วงดนตรีพื้นบ้าน 4 ภาค ของ ไทย

คือ แคนที่นำมาบรรเลงพร้อมๆกัน หลายๆเต้า โดยเป่าเป็นคณะ หรือเป็นวงร่วมกัน มีเครื่องให้จังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ ฯลฯ เข้าร่วนบรรเลงด้วย แคนวง วงหนึ่ง จะใช้แคนตั้งแต่ 6 เต้าขึ้นไป จนถึง 12 เต้า คือ

  • แคนวงขนาดเล็ก ใช้แคน 6 เต้า
  • แคนวงขนาดกลาง ใช้แคน 8 – 10 เต้า
  • แคนวงขนาดใหญ่ ใช้แคน 12 เต้า

จำนวนแคนต่างๆที่ประกอบกันเข้าเป็นวงขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ เป็นจำนวนโดยอนุโลม ไม่ได้ถือตายตัวเคร่งครัดมากนัก เช่น อาจจะเพิ่มจำนวนแคนให้มากกว่านี้เพียงใดก็ถือว่าเป็นแคนวงขนาดใหญ่ทั้งนั้น โดยมีเครื่องดนตรีอื่นๆ และเครื่องประกอบจังหวะร่วมผสมเข้ากับวงด้วยเช่น ขลุ่ย หรือ ปี่ ซอด้วง ซออู้ กลอง หรือโทนรำมะนา แคนวงมักบรรเลงเพลงไทย เพลงไทยสากล ทั้งเพลงไทยลูกกรุง เพลงไทยลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ

แคนวงประยุกต์

มีพัฒนาการมาจากแคนวง โดยมีการนำเครื่องดนตรีสากลต่างๆ เข้ามาบรรเลงร่วมกับแคนวง เช่น กลองชุด เบส กีตาร์ คีบอร์ด ฯลฯ นอกจากนี้ บางครั้งก็นำเครื่องดนตรีไทย เช่น ซอ จะเข้ ฯลฯ เข้ามาประกอบ จึงไม่มีการกำหนดประเภท ขนาด และจำนวน

วงแคน

ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอีสานที่มีแคนเป็นหลัก จะมีจำนวนสักกี่เต้าก็ได้ นอกจากนี้ก็มีเครื่องดนตรีอื่นๆ มาร่วมบรรเลงตามที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น พิณ ซอ ฉิ่ง และ กลอง ฯลฯ

วงลำเพลิน

เป็นวงดนตรีคล้ายกับวงโปงลาง แต่มีการนำกลองชุดเข้ามาร่วมบรรเลง โดยมีจังหวะที่เป็นเอกลักษณ์ คือ จังหวะลำเพลิน

วงพิณ

ประกอบด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่มีพิณเป็นหลัก จะมีจำนวนสักกี่เครื่องก็ได้ นอกจากนี้ก็มีเครื่องดนตรีอื่นๆ มาร่วมบรรเลงตามที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น แคน ซอ ฉิ่ง ฉาบ ฯลฯ

วงกลองยาว

ประกอบด้วยกลองยาวประมาณ 3 ใบ และกลองรำมะนาใหญ่ ที่ชาวบ้านเรียกว่า กลองตุ้ม หรือกลองตึ้ง 1 ใบ และฉาบ 1 คู่ ตีเป็นทำนองและจังหวะแบบอีสาน ซึ่งชาวบ้านมักร้องเป็นทำนองว่า

“เป็ด เป่ง เฮ็ม เป่ง เป็ด เป่ง เป่ง

เป็ด เป่ง เป่ง เป่ง เป็ด เป่ง ฮึ้ม”
กลองยาว นิยมบรรเลงประกอบขบวนแห่ ตามงานบุญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแห่กัณฑ์หลอนในงานบุญพระเวสฯ

วงโปงลาง

คณะโปงลาง หรือนิยมเรียกว่า วงโปงลาง นั้น คาดว่าได้ชื่อนี้มาจาก… เครื่องดนตรีที่ดังที่สุดในวงคือ โปงลาง (กรณีไม่ใช้เครื่องขยายเสียง) ดังนั้น เลยเรียกวงดนตรีนั้นว่า วงโปงลาง หรืออีกที่มาหนึ่ง คือ โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีเด่น กำลังมาแรง เป็นจุดขายของวง จึงตั้งชื่อว่า วงโปงลาง ซึ่งบางแห่ง อาจจะไม่ใช้ชื่อว่าวงโปงลาง แต่ใช้ชื่อว่าวงแคน หรือวงพิณ ก็มี

วงโปงลาง แม้จะใช้ชื่อว่า วงโปงลาง ก็ไม่ได้หมายความว่า มีเฉพาะโปงลางอย่างเดียว แต่มีเครื่องดนตรีอื่นๆ อีกหลายชนิด ร่วมบรรเลง

วงโปงลาง ในสมัยก่อน เป็นแบบพื้นบ้านจริงๆ ไม่มีเครื่องขยายเสียง ใช้เสียงสดๆ ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเลยทีเดียว ซึ่งเครื่องดนตรีหลักๆ แบบเต็มวง ประกอบด้วย

  • โปงลาง
  • พิณโปร่ง (ชนิดที่มีกล่องเสียงใหญ่ๆ)
  • แคน
  • โหวด
  • ไหซอง (ยังไม่มีพิณเบส)
  • กลองหาง (กลองยาวอีสาน)
  • รำมะนา หรือกลองตุ้ม
  • หมากกะโหล่ง (หมากป็อกๆ) หรือใช้หมากกั๊บแก๊บ
  • ฉาบเล็ก
  • ฉาบใหญ่

เสียงดนตรีที่ได้ จะให้ความรู้สึกคลาสิคแบบพื้นบ้านจริงๆต่อมาเมื่อ เมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้น จึงได้ปรับเปลี่ยน ประยุกต์ให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเครื่องดนตรีวงโปงลางยุคปัจจุบัน แบบเต็มวง ประกอบด้วย

วงดนตรีพื้นเมือง
             วงดนตรีพื้นเมือง คือวงดนตรีที่คนในท้องถิ่นคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงหรือประกอบการแสดงชุดต่าง ๆ ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เครื่องดนตรีที่ใช้จะเป็นเครื่องดนตรีที่ท้องถิ่น นั้น ๆ จัดทำขึ้นเอง ส่วนมากเป็นแบบง่าย ๆ วัสดุที่ใช้ทำเป็นวัสดุหาง่าย ๆ ในท้องถิ่นนั้น ๆ
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ คือวงดนตรีที่คนในท้องถิ่นภาคเหนือได้คิดค้นจัดวงขึ้น ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีในท้องถิ่นภาคเหนือเอง ได้แก่ กลองขนาดใหญ่ (กลองแอว) ฉาบ ฆ้องหุ่ย ปี่จุม เป็นต้น นำมาผสมวงเพื่อใช้บรรเลงประกอบการขับร้องและประกอบการแสดงการฟ้อนต่าง ๆ ของภาคเหนือ เช่น วงสะล้อซอซึง เป็นต้น
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้


วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
ที่มาภาพ : //www.chiangrai.ru.ac.th/app/Culture8.html
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ คือวงดนตรีที่คนในท้องถิ่นภาคใต้ใช้บรรเลงประกอบการแสดงพื้นเมืองของชาวภาคใต้ เช่น วงปี่พาทย์ชาตรีใช้บรรเลงประกอบการแสดงโนราห์และหนังตะลุง วงกาหลอใช้บรรเลงในงานศพ และวงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงรองเง็ง ซึ่งประกอบด้วยไวโอลิน กลองแขก และกลองอเมริกัน เป็นต้น
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน
             วงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน คือวงดนตรีที่คนในท้องถิ่นภาคอีสานใช้บรรเลงประกอบการแสดงพื้นเมือง เช่น การฟ้อนรำ (เซิ้ง) ที่มีลีลาจังหวะสนุกสนาน รวดเร็ว กระฉับกระเฉง ได้แก่ วงแคน วงโปงลาง เป็นต้น
              วงดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง
             ส่วนในภาคกลางจะนิยมเล่นเพลงพื้นบ้าน จะไม่มีวงดนตรีพื้นเมือง ส่วนวงดนตรีที่ใช้ในโอกาสต่าง ๆ จะใช้วงดนตรีไทยธรรมดา เพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันในแถบภาคกลาง ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงปรบไก่ เพลงพิษฐาน เพลงอีแซว เพลงพวงมาลัย เป็นต้น

ลักษณะดนตรีพื้นเมือง
              1. บทเพลงต่างๆ ตลอดตนวิธีเล่น วิธีร้อง มักจะได้รับการถ่ายทอดโดยการสั่งสอนกันต่อๆมาด้วยวาจา และการเล่นหรือการร้องให้ฟัง การบันทึกเป็นโน้ตเพลงไม่ใช่ลักษณะดั้งเดิมของดนตรีพื้นบ้าน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดดนตรีพื้นบ้านโดยการใช้โน้ตดนตรีกันบ้างแล้ว
              2. เพลงพื้นบ้านมักเป็นบทเพลงที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ มิใช่แต่ขึ้นมาเพื่อให้ฟังเฉยๆ หรือเพื่อให้รู้สึกถึงศิลปะของดนตรีเป็นสาคัญจะเห็นได้ว่า เพลงกล่อมเด็กมีขึ้นมาเพราะต้องการใช้ร้องกล่อมเด็กให้ เป็นต้น
              3. รูปแบบของเพลงพื้นบ้านไม่ซับซ้อน มักมีทานองหลัก 2-3 ทานองร้องเล่นกันไป โดยการเปลี่ยนเนื้อร้อง จังหวะประกอบเพลงมักจะซ้าซากไปเรื่อยๆ อาจจะกล่าวได้ว่าดนตรีหรือเพลงพื้นบ้านเน้นที่เนื้อร้อง หรือการละเล่นประกอบดนตรี เช่น การฟ้อนราหรือการเต้นรา
              4. ลักษณะของทานองและจังหวะเป็นไปตามลักษณะของกิจกรรม หรือการละเล่น เช่น เพลงกล่อมเด็กจะมีทานองเย็นๆเรื่อยๆ จังหวะช้าๆ เพราะจุดมุ่งหมายของเพลงกล่อมเด็กต้องการให้เด็กผ่อนคลายและหลับกันในที่สุด ตรงกันข้างกับเพลงราวงจะมีทานองและจังหวะสนุกสนานเร็วเร้าใจเพราะต้องการให้ทุกคนออกมารายราเพื่อความครึกครื้น
              5. ลีลาการร้องเพลงพื้นบ้านมักเป็นไปตามธรรมชาติ การร้องมิได้เน้นในด้านคุณภาพของเสียงสักเท่าใดลีลาการร้องไม่ได้ใช้เทคนิคเท่าใดนัก โดยปกติเสียงที่ใช้ในการร้องเพลงพื้นบ้านไม่ว่าชาติใดภาษาใดมักจะเป็นเสียง ที่ออกมาจากลาคอมิได้เป็นเสียงที่ออกมาจากท้องหรือศีรษะ ซึ่งเป็นลีลาการร้องเพลงของพวกเพลงศิลปะ
              6. เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงพื้นบ้านมีลักษณะเฉพาะเป็นของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ทาให้เราได้ทราบว่า ดนตรีพื้นบ้านที่ได้ยินได้ชมเป็นดนตรีของท้องถิ่นใด หรือของชนเผ่าใดภาษาใด ตัวอย่าง เช่นดนตรีพื้นบ้านของชาวภาคเหนือจะมี ซึง สะล้อ เป็นต้น

ประเภทวงดนตรีพื้นเมือง
             ๑. ประเภทวงเครื่องสายพื้นเมือง  เรียกว่า วง สะล้อ ซอ ซึง ประกอบด้วย สะล้อ ปี่หรือขลุ่ยพื้นเมือง (หรือขลุ่ยหลีบ) ใช้กลองพื้นเมือง (กลองป่งป้ง) และฉาบเป็นเครื่องประกอบจังหวะสำหรับฉิ่งไม่นิยมใช้กับวงประเภทนี้แต่จะนำมา ใช้ก็ได้
             ๒. วงปี่จุม เป็นวงประเภทเครื่องเป่า จะมีปี่ขนาดต่าง ๆ กัน เล่นรวมกัน 3-5 เลา หรืออาจจะเล่นถึง 5 เลา โดยมีซึงเป็นเครื่องประกอบ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบทำนองและจังหวะ จะไม่ใช้เครื่องประกอบจังหวะอย่างอื่นมาร่วมเล่นด้วย วงปี่จุมจะใช้ประกอบการสอน
             ๓. วงป้าดก๊อง หรือวงเท่งติ้ง    มีลักษณะคล้ายวงปี่พาทย์จะมีระนาด ป๊าด (ฆ้องวง) ปี่ฉาบใหญ่ (สว่า) กล่องเท่งติ้ง (ตุ้มปิ้ง)
             ปัจจุบันในหลาย ๆ ท้องที่ ได้นำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาประสมวงแล้วเรียกตัวเอง “วงแห่พื้นเมืองประยุกต์”
             ๔. วงก๊องก๋อง   เป็นวงประเภทที่ใช้กลองเป็นเครื่องดนตรีหลักในการบรรเลง มีหลายประเภท เช่น
                          ๔.๑ วงก๋องตึ่งนง หรือ ตึ้งบ้ง มีกลองแอว กลองตะล๊ดป๊ด และฉาบใหญ่ (สว่า) มีการนำปี่แนมาประกอบ ใช้บรรเลงประกบการฟ้อนเล็บและขบวนแห่ครัวทาน
                          ๔.๒ วงกลองปู่จา (บูชา) มีกลองสองหน้าขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เรียกว่า ลูกตุบ อีกประมาณ 3 ลูก เวลาตีจะมีผู้ตีใช้ไม้เรียวเล็ก ๆ ตีข้างกลองใหญ่ ตีให้จังหวะ เรียกว่า ตีแสะ บางแห่งอาจจะนำฆ้องใหญ่ (มุยหรือฆ้องอุ้ย) ฆ้องโหม่งขนาดกลาง (ฆ้องโหย้ง) และฉาบใหญ่ (สว่า) เป็นเครื่องประกอบจังหวะ นิยมใช้ตีเมื่อเป็นสัญญาณบอกเหตุ เช่น เรียกประชุม แจ้งเหตุฉุกเฉิน ตีเป็นสัญญาณบอกวันโกน ตีเป็นพุทธบูชาในวันพระหรือตีเป็นมหรสพในงานบุญของวัด
                          ๔.๓ กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่ย่อส่วนมาจากกลองในข้อ ๔.๒ (กลองบูชา ออกเสียงเป็น ก๋องปู่จา) โดยลดขนาดตามความยาวของตัวกลองลง แล้วใส่คานหาม ใช้คนหาม 2 คน เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย เพื่อนำมาประกอบในขบวนแห่ การตีผู้ตีกลองจะฟ้องเชิง (เจิง) ตบมะผาบและใส่ลีลาการต่อสู้ เช่น การใช้หมัด เท้า เข่า ศอก ประกอบการตี ทำให้น่าชมยิ่งขึ้น
                          ๔.๔ วงกลองซิงม้อง  คล้ายวงกลองยาวของภาคกลางหรือกลองยาวของชาวใต้ในแคว้นสิบสองปันนา นิยมใช้ตีประกอบงานรื่นเริง งานปอยและขบวนแห่ต่าง ๆ
                          ๔.๕ วงประเภทอื่น ๆ

//www.gotoknow.org/posts/270013
//nawin.org.a27.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539411644&Ntype=3

ดนตรี 4 ภาคมีอะไรบ้าง

เครื่องดนตรี 4 ภาค ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ไปดูกันเล้ย!!! เครื่องสี ได้แก่ ซอด้วงและซออู้ เครื่องตี ได้แก่ ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม ระนาดทอง, ฆ้อง, ฉิ่ง, ฉาบและกรับ เครื่องเป่าได้แก่ ขลุ่ยและปี่

วงดนตรีพื้นบ้านของไทยมีอะไรบ้าง

วงสะล้อซึง วงป้าดก๊อง วงปี่พาทย์พื้นเมือง วงปี่พาทย์วงเครื่องสาย วงมโหรีวงอังกะลุง วงแตรวง วงโปงลาง วงแคน วงกันตรึม วงมโหรี พื้นบ้าน วงกาหลอ วงรองเง็ง

วงดนตรีพื้นบ้านมีกี่ภาค

วงดนตรีพื้นบ้านมีการแบ่งออกเป็นภาคต่าง ๆ คือ วงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ วงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ วงดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง วงดนตรีพื้นบ้านเป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น

วงดนตรีพื้นบ้านของไทยแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเภทของวงดนตรีไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ วงมโหรี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita