Food safety กระทรวงสาธารณสุข

Votre demande n’a pas pu être traitée
Un problème est survenu avec cette demande. Nous tâchons de remédier à la situation dans les plus brefs délais.

Inscrivez-vous à Facebook ou connectez-vous pour continuer.

S’inscrire

ou

Se connecter

อาหารปลอดภัย เป็นสัญญลักษณ์ให้กับฟาร์ม แหล่งปลูก ที่ดำเนินการตาม GAP, COC และ GMP
รับผิดชอบโดย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เป็นการรับรอง

   1. รับรองสินค้าอาหาร
   2. รับรองระบบ การจัดการด้านความปลอดภัยคุณภาพอาหาร เช่น ระบบ CoC (Code of Conduct), GAP (Good Agricultural Practice), GMP (Good Manufacturing Practice), HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) เป็นต้น
   3. รับรองสินค้าที่มิใช่อาหาร เช่น ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
   4. รับรองระบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ด้านความปลอดภัย และคุณภาพอาหาร

หน่วยงานที่รับรอง ได้แก่ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โดยแต่ละหน่วยงานแบ่งกันรับผิดชอบในการตรวจสอบรับรองดังนี้
กรมประมง ตรวจสอบรับรอง ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมง
กรมปศุสัตว์ ตรวจสอบรับรอง ผลผลิต และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์
กรมส่งเสริมการเกษตร ตรวจสอบรับรอง ผลิตภัณฑ์ชุมชน
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ตรวจสอบรับรอง ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกสหกรณ์
กรมพัฒนาที่ดิน ตรวจสอบรับรองปัจจัยการผลิต (สารเร่งสำหรับทำปุ๋ยหมัก)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติตรวจ สอบ รับรอง มาตรฐาน คุณภาพ และการติดฉลากสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป และสินค้าอาหาร

นโยบาย ความปลอดภัยด้านอาหาร

นโยบาย เชิงรุกอาหารปลอดภัย ปี 2550-2551

            คุณจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี  ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการความ ปลอดภัยด้านอาหาร  กระทรวงสาธารณสุขได้สรุปข้อเสนอ นโยบายเชิงรุกอาหารปลอดภัย ปี 2550-2551 ที่ได้ผ่านการอนุมัติในหลักการของที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ประจำเดือน มกราคม 2550 แล้ว ดังนี้

  1. การลดโรคอาหาร เป็นพิษในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
  2. การจัดระบบตรวจสอบรับรองสถานที่จำหน่ายอาหารในแหล่งท่องเที่ยว
  3. การควบคุมกำกับ ดูแลอาหารปลอดภัยในรถเร่/ตลาดนัด
  4. การประชาสัมพันธ์และสื่อสารสาธารณะ

นโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) กระทรวงสาธารณสุข

  1. หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อ สุขภาพของประชาชน และอาหาร ปลอดภัยที่ประชาชนบริโภคนั้น ต้องปราศจากเชื้อโรค อาหารเป็นพิษ หรือปนเปื้อน จากเชื้อโรคทางเดินอาหารและสารเคมี ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย จึงต้องมีระบบการดูแล ควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพความปลอดภัย อาหารที่ผลิตทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อาหาร ( Food Chain)  ตั้งแต่วัตถุ ดิบ (การเพาะปลูก เพาะเลี้ยง) การผลิต การแปรรูป การจัด จำหน่าย จนถึงผู้บริโภคอาหาร หรือที่กล่าวว่าจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร ( From Farm to Table)  หรือจากฟาร์ม สู่ช้อน ( From Farm to Fork)  ทั้งนี้มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมต้องมีความเท่าเทียมกับมาตรฐาน สากล เช่น การ ใช้มาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช ( Sanitary and Phytosanitary: SPS)  ซึ่งอยู่บน พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

  2. ภารกิจหลัก

ภารกิจหลักของกระทรวงสาธารณสุข ตามความในหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0411/ ลร. 2/4326 ลงวันที่ 3 เมษายน 2546 มีดังนี้
2.1 การควบคุมการนำเข้ายา เภสัชเคมี ภัณฑ์ อาหารสำเร็จรูป วัตถุดิบในการผลิตอาหาร ( ยกเว้นเนื้อสัตว์ ปลาทูน่า และกุ้ง)
2.2 การขึ้นทะเบียนและการควบคุมการจำหน่ายยา เภสัชเคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์
2.3 การอนุญาต ประกอบการโรงงานแปรรูปอาหาร การตรวจสอบควบคุมมาตรฐาน และกระบวนการ ผลิตของโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายในประเทศ
2.4  การตรวจสอบรับรอง อาหารที่จำหน่ายในประเทศ
2.5 รับผิดชอบร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเปิด โอกาสให้ภาคเอกชนเปิดห้องปฏิบัติการเพื่อให้บริการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหาร เพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้ส่งออก

  3. ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน

สำหรับยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน จะประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่
3.1 ด้านการพัฒนา มาตรฐานกฎหมายให้เป็นสากล
- กำหนดให้เน้น การคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน ระหว่างอาหารนำเข้า ผลิต และส่งออก
3.2 ด้านความเข้มแข็งในการกำกับดูแลให้อาหารปลอดภัย
- สร้างความ เข้มแข็งของการกำกับดูแลให้อาหารปลอดภัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การ ควบคุมการนำเข้า การผลิต การจำหน่าย และการขนส่ง
- สร้างแรงจูง ใจให้ผู้ประกอบการมีคุณภาพได้มาตรฐาน
3.3 ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
- รณรงค์เผย แพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคมีความรู้ มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการเลือกซื้อ ประกอบ และบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย
3.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรและกระบวนการ
- ฝึกอบรมบุ คลการให้มีความรู้ สามารถพิจารณา ตรวจสอบ และวิเคราะห์คุณภาพอาหารได้ตามภาระหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ
- สร้างแรงจูง ใจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ประสานความ ร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- เชื่อมโยง ระบบข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพ
3.5 ด้านการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ
- จัดหา ครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการตรวจวิเคราะห์ให้เพียงพอ

  4. ตัวชี้วัดและ เป้าหมาย

ตัวชี้วัดและเป้าหมายในการดำเนินการ มีดังนี้
4.1 การตรวจสอบอาหาร
4.1.1 ประเภทของอาหารที่รณรงค์ ได้แก่
- อาหารสด
- อาหารแปรรูป
- อาหารปรุง จำหน่าย
4.1.2 ประเภทสาร เคมีและจุลินทรีย์ที่ตรวจ ได้แก่
- บอแรกซ์
- สารตกค้างจาก ยาฆ่าแมลง
- สารฟอกขาว
- สารกันเชื้อ รา (กรดซาลิซิลิ ค)
- สารฟอร์มาลิน (น้ำยาดองศพ)
- สารเร่งเนื้อ แดง (ซาลบิวตามอล)
- จุลินทรีย์
- สารโพลาร์ใน น้ำมันทอดซ้ำ
- อะฟลาทอกซิ นในถั่วลิสง
4.2 การตรวจสอบ สถานประกอบการ ด่านนำเข้า สถานที่เพาะ เลี้ยง เพาะปลูก
4.2.1 สถานที่นำ เข้า
- สถานที่นำ เข้าประมาณ 2,000 แห่ง ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
- ด่านนำเข้า ทุกด่านตรวจสอบเข้มงวด
4.2.2 สถานที่ผลิต
- สถานที่ผลิต อาหารประมาณ 10,000 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practices) ตามกฎหมาย
- สถานที่เพาะ เลี้ยง เพาะปลูก มีการดำเนิน การถูกต้องตามหลักวิชาการและปฏิบัติตามกฎหมาย
- สถานที่ผลิต อาหารสัตว์ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
- สถานที่ฆ่า สัตว์เพื่อขายให้ผู้บริโภค มีการดำเนิน การถูกต้องตามตามหลักวิชาการและปฏิบัติตามกฎหมาย
4.2.3 สถานที่จำหน่าย
- มีการตรวจ เฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารสดที่วางจำหน่ายในตลาดสดทุกแห่ง
- สถานที่ จำหน่ายอาหารสดที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขในตลาดสดทุกแห่งได้ รับป้าย " อาหารปลอดภัย" ของกระทรวงสาธารณสุข
- ซูเปอร์ มาร์เก็ตขนาดใหญ่ทุกแห่งมีมุมจำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกระทรวงสาธารณสุข
- ร้านขายอาหาร และแผงลอยทั่วประเทศได้มาตรฐานเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ( Clean Food Good Taste) ของกระทรวงสาธารณสุข

- สถานที่จำหน่ายยาและเภสัชเคมีภัณฑ์ ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายทุกแห่ง

  5. หน่วยงานรับ ผิดชอบ

5.1 หน่วยงานรับ ผิดชอบหลัก: กระทรวงสาธารณสุข
5.2 หน่วยงานร่วม รับผิดชอบ ได้แก่
- กระทรวงเกษตร และสหกรณ์
- กระทรวง มหาดไทย
- กระทรวง อุตสาหกรรม
- กระทรวง พาณิชย์
- กระทรวงการ ต่างประเทศ
- กระทรวงการ คลัง (กรมศุลการกร)
- สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ
- สำนักนายก รัฐมนตรี (สำนักงานคณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภค)
- สภา อุตสาหกรรม
- สภาหอการค้า
- สถาบันอาหาร

หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง Q และQ Premium กับสินค้าเกษตรและอาหาร 1.ขอบข่าย มาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาตินี้ กำหนดหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง Q และ Q Premium กับสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งเกณฑ์ข้อกำหนดการใช้เครื่องหมายรับรอง Q Premium กับ สินค้าเกษตรและอาหารแต่ละชนิด เฉพาะขอบข่ายของการรับรองผลิตภัณฑ์ (product certification)

2.บทนิยาม

ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาตินี้ มีดังต่อไปนี้

2.1 เครื่องหมายรับรอง Q หมายถึง เครื่องหมายรับรองที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศใช้เพื่อแสดงถึงการให้การ รับรองสินค้าเกษตรและอาหาร ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ประกาศโดยหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ในด้านความปลอดภัยอาหาร (food safety) และด้านคุณภาพที่จำเป็น (essential quality) 2.2 เครื่องหมายรับรอง Q Premium หมายถึง เครื่องหมายรับรองที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้เพื่อแสดงถึงการให้การรับรองสินค้าเกษตรและอาหาร ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ประกาศโดยหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ในด้านความปลอดภัยอาหารและด้านคุณภาพที่จำเป็น นอกจากนี้สินค้าเกษตรและอาหารต้องมีการคัดแยกชั้นคุณภาพ หรือมีการผลิตและจัดการเป็นพิเศษ เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพอยู่ในระดับพิเศษ ตามเกณฑ์เฉพาะสินค้าที่กำหนดในมาตรฐานนี้ 2.3 หน่วยรับรอง หมายถึง หน่วยตรวจสอบรับรองภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือหน่วยตรวจสอบรับรองอื่น ที่ได้รับการยอมรับความสามารถจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่ง ชาติ ที่มีหน้าที่และความสามารถในการตรวจประเมิน ให้การรับรองระบบและสินค้า และอนุญาตให้ผู้ขอรับการรับรองใช้เครื่องหมาย Q หรือ Q Premium ได้

3.การใช้เครื่องหมายรับรอง Q และ Q Premium image: www.acfs.go.th/news/docs/ppq1.ppt 3.1 ผู้ที่ต้องการใช้เครื่องหมายรับรอง Q หรือ Q Premium กับสินค้าเกษตรและอาหาร จะต้องยื่นคำขอกับหน่วยรับรอง ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่หน่วยรับรองกำหนด 3.2 สินค้าเกษตรและอาหาร จะสามารถแสดงเครื่องหมายรับรอง Q หรือ Q Premium ได้ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี รวมทั้งเกณฑ์ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับสินค้าเกษตรและอาหารแต่ละชนิดตามที่ระบุไว้ 3.3 เครื่องหมายรับรอง Q และ Q premium สามารถนำไปใช้กับสินค้าที่ได้รับการรับรอง โดยแสดงบนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์สินค้านั้น โดยผู้ได้รับการรับรองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการรับรอง ผลิตภัณฑ์ และการแสดงเครื่องหมายรับรองที่หน่วยรับรองกำหนด 4.หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง Q บนสินค้าเกษตรและอาหาร

image: www.acfs.go.th/news/docs/ppq1.ppt

4.1 การผลิตในระดับฟาร์มของสินค้าเกษตรต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices; GAP) และได้รับการตรวจสอบรับรองโดยหน่วยรับรองที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง 4.2 การผลิตในระดับโรงงาน รวมทั้งโรงคัดบรรจุผักผลไม้ โรงฆ่าสัตว์ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติในการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practices; GMP) หรือมาตรฐานการวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต (Hazard Analysis and Critical Control Points; HACCP) และได้รับการตรวจสอบรับรองโดยหน่วยรับรองที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง 4.3 ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมาย ต้องมีระบบการเรียกคืนหรือติดตามสินค้าได้ กรณีที่พบว่ามีปัญหา โดยใช้หลักการของการติดตามผลิตภัณฑ์ (product tracing / tractability) 4.4 สินค้าต้องถูกตรวจสอบคุณภาพที่จำเป็น และตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนทาง กายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น สารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน หรือสิ่งอันตรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตามแผนการตรวจที่หน่วยรับรองกำหนด 4.5 มาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจตามข้อ 4.1 - 4.4 ให้ใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติที่ประกาศโดยกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กรณีสินค้าเกษตรใดที่ยังไม่มีมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ให้ใช้มาตรฐานสากลหรือมาตรฐานอื่นที่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 5.หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง Q Premium บนสินค้าเกษตรและอาหาร 5.1 สินค้าและกระบวนการผลิตทั้งหมด ต้องได้ตามเกณฑ์ของการใช้เครื่องหมายรับรอง Q ตามข้อ 4 5.2 สินค้านั้นผ่านการคัดแยกระดับชั้นคุณภาพ (grading) และหรือผ่านกระบวนการผลิต บรรจุ ดูแลขนส่งเป็นพิเศษ ทำให้สินค้ามีคุณภาพอยู่ในระดับพิเศษ ตามที่ระบุไว้ 5.3 ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมาย ต้องมีระบบการจัดการสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่วางจำหน่ายยังคงคุณภาพตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ดัง ข้างต้น รวมถึงการระบุวันที่ผลิต บรรจุ หรือวันที่ควรบริโภคก่อน (best before) บนสินค้า รายละเอียดหลักเกณฑ์สินค้าแต่ละชนิด ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ 5.4 หน่วยรับรองควรกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การอนุญาตใช้เครื่องหมาย Q Premium โดยยึดหลักการประเมินความสามารถของผู้ประกอบการที่ยื่นขออนุญาตใช้ เครื่องหมาย Q Premium ในการผลิตการคัดแยกชั้นคุณภาพ การบรรจุ หรือการควบคุมดูแล ที่ทำให้มั่นใจในความสามารถของผู้ประกอบการ ทั้งนี้รวมถึงการตรวจติดตาม การนำเครื่องหมายไปใช้ของผู้ประกอบการ ให้เกิดความมั่นใจและความเชื่อถือโดยผู้บริโภค

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita