ตัวอย่าง การปรับ เปลี่ยน เป็นดิจิทัล งานให้บริการ สำหรับ ธุรกิจ ทั่วไป

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคืออะไร

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเป็นกระบวนการที่องค์กรใช้เพื่อผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลในทุกๆ ด้านของธุรกิจ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีที่ธุรกิจส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า บริษัทต่าง ๆ ปรับใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างช่วงเวลาการทำงานที่มีวัฒนธรรมและใช้งานได้จริง ซึ่งปรับใช้ได้ดีขึ้นเพื่อให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล เช่น:

  • บริษัทเริ่มสร้างโซลูชันดิจิทัล เช่น แอปพลิเคชันบนมือถือหรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
  • บริษัทย้ายจากโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์ในองค์กรเป็นการประมวลผลบนคลาวด์
  • บริษัทใช้เซนเซอร์อัจฉริยะเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน

เหตุใดการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลจึงมีความสำคัญ

คำว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลอธิบายการนำเทคโนโลยี ผู้มีพรสวรรค์ และกระบวนการใหม่ๆ มาใช้เพื่อให้ยังคงสามารถแข่งขันได้ในภูมิทัศน์ที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หลังจากยุคการระบาดใหญ่ องค์กรต้องมีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้: 

  • ความกดดันด้านเวลาในการออกสู่ตลาด
  • การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโดยฉับพลัน
  • ความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

บริษัทต่าง ๆ ต้องเปิดรับกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลหากต้องการที่จะเป็นผู้นำตลาดของตนต่อไป

ต่อไปนี้เป็นประโยชน์บางส่วนของโครงการริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล:

เพิ่มความสามารถในการผลิต

เทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น บริการบนคลาวด์ สามารถช่วยประหยัดเวลาและปรับปรุงประสิทธิภาพในทุกด้านของกระบวนการธุรกิจ ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ทำให้พนักงานว่างลงเพื่อไปทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหาแทนได้ ในทำนองเดียวกัน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแมชชีนเลิร์นนิงสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกกับคุณเพื่อให้คุณบรรลุเป้าหมายธุรกิจของคุณได้เร็วขึ้น

ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

ลูกค้าในยุคหลังการระบาดใหญ่คาดหวังว่าจะมีความพร้อมใช้บริการอย่างต่อเนื่องในหลายช่องทาง นอกจากนี้ลูกค้ายังต้องการเว็บไซต์และระบบการสื่อสารที่ใช้ง่ายและสะดวกบนอุปกรณ์มือถือ ต่อไปนี้เป็นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลบางส่วนที่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้าโดยตรง:

  • การพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือและเวิร์กโฟลว์บนมือถือ
  • การติดตามและทำตามคำสั่งซื้อได้รวดเร็วขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์อัจฉริยะ
  • การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าแบบเรียลไทม์ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์
  • การปรับปรุงการสนับสนุนและการบริการลูกค้าโดยการใช้ระบบอัตโนมัติ

ลดต้นทุนในการดำเนินงาน

การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถต้นทุนการดำเนินงานที่ต่อเนื่องได้เป็นอย่างมาก เทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนกระบวนการธุรกิจที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และลดต้นทุนต่าง ๆ เช่น:

  • การบำรุงรักษาอุปกรณ์
  • โลจิสติกส์และการส่งมอบ
  • ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
  • ค่าใช้จ่ายทรัพยากรมนุษย์
  • ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนลูกค้า

โดยปกติแล้ว คุณสามารถประหยัดต้นทุนได้เพราะการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลสามารถช่วยคุณทำสิ่งต่าง ๆ ดังนี้:

  • กำจัดหรือแทนที่เวิร์กโฟลว์เฉพาะอย่างที่ต้องใช้ทรัพยากรมาก
  • ลดค่าใช้จ่ายสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ที่มีราคาแพงผ่านบริการที่มีการจัดการและการประมวลผลบนคลาวด์

ทำให้งานดำเนินไปโดยอัตโนมัติโดยการใช้เซนเซอร์อัจฉริยะ อุปกรณ์แบบสมาร์ท และแมชชีนเลิร์นนิงร่วมกัน

ความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคืออะไร

การเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิทัลคือกระบวนการที่แปลงแง่มุมทางกายภาพของกระบวนการและเวิร์กโฟลว์ในธุรกิจคุณให้กลายเป็นแง่มุมทางดิจิทัล การนำเสนอสิ่งที่ไม่ใช่ดิจิทัลหรือเป็นกายภาพให้เป็นรูปแบบดิจิทัลหมายความว่าระบบคอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ได้ ตัวอย่างเช่น แบบฟอร์มเอกสารที่ลูกค้ากรอกถูกแปลงเป็นแบบฟอร์มดิจิทัลที่ลูกค้ากรอกทางออนไลน์ จากนั้นข้อมูลดิจิทัลจะสามารถนำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์และระบบธุรกิจอัจฉริยะ ในธุรกิจ โครงการริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิทัลรวมถึงโครงการเช่น:

  • การปรับระบบที่ล้าสมัยให้ทันสมัย
  • การทำให้กระบวนการที่ดำเนินการบนกระดาษหรือทำด้วยมือที่มีอยู่เป็นอัตโนมัติ
  • การย้ายระบบไปออนไลน์ 

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิทัลเพียงอย่างเดียวไม่ใช่การเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิทัลคือขั้นตอนแรกที่สำคัญในการเดินทางการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีขอบเขตกว้างกว่ามาก และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมส่วนใหญ่ในองค์กร 

เสาหลักของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีอะไรบ้าง

แค่การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพียงอย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีประสิทธิผลอย่างแท้จริงได้ การเปลี่ยนผ่านควรเกิดขึ้นภายในทุกแง่มุมขององค์กรเพื่อให้เกิดผลกระทบสูงสุด เราขอแนะนำว่าเสาหลักที่สำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลประกอบด้วยหกเสาหลักดังต่อไปนี้:

ประสบการณ์ของลูกค้า

นวัตกรรมธุรกิจที่มุ่งเน้นลูกค้าคือหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งควรนำเทคโนโลยีเกิดใหม่มาใช้หลังจากที่ได้สำรวจเทคโนโลยีนั้นอย่างเต็มที่ภายในบริบทของการเดินทาง พฤติกรรม และความคาดหวังของลูกค้าของคุณแล้ว

บุคลากร

พนักงานควรรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุน ไม่ใช่ถูกคุกคาม จากการนำเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ โมเดลธุรกิจดิจิทัลแบบใหม่จะสามารถประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อพนักงานของคุณเปิดรับโมเดลธุรกิจเหล่านั้นอย่างเต็มที่เท่านั้น คุณสามารถทำสิ่งนี้ให้บรรลุได้ผ่านการฝึกอบรม การดึงดูดผู้มีพรสวรรค์ที่เหมาะสม ร่วมกับการรักษาผู้มีพรสวรรค์ที่มีอยู่ด้วยการสร้างโอกาสให้พวกเขาได้เติบโต

การเปลี่ยนแปลง

ความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกส่วนของธุรกิจ การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกรับไม่ไหวและสับสนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด คุณต้องจัดหาเครื่องมือและสภาพแวดล้อมที่จำเป็นเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลประสบความสำเร็จ

นวัตกรรม

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน นวัตกรรมคือการสร้างแนวคิดที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่าน โดยคุณต้องสร้างเวทีสำหรับการสื่อสารอย่างเปิดกว้าง การทำงานร่วมกัน และอิสระในการสร้างสรรค์ที่จะสนับสนุนให้พนักงานทดลองทำสิ่งต่าง ๆ หลังจากที่ได้ทดสอบแนวคิดแล้ว คุณสามารถทำการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลต่อไปเพื่อนำมาปฏิบัติในวงกว้างได้

ความเป็นผู้นำ

ผู้นำธุรกิจควรลงมือเชิงรุกและนำความระเบียบเรียบร้อยมาสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลทั้งหมด คุณต้องคิดการณ์ไกล สำรวจเทคโนโลยีทั้งหมดจากหลายแง่มุม และเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำเหมือนกัน

วัฒนธรรม

เมื่อผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลนำเสาหลักที่ได้กล่าวถึงทั้งห้าเสามาใช้ วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมจะถือกำเนิดขึ้น เมื่อพนักงานที่กระตือรือร้นจดจ่อที่จะส่งมอบประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โครงการริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลจะขยายกว้างและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีประเภทอะไรบ้าง

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีสี่ประเภทหลักๆ ที่ทุกองค์กรสามารถนำมาใช้:

  • กระบวนการธุรกิจ
  • โมเดลธุรกิจ
  • ด้านธุรกิจ
  • องค์กรหรือวัฒนธรรม

เรามาสำรวจตัวอย่างการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลบางส่วนเพิ่มเติมกัน:

กระบวนการธุรกิจ 

การเปลี่ยนผ่านประเภทกระบวนการมองหาวิธีการที่เป็นนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ภายในและภายนอกที่มีอยู่ เทคโนโลยีใหม่มักเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการไปโดยสิ้นเชิงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น

ตัวอย่างเช่น Origin Energy Ltd (Origin) เป็นหนึ่งในบริษัทด้านพลังงานแบบบูรณาการชั้นนำของประเทศออสเตรเลีย Origin ให้ลูกค้าของตนสามารถจัดการเรื่องการเรียกเก็บเงินค่าพลังงานและการจัดการสาธารณูปโภคของตนได้ด้วยตนเองด้วยการย้ายไปสู่ AWS Cloud ซึ่งเปลี่ยนผ่านกระบวนการดิจิทัลที่มีการติดต่อกับลูกค้าแบบครบวงจรพร้อมประโยชน์เหล่านี้:

  • ประมวลผลทรัพยากรบนคลาวด์เพื่อจัดการช่วงที่มีความต้องการใช้งานสูง
  • ลดระยะเวลาขั้นตอนการเรียกเก็บเงินลง 30%
  • พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ที่มีสมรรถนะสูงเพื่อรับมือกับการโต้ตอบกับลูกค้ามากมายผ่านเว็บไซต์และแอป 

ความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเหล่านี้ลดเวิร์กโหลดของศูนย์บริการลูกค้าและต้นทุนการดำเนินงาน ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าด้วย

โมเดลธุรกิจ 

การเปลี่ยนผ่านประเภทโมเดลสำรวจการปฏิรูปโมเดลธุรกิจที่มีอยู่ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย การเปลี่ยนผ่านประเภทนี้มุ่งที่จะนำเสนอบริการหลักของธุรกิจในรูปแบบใหม่หรือผ่านช่องทางที่แตกต่างเพื่อเพิ่มการเติบโตของรายได้และการเข้าถึงลูกค้า

ตัวอย่างเช่น Tourism Union International (TUI) เป็นหนึ่งในบริษัทการท่องเที่ยวและการเดินทางที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยเป็นเจ้าของและประกอบกิจการบริษัทนำเที่ยว โรงแรม สายการบิน เรือสำราญ และร้านค้าปลีกมากมาย ในระหว่างช่วงการระบาดใหญ่ TUI ได้ปฏิรูปตัวเองเพื่อรับมือกับการยกเลิกของลูกค้าจำนวนมหาศาลและภูมิทัศน์ด้านการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงไป บริษัทจึงสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่มุ่งเน้นที่การนำนักท่องเที่ยวที่ติดค้างกลับบ้านเกิด ในขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนการดำเนินงานด้านไอทีภายในลง 70% ด้วย

ด้านธุรกิจ

การเปลี่ยนผ่านของด้านธุรกิจเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจหนึ่งสามารถรับส่วนแบ่งตลาดหรือด้านตลาดใหม่ได้สำเร็จ ซึ่งสามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยการมุ่งเน้นที่โครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลที่ขยายข้อเสนอให้กว้างขึ้น แทนที่จะปรับปรุงข้อเสนอที่มีอยู่เท่านั้น

ตัวอย่างเช่น ในตอนแรก Amazon เป็นแพลตฟอร์มการค้าปลีกอีคอมเมิร์ซ อย่างไรก็ตาม เราได้เพิ่มแพลตฟอร์มการสตรีมของเราเอง นั่นก็คือ Amazon Prime และยังลงทุนในบริการบนคลาวด์ด้วย วันนี้ Amazon Web Services (AWS) เป็นบริการการประมวลผลบนคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดในโลก เราใช้การเปลี่ยนผ่านธุรกิจเพื่อให้ได้รับการยอมรับในด้านธุรกิจที่ใหม่โดยสิ้นเชิง

องค์กร

การเปลี่ยนผ่านประเภทองค์กรสำรวจการปฏิรูปทั้งองค์กรหรือวัฒนธรรมภายใน โดยมุ่งเน้นที่การส่งมอบคุณค่าสูงสุดให้แก่ลูกค้า และเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้นำหน้าในการแข่งขันและไปถึงเป้าหมายธุรกิจได้เร็วขึ้น 

ตัวอย่างเช่น Thomson Reuters เป็นผู้ให้บริการข้อมูลธุรกิจชั้นนำ บริษัทตัดสินใจที่จะแยกธุรกิจข้อมูลการเงินและเทรดดิ้งของตนออกเป็นนิติบุคคลใหม่ที่มีชื่อว่า Refinitiv เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้ บริษัทจึงย้ายแอปพลิเคชันที่มีการติดต่อลูกค้ากว่าร้อยรายการของตนมายัง Amazon Elastic Cloud Compute ซึ่งถือเป็นการยกเครื่องระบบที่ล้าสมัยของตนทั้งหมด บริษัทสามารถทำเช่นนี้ได้ในระยะเวลาที่เร็วกว่าปกติด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของทีมไอทีภายในของตน

เสาหลักของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีอะไรบ้าง

แค่การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพียงอย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีประสิทธิผลอย่างแท้จริงได้ การเปลี่ยนผ่านควรเกิดขึ้นภายในทุกแง่มุมขององค์กรเพื่อให้เกิดผลกระทบสูงสุด เราขอแนะนำว่าเสาหลักที่สำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลประกอบด้วยหกเสาหลักดังต่อไปนี้:

ประสบการณ์ของลูกค้า

นวัตกรรมธุรกิจที่มุ่งเน้นลูกค้าคือหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งควรนำเทคโนโลยีเกิดใหม่มาใช้หลังจากที่ได้สำรวจเทคโนโลยีนั้นอย่างเต็มที่ภายในบริบทของการเดินทาง พฤติกรรม และความคาดหวังของลูกค้าของคุณแล้ว

บุคลากร

พนักงานควรรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุน ไม่ใช่ถูกคุกคาม จากการนำเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ โมเดลธุรกิจดิจิทัลแบบใหม่จะสามารถประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อพนักงานของคุณเปิดรับโมเดลธุรกิจเหล่านั้นอย่างเต็มที่เท่านั้น คุณสามารถทำสิ่งนี้ให้บรรลุได้ผ่านการฝึกอบรมพนักงาน การดึงดูดผู้มีพรสวรรค์ที่เหมาะสม ร่วมกับการรักษาผู้มีพรสวรรค์ที่มีอยู่ด้วยการสร้างโอกาสให้พวกเขาได้เติบโต

การเปลี่ยนแปลง

ความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกส่วนของธุรกิจ การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงความเหนื่อยล้าและสับสนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด คุณต้องจัดเตรียมเครื่องมือและสภาพแวดล้อมที่จำเป็นเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลประสบความสำเร็จ

นวัตกรรม

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน นวัตกรรมคือการสร้างแนวคิดที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่าน โดยคุณต้องสร้างเวทีสำหรับการสื่อสารอย่างเปิดกว้าง การทำงานร่วมกัน และอิสระในการสร้างสรรค์ที่จะสนับสนุนให้พนักงานทดลองทำสิ่งต่าง ๆ หลังจากที่ได้ทดสอบแนวคิดแล้ว คุณสามารถทำการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลต่อไปเพื่อนำมาปฏิบัติในวงกว้างได้

ความเป็นผู้นำ

ผู้นำธุรกิจควรลงมือเชิงรุกและนำความระเบียบเรียบร้อยมาสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลทั้งหมด คุณต้องคิดการณ์ไกล สำรวจเทคโนโลยีทั้งหมดจากหลายแง่มุม และเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำเหมือนกัน

วัฒนธรรม

เมื่อผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลนำเสาหลักที่ได้กล่าวถึงทั้งห้าเสามาใช้ วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมจะถือกำเนิดขึ้น เมื่อพนักงานที่กระตือรือร้นจดจ่อที่จะส่งมอบประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โครงการริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลจะขยายกว้างและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

ระยะต่างๆ ของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนผ่านไม่มีเส้นทางที่ชัดเจน และทุกบริษัทย่อมดำเนินการแตกต่างกัน เราจึงขอแนะนำหกระยะดังต่อไปนี้ไว้เป็นแนวทาง 

ระยะที่ 1—สถานการณ์ที่เป็นอยู่

ในระยะแรก ธุรกิจประกอบการต่อไปตามปกติ และคงสถานการณ์ที่เป็นอยู่โดยไม่ตระหนักถึงความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การขาดโครงการริเริ่มดิจิทัลอาจทำให้องค์กรค่อย ๆ เลือนหายไปไม่ว่าจะเป็นองค์กรไหนก็ตาม การเปลี่ยนไปยังระยะถัดไปโดยเร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

ระยะที่ 2—ตื่นตัว

ในระยะที่สอง ธุรกิจเริ่มมาตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับใช้ระบบดิจิทัลให้เหมาะสม ธุรกิจรับรู้ความท้าทายในปัจจุบันและความจำเป็นที่จะต้องมีโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล แผนกต่าง ๆ เริ่มพยายามแก้ไขปัญหาเดิม ๆ ด้วยวิธีอื่น แม้ว่าระยะนี้จะดีกว่าระยะก่อนหน้า แต่ก็ยังขาดความมุ่งเน้นและความเป็นหนึ่ง องค์กรจำเป็นต้องหาวิธีออกจากความสับสนวุ่นวายที่พบเจอในตอนต้นหากองค์กรต้องการบรรลุความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล  

ระยะที่ 3—ตั้งใจ

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเริ่มต้นเมื่อธุรกิจขยับมาที่ระยะตั้งใจ ผู้นำด้านระบบดิจิทัลและเจ้าหน้าที่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญถือกำเนิดขึ้นและเริ่มทดสอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ บุคคลเหล่านี้พยายามขอรับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากผู้บริหารของบริษัทเพื่อนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมของธุรกิจอาจกลายเป็นอุปสรรคที่จุดนี้ และผู้นำต้องส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมอย่างกระตือรือร้นเพื่อให้เปลี่ยนผ่านเพิ่มเติม

ระยะที่ 4—คิดกลยุทธ์

ในระยะที่ห้า องค์กรบรรลุการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ดังนั้นแต่ละกลุ่มและแต่ละแผนกจึงตกลงที่จะทำงานด้วยความร่วมมือกัน ผู้ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลได้สำเร็จ บุคคลเหล่านี้วางแผนแง่มุมต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้รับผิดชอบ การวิจัย ความพยายาม และการลงทุน

ระยะที่ 5—มุ่งเป้าหมาย

ธุรกิจในระยะที่ห้าเริ่มนำกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลที่สรุปในระยะก่อนหน้ามาปฏิบัติ ธุรกิจมีทีมนักนวัตกรรมข้ามแผนก ซึ่งเป็นผู้ระบุว่าอะไรที่จำเป็นต้องทำทั้งในตอนนี้และในอีกหลายเดือนข้างหน้าเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล โครงการด้านระบบดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐาน และโครงการริเริ่มใหม่ ๆ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น

ระยะที่ 6—ปรับตัว

ธุรกิจที่มาถึงระยะนี้มีเฟรมเวิร์กการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลสำหรับจัดการกับความต้องการของลูกค้าในอนาคตทั้งหมดแล้ว การเปลี่ยนผ่านกลายเป็นวิถีชีวิต และธุรกิจสามารถไปตามเส้นทางเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมได้อย่างง่ายดาย โครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลกลายเป็นเรื่องปกติเรื่องใหม่ในองค์กรที่อยู่ในระยะที่หก

กลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคืออะไร

กลยุทธ์การปฏิรูปดิจิทัลเป็นแผนรายละเอียดสำหรับการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลในระยะสั้นและระยะยาวในองค์กรต่างๆ โดยจะคำนึงถึงส่วนประกอบต่อไปนี้:

  • ผู้นำที่ริเริ่มและผลักดันการเปลี่ยนแปลง
  • การลงทุนและการวางแผนทางการเงิน
  • ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPI) เพื่อวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)
  • เครื่องมือและกระบวนการที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
  • แหล่งข้อมูลภายนอกและผู้เชี่ยวชาญของบุคคลที่สาม
  • ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อลูกค้าและพนักงาน

เรามีสี่ขั้นตอนในการพัฒนากลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จด้านล่าง

ปรับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจของคุณ

การวางแผนโครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลควรยึดที่แผนโดยรวมขององค์กรของคุณ ไม่ใช่เทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง สิ่งสำคัญของคุณจะช่วยตรวจสอบตัวชี้วัดให้วัด KPI การรักษาให้เปลี่ยนแปลงตรวจสอบได้ และเร่งเวลาเพื่อสร้างคุณค่า

พัฒนาการทดสอบระบบสาธิต

โครงการริเริ่มสำหรับเริ่มต้นที่ดีที่สุดจะสามารถแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่วัดได้ในช่วงเวลาไม่มากกว่าหกเดือน จะดีกว่าหากพัฒนากลยุทธ์ขั้นต้นที่แสดงให้เห็นถึง ROI และได้รับคำอนุมัติจากผู้นำ จากนั้นคุณสามารถค่อย ๆ ปรับแต่งและปรับขนาดต้นแบบขั้นต้นเหล่านี้ทั่วทั้งองค์กรได้

วางแผนการนำเทคโนโลยีมาปฏิบัติ

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเกี่ยวข้องกับเครื่องมือหลายอย่างที่คุณสามารถใช้เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับองค์กรของคุณ เทคโนโลยีเหล่านี้บางส่วนมีดังนี้:

  • เทคโนโลยีบนมือถือ เช่นแอปพลิเคชันที่โต้ตอบกับลูกค้าและแอปพลิเคชันภายในที่ทำให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้น
  • Internet of Things เช่น เซนเซอร์อัจฉริยะและอุปกรณ์อัจฉริยะที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอัตโนมัติ
  • เทคโนโลยีคลาวด์ โดยเฉพาะการประมวลผลบนคลาวด์และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์
  • ปัญญาประดิษฐ์ และแมชชีนเลิร์นนิงเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ
  • ความเป็นจริงเสมือนเพื่อการมีส่วนร่วมที่ดื่มด่ำของลูกค้า
  • วิทยาการหุ่นยนต์ เพื่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

การนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในวิธีการทำงานของพนักงานและวิธีการที่ลูกค้าโต้ตอบกับองค์กรของคุณ นอกจากนี้คุณยังอาจต้องนำพันธมิตรและผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาฝึกอบรมทีมของคุณและเพิ่มความสามารถขององค์กรของคุณด้วย คุณจะต้องวางแผนเรื่องนี้โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของคุณอย่างรอบคอบ

เก็บรวบรวมข้อเสนอแนะและปรับปรุงกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล

เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวมขั้นตอนการให้ข้อเสนอแนะที่มีประสิทธิภาพลงในแผนโครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของคุณ การเก็บรวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอทำให้คุณสามารถแน่ใจได้ว่าทุกคนเรียนรู้จากประสบการณ์และเติบโตอยู่เสมอ เพราะการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคือการเดินทาง การนำจุดตรวจสอบเข้ามาใช้ในกรอบระยะเวลาของคุณจะทำให้คุณมีความยืดหยุ่นที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ได้หากจำเป็น

กรณีศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล

Saint Louis University (SLU) เริ่มการเดินทางสายดิจิทัลของตนด้วยความพยายามที่จะเพิ่มความสามารถของนักศึกษาและการมีส่วนร่วมในบริเวณมหาวิทยาลัย อันเป็นเป้าหมายธุรกิจหลักของตน

  1. หลังจากที่ตรวจสอบกระบวนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาแล้ว ผู้นำการเปลี่ยนผ่านก็ตระหนักว่านักศึกษาต้องการคำตอบที่รวดเร็วขึ้นเมื่อมีคำถามเกี่ยวกับการศึกษาที่ SLU
  2. ทางมหาวิทยาลัยจึงตัดสินใจที่จะทดลองใช้อุปกรณ์ Amazon Echo ด้วยการนำอุปกรณ์ 2,300 เครื่องเข้ามาในโถงหอพักหรือพื้นที่อยู่อาศัยในบริเวณมหาวิทยาลัย นักศึกษาสามารถถามคำถามเกี่ยวกับ SLU และรับคำตอบได้จากอุปกรณ์เหล่านี้
  3. อุปกรณ์นี้มีผู้ใช้มากมายในระหว่างช่วงทดลองใช้ และผลการวิเคราะห์การโต้ตอบของนักศึกษาแสดงให้เห็นว่านักศึกษากำลังใช้อุปกรณ์เพื่อตั้งตัวเตือนการแจ้งเตือนและถามคำถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป
  4. SLU จึงร่วมเป็นพันธมิตรกับ AWS Professional Services เพื่อขยายแนวคิดการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลนี้ให้ไกลออกไปมากขึ้น มหาวิทยาลัยนำข้อมูลที่ผู้นำได้รับจากการทดลองใช้ในช่วงต้นมาใช้สร้างแพลตฟอร์มแชทบอทอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ ตอนนี้นักศึกษาสามารถโต้ตอบกับแชทบอทผ่านเว็บไซต์ของ SLU ข้อความโทรศัพท์ หรือ Amazon Echo ในขณะที่ยังคงได้รับคำตอบที่สม่ำเสมอ

SLU จึงตัดสินใจยกระดับการเปลี่ยนผ่านนี้ให้ไกลขึ้นไปอีก ระยะถัดไปของโครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลนี้คือการปรับแต่งแชทบอทเพื่อให้นักศึกษาสามารถถามคำถามที่เป็นส่วนตัว เช่น “ฉันสอบประวัติศาสตร์เมื่อใด” หรือพนักงานสามารถถามว่า “ฉันเหลือวันลาหยุดเท่าไหร่”

เฟรมเวิร์กการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคืออะไร

เฟรมเวิร์กการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคือพิมพ์เขียวเพื่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงในองค์กรใดๆ ที่กำลังผ่านการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล เฟรมเวิร์กคือเครื่องมือที่ชี้นำทุกระดับและทุกแผนกขององค์กรผ่านการเปลี่ยนแปลง

เฟรมเวิร์กสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลด้วยการสรุปแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและกระบวนการในการทำสิ่งต่อไปนี้: 

  • วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทั่วทุกด้านของธุรกิจ
  • จัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
  • วางแผนขั้นตอนเพื่อนำการเปลี่ยนผ่านมาปฏิบัติ
  • ระบุตัววัดเพื่อวัดประโยชน์ที่การเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้เกิดขึ้น
  • ชี้แจงวิธีที่จะเดินหน้าไปตามการเดินทางในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของคุณ

AWS Professional Services คืออะไร

AWS Professional Services คืออะไร

AWS Professional Services คือทีมผู้เชี่ยวชาญสากลที่สามารถช่วยให้คุณสามารถทำให้การเดินทางเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของคุณเป็นจริงได้ด้วย AWS Cloud เราจะทำงานร่วมกับทีมของคุณและเครือข่ายพาร์ทเนอร์ของ AWS (APN) ที่คุณเลือกเพื่อเริ่มโครงการริเริ่มการประมวลผลบนคลาวด์ขององค์กรของคุณ

AWS Professional Services นำเสนอชุดการดำเนินการ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และเอกสารบันทึกสำหรับทุกขั้นตอนในการเดินทางเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลโดยการนำมาใช้บนคลาวด์ของคุณ นอกจากนี้ แนวทางปฏิบัติเฉพาะทางของเรานำเสนอคำแนะนำแบบมุ่งเป้าหมายผ่านแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เฟรมเวิร์ก เครื่องมือ และบริการเพื่อสนับสนุนโครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับ AWS Cloud

AWS Professional Services จัดทำเฟรมเวิร์กการนำ AWS Cloud มาใช้งาน เพื่อช่วยองค์กรให้พัฒนาและปฏิบัติแผนที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเพื่อการเดินทางในการนำคลาวด์มาใช้ของตน คำแนะนำและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่จัดหาให้ในเฟรมเวิร์กจะช่วยคุณสร้างแนวทางอันครอบคลุมสำหรับการประมวลผลบนคลาวด์ในองค์กรของคุณ รวมถึงตลอดการใช้งานด้านไอทีของคุณด้วย

เริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลด้วยการใช้รายการตรวจสอบการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของ AWS และเครื่องมือเตรียมความพร้อมในการนำคลาวด์มาใช้ สร้างบัญชี AWS เพื่อเริ่มการเดินทางในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของคุณวันนี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita