ป่าไม้ถูกทำลายด้วยวิธีใดบ้าง

ร่วมด้วยช่วยกันคิดกับบทความชุด “วิถีใหม่ไทยแลนด์” ที่จะรวมแนวคิด และวิธีการต่างๆ ที่คนไทยสามารถช่วยกันทำ เพื่อให้ประเทศไทยเราดีขึ้น

  • ตอนที่ 1 : การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและกระทบไปทั่วโลก พวกเราจะได้ทราบสาเหตุและผลกระทบ รวมทั้งสิ่งที่ควรจะทำเพื่อแก้ไขและลดผลกระทบดังกล่าวในอนาคต
  • ตอนที่ 2 : ประเทศไทยที่เปรียบเสมือน “ครัวของโลก” กับปัญหาและความท้าทายในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food security) ภายใต้ “วิถีใหม่ไทยแลนด์” นี้ เราจะหา New normal ในการทำกลยุทธ์ “ครัวของโลก” แบบใหม่ที่ต่างจากเดิมไปได้อย่างไร
  • ตอนที่ 3  : ปัญหาเรื่องขยะ (Waste) ซึ่งเป็นหนึ่งใน Global issues ที่ทั้งโลกรวมทั้งประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ วิถีใหม่ไทยแลนด์ที่จะเดินหน้ารวมไทยสร้างชาติในครั้งนี้ ควรนำประเด็นและการจัดการขยะมาเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยต้องเรียนรู้สาเหตุและค้นหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน
  • ตอนที่ 4 : ปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ (Deforestation) ปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่ทั้งโลกและประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ มาร่วมกันตระหนักรู้ถึงสภาพปัญหา ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ไปด้วยกัน เพื่อให้ประเทศไทยและโลกดีขึ้น
  • ตอนที่ 5 : สรุปข้อมูลสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหา ทั้ง 6 ด้าน ซึ่งเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมสำคัญที่ประเทศไทยควรวาง Roadmap เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาพื้นที่ป่าที่กำลังลดลงเรื่อยๆ ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมของประเทศเราเองแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมของโลกด้วย วิถีใหม่ไทยแลนด์ในตอนที่ 4 นี้จะอธิบายถึงสภาพปัญหาโดยรวมของโลกเกี่ยวกับการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ (Deforestation) และแนวทางการแก้ไขปัญหา อย่างน้อยพวกเราคนไทย ซึ่งเป็นพลเมืองของโลกจะได้ตระหนักรู้ในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายหันมาร่วมมือกันอย่างจริงจัง ในการปลูกป่าเพื่อปกป้องประเทศไทยและปกป้องโลก ซึ่งเรื่องนี้ควรเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่จะฟื้นฟูประเทศไทยหลัง COVID-19 ด้วยเช่นกัน

1. สภาพปัญหา

จากข้อมูลของ Wikipedia อธิบายว่า Deforestation ก็คือ การตัดต้นไม้ออกจากพื้นที่ป่า (Clearcutting) ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากความต้องการพื้นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลายๆ กรณีเป็นการบุกรุกพื้นที่ป่าแบบผิดกฎหมาย ปัจจุบันนี้บนพื้นผิวของโลกมีป่าปกคลุมเหลือเพียง 31% เท่านั้น และพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายอย่างมากจะเป็นพื้นที่ป่าฝนในเขตร้อนใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลก มีการประมาณการว่าพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนของโลกเหลือเพียง 6.2 ล้านตารางกิโลเมตร เมื่อเทียบกับอดีตที่เคยมีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ถึง 16 ล้านตารางกิโลเมตร

จากข้อมูลของ The United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) ระบุว่าการบุกรุกและทำลายป่าเพื่อทำการเกษตรเป็นสาเหตุหลัก โดยมาจากการทำการเกษตรเพื่อยังชีพ (Subsistence farming) ถึง 48% มาจากการทำการเกษตรเพื่อการค้า (Commercial farming) ถึง 32% และที่เหลือเป็นการทำซุงป่าไม้ (Logging) และอื่นๆ ปัจจัยที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านี้ เช่น การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก โดยเฉพาะคนยากจนที่ต้องการอาหารเพื่อยังชีพ การทุจริตของหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานรัฐที่ต้องการพื้นที่ป่าไปใช้ประโยชน์แบบผิดกฎหมาย รวมทั้งผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทำให้เกิดความแห้งแล้งจนเกิดไฟป่าบ่อยครั้ง ซ้ำเติมทำให้พื้นที่ป่าลดลงเรื่อยๆ

2. ผลกระทบ

2.1 ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental effects)

ผลกระทบจากการลดลงของพื้นที่ป่าต่อสภาพแวดล้อม สรุปได้ 4 ด้าน คือ ผลกระทบต่อบรรยากาศ ผลกระทบต่อความชุ่มชื้นของแหล่งน้ำ ผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ผลกระทบต่อบรรยากาศของโลก (Atmospheric) การตัดหรือเผาป่าทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้เพราะเป็นการทำให้เกิดคาร์บอน (Carbon emission) มากขึ้นในบรรยากาศของโลก มีการประมาณการว่า 20% ของ Greenhouse effect นี้มาจากการทำลายป่าในเขตป่าฝน ทำให้การสะท้อนกลับของความร้อนจากดวงอาทิตย์มีน้อยลง โลกจึงอมความร้อนและทำให้เกิดความแห้งแล้งมากขึ้น เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกที่ปกติทำหน้าที่รับและคายความร้อนทำให้เกิดฝนตามวัฏจักร ไม่สามารถทำหน้าที่ตามปกติได้ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลก

ผลกระทบต่อความชุ่มชื้นของแหล่งน้ำ (Hydrological) การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลกระทบต่อวัฏจักรของน้ำ (Water cycle) บนโลก ในธรรมชาติต้นไม้จะดูดน้ำจากใต้ดิน และคายน้ำออกสู่บรรยากาศ การลดลงของป่าจึงทำให้น้ำในบรรยากาศลดลงส่งผลต่อความแห้งแล้ง ปริมาณน้ำในดินก็จะลดลงด้วย ทำให้ขาดความชุ่มชื้นลดโอกาสการเติบโตของต้นไม้ในป่าลงไปอีก นอกจากนี้เมื่อดินขาดความชุ่มชื้นก็ทำให้ดินขาดคุณสมบัติในการยึดตัว (Cohesion) ทำให้ดินกร่อนตัวลงและเกิดการพังทลายง่ายเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม

ผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Soil) ดินในป่าไม้ที่มีต้นไม้ขึ้นเต็มจะมีการยึดตัวแน่นผ่านรากของต้นไม้ทำให้ไม่พังทลายได้ง่าย ลดโอกาสความรุนแรงเมื่อเกิดน้ำท่วม การช่วยชะลอน้ำของดินในป่ายังทำให้มีเวลาที่น้ำจะค่อยๆ ซึมซับผ่านผิวดินทำให้ต้นไม้ในป่าใช้ประโยชน์จากน้ำ และยังเป็นแหล่งเติมน้ำใต้ดินให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งค่อยๆ ไหลลงสู่ห้วย หนอง คลอง บึง และแม่น้ำในที่สุด

ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ป่าไม้เป็นที่รวมของพืชพรรณต่างๆ รวมทั้งสัตว์ป่าทั้งเล็กและใหญ่ ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อโลกของเรา การตัดไม้ทำลายป่าจะส่งผลให้พืชและสัตว์หลายชนิดอาจถึงขั้นสูญพันธุ์ได้ สมุนไพรหรือพืชบางอย่างในป่าเป็นประโยชน์ต่อการผลิตยารักษาโรค หรือเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และสัตว์ให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ มีการคาดการณ์ว่าการตัดป่าไม้ในแต่ละวันได้ทำลายพืชและแมลงรวมไม่ต่ำกว่า 147 ชนิดและในบางพื้นที่ เช่น เอเชียตะวันตกเฉียงใต้คาดการณ์ว่า 40% ของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศของป่าอาจจะสูญพันธุ์ได้ภายในสิ้นศตวรรษที่ 21 นี้

2.2 ผลกระทบต่อสุขภาพ (Health effects)

การตัดไม้ทำลายป่านอกเหนือจากทำให้พืชและสัตว์บางชนิดสูญพันธุ์แล้ว ยังอาจทำให้เกิดเชื้อโรคใหม่ๆ ระบาดเข้ามาอยู่ในสังคมมนุษย์ได้ง่ายขึ้น เช่น สัตว์ที่เป็นผู้ล่าคอยกำจัดหนูมีจำนวนลดลงในพื้นที่ป่า จำนวนหนู ซึ่งเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดก็อาจมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผิวดินที่ยุบตัวลงจากที่ไม่มีป่าไม้คอยเชื่อมอยู่ ทำให้เกิดหลุมบ่อขนาดใหญ่ที่ขังน้ำไว้จนอาจเกิดยุงมากขึ้น และทำให้โรคไข้มาเลเรีย และโรคไข้เลือดออกแพร่ขยายสู่คนได้มากกว่าปกติ เป็นต้น มีตัวอย่างผลกระทบทางลบอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในมาเลเซียในปี ค.ศ.1998 มีการตัดป่าเพื่อทำฟาร์มสุกร ซึ่งพื้นที่ป่าที่ลดลงกระทบต่อค้างคาวผลไม้ (Fruit bats) ที่ต้องหาแหล่งอาหารใหม่ และได้มาวนเวียนใกล้ฟาร์มสุกร และปล่อยไวรัสที่ชื่อ Nipah Virus ใส่สุกรทำให้เกิดโรคระบาดในสุกรขึ้น แม้ว่ายังไม่ระบาดรุนแรงใส่คนในขณะนั้น แต่ก็อาจมีไวรัสอื่นๆ โดยเฉพาะที่น่ากลัวก็คือ หากมีการกลายพันธุ์และระบาดมายังคน และแพร่ไปยังคนด้วยกัน คล้ายกับกรณี COVID-19 ที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

2.3 ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ (Economy impact)

การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ถือว่าเป็นการสูญเสียทรัพยากรสำคัญของโลกร่วมกัน ซึ่งส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจด้วย จากข้อมูล The Convention on a Biological Diversity (CBD) ที่ประชุมกันตั้งแต่ปี 2008 คาดการณ์ว่าการสูญเสียป่าไม้จะทำให้มาตรฐานการอยู่อาศัย (Living standards) ของพลเมืองโลกลดลง เพราะผลกระทบด้านความแห้งแล้งที่ตามมาส่งผลต่อความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่มีมากขึ้น คิดเป็นขนาดประมาณ 7% ของ GDP ของโลกในปี ค.ศ. 2050

ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์จากป่า เช่น ไม้ซุง และของป่าต่างๆ มีผลในเชิงเศรษฐกิจโดยตรงอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนคนที่บุกรุกป่าทำการเกษตรก็อ้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับ อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงผลประโยชน์ระยะสั้นเท่านั้น (Short-term economic gains) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ระยะยาวที่จะได้จากการอนุรักษ์ป่าไว้ ก็ไม่สามารถจะนำผลในระยะสั้นมาเปรียบเทียบได้เลย

3. แนวทางการแก้ไข

แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าที่ลดลง อาจต้องใช้หลายๆ มาตรการร่วมกัน ซึ่งอาจสรุป ดังต่อไปนี้

การปรับปรุงกฎหมายและสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการใช้ที่ดิน (Land rights)

โดยการจัดสรรที่ดินที่รกร้างและไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือเสื่อมโทรม จะช่วยแก้ปัญหาการบุกรุกป่าที่อุดมสมบูรณ์ หรือแม้แต่การออกกฎหมายเกี่ยวกับป่าชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านร่วมกันใช้ประโยชน์จากป่า และป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าได้

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากการทำเกษตร (Farming)

การนำเทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแก่เกษตรกร จะมีส่วนช่วยลดการบุกรุกผืนป่าเพื่อทำฟาร์มเกษตรลงได้ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า การเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ ไม่สูญเสียธาตุอาหารแบบรุนแรง เช่นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และป่าที่สูญเสียไป เวลากลับมาฟื้นฟูอาจไม่จำเป็นต้องทำในลักษณะ Natural forests เสมอไป อาจพัฒนาให้มีลักษณะ Agroforestal system ที่ยังคงสมบูรณ์แบบธรรมชาติ แต่ใช้ประโยชน์ในเชิงเกษตรได้

การติดตามและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าอย่างจริงจัง (Monitoring deforestation)

เรื่องการทำลายป่า ถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย การลักลอบตัดไม้และขนไม้ออกไปจากป่ายังเป็นปัญหาอยู่ต่อเนื่องในหลายๆ ประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องสอดส่อง ติดตาม และปราบปรามอยู่ต่อไป รวมถึงนอกจากการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐแล้ว ยังต้องได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมด้วย อีกทั้งควรใช้มาตรการป้องกัน เช่นการให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักรู้ และหวงแหนผืนป่าร่วมกัน

การจัดการป่าไม้ (Forest management)

เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่จะต้องศึกษาสภาพป่าไม้ที่มีอยู่ว่ามีสภาพแวดล้อมและสถานะเป็นอย่างไร อย่างละเอียดในทุกแง่มุม การพัฒนาฐานข้อมูลของพื้นที่ป่าไม้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อนำไปสู่แผนการพัฒนาและฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับมาดีดังเดิม และให้มีพื้นที่ป่าขยายตัวเช่นในอดีต แผนการอนุรักษ์ป่าเดิม แผนการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม การปลูกป่าในพื้นที่ต่างๆ การส่งเสริมป่าชุมชน เป็นต้น ควรถูกวางพิมพ์เขียวและนำมาปฏิบัติอย่างเร่งด่วน

เนื่องจากป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติซึ่งทุกคนเป็นเจ้าของ การพัฒนาและฟื้นฟูจึงไม่ใช่หน้าที่ของภาครัฐแต่อย่างเดียว อีกทั้งการลงมือปฏิบัติต้องใช้ทรัพยากรอื่นๆ มาร่วม เช่น เงินทุน แรงงาน และเวลา ที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน วิถีใหม่ไทยแลนด์หลัง COVID-19 นี้ จะฟื้นฟูป่าด้วยได้ไหมครับ แม้ว่าอาจจะไม่เห็นผลทางเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่จะดีแบบยั่งยืนในระยะยาวแน่นอน

ถ้าไม่มีป่าไม้จะทำอย่างไร

พืชและสัตว์ป่าจะมีจำนวนที่ลดลงอย่าเห็นได้ชัด นอกจากป่าไม้ แม่น้ำลำธาร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและพืชพรรณ และรวมถึงเป็นอาหารให้กับสัตว์ป่า ถ้าป่าไม้ถูกทำลาย สัตว์ป่าและพืชเยอะแยะมากมายก็จะค่อยๆ ล้มตายไปเรื่อยๆ จนอาจจะทำให้สัตว์นั้นสูญพันธุ์ได้

ถ่าโลกนี้ไม่มีป่าไม้จะเป็นอย่างไร

หากพืชทั้งหมดหายไป ก็จะไม่มีหญ้าสีเขียวปกคลุมที่ปกป้องและรักษาโลก จะไม่มีต้นไม้ใดที่รากยึดดินไว้ ขัดขวางไม่ให้หุบเหวใหม่ก่อตัวขึ้น สภาพภูมิอากาศบนโลกจะเปลี่ยนไป สัตว์กินพืชจะไม่มีอะไรกิน จะไม่มีอาหารจากพืช สมุนไพร วัสดุสำหรับสร้างบ้านเรือน และเฟอร์นิเจอร์ ต้นไม้และพืชทุกชนิดผลิตออกซิเจนซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งหมดหายใจเข้า ...

คิดยังไงกับการตัดไม้ทำลายป่า

แล้วการตัดไม้ทำลายป่าจะส่งผลเสียอะไรบ้าง § คุณภาพของน้ำแย่ลงเรื่อยๆ เพราะเมื่อเกิดน้ำหลาก ก็จะพัดพาเอาดิน โคลน ตะกอน ไหลลงสู่แหล่งน้ำที่เป็นเส้นชีวิตของชุมชน § ปัญหาความแล้ง เพาะปลูกไม่ได้ สภาพดินเสียความอุดมสมบูรณ์ บรรยากาศร้อน เกิดการระเหยของน้ำจากผิวดิน ส่วนการดูดซึมน้ำต่ำลง

วิธีแก้ปัญหาการบุกรุกป่า คือข้อใด

การปลูกป่าทดแทนอย่างต่อเนื่อง.
การป้องกันไฟป่าที่มีประสิทธิภาพ.
การสร้างเขื่อนหรือฝายกักเก็บน้ำ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าบริเวณนั้น.
ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งงบประมาณสนับสนุนการปลูกป่าเพิ่มเติมเป็นประจำทุกปี.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita