งานทัศนศิลป์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ทัศนศิลป์ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ โดยการใช้จินตนาการ บวกกับความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการคิดอย่างมีระบบระเบียบเป็นขั้นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

จิตรกรรม

เป็นงานศิลปะ 2 มิติ คือไม่มีความลึกนูน สร้างสรรค์จากการวาดภาพ , ระบายสี ที่มีการจัดวางองค์ประกอบให้เกิดความสวยงาม แต่จิตกรสามารถเขียนภาพเหล่านั้นให้ดูหลอกตาได้ โดยการให้เห็นภาพ 2 มิติ เป็น 3 มิตินั่นเอง

ประติมากรรม

ประติมากรรม เป็นงานศิลปะที่ใช้เทคนิคการปั้น , แกะสลัก , หล่อ รวมทั้งจัดองค์ประกอบในเรื่องของความงามในด้านอื่นๆ ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ , โลหะ , สัมฤทธิ์ เป็นต้น เป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีทั้งความลึกนูน

งานประติมากรรม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  • ประติมากรรมนูนต่ำ
  • ประติมากรรมนูนสูง
  • ประติมากรรมลอยตัว

ภาพพิมพ์

หมายถึงรูปภาพที่สร้างขึ้นมาจากวิธีการพิมพ์ ภาพพิมพ์ทั่วไปแล้วเป็นแบบเดียวกับจิตรกรรมและภาพถ่าย คือเป็นผลงานมีแค่ 2 มิติ แต่สามารถสร้างมิติที่ 3 ได้ นั่นก็คือความลึกที่เกิดจากาการใช้เทคนิคที่ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ คือ เส้น , สี , น้ำหนัก รวมทั้งพื้นผิว เป็นการวาด, แรงเงาหรือระบายสีให้เกิดความลวงตา ดูแล้วมีความรู้สึกลึกเข้าไปในระนาบ 2 มิติของภาพนั้นๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามภาพพิมพ์ก็มีความแตกต่างไปจากจิตรกรรมอยู่บ้าง ในส่วนของเทคนิคการสร้างผลงานนั่นเอง โดยภาพจิตรกรรมนั้น จิตกรจะต้องเขียน หรือวาดภาพระบายสีลงไปบนผืนผ้าใบ , กระดาษ เพื่อสร้างผลงานออกมาเป็นภาพอย่างทันทีทันใด แต่ถ้าเป็นการสร้างผลงานภาพพิมพ์ ศิลปินจำเป็นต้องสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมาก่อน แล้วจึงไปยังกระบวนการพิมพ์ เพื่อถ่ายทอดออกมาได้

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรม เป็นผลงานศิลปะจากการสร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น ตึก , อาคาร เป็นต้น รวมทั้งการวางผังเมือง การจัดผังของอาณาเขตต่างๆ , การตกแต่งอาคาร , การออกแบบสิ่งก่อสร้าง โดยสิ่งเหล่านี้ก็เป็นงานศิลปะอีกแขนงหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้ผู้สร้างจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นงานศิลปะ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนโดยตรง และมีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรมเป็นการจัดสรรที่ว่างเปล่า ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ อันผสมผสานกับศาสตร์อื่นๆ เช่น วิศวกรรม , วิทยาศาสตร์ , สังคม , มนุษย์วิทยา และแน่นอนว่าต้องเกี่ยวข้องกับศิลปะ โดยคุณค่าของสถาปัตยกรรม มีองค์ประกอบ 2 ชนิด ได้แก่

 ทัศนศิลป์
            หมายถึง ศิลปะที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา ศิลปะที่มองเห็น เมื่อพิจารณาความหมายที่มีผู้นิยามไว้ จะพบว่าการรับรู้เรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึกของงานทัศนศิลป์นั้น จะต้องอาศัยประสาทตาเป็นสำคัญ นั่นคือตาจะรับรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่นำมาประกอบเป็นงานทัศนศิลป์ได้แก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงา และพื้นผิว เป็นต้น โดยศิลปะจะนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลงานด้วยวิธีการเขียนภาพ ระบายสีบ้าง ปั้นและสลักบ้างหรืองานโครงสร้างเป็นต้น
การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางศิลปะได้นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถ ทักษะและความคิดของศิลปินแต่ละคน งานทัศนศิลป์ที่ปรากฏให้เห็นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
            - ทัศนศิลป์ 2 มิติ ได้แก่ ผลงานการเขียนภาพระบายสี
            - ทัศนศิลป์ 3 มิติ ได้แก่ ผลงานประติมากรรม สถาปัตยกรรม

ที่มาของงานทัศนศิลป์ ประกอบด้วย
            1. ศิลปิน (Artist) เป็นผู้ถ่ายทอดผลงานศิลปะ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมด้วยความรู้สึกประทับใจหรือเกิดความสะเทือนอารมณ์ จึงถ่ายทอดออกมาตามอารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการเฉพาะตน
            2. สิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่ ธรรมชาติ ความเชื่อทางศาสนา เรื่องจากประวัติศาสตร์ เรื่องราวจากวรรณคดี ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเร้า เป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์เกิดอารมณ์ความรู้สึกและแสดงออกด้วยการถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปกรรม
            3. สื่อ/วัสดุ (Media) ได้แก่ กระดาษ สี ดินสอ หิน ไม้ ปูน ฯลฯ ซึ่งศิลปินได้ซึมซับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม แล้วนำไปถ่ายทอดลงบนสื่อให้ออกมาเป็นรูปธรรม
            4. ผลงานศิลปะ (Art) เป็นผลงานที่เกิดจากแรงบันดาลใจในสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ โดยผ่านสื่อให้ปรากฏเป็นรูปธรรม เรียกว่า "ผลงานศิลปะ"

หลักการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์
            หลักการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ (Composition) คือ การนำเอาทัศนะธาตุ ได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อนแก่ บริเวณว่าง สี และพื้นผิว มาจัดประกอบเข้าด้วยกันจนเกิดความพอดี เหมาะสม ทำให้งานศิลปะชิ้นนั้นมีคุณค่าอย่างสูงสุด ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
            1. เอกภาพ (Unity) การรวมกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายไปคนละทิศทางจนทำให้ขาดความสัมพันธ์กัน ในทางทัศนศิลป์เอกภาพยังเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงเนื้อหาเรื่องราวที่ต้องการแสดงอย่างชัดเจนด้วย
            2. ความสมดุล (Balance)
                        2.1 ความสมดุลของสิ่งที่ซ้ำหรือเหมือนกัน (Symmetrical) คือ เป็นการนำเอาส่วนประกอบที่มีรูปลักษณะเหมือนกัน มาจัดองค์ประกอบรวมเข้าด้วยกันให้ประสานกลมกลืน เกิดการถ่วงน้ำหนักขององค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ในลักษณะที่พอเหมาะพอดีจนรู้สึกว่ามีความสมดุล อาจด้วยการจัดวางตำแหน่ง ที่ตั้ง ช่องไฟ ระยะห่าง อัตราจำนวน ขนาดรูปร่าง น้ำหนักอ่อนแก่ ฯลฯ ที่เหมือนกันหรือเท่า ๆ กันจนเกิดเป็นเอกภาพเดียวกัน
                        2.2 ความสมดุลของสิ่งที่ขัดแย้งหรือต่างกัน (Asymmetrical) เป็นการนำเอาส่วนประกอบที่มีรูปลักษณะที่ต่างกันหรือขัดแย้งกัน มาจัดองค์ประกอบเข้าด้วยกันให้ประสานกลมกลืนกัน เกิดการถ่วงน้ำหนักขององค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ในลักษณะที่พอเหมาะพอดีจนรู้สึกว่ามีความสมดุล โดยที่วัตถุหรือเนื้อหาในภาพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
            3. จุดสนใจหรือการเน้น (Emphasis) ส่วนที่สำคัญที่สุดของภาพที่ต้องการแสดง ซึ่งนำไปสู่การบอกเล่าเนื้อหาของภาพทั้งหมดหรือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มอง ในทางทัศนศิลป์จุดสนใจควรมีเพียงจุดเดียว ซึงอาจเป็นส่วนที่แสดงความสำคัญหรือมีสีสันสดใสที่สุด นอกจากนั้นยังเน้นให้เกิดจุดสนใจด้วยการสร้างความแตกต่างขึ้นในภาพ จุดสนใจไม่จำเป็นจะต้องอยู่จุดกึ่งกลางเสมอไป อาจอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพก็ได้
            4. ความกลมกลืน (Harmony)
เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ เพราะความกลมกลืนจะทำให้ภาพงดงาม และนำไปสู่เนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ ความกลมกลืนมี 2 แบบ คือ
                        4.1 ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน หมายถึง การนำรูปร่าง รูปทรง เส้น หรือสี ที่มีลักษณะเดียวกันมาจัด เช่น วงกลมทั้งหมด สี่เหลี่ยมทั้งหมด ซึ่งแม้ว่าอาจจะมีขนาดที่แตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาจัดเป็นภาพขึ้นมาแล้วก็จะทำให้ความรู้สึกกลมกลืนกัน
                        4.2 ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง หมายถึง การนำเอาองค์ประกอบต่างชนิด ต่างรูปร่าง รูปทรง ต่างสี มาจัดวางในภาพเดียวกัน เช่น รูปวงกลมกับรูปสามเหลี่ยม เส้นตรงกับเส้นโค้ง ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้น แต่ก็ยังให้ความรู้สึกกลมกลืนกัน
            5. จังหวะ (Rhythm) ระยะในการจัดภาพหรือการวางของวัตถุ ซ้ำไปซ้ำมา อย่างสม่ำเสมอ เช่น ลายไทย การปูกระเบื้อง หรือการแปรอักษร เป็นต้น

ที่มา : //www.ipesk.ac.th/ipesk/VISUALART/lesson3.html

ประเภทของงานทัศนศิลป์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทอะไรบ้าง

ทัศนศิลป์มีกี่สาขาวิชา.
1. จิตรกรรม (Painting) ... .
2. ประติมากรรม (Sculpture) ... .
3. ภาพพิมพ์ (Printmaking) ... .
4. สื่อผสม หรือ สื่อใหม่ (New Media).

ประเภทของงานทัศนศิลป์คืออะไร

1. ทัศนศิลป์ (visual art) เป็นศิลปะที่รับรู้ด้วยสายตาทั้ง 2 มิติได้แก่จิตรกรรมและภาพพิมพ์และ งาน 3 มิติได้แก่ประติมากรรม สถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม งานศิลปกรรมที่สามารถจับ ต้องใช้สอยได้มีผู้เรียกว่า "ทัศนะ-ผัสสะศิลป์(visuo-tactual art)

ทัศนศิลป์ (Visual Art) แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ทัศนศิลป์ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า Visual Art หมายถึง ศิลปะที่มองเห็น หรือศิลปะที่สามารถสัมผัส รับรู้ ชื่นชมด้วยประสาทตา สัมผัสจับต้องได้ และกินเนื้อที่ในอากาศ ทัศนศิลป์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ความสำคัญของทัศนศิลป์

ผลงานทัศนศิลป์มีกี่สาขา

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ แบ่งออกเป็น 8 วิชาเอก คือ 1) จิตรกรรม 2) ประติมากรรม 3) ภาพพิมพ์ 4) ภาพถ่าย 5) สื่อผสม 6) ศิลปะคอมพิวเตอร์ 7) ศิลปะวีดิทัศน์ 8) ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita