ยื่นอุทธรณ์ เงินเยียวยา ประกันสังคม

สปสช.ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนหรือมีอาการไม่พึงประสงค์หรือมีอาการข้างเคียง หลังจากฉีดวัคซีน Covid-19 จากสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนที่ภาครัฐกำหนดให้ไปฉีด โดยครอบคลุมคนไทยทุกสิทธิ ทั้งสิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม(สัญชาติไทย) สิทธิสวัสดิการข้าราชการและสิทธิอื่นๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูก-ผิด การฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องฉีดตามที่ภาครัฐกำหนด รวมถึงกรณีวัคซีนโควิด-19 ที่ประชาชนได้รับฟรีจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สวัสดิการจากบริษัท ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ 

โดยรายละเอียดข้อมูล-กระบวนการต่างๆทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

หลักการยื่นเรื่องเงินเยียวยา

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง 
- ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย หรือ ทายาท
- กรณีไม่มีทายาท ผู้อุปการะที่ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล หรือ ดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร หรือหน่วยบริการที่ให้บริการสามารถยื่นคำร้องแทนได้

สถานที่ยื่นคำร้อง
- โรงพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด -19 
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่ (13 เขตทั่วประเทศ)

เอกสารประกอบคำร้อง
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาใบมรณบัตรของผู้รับบริการกรณีที่เสียชีวิต
- ความเห็นแพทย์ผู้ให้การรักษาและการหยุดพักงาน

ระยะเวลาในการยื่นคำร้อง
- ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย

กระบวนการพิจารณา
- ยื่นคำร้อง
- คณะอนุกรรมการฯภายใต้สปสช.พิจารณาคำร้อง
- ลงมติว่าเห็นชอบที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือหรือไม่ จำนวนเท่าไร
- ในกรณีที่จ่าย สปสช.จะโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 5 วัน หลังจากที่คณะอนุกรรมการฯมีมติ
- กรณีที่ไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน

อัตราการจ่ายช่วยเหลือเบื้องต้น
- เสียชีวิต /ทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 4 แสนบาท
- เสียอวัยวะ / พิการ ไม่เกิน 2.4 แสนบาท
- บาดเจ็บ / บาดเจ็บต่อเนื่่อง ไม่เกิน 1 แสนบาท

หลังจากได้รับคำร้องแล้ว จะมีคณะอนุกรรมการในระดับเขตซึ่งประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนภาคประชาชนเป็นผู้พิจารณาว่าจะจ่ายเงินเยียวยาหรือไม่และจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด ตามหลักฐานทางการแพทย์และระดับความหนักเบาของอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีผู้มายื่นคำร้องแล้ว คณะอนุกรรมการฯ ระดับเขตพื้นที่จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อเลขาธิการ สปสช. ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก //lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso

“ประกันสังคม” เปิดให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ที่ไม่ได้เงินเยียวยาว่างงาน ทำเรื่องอุทธรณ์สิทธิ์ 18 พ.ค. นี้ ที่สำนักงานจัดหางานทุกแห่ง ส่วนลูกจ้าง 2 แสนคน รับเงินว่างงาน 15 พ.ค.

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สำหรับการจ่ายเงินชดเชยว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ขณะนี้ได้จ่ายไปกว่า 7 แสนคน ส่วนที่เหลือประมาณ 2 แสนคน จะจ่ายให้จบในวันที่ 15 พ.ค.นี้

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ไม่ได้รับสิทธิ์ตามที่ยื่นขอ จะเปิดให้ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 18 พ.ค. ที่สำนักงานจัดหางานทุกแห่ง ซึ่งคาดว่า มีประมาณ 1 แสนคน ที่ข้อมูลยังไม่ครบ เนื่องจากนายจ้างยังไม่รับรองการหยุดงาน ซึ่งก่อนหน้านี้ นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคม ชี้แจงว่า ขณะนี้นายจ้างหลายรายได้เข้ามาส่งหนังสือรับรองลูกจ้างเป็นจำนวนมาก เมื่อลูกจ้างได้รับการรับรองเรียบร้อยแล้ว และมีเอกสารครบจะเริ่มเข้าสู่โหมดการวินิจฉัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ของเราทำงานกันทุกวัน เพื่อให้ทันจ่ายเงินในพรุ่งนี้ (15 พ.ค.)


  • ประกันสังคม
  • อุทธรณ์สิทธิ์
  • ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล
  • ประกันสังคม ลูกจ้าง ว่างงาน ยื่นอุทธรณ์สิทธิ์ 18 พ.ค. โควิด-19
  • 18 พ.ค.
  • 15 พ.ค.
  • โควิด-19

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สปส.จ่ายเงินผู้ประกันตนว่างงานจากเหตุสุดวิสัยแล้วกว่า 7 แสนราย

นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของโรควิด-19 สำนักงานประกันสังคมได้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบทำให้ว่างงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งสำนักงาน

ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ … สร้างหลักประกันแรงงาน นอกระบบราว 20 ล้านคน  มีหลักประกันทางสังคมและได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย “แรงงานนอกระบบ” ที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวคือ แรงงานสัญชาติไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือไม่ได้เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ตามกฎหมายประกันสังคม รวมถึงผู้ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด เช่น เกษตรกร และประมง พ่อค้า แม่ค้า  แผงลอย คนขับแท็กซี่ ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 19.6  ล้านคน หรือร้อยละ 52 ของแรงงานทั้งประเทศ สาระสำคัญให้แรงงานนอกระบบมีสิทธิขึ้นทะเบียนแรงงานนอกระบบ และให้แรงงานนอกระบบตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปขึ้นทะเบียนกลุ่มแรงงานนอกระบบตามลักษณะของอาชีพ แรงงานนอกระบบตั้งแต่ 15 กลุ่มขึ้นไปขึ้นทะเบียนเพื่อจัดตั้งองค์กรแรงงานนอกระบบได้ รวมทั้งให้องค์กรแรงงานนอกระบบมีสิทธิเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบให้มี “คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบแห่งชาติ” มีหน้าที่และอำนาจกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ และเสนอแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมดังกล่าวต่อ ครม.  ให้มี “กองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ” เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita