ฝุ่นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

นับถอยหลังสู่วิกฤตฝุ่น นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมชี้ภาวะโลกร้อนทำให้ปัญหาฝุ่นรุนแรงและซับซ้อนขึ้น ส่วนมาตรการรัฐขาดประสิทธิผล และผลักภาระให้กับประชาชนมากเกินไป ทำให้ปัญหาฝุ่นเป็นการเมืองของการต่อรองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ ขณะที่หน่วยงานรัฐ ยังมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน

“ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฝุ่นPM 2.5 ของกรุงเทพไม่ได้สูงกว่าในอดีตที่ผ่านมา แต่ระยะเวลาที่ค่าสูงเกินมาตรฐานนานขึ้นและทำนายได้ยากขึ้น เนื่องจากความแปรปรวน ของภูมิอากาศ ที่ทำให้ฤดูกาลเปลี่ยน และสภาพอากาศมีลักษณะสุดขั้ว หนาวจัด ร้อนจัด เกิดพายุได้มาก เวลาอากาศนิ่งก็นิ่งนาน แบบที่ทำให้เราเจอวิกฤตฝุ่นนานเป็นเดือน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา” ดร. สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดี คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ สรุปข้อมูลจากสถานีวิจัยเพื่อตรวจวัดอุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดิน และคุณภาพอากาศ KU TOWER ซึ่งทำงานอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557

“ผมไม่เชื่อว่าเราจะลดการปลดปล่อยมลพิษได้แบบหน้ามือเป็นหลังมือ ถึงรถไฟฟ้า จะเสร็จ และเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 5 ผมไม่คิดว่า ฝุ่นจะลดลงมากๆ หรือหายไป เพราะเทคโนโลยีมีจุดบกพร่องเสมอ”

ฝุ่นสร้างฝุ่น

“สถานการณ์ PM 2.5 มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เนื่องจากการเผา ไม่ว่าจะเป็น เผาเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือวัสดุการเกษตร นอกจากทำให้เกิด PM2.5 แล้ว ยังมีก๊าซต่างๆ เกิดขึ้นด้วย เมื่อก๊าซเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับแสงแดด จะเปลี่ยนเป็นโอโซน และสะสม จนกลายเป็นชั้นอากาศผกผัน (Inversion Layer)ในระดับต่ำ ที่เป็นเหมือนฝาชีอากาศกักฝุ่นไว้ ทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นเพิ่มขึ้น ” ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการ จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สรุปข้อค้นพบสำคัญจากการศึกษาปัญหามลพิษทางอากาศ ร่วมกับนักวิชาการญี่ปุ่น จาก JAMSTEC : Japan Agency for Marine-Earth Science and Technology

“ชั้นอากาศผกผันที่เกิดจากมลพิษทางอากาศนี้ เกิดได้ง่ายและบ่อย โดยเฉพาะ ช่วงที่มีอากาศนิ่งอยู่นานๆ เช่น ช่วงปลายฤดูหนาวต่อฤดูร้อน” ส่งผลให้วิกฤต PM2.5 เกิดได้ง่ายขึ้นและบ่อยขึ้นตามไปด้วย

ทั้งนี้ ชั้นอากาศผกผัน (Inversion Layer) เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความกดอากาศสูง การคายความร้อนของเมือง ฯลฯ ยิ่งเกิดขึ้นในระดับต่ำ ความเข้มข้นของฝุ่นก็จะยิ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ ชั้นอากาศผกผันสามารถเกิดได้มากกว่าหนึ่งชั้น จากหลายปัจจัยร่วมกัน ทำให้สถานการณ์ยิ่งรุนแรงขึ้น เช่น เดือนมกราคม ที่ผ่านมา บางพื้นที่ของกรุงเทพ ค่า PM2.5 สูงกว่ามาตรฐานถึง 300%

ความกดอากาศสูง ประกอบกับชั้นโดมความร้อนของเมือง ที่เกิดจากการคายความร้อน ของสิ่งก่อสร้างในช่วงกลางคืน ทำให้เกิดฝาชีอากาศผกผันคู่(Dual Inversion layer) โดยชั้นอากาศผกผันระดับล่าง อยู่ที่ราว 400 เมตรจากพื้นดิน ส่งผลให้ยิ่งสูงฝุ่นยิ่งเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน เป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่อาศัยในตึกสูง

อย่างไรก็ตาม ดร.ธนวัฒน์ ย้ำว่า ลักษณะอากาศเป็นปัจจัยเสริม “สาเหตุหลักคือ การปล่อยมลพิษ ซึ่งต้องจัดการปัญหาที่ตัวต้นกำเนิดมลพิษ” และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ร้อยละ 90 มาจาก 1) ฝุ่นจากรถยนต์ทุกประเภทที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล 2) ฝุ่นจากการเผาวัสดุชีวมวล 3) ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล 4) ฝุ่นจากการก่อสร้าง และ 5) ฝุ่นจากดินและถนน ส่วนที่มาอื่นๆ รวมทั้งฝุ่นข้ามพรมแดนมีไม่เกินร้อยละ 10

ผลกระทบจากฝุ่นพิษ PM 2.5 คำแนะนำ และการป้องกันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายเพื่อต่อต้านสารพิษต่างๆ ด้วยการตรวจค้นหาปริมาณสารอนุมูลอิสระ (Free radical) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)ที่จะช่วยในการวางแผนป้องกันโรค ชะลอความเสื่อมของร่างกายและโรคเรื้อรังต่างๆ กับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย Wellness Center โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

ฝุ่นพิษ หรือ ฝุ่น PM 2.5 ที่เราๆ เริ่มคุ้นเคยกันมาบ่อยๆ ในช่วง 3-5 ปีนี้ คือ อนุภาคมลพิษทางอากาศขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน มี ส่วนประกอบสำคัญหลัก คือ คาร์บอนอินทรีย์ สาร PAHs เกลือซัลเฟต เกลือไนเตรท โลหะหนัก ซึ่งมีสัดส่วน เปลี่ยนไปบ้างตามแหล่งกำเนิดของมลพิษและฤดูกาล เนื่องจากฝุ่นละอองพิษที่มีขนาดเล็กมาก จนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ความเข้มข้นและความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 นี้จะมีมากขึ้นในฤดูแล้ง (ช่วง เดือน ธันวาคม – เมษายน ของทุกปี)

การหายใจในพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 มากก็จะทำให้มีการสูดดมเอาฝุ่นละอองเหล่านี้เข้าไปในร่างกายและแทรกซึมลึกถึงถุงลมฝอยในปอด และเข้าไปสู่ทุกเซลล์ของระบบอวัยวะในร่างกายเราได้อย่างรวดเร็ว นอกจากตัวมันเองที่เป็นอันตรายแล้ว ยังพาเพื่อนเเก๊สมลพิษอื่นๆที่อยู่ปะปนกัน ตามเข้ามาในร่างกายเราด้วย จึงทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพแทบทุกระบบอวัยวะของร่างกาย ส่วนผลกระทบจะมากหรือน้อย ขึ้นกับปัจจัยสำคัญ ดังนี้

  1. ระดับความเข้มข้นของ PM 2.5 ที่ได้รับ
  2. ระยะเวลาที่ร่างกายได้รับสะสม
  3. สัดส่วนของสารประกอบชนิดต่างๆ ในฝุ่น PM 2.5
  4. สภาวะของร่างกายขณะได้รับ PM2.5 (เช่น ทารกในครรภ์มารดาและช่วงวัยต่าง ๆ ความไวต่อมลพิษของบุคคล ความ เจ็บป่วยที่มีอยู่เดิม สุขภาพความแข็งแรงของร่างกาย)

ผลกระทบดังกล่าวอาจมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ มีอาการอักเสบแฝงในระบบอวัยวะจนเกิดอาการผิดปกติ ซึ่งเกิดได้ทั้งฉับพลันทันทีทันใด และแบบเรื้อรัง โดยผลกระทบตามระยะต่าง ๆ อาจทำให้เกิดโรคขึ้นใหม่ หรือทำให้โรคเดิมรุนแรงขึ้นทำให้เซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมจนทำให้อวัยวะทำงานเสื่อมเร็วและรุนแรงขึ้นอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง ตัวอย่างผลกระทบจาก PM2.5 ต่อระบบอวัยวะสำคัญหลักในการดำรงชีวิต ได้แก่

  • ระบบการหายใจที่พบได้เร็วและบ่อย (เช่น โพรงจมูกอักเสบทั้งแบบภูมิแพ้ และติดเชื้อหลอดคอ กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดอักเสบ) ยังทำให้เกิดการติดเชื้อ (เช่น ไวรัสไข้หวัด ไวรัสไข้หวัดใหญ่ แบคทีเรีย)ได้ง่ายและรุนแรงมากขึ้นหลายเท่า
  • ระบบหัวใจ(กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว)
  • ระบบหลอดเลือด (หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองเสื่อม โรคstrokeของหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดดำอุดตัน)
  • ระบบสมอง(สมองด้อยประสิทธิภาพ สมองเสื่อม สมาธิสั้นและระบบจิตประสาท (อารมณ์แปรปรวน ความผิดปกติทางจิตแบบซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย)
  • มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ (โดยเฉพาะมะเร็งปอด)

คำแนะนำในการป้องกันและดูแลตนเองในช่วงที่มีวิกฤตฝุ่นพิษ

  1. ติดตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณที่ตัวเองอยู่หรือจุดใกล้เคียงที่สุดเป็นระยะ ๆ หากไม่มีค่าคุณภาพอากาศในบริเวณใกล้เคียง อาจใช้เครื่องวัด 5 แบบพกพา ที่ตรวจวิเคราะห์ค่าพอจะเทียบเท่ามาตรฐานได้ นำมาใช้ในการวางแผนดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงพื้นที่นั้น หรือใช้เวลาทำกิจกรรมอยู่ในพื้นที่นั้นๆให้น้อยที่สุด
  2. ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อไม่ให้มลพิษอากาศเข้ามาสะสมในอาคาร และใช้เครื่องฟอกอากาศในอาคารที่ทำงานหรืออยู่อาศัย เช่น ห้องทำงาน ห้องนอน หรือห้องที่อยู่อาศัยเป็นเวลานาน หากปิดห้องนาน ๆ ระบบไหลเวียนอากาศไม่เพียงพอ (รู้สึกอึดอัด ปวดหรือมึนศีรษะ)ให้เปิดแง้มห้องเพื่อระบายอากาศระยะสั้น ๆ แล้วปิดตามเดิม อาจต้องทำสลับเช่นนี้จนคุณภาพอากาศลดลงมาอยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับแต่ละบุคคล
  3. ควรสวมหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ (N-95) และสวมให้ถูกวิธี จำเป็นต้องเลือกขนาดที่ใส่ได้กระชับกับรูปจมูกและใบหน้า หากเริ่มอึดอัดหรือเหนื่อยให้ถอดออกเพียงชั่วครู่ ก็จะรู้สึกสบายขึ้นแล้วรีบสวมใหม่ ทำสลับกันไปเช่นนี้จนดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยกับตนเอง
  4. ผู้ที่ที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบมากยิ่งขึ้นควรงดเว้นการออกไปในบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นมลพิษปริมาณมาก หากจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย หลังเสร็จกิจกรรมให้อาบน้ำชำระล้างทำความสะอาดผิวหนัง ทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิว ก็จะช่วยลดทอนการสัมผัสโดยตรงต่อฝุ่นมลพิษPM 2.5 ได้
  5. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคารหรือในอาคาร(โรงยิม)ที่ไม่มีระบบฟอกอากาศนาน ๆหรืออาจต้องงดออกกำลังกายขึ้นกับระดับคุณภาพอากาศในช่วงเวลานั้นและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล
  6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในอาคารที่ไม่มีระบบฟอกอากาศ
  7. ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือโรคระบบหายใจเรื้อรัง เช่นหอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรหมั่นสังเกตอาการ โรคกำเริบ ถ้ามีอาการควรใช้ยาหรือรักษาเบื้องต้นตามที่แพทย์เคยแนะนำและไปพบแพทย์โดยเร็วหากอาการไม่หายเป็นปกติ
  8. ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวหรือสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี ถ้ามีอาการผิดปกติที่รบกวนชีวิตประจำวันควรรีบพบแพทย์เช่นกัน อาการสำคัญที่ควรรีบไปพบแพทย์อย่างฉุกเฉิน ได้แก่ แน่นอกหรือเจ็บหน้าอกหรือเจ็บท้องใต้ลิ้นปี่เหมือนมีของหนักกดทับ เหนื่อยหอบผิดปกติ ปวดมึนศีรษะ ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือแขนขาซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน มุมปากตก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ออก สับสน มองไม่เห็นฉับพลัน อาการไอเป็นชุด ๆ ไอมีเสียงดังหวีด มีไข้และหอบเหนื่อย เป็นต้น
  9. สวมใส่แว่นตาขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันดวงตาจากมลพิษ ใช้น้ำเกลือมาตรฐานล้างตาหากรู้สึกระคายเคืองตา
  10. ใช้น้ำเกลือล้างจมูก เพื่อล้างฝุ่นควันลดอาการคัดจมูก หรือ กลั้วคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ
  11. หลีกเลี่ยงก่อมลพิษ เช่น ไม่เผาทุกชนิด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ใช้รถควันดำ หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถ้าพบเหตุการณ์เผาป่าหรือหญ้าข้างทาง

**** สามารถดูแลสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายเพื่อต่อต้านสารพิษต่างๆด้วยการตรวจค้นหาปริมาณสารอนุมูลอิสระ (Free radical) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)ที่จะช่วยในการวางแผนป้องกันโรค ชะลอความเสื่อมของร่างกายและโรคเรื้อรังต่างๆ กับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย Wellness center รพ.สินแพทย์ รามอินทรา****

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita