว้าง แต่ไม่มีต้นไม้ ยกเว้นบริเวณใกล้กับแม่น้ำหรือทะเลสาบ ช่วงกลางวันจะร้อน กลางคืนจะหนาว คล้ายกับทะเลทรายแต่แห้งแล้งน้อยกว่า
  • ทะเลทราย (Desert Climate) : 
    เป็นเขตที่มีฝนตกน้อยมาก อยู่ในเขตเงาฝน ฤดูร้อนจะร้อนมาก และมีพืชทนต่อความแห้งแล้ง เช่น กระบองเพชร และต้นเบาบับ (อ่านเรื่องราวของต้นเบาบับได้ที่บทความเรื่องลักษณะภูมิอากาศ และพืชพรรณธรรมชาติในทวีปแอฟริกา ที่นี่)

ภาพทะเลทราย (ขอบคุณภาพจาก unsplash)

3. เขตภูมิอากาศในทวีปอเมริกาเหนือ แบบเขตอบอุ่น ได้แก่
  • เมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) :
    พื้นที่นี้ในฤดูร้อน อากาศจะร้อนและแห้งแล้ง ส่วนฤดูหนาว อากาศจะอบอุ่นและมีฝนตก พืชส่วนใหญ่เป็นพุ่มไม้เตี้ยมีหนาม และป่าแคระ เหมาะแก่การปลูกผลไม้ตระกูลส้ม
  • อบอุ่นชื้น/ชื้นกึ่งร้อน (Humid Subtropical Climate) :
    พื้นที่นี้นอกจากจะอบอุ่นแล้ว ยังมีฝนตกตลอดปี ทำให้มีพืชล้มลุกและทุ่งหญ้าแพรรี ซึ่งเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์มากที่สุด 
  • อบอุ่นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine Westcoast Climate) :
    มีฝนตกตลอดปี ในฤดูร้อนจะอากาศอบอุ่น ส่วนฤดูหนาวอากาศจะเย็นสบาย ทำให้พื้นที่นี้พบต้นไม้อย่างเมเปิล วอลนัต โอ๊ก 

ภาพต้นเมเปิล ในภูมิอากาศแบบอบอุ่นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (ขอบคุณภาพจาก unsplash)

4. เขตหนาว ได้แก่
  • อบอุ่นภาคพื้นทวีป (Humid Continental Climate) :
    ในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิปานกลางถึงสูงและมีฝนตก ส่วนฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิต่ำ พืชพรรณเป็นป่าผสม ทั้งป่าสนและป่าผลัดใบ
  • กึ่งอาร์กติก หรือไทกา (Taiga Climate) :
    มีฤดูร้อนสั้น ๆ อากาศเย็นฝนตกน้อย ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด มีหิมะตก พืชพรรณเป็นป่าสน
  • ที่สูง (Highland Climate) :
    เป็นเทือกเขาสูง อุณหภูมิและพืชเปลี่ยนไปทุก ๆ ความสูง 180 เมตร 

ภาพป่าสน (ขอบคุณภาพจาก unsplash)

5. เขตขั้วโลก ได้แก่
  • ภูมิอากาศแบบขั้วโลกหรือทุนดรา (Tundra Climate) มีอากาศหนาวจัดรุนแรงตลอดทั้งปี ฤดูร้อนมีระยะเวลาสั้นมาก และอุณหภูมิไม่เกินกว่า 10 องศา พืชพรรณส่วนใหญ่จึงเป็นพวกตะไคร่น้ำ ไลเคน และมอสส์
  • ทุ่งน้ำแข็ง (Ice-cap Climate) มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดเวลา ทำให้อากาศหนาวจัด พืชพรรณไม่สามารถขึ้นได้

ภาพภูมิอากาศแบบทุนดรา (ขอบคุณภาพจาก unsplash)

เอาล่ะ ตอนนี้ก็เดินทางมาจนครบ 5 เขตภูมิอากาศของอเมริกาเหนือแล้ว คงต้องโบกมือลาคุณโคลัมบัสไปก่อน แต่ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนอยากจะเดินทางต่อไปสัมผัสภูมิอากาศในทวีปอื่น ๆ บ้างล่ะก็ ติดตามบทเรียนออนไลน์กันต่อใน StartDee ได้เลย ! ส่วนใครที่อยากอ่านกันต่อ เราขอแนะนำเรื่องแผนที่เฉพาะเรื่อง  หรือวิชาอื่น ๆ อย่างภาษาไทยเรื่องคำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ และวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องกระแสไฟฟ้า

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita