การสร้าง Portfolio มีองค์ประกอบกี่ส่วน

Portfolio 10 หน้าต้องมีอะไรบ้าง น้องหลายคนคงจะยังไม่ทราบว่าจริงไๆแล้ว Portfolio ที่เรียกว่า 10 หน้าทำกันอย่างไร วันนี้พี่อะตอมมีเทคนิคสรุปจบในรูปเดียว

 

โดยองค์ประกอบทั่วไปจะมี
.
1. ประวัติส่วนตัว
2. ประวัติการศึกษา
3. ผลงานที่ผ่านมา
4. กิจกรรมที่น่าสนใจ
5. งานอดิเรกที่เกี่ยวข้อง
กับสาขาวิชา
6. เกียรติบัตร
.
เท่านี้ก็โฟกัสการทำพอร์ตง่ายขึ้น
หรือบางคณะเขากำหนดมาให้เลยว่าในพอร์ตจะต้องมีอะไรบ้าง
เราก็เตรียมพอร์ตตามระเบียบการเลยจ้าา !!

.
เข้ากลุ่มแนะแนวทำ Portfolio (กลุ่มใหญ่ที่สุด) >> : //bit.ly/2UBsm83
.
เด็กโชว์พอร์ต – Community ทำพอร์ตที่ใหญ่ที่สุด
ดูคลิปสอนทำ Portfolio : //bit.ly/2yHwQ3b

กดแชร์ ไว้อ่านอีกรอบ

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้มีการกำหนดจำหน้าแฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio ของน้อง ๆ ให้มีจำนวนหน้าได้ไมเกิน 10 หน้าด้วยกัน (แบบที่ไม่รวมหน้าปก) แต่น้อง ๆ รู้หรือไม่ว่ามีส่วนไหนที่น้อง ๆ จะต้องโฟกัสเป็นพิเศษกันบ้าง

แนะนำ 5 ส่วนสำคัญในการทำ Portfolio

ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ได้สรุป 5 ส่วนสำคัญในการทำPortfolio มาให้กันแล้ว อย่ารอช้า! ไปดูกันเลย… รับรองกรรมการเห็นแล้วจะต้องชอบ ติดแน่นอนค่ะ

มาเริ่มกันที่ หน้าปก (หน้าที่ 0)

สำหรับ หน้าปก ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ถูกนับให้อยู่ใน 10 หน้าของ Portfolio แต่ก็มีสำคัญไม่น้อยกว่าส่วนอื่น ๆ เลย เพราะน้อง ๆ จะต้องคิดว่าทำอย่างไรให้กรรมการเห็นหน้าปกแล้ว รู้สึกชอบ สนใจที่จะเปิดอ่านหน้าต่อไปมากที่สุด

ดังนั้นน้อง ๆ ควรออกแบบหน้าปกให้มีความสะดุดตามากที่สุด อาจจะใส่เป็นรูปของตนเองลงไปด้วย นำเสนอความเป็นตัวเองออกมาให้เต็มที่ มีรายละเอียดสั้น ๆ เกี่ยวกับ Portfolio ใส่ลงไปด้วย เช่น บอกว่าตนเองชื่ออะไร เป็นใคร เรียนอยู่ชั้นอะไร เรียนที่ไหน เป็นต้น

  • เทคนิคการทำ แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ในการสมัครเรียนและทำงาน
  • กำหนดการ TCAS63 ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ – เริ่มเปิดรับรอบแรก ธ.ค. 62 นี้

หน้าที่ 1 ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว หรือ Resume เป็นส่วนที่น้อง ๆ จะต้องเขียนข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับตัวเองให้ครบถ้วน โดยเน้นไปที่ทักษะความพิเศษที่น้อง ๆ มี บอกความเป็นตัวเองว่าทำไมถึงอยากที่จะเข้าศึกษาต่อในคณะนี้ รวมถึงงานอดิเรกที่น้อง ๆ ชอบทำด้วยก็เขียนลงไปให้ครบนะจ๊ะ (หน้าที่ 1 อย่าลืมใส่รูปตัวเองลงไปด้วยนะ)

หน้าที่ 2 ประวัติการศึกษา

มาถึงหน้าที่ 2 ประวัติการศึกษา ในหน้านี้ให้น้อง ๆ ใส่ชื่อโรงเรียนที่จบมาในแต่ละดับชั้นการศึกษา ซึ่งน้อง ๆ อาจจะแยกออกเป็น ชั้นประถมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ฯลฯ พร้อมทั้งใส่ผลการเรียนลงไปด้วย ใส่เป็นเกรดเฉลี่ย (GPAX) ว่าในแต่ละปีการศึกษาน้อง ๆ ได้เท่าไหร่บ้าง โดยในส่วนนี้ให้น้อง ๆ ทำเป็นตารางเพราะจะช่วยทำให้กรรมการอ่านเข้าใจได้ง่ายกว่าการเขียนออกเป็นข้อ ๆ

หน้าที่ 3 เหตุผลที่เลือกเรียนต่อที่นี่

สำหรับ หน้าที่ 3 จะเป็นการบอกถึงเหตุผลที่น้อง ๆ เลือกเรียนต่อในคณะ/สาขาวิชาและมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ในส่วนของหน้านี้ให้น้อง ๆ เขียนออกมาเป็นเรียงความที่มีความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4 โดยให้เน้นถึงความตั้งใจ มุ่งมั่น และทัศนคติที่มีต่อคณะ/สาขาวิชาและมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่าน้อง ๆ มีความรู้สึกอย่างไร

ปิดท้ายด้วย หน้าของผลงาน และกิจกรรม

ในส่วนสุดท้ายของเล่ม Portfolio จะเป็นส่วนของผลงาน รางวัล เกียรติบัตรที่เคยได้รับ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่น้องเคยเข้าร่วม ซึ่งจะอยู่ตั้งแต่หน้าที่ 4 เป็นต้นไป ให้น้อง ๆ ดึงเอาผลงานเด่น ๆ ของตัวเองมาใส่ลงไป ทั้งนี้น้อง ๆ อาจจะคัดเอาเฉพาะรางวัล ผลงาน ฯลฯ ที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะ/สาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษามา แทนที่จะเอารวม ๆ ทั้งหมด

เพราะส่วนนี้เรียกได้ว่าเป็นหัวใจของการทำ Portfolio เลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นส่วนที่เราจะต้องเสนอให้กรรมการเห็นว่าเรามีความสามารถด้านไหนบ้าง มีความเก่งมากขนาดไหน ดังนั้นตอนที่น้อง ๆ ทำในส่วนนี้ควรแยกออกเป็นหมวดหมู่ ใส่ภาพของรางวัล กิจกรรม ผลงาน และเกียรติบัตรที่เคยได้รับให้ชัดเจน พร้อมทั้งอธิบายใต้ภาพด้วยว่าภาพดังกล่าวคืออะไร

ข้อควรรู้ส่งท้าย ก่อนลงมือทำจริง

1. ถูกต้องตามที่ ทปอ. กำหนด

แน่นอนว่าก่อนที่น้อง ๆ จะลงมือทำ Portfolio นั้น น้อง ๆ จะต้องเข้าไปดูรายละเอียดระเบียบการและข้อกำหนดในการทำเสียก่อน ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูที่เว็บไซต์/เฟซบุ๊กของ ทปอ. และเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยตามคณะ/สาขาวิชาต่าง ๆ โดยในปีการศึกษา 2562 นี้ ก็ได้มีการกำหนดจำนวนหน้าของ Portfolio ออกมาอย่างชัดเจนว่าห้ามเกิน 10 หน้า!

2. มีรายละเอียเกี่ยวกับตนเองครบถ้วน

น้อง ๆ จะต้องใส่ข้อมูล ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา รางวัล ผลงาน เกียรติบัตร และกิจกรรมต่าง ๆ ให้ครบถ้วน และอธิบายให้ชัดเจนว่าแต่ละอันคืออะไร เกิดขึ้นที่ไหน และเกิดขึ้นเมื่อตอนไหน

3. มีความสร้างสรรค์ น่าสนใจ

สำหรับเนื้อหาภายใน Portfolio น้อง ๆ จะต้องทำให้มีความกระชับ น่าสนใจ เข้าใจง่าย มีการแบ่งออกเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน พร้อมทั้งยังจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงความเป็นตัวตนออกมาให้กรรมการได้เห็น อีกด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita