กฎหมายในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน กฎเกณฑ์ประเภทนี้มีพื้นฐานมาจากความคิดทางศีลธรรมหลักฐานที่ได้ค้นพบและช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคมและทำให้ทราบเรื่องราวสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยก็คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงซึ่งจะต้องเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า ศิลาจารึกดังกล่าวมิใช่เป็นการจารึกตัวบทกฎหมาย แต่เป็นเพียงหลักฐานที่ทำให้ทราบถึงสภาพสังคม วิถีชีวิตและกฎเกณฑ์บางประการที่ถือปฏิบัติในสมัยนั้น ซึ่งอาจจะจำแนกให้เห็นในเรื่องที่สำคัญ ๆ และเกี่ยวข้องกับการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายได้ ดังนี้

  • เรื่องสถานภาพของบุคคลในสังคมสุโขทัยเกี่ยวการแบ่งชนชั้น จากหลักฐานในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงจะพบข้อความ คำว่า “ลูกเจ้าลูกขุน” หมายถึงเจ้าขุนมูลนายหรือขุนนาง ซึ่งก็คือชนชั้นปกครอง ในขณะเดียวกันก็มีบุคคลที่อยู่ในฐานะของราษฎรสามัญ แต่การมีบุคคลในสองระดับแบบนี้ ก็เป็นเรื่องที่มีอยู่โดยทั่วไป แต่ไม่ถึงขนาดที่มีการแบ่งชนชั้น
  • เรื่องที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จากหลักฐานในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีข้อความแสดงให้เห็นถึงเสรีภาพการค้าขายในเวลานั้นว่ามีเสรีภาพอย่างเต็มที่และนอกจากนี้ยัง

    และมีการเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะโจรลงไปในครั้งรัชสมัยพญาเลอไทย กษัตริย์สุโขทัยองค์ที่ ๔ ซึ่งมีส่วนของการนำกฎหมายพระธรรมศาสตร์มาใช้ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ ซึ่งได้มีส่วนขยาย ที่เรียกว่า ‘พระราชศาสตร์’

    ที่มา : www.tak.mi.th/article/50/120750.doc

    แม้ในปัจจุบันจะยังไม่ได้พบบทบัญญัติจากเอกสารใดๆ เกี่ยวกับอำนาจตุลาการในสมัยสุโขทัยเลยก็ตาม แต่เชื่อว่าสุโขทัยยุคแรกก็คงใช้หลักพระธรรมศาสตร์เหมือนอย่างอยุธยา เพราะไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวเรื่องอำนาจการตัดสินคดีไว้เช่นเดียวกันกับที่ปรากฏในโองการแช่งน้ำของอยุธยา และสุโขทัยยุคที่ขึ้นกับอยุธยาแล้ว ได้อ้างอิงพระธรรมศาสตร์ไว้ในกฎหมายลักษณะโจรด้วย

    กฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายตราสามดวง และกฎหมายล้านนา ที่อ้างอิงหลักพระธรรมศาสตร์ มีข้อความตรงกันว่า เมื่อไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลกและฝนตกดับไปแล้ว พวกพรหมมากินง้วนดินเกิดกิเลสหมดฤทธิ์ และกลายสภาพเป็นมนุษย์ ได้บริโภคข้าวซึ่งงอกขึ้นเองและไม่มีเปลือก ต่อมาคนโลภนำข้าวไปสะสมในเขตบ้านตน ข้าวจึงมีเปลือกและต้องปลูกไว้บริโภค ต่อมาคนทะเลาะวิวาทแย่งที่ดินและข้าวกัน จึงตกลงกันหาคนกลางที่ฉลาดและยุติธรรมมาดูแลตัดสินข้อพิพาท ในที่สุดได้พระโพธิสัตว์ มาทำหน้าที่ตัดสินคดี และกำหนดว่าที่ดินควรจะเป็นของใคร จึงได้ชื่อว่าพระเจ้าแผ่นดิน เชื้อสายของท่านสืบต่อกันมา อำนาจตุลาการเกิดขึ้น

    ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ข้อความระบุไว้ว่า “ไพร่ฟ้าลูกเจ้าขุนผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้จึงแล่งความแก่ขาด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบใคร่เดือด”

    ข้อความนี้แสดงว่า มีบทบัญญัติให้ผู้ตัดสินคดีระหว่างประชาชน ลูกเจ้าลูกขุนสอบสวนดูให้ได้ความจริงแน่แท้แล้ว จึงตัดสินคดีด้วยความซื่อสัตย์และเที่ยงธรรม ไม่เข้ากับผู้กระทำผิด และไม่โลภเห็นแก่สินบน อนึ่งในไตรภูมิพระร่วงมีข้อความตักเตือนผู้ตัดสินคดีว่า หากกินสินจ้าง และมิบังคับคดีตามทำนองคลองธรรมแล้ว จะต้องไปเกิดเป็นเปรตยากไร้ ต้องกินเนื้อหนังของตนเองดังนี้

    ข้อความนี้เป็นเครื่องเตือนตุลาการให้ยึดมั่นในอุดมคติดังกล่าว แสดงว่ามีตุลาการตัดสินคดีในชั้นต้นเสียชั้นหนึ่งก่อน หากคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่พอใจ คู่ความมีสิทธิถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง ตามความในศิลาจารึกหลักเดียวกันนั้น ดังนี้คือ “ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้า เถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมือง ได้ยินเรียกเมื่อถาม สวนความแก่มันด้วยชื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม”

    ในจารึกสมัยพระเจ้าลิไทยมีข้อความเน้นว่า “อย่าได้ข้ำเอาเหย้าน้าว เอาเรือนเขา” คืออย่าใช้อำนาจกดขี่แย่งชิงเอาบ้านเรือนของผู้อื่น พระเจ้าลิไทยทรงเป็นแบบอย่าง “เสวยราชย์ชอบด้วยทศพิธราชธรรมรู้ปราณี แก่ไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายเห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบใคร่เดือด”

    จารึกสมัยพระเจ้าลิไทย ยังกล่าวถึงโทษสถานหนักทางอาชญาไว้ว่า “ผู้ใดว้าง…รามเท่าใดก็ดี บ่ห่อนฆ่า ห่อนฟันสักคาบ ซือได้ข้าเสิกข้าเสือหัวพุ่งหัวรบก็ดีบ่ฆ่าบ่ดี ย่อมเอามา เลี้ยงมาขุนบ่ให้เถิงที่ฉิบที่หาย ซือได้ฝูงเยียคดเยียคู้แก่ตน ได้ฝูงใส่ง้วน ในปลายาในข้าวให้กิน แลจักให้เถิงที่ล้มที่ตายดังอั้นก็ดี บ่ห่อนฆ่าห่อนตีสักคาบ” แสดงถึงโทษทางอาชญาว่า แม้มีผู้ลอบวางยาพิษหรือเป็นเชลยศึกก็ไม่ลงโทษถึงตาย การปฏิบัติต่อเชลยศึกแบบนี้ ยังใช้มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คนไทยมิได้ฆ่าฟันเชลย แต่นำคนเหล่านั้นไปตั้งหมู่บ้านอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ รอบพระนคร เพื่ออาศัยใช้แรงงาน ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

    เมื่อเทียบกับล้านนาซึ่งอยู่ใกล้เคียงและมีขนบธรรมเนียมคล้ายคลึงกับสุโขทัยจากมังรายศาสตร์หรือกฎหมายของพระเจ้ามังรายมหาราชหรือพระเจ้าเม็งราย จะเห็นได้ว่าความผิดอาชญา เช่น ลักทรัพย์ ปล้น ทะเลาะวิวาท ฆ่ากัน มีโทษแค่ปรับไหม ส่วนโทษหนักในล้านนามี 3 ประการ คือ ประหารชีวิต ตัดตีนสินมือและเนรเทศ ในล้านนาไทยสมัยแรกๆ โทษประหารชีวิตใช้กับผู้หนีศึก

    แต่ต่อมาได้ขยายมาถึง (1) ฆ่าคนไม่มีความผิด (2) ฆ่าท่านเพื่อเอาทรัพย์ (3) ทำลายกุฏิวิหารและพระพุทธรูป (4) ซุ่มดักปล้น (5) ชิงทรัพย์ (6) รับผู้คนของท้าวพระยามาพักในบ้าน (7) ลักของสงฆ์ (8) ลูกฆ่าพ่อ (9) ลูกฆ่าแม่ (10) น้องฆ่าพี่ (11) ฆ่าเจ้านายของตน (12) เมียฆ่าผัว และยังอนุญาตให้ฆ่าผู้ไปขโมยลักน้ำที่ใช้ทำนาได้ด้วย จึงน่าจะอนุมานได้ว่า โทษอาญาในสุโขทัยคงจะไม่รุนแรงและคล้ายคลึงกับล้านนาไทยนั่นเอง

    ตัวอย่างบทบัญบัติในกฎหมายสุโขทัย หรือ “กฎหมายลักษณะโจร” ปรากฏตามจารึกหลักที่ 38 พ.ศ. 1940 สรุปความได้ดังนี้

    มาตรา 1 ข้าของท่านไปพักที่บ้านให้เจ้าบ้านส่งตัวคืนภายในวันรุ่งขึ้น มิฉะนั้นจะถือเหมือนลักข้าของท่าน แต่ยังไม่ทันนำออกไปจากเมือง

    มาตรา 2 ถ้าข้าของท่านหนีออกไปยังเมืองเล็กนอกกรุง ให้ส่งข้าท่านคืนภายใน 3 วัน มิฉะนั้นจะปรับวันละ 11,000 ถ้าเลยไปอีก 6 วัน ให้ถือเสมือนลักข้าของท่านออกจากเมืองไปแล้ว

    มาตรา 3 ถ้ารู้ว่ามีขโมยลักผู้คนท่านมาพักที่บ้าน ให้เจ้าบ้านจับตัวส่งเจ้าของ ถ้ารอช้าอยู่จนเจ้าของไปถึง เห็นจวนตัวเลยนำของที่ถูกขโมยมาคืนให้ ท่านไม่ยอมให้ได้รับรางวัลที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะให้แก่ผู้ที่นำของที่ถูกขโมยมาคืนให้เจ้าของได้ และถ้าสอบได้ความภายหลังว่าสมรู้ร่วมคิดกับขโมยก็จะถูกลงโทษอีกส่วนหนึ่งด้วย

    มาตรา 4 ถ้าจับขโมยได้พร้อมทั้งข้าคนและสิ่งของที่ขโมยมา แต่ไม่ส่งข้าคนและสิ่งของคืนภายใน 1 วัน ให้ลงโทษเท่ากับขโมยนั้น

    มาตรา 5 โจรผ่านใกล้บ้านหรือไปพักอยู่ด้วย หากเจ้าบ้านไม่จับตัวไว้ หรือจับแล้วแต่ปล่อยไปเพราะฉันทาคติ ภยาคติ โลภาคติ หรือวางเฉยเสีย จะต้องถูกลงโทษเท่ากับตัวขโมยเอง

    มาตรา 6 ถ้ามันรู้ว่ามีผู้ลักของ แต่ไม่บอกเจ้าหน้าที่ให้ทราบ ให้ถือเสมือนมันลักขโมยของท่าน

    มาตรา 7 ขโมยลักสิ่งของของท่านแม้เพียงผลไม้ แม้ขโมยจะถือหอกดาบก็ต้องช่วยจับขโมยให้ได้ มิฉะนั้นจะต้องชดใช้ราคาของนั้นทั้งสิน

    มาตรา 8 จะฆ่าวัวควายให้บอกเพื่อนบ้านให้รับรู้มิฉะนั้นอาจถูก ลงโทษว่าขโมยวัวความคนอื่นมาฆ่า (ข้อความตอนนี้ขาดหายไปบางส่วน คงจะมีข้อความว่า ถ้ามีวัวควายของใครหายไป อาจถูกสันนิษฐานว่า วัวควายที่ถูกฆ่าเป็นวัวควายที่ถูกขโมยมา)

    กรณีทรัพย์มรดกจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า ถ้าผู้ใดตาย “เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไทป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมันสิ้น” และจากจารึกสมัยพระเจ้าลิไทย มรดกของพ่อตกเป็นของลูกและมรดกของพี่ตกเป็นของน้อง และตามจารึกหลักที่ 10 พ.ศ. 1497 หน้าที่เป็นข้าพระจะตกทอดไปสู่ลูกหลาน ดังนี้ “พ่อตายไว้แก่ลูก ลูกตายไว้แก่หลาน หลานตายไว้แก่เหลน”

    พอสรุปได้ว่า ในสมัยสุโขทัยมีตุลาการตัดสินคดีในชั้นต้น และมีบทบัญญัติให้ผู้ตัดสินคดีสอบสวนให้ได้ความแน่นอน แล้วจึงตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม หากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจ ก็อาจไปสั่นกระดิ่งถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ คดีอาญาต่อส่วนบุคคลจะลงโทษเพียงขั้นปรับไหม

    สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

    ข้อมูลจาก :

    ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร. ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด รวมบทนิพนธ์ “เสาหลักทางวิชาการ” ของ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, สำนักพิมพ์มติชน, พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2549

    กฎหมายในสมัยสุโขทัยมีกี่ลักษณะ

    อาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา ในยุคสุโขทัยมีกฎหมายอยู่ 3 ฉบับที่จะต้องศึกษา คือกฎหมายพ่อขุนรามคำแหง กฎหมาย

    กฎหมายของสุโขทัยมี 4 ลักษณะอะไรบ้าง

    ศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามค าแหง กฎหมายสี่บท ได้แก่ ๑.) บทเรื่องมรดก ๒.) บทเรื่องที่ดิน ๓.) บทวิธีพิจารณาความ ๔.) บทลักษณะฎีกา

    ระบบกฎหมายตามข้อใดที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย *

    แม้ในยุคสุโขทัยจะมีหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของไทยก็ตาม แต่กฎหมายอื่นๆ ก็ได้ใช้บังคับในลักษณะของกฎหมายจารีตประเพณี โดยยึดคำวินิจฉัยของพ่อขุนต่างๆ เป็นกฎหมาย จึงนับว่าในยุคสุโขทัยนี้ใช้กฎหมายแบบระบบกฎหมายจารีตประเพณี มีการปกครองแบบพ่อกับลูก

    กฎหมายใดที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง *

    2. กฎหมายว่าด้วยเรื่องภาษี ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า " … เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีเข้า เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า… "

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita